22.11 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
22.10 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]

ความคิดเห็นที่ 3-113
ฐานาฐานะ, 21 กันยายน เวลา 15:19 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มฆเทวสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7249&Z=7473

              พระสูตรหลักถัดไป คือมธุรสูตร [พระสูตรที่ 34].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              มธุรสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7474&Z=7662
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=464

ความคิดเห็นที่ 3-114
GravityOfLove, 21 กันยายน เวลา 15:36 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
             ๓๔. มธุรสูตร เรื่องพระเจ้ามธุรราช
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=7474&Z=7662&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะ (มหากัจจายนะ) อยู่ที่ป่าคุนธาวันใกล้เมืองมธุรา
             พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร เมื่อได้ทรงสดับข่าวนี้ และได้ยินกิตติศัพท์
อันงามของท่านว่า
             เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำวิจิตร (แสดงธรรมได้กว้างขวาง)
มีปฏิภาณงาม เป็นผู้ใหญ่ และเป็นพระอรหันต์
             ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี
             จึงเสด็จไปพบท่านพระมหากัจจานะ
             เอตทัคคบาลี
//84000.org/tipitaka/read/?20/146-152
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=กัจจาย

             เมื่อพระเจ้ามธุรราชเสด็จไปถึงแล้ว ได้ตรัสว่า
             พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวว่า
             วรรณที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นเลว
วรรณที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นดำ พวกพราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์
ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์ทั้งหลายเป็นบุตรของพรหม เป็นโอรส
เกิดแต่ปากพรหม เกิดแต่พรหม อันพรหมสร้าง เป็นทายาทของพรหม
             เรื่องนี้ท่านพระมหากัจจานะจะว่าอย่างไร

ว่าด้วยวรรณ ๔
             ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า
             วาทะที่พวกพราหมณ์กล่าวดังกล่าวนั้น เป็นคำโฆษณาในโลกเท่านั้น
             แล้วได้สนทนากับพระเจ้ามธุรราช มีใจความดังนี้
             ๑. ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสำเร็จแก่กษัตริย์ ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน
หรือทองแล้ว แม้กษัตริย์ ... พราหมณ์ ... แพศย์ ... ศูทร ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนหลัง
คอยฟังรับใช้ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อกษัตริย์นั้น
             กับวรรณอื่นก็ทำนองเดียวกัน
             ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณ ๔ เหล่านี้ย่อมเป็นผู้เสมอกัน
             ๒. กษัตริย์ในโลกนี้พึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ
             เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
             พระเจ้ามธุรราชตรัสเห็นด้วย
             และพระองค์ก็ได้ฟังมาจากพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนั้น
             กับวรรณอื่นก็ทำนองเดียวกัน
             ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณ ๔ เหล่านี้ย่อมเป็นผู้เสมอกัน
             ๓. กษัตริย์ในโลกนี้ พึงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดคำส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดคำเพ้อเจ้อ
             ไม่มักโลภ มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไปพึงเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์
             พระเจ้ามธุรราชตรัสเห็นด้วย
             และพระองค์ก็ได้ฟังมาจากพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนั้น
             ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณ ๔ เหล่านี้ย่อมเป็นผู้เสมอกัน
             ๔. กษัตริย์ในโลกนี้ พึงตัดช่องหรือย่องเบา พึงทำการปล้น
หรือดักคอยทำร้ายคนที่ทางเปลี่ยว หรือพึงคบหาภริยาของผู้อื่น
             ถ้าราชบุรุษทั้งหลายจับเขาได้แล้ว พึงแสดงต่อพระองค์
พระองค์พึงลงโทษเขา
             เพราะชื่อเมื่อก่อนของเขาว่ากษัตริย์นั้นหายไปเสียแล้ว
เขาย่อมถึงการนับว่าเป็นโจร
             กับวรรณอื่นก็ทำนองเดียวกัน
             ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณ ๔ เหล่านี้ย่อมเป็นผู้เสมอกัน
             ๕. กษัตริย์ในโลกนี้ พึงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงนุ่งห่ม
ผ้ากาสายะ เสด็จจากพระราชนิเวศน์ทรงผนวชเป็นบรรพชิต
             ทรงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ การพูดเท็จ
             ฉันภัตตาหารหนเดียว ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม
             พระองค์พึงกราบไหว้บ้าง พึงลุกรับบ้าง พึงเชื้อเชิญด้วยอาสนะบ้าง
พึงบำรุงราชบรรพชิตนั้นด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย
เภสัชบริขารบ้าง
             พึงจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอันเป็นธรรม (เช่น ห้ามล่าสัตว์
ในเขตวิหาร) กับราชบรรพชิตนั้นบ้าง
             เพราะชื่อเมื่อก่อนของเขาว่ากษัตริย์นั้นหายไปแล้ว
เขาย่อมถึงการนับว่าสมณะ
             กับวรรณอื่นก็ทำนองเดียวกัน
             ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณ ๔ เหล่านี้ย่อมเป็นผู้เสมอกัน
             ในแต่ละข้อ พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตรตรัสเห็นด้วยว่า
             เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณ ๔ เหล่านี้เป็นผู้เสมอกันหมด ไม่เห็นจะต่างอะไรกัน

พระเจ้ามธุรราชแสดงพระองค์เป็นอุบาสก
             เมื่อท่านพระมหากัจจานะทูลอย่างนี้แล้ว พระเจ้ามธุรราชได้ตรัสว่า
             ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ ฯลฯ
ขอถึงท่านพระมหากัจจานะ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
             ขอเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
             ท่านพระมหากัจจานะทูลว่า
             อย่าทรงถึงอาตมภาพว่าเป็นสรณะเลย จงทรงถึงพระผู้มีพระภาค
ที่อาตมภาพถึงว่าเป็นสรณะนั้น ว่าเป็นสรณะเถิด
             พระเจ้ามธุรราชตรัสถามว่า เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ไหน
             ท่านพระมหากัจจานะทูลตอบว่า เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานเสียแล้ว
             พระเจ้ามธุรราชตรัสว่า ถ้าพระองค์ได้ฟังว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ไหน
พระองค์ก็จะเสด็จไปเฝ้า ไม่ว่าจะไกลเพียงไร
             แต่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอถึง
พระผู้มีพระภาคแม้เสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์
ว่าเป็นสรณะ
             ขอท่านพระมหากัจจานะ จงจำคำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

[แก้ไขตาม #3-115]

ความคิดเห็นที่ 3-115
ฐานาฐานะ, 23 กันยายน เวลา 16:26 น.

GravityOfLove, 7 นาทีที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
              ๓๔. มธุรสูตร เรื่องพระเจ้ามธุรราช
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=7474&Z=7662&bgc=aliceblue&pagebreak=0
...
3:35 PM 9/21/2013

              ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :-
              เอตทัคคบาลี
//84000.org/tipitaka/read/?20/146-152
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=กัจจายนปุโรหิต
              น่าจะแก้ไขเป็น
//84000.org/tipitaka/read/?20/146-152
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=กัจจาย

ความคิดเห็นที่ 3-116
ฐานาฐานะ, 23 กันยายน เวลา 16:43 น.

             คำถามในมธุรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=7474&Z=7662

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. คำถามคำตอบในพระสูตรนี้ มีนัยละม้ายคล้ายพระสูตรใดบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 3-117
GravityOfLove, 23 กันยายน เวลา 19:25 น.

ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในมธุรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=7474&Z=7662

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ท่านพระมหากัจจานะได้แสดงธรรมแด่พระเจ้ามธุรราช
จนพระองค์ทรงเห็นด้วยและยอมรับว่า วรรณทุกวรรณเสมอกันคือ
             ผู้ที่ทำชั่ว (กาย วาจา ใจ) ไม่ว่าจะอยู่วรรณใด ก็เข้าถึงอบายเหมือนกัน
             ผู้ที่ทำดี (กาย วาจา ใจ)  ไม่ว่าอยู่วรรณใด ก็เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เหมือนกัน
             วรรณใดออกบวช ก็มีผู้อภิวาทต้อนรับ นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะ
นิมนต์ให้รับปัจจัย ๔ หรือได้รับความคุ้มครองอันเป็นธรรมเสมอกัน
             ๒. พระเจ้ามธุรราชได้ขอถึงพระกัจจานะ พระธรรม และภิกษุสงฆ์
ว่าเป็นสรณะ แต่ท่านพระมหากัจจานะได้ห้าม และบอกให้พระราชาถึง
พระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้วนั้นว่า เป็นสรณะ
             ๓. ท่านพระมหากัจจานะมีชื่อเสียงขจรไปว่า
             เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำวิจิตร
(แสดงธรรมได้กว้างขวาง) มีปฏิภาณงาม เป็นผู้ใหญ่ และเป็นพระอรหันต์
             ท่านเป็นบุตรของปุโรหิตแห่งพระเจ้าอุชเชนีก์ ในกาลเป็นคฤหัสถ์
มีรูปงาม น่าดู นำมาซึ่งความเลื่อมใสและมีผิวดังทองคำ
-----------------------
             2. คำถามคำตอบในพระสูตรนี้ มีนัยละม้ายคล้ายพระสูตรใดบ้าง?
             อัคคัญญสูตร
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์พากันว่าอย่างนี้ว่า
พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม
พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ พราหมณ์พวกเดียว
บริสุทธิ์ พวกอื่นนอกจากพราหมณ์หาบริสุทธิ์ไม่ พวกพราหมณ์เป็นบุตรเกิดจาก
อุระ เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาท
ของพรหม ...
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=1703&Z=2129

             อัสสลายนสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=9673&Z=9914&pagebreak=0#615top

ความคิดเห็นที่ 3-118
ฐานาฐานะ, 23 กันยายน เวลา 19:46 น.

GravityOfLove, 3 นาทีที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในมธุรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=7474&Z=7662
...
7:25 PM 9/23/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ ขอเสริมในส่วนของคำตอบข้อที่ 2 ดังนี้ :-
             ๑. ท่านพระมหากัจจานะได้แสดงธรรมแด่พระเจ้ามธุรราช
จนพระองค์ทรงเห็นด้วยและยอมรับว่า วรรณทุกวรรณเสมอกันคือ
             ผู้ที่ทำชั่ว (กาย วาจา ใจ) ไม่ว่าจะอยู่วรรณใด ก็เข้าถึงอบายเหมือนกัน
             ผู้ที่ทำดี (กาย วาจา ใจ)  ไม่ว่าอยู่วรรณใด ก็เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เหมือนกัน

             อัคคัญญสูตร [บางส่วน]
             [๖๗] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี ... พราหมณ์ก็ดี ... แพศย์
ก็ดี ... ศูทรก็ดี ... สมณะก็ดี ... ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เป็นมิจฉาทิฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เพราะยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ
เป็นเหตุเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ทั้งสิ้น ฯ
             [๖๘] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี ... พราหมณ์ก็ดี ... แพศย์
ก็ดี ... ศูทรก็ดี ... สมณะก็ดี ... ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เป็นสัมมาทิฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เพราะยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ
เป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=1703&Z=2129

ความคิดเห็นที่ 3-119
GravityOfLove, 23 กันยายน เวลา 20:03 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-120
ฐานาฐานะ, 23 กันยายน เวลา 20:04 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มธุรสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7474&Z=7662

              พระสูตรหลักถัดไป คือโพธิราชกุมารสูตร [พระสูตรที่ 35].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              โพธิราชกุมารสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7663&Z=8236
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=486

ความคิดเห็นที่ 3-121
GravityOfLove, 23 กันยายน เวลา 20:12 น.

              คำถามโพธิราชกุมารสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7663&Z=8236

             ๑. ค้นคว้าสันติวรบท
             ๒. ความเชื่อต่อพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ ชื่อว่าอาคมนศรัทธา เพราะมาแล้วจำเดิมแต่ตั้งความปรารถนา
             ๓. ธรรมดาการถึงสรณะด้วยอจิตตกะย่อมไม่มี
ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-122
ฐานาฐานะ, 23 กันยายน เวลา 20:58 น.

              ๑. ค้นคว้าสันติวรบท
              ตอบว่า ค้นคว้าหาพระนิพพานนั่นเอง แต่กล่าวด้วยลักษณะคือสงบ
หรือสันติ, วร แปลว่า ประเสริฐ, บท อาจจะหมายถึง ทางเพื่อบรรลุพระนิพพาน
กล่าวคือ อริยมรรคมีองค์แปดนั่นเอง.

              ๒. ความเชื่อต่อพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ ชื่อว่าอาคมนศรัทธา เพราะมาแล้วจำเดิมแต่ตั้งความปรารถนา
              ตอบว่า น่าจะเส้นช่องว่างดังนี้ :-
              อธิบายว่า น่าจะหมายความว่า ความเชื่อในพระสัพพัญญูก็ตาม
พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณก็ตามนั้น พระโพธิสัตว์มีแล้วแน่นอน
กล่าวคือ มีมาแล้วจำเดิมแต่ตั้งความปรารถนา (ซึ่งนานมาแล้ว)
              เข้าใจว่า รากศัพท์ว่า อาคต มาแล้ว
              อนาคต ยังไม่มาถึง (อนาคตยังไม่มาถึง).

              ๓. ธรรมดาการถึงสรณะด้วยอจิตตกะย่อมไม่มี
              ตอบว่า ข้อนี้อธิบายในข้อ 520 กล่าวคือ
              โพธิราชกุมารกล่าวนัยว่า ตนเองได้ไตรสรณคมน์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์บ้าง
หรือแม้ทรงเป็นทารกอยู่ แม่นมอุ้มเราเข้าสะเอวพาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า
              ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพธิราชกุมารพระองค์นี้ ย่อมถึงพระผู้มีพระภาค
พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
              เพื่อโต้ตอบคำของมาณพสัญชิกาบุตร
              [๕๑๙] เมื่อโพธิราชกุมารตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพสัญชิกาบุตรได้ทูลโพธิราชกุมารว่า
ก็ท่านโพธิราชกุมารองค์นี้ ทรงประกาศไว้ว่า พระพุทธเจ้ามีพระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรมมี
พระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วเป็นอัศจรรย์อย่างนี้เท่านั้น ก็แต่
ท่านหาได้ทรงถึงพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสมณะไม่.

              แต่นัยของอรรถกถาว่า ธรรมดาการถึงสรณะด้วยอจิตตกะย่อมไม่มี
              ก็คือ ธรรมดาการถึงสรณะด้วยการขาดเจตนา ย่อมเป็นไปไม่ได้
กล่าวคือ เมื่ออยู่ในพระครรภ์ ก็ไม่ได้มีเจตนา, แม้ทรงเป็นทารกอยู่ อยู่บนสะเอวของแม่นม
ก็ยังเป็นทารกปุถุชน ยังไม่รู้ความอะไรๆ จึงขาดเจตนา
              ดังนั้น ท่านโพธิราชกุมารองค์นี้กล่าวอย่างนั้นก็จริง แต่ท่านโพธิราชกุมาร
ยังไม่ได้ไตรสรณคมน์ เพราะธรรมดาการถึงสรณะด้วยอจิตตกะย่อมไม่มี.

ความคิดเห็นที่ 3-123
GravityOfLove, 23 กันยายน เวลา 21:16 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่



Create Date : 14 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 11:41:57 น.
Counter : 526 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog