32.4 พระสูตรหลักถัดไป คือสัพภิสูตร [พระสูตรที่ 31]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
32.3  พระสูตรหลักถัดไป คือสัพภิสูตร [พระสูตรที่ 31]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=05-06-2014&group=4&gblog=20
ความคิดเห็นที่ 122
ฐานาฐานะ, 29 พฤษภาคม เวลา 23:34 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
...
10:27 PM 5/29/2014

              ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 123
ฐานาฐานะ, 29 พฤษภาคม เวลา 23:36 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อุชฌานสัญญีสูตรและสัทธาสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=687&Z=751

              พระสูตรหลักถัดไป คือ สมยสูตร [พระสูตรที่ 37].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              สมยสูตรที่ ๗
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=752&Z=788
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=115

ความคิดเห็นที่ 124
GravityOfLove, 30 พฤษภาคม เวลา 00:17 น.

             ๓๘. สกลิกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=789&Z=854&bgc=honeydew&pagebreak=0

             อุฏฺฐานสญฺญํ แปลว่า มีความสำคัญในการที่จะลุกขึ้น
             ทุกครั้งที่พระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จสีหไสยาส (ยกเว้นตอนเสด็จปรินิพพาน)
ได้ทรงกำหนดใจถึงการลุกขึ้นไว้เสมอใช่ไหมคะ รวมทั้งครั้งนี้ด้วยที่ประชวร
             พระอริยะก็นอนแบบสีหไสยาสหรือไม่คะ และกำหนดใจถึงการลุกขึ้นได้เหมือน
พระผู้มีพระภาคไหมคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 125
ฐานาฐานะ, 30 พฤษภาคม เวลา 20:18 น.

GravityOfLove, 19 ชั่วโมงที่แล้ว
              ๓๘. สกลิกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=789&Z=854&bgc=honeydew&pagebreak=0

              อุฏฺฐานสญฺญํ แปลว่า มีความสำคัญในการที่จะลุกขึ้น
              ทุกครั้งที่พระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จสีหไสยาส (ยกเว้นตอนเสด็จปรินิพพาน)
ได้ทรงกำหนดใจถึงการลุกขึ้นไว้เสมอใช่ไหมคะ รวมทั้งครั้งนี้ด้วยที่ประชวร
ตอบว่า น่าจะ / ควรจะเป็นอย่างนั้นครับ.

              พระอริยะก็นอนแบบสีหไสยาสหรือไม่คะ และกำหนดใจถึงการลุกขึ้นได้เหมือน
พระผู้มีพระภาคไหมคะ
ตอบว่า ได้ครับ
              ในโมคคัลลานสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ท่านพระมหาโมคคัลลานะเถระ
              เนื้อความบางส่วนว่า
              ... ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้น
เธอพึงอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์
มีใจไม่คิดไปในภายนอก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสำเร็จสีหไสยา คือนอนตะแคงเบื้องขวา
ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมายในอันจะลุกขึ้น
พอตื่นแล้วพึงรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุข
ในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ
              ดูกรโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=23&A=1873&w=เธอพึงสำเร็จสีหไสยา

ความคิดเห็นที่ 126
ฐานาฐานะ, 30 พฤษภาคม เวลา 21:39 น.

              คำถามว่า
              พระอริยะก็นอนแบบสีหไสยาสหรือไม่คะ และกำหนดใจถึงการลุกขึ้นได้เหมือน
พระผู้มีพระภาคไหมคะ
              ขอตอบใหม่ คำตอบเดิมตอบไปเพราะเข้าใจคำถามผิดไปว่า
               พระอริยะก็นอนแบบสีหไสยาสได้หรือไม่คะ
               และกำหนดใจถึงการลุกขึ้นได้เหมือนพระผู้มีพระภาคได้ไหมคะ
              ตอบว่า ข้อว่า พระอริยะก็นอนแบบสีหไสยาสหรือไม่คะ ฯ
              ข้อนี้ แล้วแต่พระอริยบุคคลท่านนั้นๆ
              เพราะเหตุว่า พระอริยบุคคลชั้นพระเสขบุคคล อาจจะประมาทได้อยู่.

              รตนสูตร [บางส่วน]
              พระอริยบุคคลเหล่าใด ทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย
              อันพระศาสดาทรงแสดงดีแล้ว ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง
              พระอริยบุคคลเหล่านั้น ยังเป็นผู้ประมาทอย่างแรงกล้าอยู่ก็จริง
              ถึงกระนั้นท่านย่อมไม่ยึดถือเอาภพที่ ๘
              สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
              ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=7662&Z=7746

ความคิดเห็นที่ 127
GravityOfLove, 30 พฤษภาคม เวลา 21:53 น.

ภพที่ ๘ คืออะไรคะ

ความคิดเห็นที่ 128
ฐานาฐานะ, 30 พฤษภาคม เวลา 22:02 น.

              โดยนัยก็คือ เกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ จึงไม่มีภพชาติที่ 8
หรือไม่ยึดถือเอาภพที่ 8
              ค้นหาคำว่า  “ ๗ ชาติ ”
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/tipitaka_seek.php?text=7+ชาติ&book=19&bookZ=19

ความคิดเห็นที่ 129
GravityOfLove, 30 พฤษภาคม เวลา 22:11 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 130
GravityOfLove, 30 พฤษภาคม เวลา 22:12 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔
             ๓๗. สมยสูตร ว่าด้วยพวกเทวดาประชุมกัน
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=752&Z=788&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์
             พวกเทวดาจาก ๑๐ โลกธาตุมาประชุมกันเป็นจำนวนมาก เพื่อจะเห็น
พระผู้มีพระภาคและพระภิกษุสงฆ์
             พรหมชั้นสุทธาวาส ๔ องค์ ดำริว่า
             แม้พวกเราควรเข้าไปเฝ้าพระองค์ แล้วพึงกล่าวคาถาคนละคาถา
(เป็นคาถาแสดงพระเกียรติคุณของพระผู้มีพระภาคและสรรเสริญพระอรหันตสาวก)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สุทธาวาส

             พรหมทั้ง ๔ องค์นั้นจึงหายจากชั้นสุทธาวาส มาปรากฏอยู่เฉพาะพระพักตร์
             แต่ละองค์กล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
             ๑. การประชุมใหญ่ในป่าใหญ่ มีพวกเทวดามาประชุมกันแล้ว
             พวกข้าพเจ้ามาสู่ที่ชุมนุมอันเป็นธรรม (ธรรมสมัย) นี้
             เพื่อจะเยี่ยมหมู่พระผู้ที่ใครๆ ให้แพ้ไม่ได้ (ไม่แพ้ใคร ชนะหมู่มาร)

             ๒. ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้นตั้งจิตมั่นแล้ว (ประกอบด้วยสมาธิ)
             ได้ทำจิตของตนให้ตรงแล้ว
             ภิกษุทั้งปวงนั้นเป็นบัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์ทั้งหลาย
             (ถึงพร้อมด้วยการวางเฉย ๖ ประการ (ฉฬังคุเบกขา))  
             ดุจนายสารถีถือบังhian

             ๓. ภิกษุทั้งหลายนั้นตัดกิเลสดังตะปู ดังลิ่มสลัก ดังเสาเขื่อนเสียแล้ว
             (กิเลสคือ ราคะ โทสะ โมหะ)
             ไม่หวั่นไหว เป็นผู้ปราศจากมลทินอันพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุทรงฝึกดีแล้ว
             เป็นหมู่นาค (พระอรหันต์) หนุ่มประพฤติอยู่
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=จักขุ_๕
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=นาค#find4

             ๔. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงแล้วซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
             ชนเหล่านั้นจักไม่ไปสู่อบายภูมิ
             ละร่างกายอันเป็นของมนุษย์แล้ว จักยังหมู่เทวดา (เทวกายา) ให้บริบูรณ์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สรณะ

-----------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔
             ๓๘. สกลิกสูตร ว่าด้วยสะเก็ดหิน
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=789&Z=854&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มิคทายวัน ในสวนมัททกุจฉิ
เขตพระนครราชคฤห์
             ครั้งนั้น พระบาทของพระผู้มีพระภาคถูกสะเก็ดหินกระทบแล้ว ได้ยินว่า
ทุกขเวทนาทางกายเป็นอันมากเกิดแก่พระองค์ ได้ยินว่า ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ
อดกลั้นเวทนาทั้งหลาย ไม่ทรงเดือดร้อน
             พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยาส
โดยพระปรัสเบื้องขวา ซ้อนพระบาทเหลื่อมด้วยพระบาท ทรงมีพระสติสัมปชัญญะอยู่
             (พระเทวทัตลอบทำร้ายพระผู้มีพระภาคด้วยก้อนหินจนพระโลหิตห้อ
เหล่าภิกษุได้ช่วยกันหามพระองค์ด้วยเสลี่ยง แล้วนำไปยังสวนแห่งนี้)
             เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกา (ผู้เทิดทูนธรรมสัตบุรุษ)
๗๐๐ องค์ มีวรรณงาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วถวายอภิวาท
             เทวดา ๗ องค์ แต่ละองค์ได้เปล่งอุทานในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สีหไสยา
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=78&bgc=honeydew#เรื่องผู้เทิดทูนธรรมสัตบุรุษ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุทาน

             ๑. พระสมณโคดมผู้เจริญเป็นนาคหนอ (มีกำลัง)
             ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นซึ่งเวทนาทั้งหลายอันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว
             ด้วยความที่พระองค์ทรงเป็นนาค จึงไม่ทรงเดือดร้อน
             ๒. พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นสีหะหนอ (เป็นผู้ไม่สะดุ้งตกใจ) ...
             ๓. พระสมณโคดมผู้เจริญเป็นอาชาไนยหนอ (ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเฉลียวฉลาด
หรือเพราะรู้ถึงเหตุ) ...
             ๔. พระสมณโคดมผู้เจริญเป็นผู้องอาจหนอ (นิสภะ คือผู้องอาจ
เพราะอรรถว่าหาผู้เปรียบเสมอมิได้) ...
             ๕. พระสมณโคดมผู้เจริญเป็นผู้ใฝ่ธุระหนอ ...
             ๖. พระสมณโคดมผู้เจริญเป็นผู้ฝึกแล้วหนอ
             ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นซึ่งเวทนาทั้งหลายอันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว
             ด้วยความที่พระองค์ทรงเป็นนาค จึงไม่ทรงเดือดร้อน
             ๗. ท่านทั้งหลายจงดูสมาธิที่พระสมณโคดมทรงเจริญดีแล้ว (สมาธิในอรหัตผล)
             จิตพ้นดีแล้ว จิตไม่เป็นไปตามราคะ จิตไม่เป็นไปตามโทสะ ไม่ต้องตั้งใจข่ม
(เพราะทรงตัดกิเลสทั้งหลายแล้ว)
             บุคคลใดสำคัญว่าพระสมณโคดมเป็นผู้ที่ตนพึงล่วงเกินได้ บุคคลนั้นนับว่าไม่มีตา
(อทสฺสนา ได้แก่ ไม่มีญาณหรือความรู้)
             (เทวดากล่าวติเตียนพระเทวทัตว่า เมื่อพระศาสดามีคุณเห็นปานนี้ ท่านยังทำอันตรายได้)

             เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาทั้งหลาย ใจความว่า
             พราหมณ์ทั้งหลาย มีเวท ๕ (ปญฺจเวทา) มีตบะ ประพฤติอยู่ตั้งร้อยปี
             หรือเป็นผู้ที่ตัณหาครอบงำ เกี่ยวข้องกับพรต (ประพฤติดังสุนัขเป็นต้น) และศีล
ประพฤติตบะอันเศร้าหมองอยู่ตั้งร้อยปี
             แต่จิตของพราหมณ์เหล่านั้นก็ไม่พ้นแล้วโดยชอบ เพราะพราหมณ์
เหล่านั้นมีจิตเลว ย่อมไม่ลุถึงฝั่ง (ไม่นิพพาน)
             การฝึกฝนย่อมไม่มีแก่บุคคลที่มีมานะ ความรู้ย่อมไม่มีแก่บุคคลที่มีจิตไม่ตั้งมั่น
             บุคคลผู้เดียวเมื่ออยู่ในป่า ประมาท ไม่พึงข้ามพ้นฝั่งแห่งแดนมัจจุได้ (ไม่นิพพาน)
             บุคคลละมานะแล้ว มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว มีจิตดี พ้นในธรรมทั้งปวงแล้ว
ผู้เดียว อยู่ในป่า ไม่ประมาทแล้ว บุคคลนั้นพึงข้ามพ้นฝั่งแห่งแดนมัจจุได้ (นิพพาน)

             [อรรถกถา สํ.ส.อ. ๑/๓๘/๗๘, สํ.ฏีกา ๑/๓๘/๑๒๓]             
             พระเวท ๕ คือ
             (๑) อิรุเวทหรือฤคเวท (๒) ยชุรเวท
             (๓) สามเวท (๔) อาถรรพเวท
             (๕) อิติหาสะ คือความรู้ทางประเพณี
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ไตรเพท

ความคิดเห็นที่ 131
ฐานาฐานะ, 2 มิถุนายน เวลา 14:49 น.

GravityOfLove, 30 พฤษภาคม เวลา 22:12 น.
...
10:12 PM 5/30/2014

             สรุปความได้ดีทั้งสองพระสูตร
             สมยสูตรและสกลิกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=752&Z=854

             สำหรับสกลิกสูตร ขอให้ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องพระเทวทัตทำโลหิตุปบาท
อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ สังฆเภทขันธกะ
             เรื่องพระเทวทัตทำโลหิตุปบาท
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=3493&Z=3696
             คำว่า อนันตริยกรรม
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนันตริยกรรม

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 05 มิถุนายน 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 22:20:31 น.
Counter : 464 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2557

1
2
3
4
6
7
8
10
11
12
14
15
17
18
19
20
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog