29.3 พระสูตรหลักถัดไป คือโอฆตรณสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
29.2 พระสูตรหลักถัดไป คือโอฆตรณสูตร [พระสูตรที่ 1]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=11-05-2014&group=4&gblog=4

ความคิดเห็นที่ 22
ฐานาฐานะ, 7 พฤษภาคม เวลา 07:49 น.

GravityOfLove, 11 นาทีที่แล้ว
              ๒. นิโมกขสูตร
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ตั้งแต่ [ในปุริมนัยนั้น ... ] ถึง [ ... แห่งขันธ์ ๕ เหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้.]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=4
...
8:26 PM 5/6/2014

              อธิบายในส่วนของนิโมกขสูตรก่อน ดังนี้ว่า
              อธิบายว่า ทำความเข้าใจอรรถกถาได้ค่อนข้างยาก
              สันนิษฐานว่า
              คำว่า ในปุริมนัยนั้น ... หรือในนัยแรก
              เป็นการอธิบายพระพุทธดำรัส ในประโยคว่า
              ท่านผู้มีอายุ เพราะความสิ้นภพอันมีความเพลิดเพลินเป็นมูล
เพราะความสิ้นแห่งสัญญาและวิญญาณ เพราะความดับ เพราะความสงบแห่งเวทนาทั้งหลาย
เราย่อมรู้จักมรรคเป็นทางหลีกพ้น ผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้ ฯ
- - - - - - - - - - -

              เพราะความสิ้นภพอันมีความเพลิดเพลินเป็นมูล
              อธิบายด้วยคำว่า
              สังขารขันธ์อันกัมมภพถือเอาแล้ว ด้วยอำนาจแห่งอภิสังขารคือกรรม ๓ อย่าง.
              หรือว่า นัยว่า เพราะความสิ้นทุกข์ อันมีความเพลิดเพลินหรือตัณหา
เป็นมูลหรือเป็นเหตุเกิด (สมุทัย)
              ก็ความเพลิดเพลินหรือตัณหา จัดเป็นสังขารขันธ์ซึ่งประกอบเป็นเจตนาหรือกรรม
หรือที่เรียกว่า อภิสังขารคือกรรม ๓ อย่าง คือ บุญ อปุญญ (บาป) อาเนญชา (อรูปาวจรกุศล)
              กล่าวคือ เมื่อสิ้นตัณหาอันทำให้ทำกรรม (ทั้งสาม)
              คำว่า อภิสังขาร 3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อภิสังขาร

              เพราะความสิ้นแห่งสัญญาและวิญญาณ
              อธิบายด้วยคำว่า
              ขันธ์ ๒ (เวทนาและสัญญาขันธ์) อันสัมปยุตด้วยธรรม (สังขารขันธ์)
นั้นอันสัญญาและวิญญาณขันธ์ถือเอาแล้ว.
              กล่าวคือ ขันธ์ ๒ ที่เป็นไปกับสังขารขันธ์ (นัยของตัณหาหรืออภิสังขาร)
อันเป็นปัจจัยในเกิดสัญญาและวิญญาณขันธ์ (น่าจะหมายถึงปฏิสนธิอีก) ดับไป
สัญญาและวิญญาณขันธ์ ก็จะดับไป ไม่ปฏิสนธิอีก.
              สำหรับสัญญาในคำว่า สัญญาและวิญญาณขันธ์ น่าจะเป็นการแสดง
แก่บุคคลที่เห็นหรือเข้าใจลักษณะของสัญญาชัดเจนว่า เป็นอาการของการเกิดอีก
กล่าวคือ คงจะเหมาะแก่ผู้ที่เข้าใจความหมายของสัญญาได้ดี จึงทรงแสดงคำว่า
สัญญา ในคำว่า เพราะความสิ้นแห่งสัญญาและวิญญาณ ไว้ด้วย.

              เพราะความดับ เพราะความสงบแห่งเวทนาทั้งหลาย
              อธิบายด้วยคำว่า
              แต่เวทนาอันสัมปยุตด้วยขันธ์ ๓ (สัญญาสังขารวิญญาณขันธ์) เหล่านั้น
ท่านถือเอาแล้ว ด้วยการถือเอานามธรรมเหล่านั้น
              กล่าวคือ หมายถึงว่า เวทนาเป็นที่ปรากฎของนามขันธ์ 3 ดังนั้น
เมื่อเวทนาดับหรือเวทนาสงบ ก็เป็นอันแสดงนัยว่า นามขันธ์ทั้งปวงดับหรือสงบไป.
หรือนัยว่า เวทนาก็เกิดพร้อมกับนามขันธ์อีก 3 การที่เวทนาดับ ก็เป็นอัน
นามขันธ์ทั้งปวงดับเช่นกัน.
--------------------------------------------------------

              แต่ในนัยที่ ๒ สังขารขันธ์ ท่านถือเอาโดยการถือเอานันทิ คือความเพลิดเพลิน.
รูปขันธ์กล่าวคืออุปปัตติภพ ท่านถือเอาโดยการถือเอาภพ.
เมื่อว่าโดยย่อ ขันธ์ ๓ เป็นธรรมอันท่านถือเอาแล้ว ด้วยสัญญาขันธ์เป็นต้นทีเดียว.
บัณฑิตพึงทราบว่า พระนิพพานอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยอำนาจแห่งความไม่มีต่อไป (คือเป็นที่สงัด)
แห่งขันธ์ ๕ เหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
              แต่ในนัยที่ ๒ สังขารขันธ์ ท่านถือเอาโดยการถือเอานันทิ คือความเพลิดเพลิน.
รูปขันธ์กล่าวคืออุปปัตติภพ ท่านถือเอาโดยการถือเอาภพ.
              อธิบายคำว่า เพราะความสิ้นภพอันมีความเพลิดเพลินเป็นมูล
              เพราะว่า ความเพลิดเพลิน หรือตัณหา เป็นสังขารขันธ์
              รูปขันธ์เป็นอันกำหนดภพใหม่ อย่างชัดเจน.
. . . . . . . . .
              เมื่อว่าโดยย่อ ขันธ์ ๓ เป็นธรรมอันท่านถือเอาแล้ว ด้วยสัญญาขันธ์เป็นต้นทีเดียว.
              อธิบายคำว่า เพราะความสิ้นแห่งสัญญาและวิญญาณ เพราะความดับ
เพราะความสงบแห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นการอธิบายรวมๆ โดยย่อ.

              คำว่า เพราะฉะนั้น นิพพานซึ่งดับกิเลสยังมีชีวิตอยู่ (สอุปาทิเสสนิพพาน)
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยสามารถแห่งความไม่มีต่อไป (คือเป็นที่สงัด)
แห่งนามขันธ์ ๔ อันเป็นอนุปาทินนกะ ดังนี้.
              และคำว่า บัณฑิตพึงทราบว่า พระนิพพานอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
ด้วยอำนาจแห่งความไม่มีต่อไป (คือเป็นที่สงัด) แห่งขันธ์ ๕ เหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้.
              อธิบายคำว่า นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้ ฯ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ว่าโดยนัยรวบยอดของพระพุทธดำรัส สันนิษฐานว่า
              แสดงในเห็นโทษของขันธ์ 5 โดยนัยว่า
              ความดับของขันธ์ 5 นั่นแหละ คือ พระนิพพาน
              ผู้ฟังหรือเทวดานั้น น่าจะได้นัยว่า
              ควรเบื่อหน่ายและเห็นโทษในขันธ์ 5  ว่าเป็นทุกข์
และเห็นการสงบดับไปของขันธ์ 5 เป็นความสุข
              นัยรวบยอดนี้ คล้ายบาทสุดท้ายของพระพุทธพจน์ในคาถาที่ว่า

              พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
              [๑๘๖] สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
              มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
              บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
.              การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นความสุข ดังนี้ ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=มหาสุทัสสน

              สันนิษฐานล้วน.

ความคิดเห็นที่ 23
GravityOfLove, 7 พฤษภาคม เวลา 09:52 น.

ขอบพระคุณค่ะ พอจะเข้าใจแล้ว

ความคิดเห็นที่ 24
ฐานาฐานะ, 7 พฤษภาคม เวลา 21:40 น.

GravityOfLove, 8:26 PM 5/6/2014
              ๓. อุปเนยยสูตร
              1. ในเนื้อความพระไตรปิฎก ละเอาไว้ว่าเกิดขึ้นที่เดียวกับพระสูตรแรกๆ ใช่ไหมคะ
              ตอบว่า น่าจะเป็นอย่างนั้น แต่ควรเข้าใจว่า แม้จะเป็นสถานที่อื่นๆ เช่น
พระวิหารเวฬุวัน หรือสถานที่ใดๆ ก็ตาม ก็ไม่ทำให้อรรถแห่งเนื้อความในพระสูตร
เปลี่ยนแปลงไป.
-----------------------------------------------------------------

              2. กรุณาอธิบายค่ะ ตั้งแต่ [บทว่า ปุญฺญานิกยิราถ สุขาวหานิ ... ] ถึง [ ... พอถูกกระทบก็แตกไป]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=7
              เนื้อความอรรถกถาว่า
              บทว่า ปุญฺญานิกยิราถ สุขาวหานิ ได้แก่ วิญญูชนพึงทำบุญทั้งหลายอันนำความสุขมาให้ คืออันให้ซึ่งความสุข.
ด้วยเหตุนี้นั้น เทวดาหมายเอารูปาวจรฌานจึงถือเอาบุพเจตนา มุญจนเจตนาและอปรเจตนาแล้วกล่าวถึงบุญทั้งหลาย
ด้วยสามารถแห่งคำพหูพจน์ และถือเอาความชอบใจในฌาน ความใคร่ในฌานและความสุขในฌานแล้ว
จึงกล่าวว่า บุญทั้งหลายนำความสุขมาให้ ดังนี้.
              อธิบายว่า เป็นการอธิบายความในคาถาของเทวดานั้น
              กล่าวคือ เทวดานั้นเป็นปุถุชนอยู่ เมื่อเห็นทุกข์จากชรา มรณะก็ตามแล้ว
แต่เพราะเห็นเพียงภูมิของตนว่า รูปาวจรฌานเช่นที่ตนเองได้แล้วว่า เป็นที่พึ่งสูงสุด
อาศัยความพอใจในฌาน ความสุขในฌาน จึงกล่าวอย่างนั้น.
              คาถาของเทวดาว่า พึงทำบุญทั้งหลายที่นำความสุขมาให้ ฯ
              แม้จะเป็นคำกลางๆ ว่า เป็นกามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล และอรูปาวจรกุศล
แต่อรรถกถาให้นัยว่าหมายถึงรูปาวจรกุศล หรือทำรูปาวจรฌานให้เกิดขึ้น.

              เนื้อความอรรถกถาว่า
              ได้ยินว่า เทวดานั้นได้มีความคิดว่า โอหนอ สัตว์ทั้งหลายเจริญฌานแล้ว มีฌานยังไม่เสื่อม กระทำกาละแล้ว
พึงดำรงอยู่ในพรหมโลกตลอดเวลาอันยาวนาน คือประมาณ ๑ กัปบ้าง ๔ กัปบ้าง ๘ กัปบ้าง ๑๖ กัปบ้าง
๓๒ กัปบ้าง ๖๔ กัปบ้างดังนี้ เพราะตนเองเกิดในพรหมโลกที่มีอายุยาวนานจึงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้กำลังตาย
กำลังเกิดที่มีอายุน้อยในเทวดาชั้นกามาวจรเบื้องต่ำ เช่นกับการตกลงแห่งเม็ดฝนพอถูกกระทบก็แตกไป เพราะฉะนั้น
จึงกล่าวแล้วอย่างนี้.
              อธิบายว่า เทวดานั้นมีอายุยืนนาน เห็นสัตว์อื่นในกามาวจรภูมิเกิดตายแล้วๆ เล่าๆ
ก็เห็นทุกข์ในเพราะความชราความตาย เห็นอายุของสัตว์อื่นสั้น ประหนึ่งว่า ปล่อยหยดน้ำตกลงพื้น
เม็ดน้ำฝน ก็ดำรงอยู่แค่เพียงขณะที่ยังไม่กระทบพื้น พอกระทบพื้นก็แตกไป ทำลายไป
สัตว์ในกามาวจรภูมิ ก็เป็นเช่นนั้น คืออายุสั้น จึงกล่าวสรรเสริญโลกียฌานของตนว่า
สัตว์ทั้งหลายควรทำให้เกิด เพื่อจะได้มีอายุยืนยาวอย่างที่ตนเป็นอยู่.
              ที่จริงแล้ว พออธิบายเทียบได้ว่า
              มนุษย์เห็นพวกยุง มด ปลวกที่มีอายุสั้นๆ เกิดขึ้นสักพักประมาณ 7 วัน
ก็ตายไปด้วยความที่มีอายุสั้น มนุษย์เห็นอย่างนั้นแล้ว ก็สรรเสริญความเป็นมนุษย์ว่า
มนุษย์มีอายุยืนยาว บางคนอายุยืน 50 ปี ... 100 ปี ยืนยาวกว่าพวกยุงเหล่านั้น
จึงเห็นว่า พวกสัตว์นั้นควรได้กระทำบุญที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์อย่างที่ตนเป็น
จะได้มีอายุยืนยาวอย่างตนเอง.
              แม้คาถาของเทวดาจะสรรเสริญการทำบุญ แต่เพราะบุญที่เทวดากล่าวถึงนั้น
ก็ยังจัดเป็นวัฏฏะ คือยังไม่พ้นการเกิดแก่ตายอยู่นั่นเอง พระผู้มีพระภาคจึงตรัสพระคาถา
อันเป็นวิวัฏฏะ เป็นไปเพื่อการหลุดพ้นจากการเกิดแก่ตาย.

              ฌานสูตรที่ ๑
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=21&A=3451

ความคิดเห็นที่ 25
GravityOfLove, 8 พฤษภาคม เวลา 06:56 น.

             ฌานสูตรที่ ๑
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=21&A=3451

             ความแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ
             แปลว่า ปุถุชนที่ได้ฌาน ยังอาจมาเกิดในอบายได้อีก
ส่วนพระอริยะที่ได้ฌาน จะไม่เกิดในอบายอีก
             ไม่เข้าใจตรง [ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง] ค่ะ
             เฉพาะพระอริยะที่บังเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาสไม่ใช่หรือคะ
ที่จะปรินิพพานในภพนั้น
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 26
ฐานาฐานะ, 8 พฤษภาคม เวลา 07:08 น.

GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
...
6:56 AM 5/8/2014
             พระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี ทำกาละแล้ว ก็อุบัติในพรหมโลก
ข้อนี้ ไม่มีปัญหาอะไร?
             พระอริยบุคคลชั้นพระโสดาบัน ถ้าได้ฌานด้วยก็อุบัติในพรหมโลก
กว่าที่ฌานจะเสื่อม แล้วอุบัติในกามาวจรภูมิ ปัญญาของท่านก็เจริญขึ้น
จากพระโสดาบันเป็นพระสกทาคามีบุคคล และพระอนาคามีตามลำดับ
ในพรหมโลกนั่นเอง เป็นอันว่าจะปรินิพพานในพรหมโลกนั่นเอง
             พระอริยบุคคลชั้นสกทาคามีบุคคล ก็นัยเดียวกับพระโสดาบัน.

ความคิดเห็นที่ 27
GravityOfLove, 8 พฤษภาคม เวลา 07:12 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นฬวรรคที่ ๑
             ๒. นิโมกขสูตร ว่าด้วยทางหลุดพ้น
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=30&Z=50&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
             พระองค์ย่อมทรงทราบ
             - มรรค เป็นทางหลีกพ้น (นิโมกข์)
             - ผล เป็นความหลุดพ้น (ปโมกข์)
             - นิพพาน เป็นที่สงัด (วิเวก)
             ของสัตว์ทั้งหลายหรือหนอ (พระองค์ทรงทราบหรือไม่)
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ทรงทราบโดยแท้จริง
             เทวดาทูลถามว่า ทรงทราบอย่างไร
             ตรัสตอบเป็นคาถาว่า
             เพราะความสิ้นภพอันมีความเพลิดเพลินเป็นมูล
             เพราะความสิ้นแห่งสัญญาและวิญญาณ
             เพราะความดับ เพราะความสงบแห่งเวทนาทั้งหลาย
             เราย่อมรู้จักมรรคเป็นทางหลีกพ้น ผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด
             ของสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้

             (ความดับของขันธ์ ๕ คือ พระนิพพาน)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ขันธ์_5#find1
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปฏิจจสมุปบาท

------------------------------
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นฬวรรคที่ ๑
             ๓. อุปเนยยสูตร  ว่าด้วยชีวิตถูกชรานำเข้าไป
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=51&Z=59&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดากล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
             ชีวิตนี้สั้นนัก ไม่มีผู้ป้องกันมรณะ เมื่อเห็นภัยนี้พึงทำบุญทั้งหลายที่นำความสุขมาให้
             (พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า ถ้อยคำนี้ไม่เหมาะสม เพราะเป็นไปในวัฏฏะ
(ปริยายโลกามิส) เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏกถาแก่เทวดานั้น จึงตรัสพระคาถาว่า)
             ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย
             เมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน
             บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด

             (สันติ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อามิส
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โลกามิส

------------------------------
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นฬวรรคที่ ๑
             ๔. อัจเจนติสูตร ว่าด้วยกาลที่ล่วงเลยไป
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=60&Z=68&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดากล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
             กาลย่อมล่วงไป บุคคลย่อมมีอายุมากขึ้น บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ
พึงทำบุญทั้งหลายที่นำความสุขมาให้
             (พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า ถ้อยคำนี้ไม่เหมาะสม เพราะเป็นไปในวัฏฏะ
เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏกถาแก่เทวดานั้น จึงตรัสพระคาถาว่า)
             กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลายย่อมผ่านไป
             ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป (ชั้นแห่งวัยคือ ปฐมวัย มัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย)
             บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด
             (สันติ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อามิส
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โลกามิส

[แก้ไขตาม #29]

ความคิดเห็นที่ 28
GravityOfLove, 8 พฤษภาคม เวลา 07:28 น.

             พระอริยบุคคลชั้นพระโสดาบัน ถ้าได้ฌานด้วยก็อุบัติในพรหมโลก
กว่าที่ฌานจะเสื่อม แล้วอุบัติในกามาวจรภูมิ ปัญญาของท่านก็เจริญขึ้น
จากพระโสดาบันเป็นพระสกทาคามีบุคคล และพระอนาคามีตามลำดับ
ในพรหมโลกนั่นเอง เป็นอันว่าจะปรินิพพานในพรหมโลกนั่นเอง
             เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 29
ฐานาฐานะ, 8 พฤษภาคม เวลา 18:56 น.

GravityOfLove, 10 ชั่วโมงที่แล้ว
...
7:08 AM 5/8/2014
              สรุปความได้ดีทั้ง 3 พระสูตร.
              ขอติงว่า
              คำว่า เรื่องเกิดขึ้นที่พระนครสาวัตถี ในสรุปความพระสูตรที่ 3 และ 4
ไม่ควรกำหนดลงไปอย่างนั้น แม้จะสันนิษฐานว่า พระสูตรเกิดขึ้นที่พระนครสาวัตถีก็ตาม
เพราะเป็นเพียงการสันนิษฐานเท่านั้น ควรกล่าวแต่เพียงว่า เทวดากล่าวคาถาในสำนัก
พระผู้มีพระภาค เท่านั้น.

ความคิดเห็นที่ 30
ฐานาฐานะ, 8 พฤษภาคม เวลา 18:59 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสาม
              ๒. นิโมกขสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=30&Z=50
              ๓. อุปเนยยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=51&Z=59
              ๔. อัจเจนติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=60&Z=68

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 11 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 20:47:53 น.
Counter : 572 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
13
14
15
16
17
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog