32.3 พระสูตรหลักถัดไป คือสัพภิสูตร [พระสูตรที่ 31]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
32.2  พระสูตรหลักถัดไป คือสัพภิสูตร [พระสูตรที่ 31]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=05-06-2014&group=4&gblog=19

ความคิดเห็นที่ 114
ฐานาฐานะ, 27 พฤษภาคม เวลา 13:05 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สาธุสูตรและนสันติสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=583&Z=686

              พระสูตรหลักถัดไป คือ อุชฌานสัญญีสูตร [พระสูตรที่ 35].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              อุชฌานสัญญีสูตรที่ ๕
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=687&Z=730
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=106

ความคิดเห็นที่ 115
GravityOfLove, 27 พฤษภาคม เวลา 20:03 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๓๕. อุชฌานสัญญีสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=687&Z=730&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑.
             [๑๐๗] เทวดาตนหนึ่ง ครั้นลอยอยู่ในอากาศแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ใน
สำนักพระผู้มีพระภาคว่า
                          บุคคลใดประกาศตนอันมีอยู่โดยอาการอย่างอื่น ให้เขารู้โดย
                          อาการอย่างอื่น บุคคลนั้นลวงปัจจัยเขากินด้วยความเป็น
                          ขโมย เหมือนความลวงกินแห่งพรานนก ก็บุคคลทำกรรมใด
                          ควรพูดถึงกรรมนั้น ไม่ทำกรรมใด ก็ไม่ควรพูดถึงกรรมนั้น
                          บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้จักบุคคลนั้น ผู้ไม่ทำ มัวแต่พูดอยู่ ฯ
             [๑๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาทั้งหลายนี้ว่า
                          ใครๆ ไม่อาจดำเนินปฏิปทานี้ด้วยเหตุสักว่าพูด หรือฟัง
                          ส่วนเดียว บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย ผู้มีฌาน ย่อมพ้นจาก
                          เครื่องผูกของมาร ด้วยปฏิปทาอันมั่นคงนี้
                          บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย ทราบความเป็นไปของโลกแล้ว
                          รู้แล้ว เป็นผู้ดับกิเลส ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกี่ยวข้องใน
                          โลกแล้วย่อมไม่พูดโดยแท้ ฯ
             ๒. พระผู้มีพระภาคทรงยิ้มแย้มทำไมคะ
             ๓.
             [๑๑๐] ในลำดับนั้นแล เทวดาเหล่านั้นผู้เพ่งโทษโดยประมาณยิ่ง กลับ
ขึ้นไปบนอากาศ เทวดาตนหนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
                          เมื่อเราแสดงโทษอยู่ ถ้าบุคคลใดมีความโกรธอยู่ในภายใน
                          มีความเคืองหนัก ย่อมไม่อดโทษให้ บุคคลนั้นย่อมสอด
                          สวมเวร หากว่าในโลกนี้ โทษก็ไม่มี ความผิดก็ไม่มี เวร
                          ทั้งหลายก็ไม่สงบ ในโลกนี้ใครพึงเป็นคนฉลาด เพราะ
                          เหตุไร โทษทั้งหลายของใครก็ไม่มี ความผิดของใครก็ไม่มี
                          ใครไม่ถึงแล้วซึ่งความหลงใหล ในโลกนี้ ใครย่อมเป็นผู้มี
                          ปัญญา เป็นผู้มีสติในกาลทั้งปวง ฯ
---------------------
             ๓๖. สัทธาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=731&Z=751&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑. ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน หากว่าความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
             ไม่ตั้งอยู่ แต่นั้นบริวารยศและเกียรติยศย่อมมีแก่เขานั้น
             อนึ่ง เขานั้นละทิ้งสรีระแล้วก็ไปสู่สวรรค์
             ๒. พระพุทธพจน์ที่ว่า บุคคลไม่ประมาทแล้วเพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุบรมสุข
             เพ่งหมายถึงฌานใช่ไหมคะ ในที่นี้หมายถึงลักษณูปนิชฌานใช่ไหมคะ
             ๓. บทว่า นานุปตนฺติ สงฺคา แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง ย่อมไม่เกาะเกี่ยว
คือได้แก่กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ๕ อย่างมีราคะเป็นเครื่องเกี่ยวข้องเป็นต้น ย่อมไม่เข้าถึง.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 116
ฐานาฐานะ, 28 พฤษภาคม เวลา 15:34 น.

GravityOfLove, 25 นาทีที่แล้ว
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๓๕. อุชฌานสัญญีสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=687&Z=730&bgc=honeydew&pagebreak=0

              ๑.
              [๑๐๗] เทวดาตนหนึ่ง ครั้นลอยอยู่ในอากาศแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ใน
สำนักพระผู้มีพระภาคว่า
               บุคคลใดประกาศตนอันมีอยู่โดยอาการอย่างอื่น ให้เขารู้โดย
               อาการอย่างอื่น บุคคลนั้นลวงปัจจัยเขากินด้วยความเป็น
               ขโมย เหมือนความลวงกินแห่งพรานนก ก็บุคคลทำกรรมใด
               ควรพูดถึงกรรมนั้น ไม่ทำกรรมใด ก็ไม่ควรพูดถึงกรรมนั้น
               บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้จักบุคคลนั้น ผู้ไม่ทำ มัวแต่พูดอยู่ ฯ
              [๑๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาทั้งหลายนี้ว่า
               ใครๆ ไม่อาจดำเนินปฏิปทานี้ด้วยเหตุสักว่าพูด หรือฟัง
               ส่วนเดียว บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย ผู้มีฌาน ย่อมพ้นจาก
               เครื่องผูกของมาร ด้วยปฏิปทาอันมั่นคงนี้
               บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย ทราบความเป็นไปของโลกแล้ว
               รู้แล้ว เป็นผู้ดับกิเลส ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกี่ยวข้องใน
               โลกแล้วย่อมไม่พูดโดยแท้ ฯ

              อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
              ข้อ 107 เทวดาตนหนึ่งตำหนิพระผู้มีพระภาค นัยว่า
              ดีแต่สอนผู้อื่น แต่ตนเองไม่ทำ
              อรรถกถาให้นัยว่า ทรงสอนให้ทรงผ้าบังสุกุล อาศัยโคนไม้
การเที่ยวบิณฑบาต แต่พระองค์กลับไม่ทำ.
              นัยนี้ควรทบทวนพระสูตรชื่อว่า มหาสกุลุทายิสูตร ตั้งแต่ข้อ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=5498&Z=6022#324

              ข้อ 108 นัยว่า
              เพียงการพูดสรรเสริญธรรมทั้งหลายก็ตาม (ผู้แสดง)
              เพียงการฟังการสรรเสริญ (ผู้ฟังหรือพวกเทวดานี้)
              ยังไม่ใช่การเจริญมรรคเลย
              ผู้มีปัญญา เพ่งพิจารณาสภาพธรรม ต่างหากชื่อว่า
ดำเนินไปตามปฏิปทาหรือมรรคาเครื่องตรัสรู้ ย่อมหลุดพ้นจาก
เครื่องผูกได้ ผู้มีปัญญา ทราบสภาพการของโลกแล้ว
ดับกิเลสแล้ว ย่อมไม่พูดโอ้อวด หรือพูดลวงโลก.

              ๒. พระผู้มีพระภาคทรงยิ้มแย้มทำไมคะ
              อรรถกถากล่าวว่า
              ถามว่า เพราะเหตุไร.
              ตอบว่า ได้ยินว่า พวกเทวดาเหล่านั้นบอกให้พระองค์ยกโทษให้แก่พวกเทวดา
โดยภาวะของตน ย่อมกระทำพระตถาคตเจ้าซึ่งเป็นบุคคลผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ให้เป็นโลกิยมหาชนเช่นกับคนธรรมดาคนหนึ่ง.
              ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงทำการแย้มให้ปรากฏ โดยประสงค์ว่า
เราจักแสดงกำลังแห่งพระพุทธเจ้าก่อน แล้วจักอดโทษในภายหลัง โดยถ้อยคำที่จะกล่าวข้างหน้า.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=106

              นัยก็คือ
              อรรถกถาว่า ทรงแสดงกำลังแห่งพระพุทธเจ้าก่อน.
              ผมสันนิษฐานว่า
              1. พระผู้มีพระภาคทรงยิ้มแย้ม เป็นการแสดงให้เห็นว่า ไม่ทรงโกรธเลย.
              2. เพื่อเป็นทางแห่งการแสดงธรรม กล่าวคือ เทวดาจะสอบถาม (เชิงตำหนิ)
ตามข้อ 110 ต่อไป จากนั้น พระองค์ก็จะแสดงธรรมข้อ 111 เทวดาก็จะเข้าใจตามเป็นจริงว่า
              พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอดโทษให้พวกเทวดา
              พวกเทวดาอาจจะได้พิจารณาว่า
              1. ตนเองไปกล่าวตำหนิพระผู้มีพระภาค เป็นการเพ่งโทษครั้งที่ 1
              2. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการแย้มให้ปรากฏ ก็สอบถามเชิงตำหนิอีก
เทวดาอาจได้การพิจารณาตนเองว่า อยู่ในสำนักของพระมหาบุรุษผู้เลิศอย่างนี้
พวกตนยังทำผิดได้ถึง 2 ครั้ง เพียงเพราะไม่เข้าใจ หรือเพราะพระมหาบุรุษ
ไม่ได้ทรงตามที่ตนคาดหวัง ก็ตำหนิอีก เมื่อเห็นสภาพของตนเองตามเป็นจริง
ก็จะสำรวมให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก.

              ๓.
              [๑๑๐] ในลำดับนั้นแล เทวดาเหล่านั้นผู้เพ่งโทษโดยประมาณยิ่ง กลับ
ขึ้นไปบนอากาศ เทวดาตนหนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
               เมื่อเราแสดงโทษอยู่ ถ้าบุคคลใดมีความโกรธอยู่ในภายใน
               มีความเคืองหนัก ย่อมไม่อดโทษให้ บุคคลนั้นย่อมสอด
               สวมเวร หากว่าในโลกนี้ โทษก็ไม่มี ความผิดก็ไม่มี เวร
               ทั้งหลายก็ไม่สงบ ในโลกนี้ใครพึงเป็นคนฉลาด เพราะ
               เหตุไร โทษทั้งหลายของใครก็ไม่มี ความผิดของใครก็ไม่มี
               ใครไม่ถึงแล้วซึ่งความหลงใหล ในโลกนี้ ใครย่อมเป็นผู้มี
               ปัญญา เป็นผู้มีสติในกาลทั้งปวง ฯ

              อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
              เทวดาเห็นพระผู้มีพระภาคทรงแย้มให้ปรากฏ จึงเข้าใจว่า
พระผู้มีพระภาคทรงแย้ม แต่ไม่ทรงตรัสคำอดโทษให้ จึงคิดว่า
พระผู้มีพระภาคทรงกริ้วพวกเทวดา จึงกล่าวถ้อยคำแสดงโทษของการผูกโกรธ
คือผู้ทำผิดไปแล้วแสดงโทษ ผู้นั้นไม่อดโทษให้ ผู้นั้นก็ชื่อว่าผูกโกรธ
ติดข้องในเวรต่อกัน.
              จากนั้น เทวดาก็กล่าวเป็นคำถาม สันนิษฐานนัยว่า
              เทวดากล่าวอิงความเข้าใจไปเองของตนว่า
               พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอดโทษต่อพวกเขา (เทวดา)
              จากนั้น ก็กล่าวอิงไปว่า
              1. หากการกล่าวล่วงเกิน (เทวดากล่าวล่วงเกิน)
              2. การขอให้อดโทษ แล้วไม่ยอมอดโทษ
              ไม่เป็นความผิด ไม่มีโทษ เวรจะระงับได้อย่างไร
โดยนัยก็คือ เพราะ เวรปรากฏเห็นชัดๆ อยู่เช่นการทะเลาะวิวาทกัน.
              ความเห็นส่วนตัวว่า เป็นคำถามเชิงประชดประชันว่า
ถ้าการไม่อดโทษ ไม่เป็นความผิด แล้วเวรที่เห็นๆ อยู่ในโลกนี้
จะสงบได้อย่างไร และใครเล่าจะเป็นผู้ฉลาด ไม่หลงใหล ฯ.

---------------------
              ๓๖. สัทธาสูตร ว่าด้วยศรัทธา
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=731&Z=751&bgc=honeydew&pagebreak=0

              ๑. ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน หากว่าความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
              ไม่ตั้งอยู่ แต่นั้นบริวารยศและเกียรติยศย่อมมีแก่เขานั้น
              อนึ่ง เขานั้นละทิ้งสรีระแล้วก็ไปสู่สวรรค์

              อธิบายว่า
              คนทั่วไป เมื่อมีศรัทธา 4 อยู่ ก็เหมือนมีเพื่อน มีที่ปรึกษา
              เช่น เมื่อจะสละสิ่งของเพื่อทำทาน หรือสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย
พิจารณาด้วยญาณว่า กรรมนี้จะมีวิบากเป็นสุขหรือ กรรมนี้จะให้ผลเมื่อไร?
ก็ไม่มีญาณดังกล่าวเพื่อพิจารณา แต่ว่า ความมั่นคงของศรัทธาว่า
แม้ไม่มีญาณเครื่องกำหนดรู้ แต่มีศรัทธาพอเป็นแนวทางให้ดำเนินไปว่า
กรรมมี ผลของกรรมมี ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังนี้แล้วก็ดำเนินไป
ในทางที่ถูกต้อง เหมาะสม เหมือนมีเพื่อน มีที่ปรึกษาอย่างดี.

              คำว่า หากว่าความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่ตั้งอยู่
              เป็นปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ
              หากคนนั้นไม่มีศรัทธาในกรรมในผลของกรรมดีกรรมชั่ว
ก็เป็นอันว่า ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาตั้งอยู่ ควรเจริญศรัทธาให้เกิดขึ้นมั่นคง
เมื่อศรัทธาเจริญมั่นคง ก็เป็นอันความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่ตั้งอยู่.

              ๒. พระพุทธพจน์ที่ว่า บุคคลไม่ประมาทแล้วเพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุบรมสุข
              เพ่งหมายถึงฌานใช่ไหมคะ ในที่นี้หมายถึงลักษณูปนิชฌานใช่ไหมคะ
              อธิบายว่า การเพ่งฌานมี 2 ลักษณะคือ
               1. เพ่งอารมณ์ อันเป็นสมถะ
               2. เพ่งลักษณะ อันเป็นวิปัสสนา
             แม้การพิจารณาเพื่อบรรลุมรรคผล จะเน้นที่วิปัสสนาเป็นสำคัญก็ตาม
แต่ในระหว่างทาง ระหว่างการบำเพ็ญเพียรอยู่นั้น ก็ต้องเจริญสมถะควบคู่กันไปด้วย
เพื่อได้ความสงบใจและอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน.
             เหมือนการรบ เป้าหมายเพื่อทำลายข้าศึกก็จริง แต่ในระหว่างรบที่ยาวนาน
ก็ต้องรักษากองกำลังไว้ให้ได้ด้วยการตั้งค่าย ให้กำลังพลได้พักผ่อนด้วย.

              คำว่าราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน เป็นชื่อของสมถะและวิปัสสนา
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=5189&Z=5274
              คำว่า ฌาน 2
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน+2

              ๓. บทว่า นานุปตนฺติ สงฺคา แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง ย่อมไม่เกาะเกี่ยว
คือได้แก่กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ๕ อย่างมีราคะเป็นเครื่องเกี่ยวข้องเป็นต้น ย่อมไม่เข้าถึง.
              มาจากอรรถกถาบาลีว่า
               นานุปตนฺติ สงฺคาติ ราคสงฺคาทโย ปญฺจ สงฺคา น อนุปตนฺติ ฯ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=2&valume=11&item=36&Roman=0&PageMode=1
              อรรถกถากติฉินทิสูตร [บางส่วน]
              บทว่า ปญฺจสงฺคาติโต ความว่า ก้าวล่วงแล้วซึ่งธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ เหล่านี้
คือเครื่องข้องคือราคะ เครื่องข้องคือโทสะ เครื่องข้องคือโมหะ เครื่องข้องคือมานะ เครื่องข้องคือทิฐิ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=11

ประกอบด้วยความคิดเห็นส่วนตัว โปรดใช้วิจารณญาณ.

ความคิดเห็นที่ 117
GravityOfLove, 29 พฤษภาคม เวลา 11:37 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 118
GravityOfLove, 29 พฤษภาคม เวลา 11:45 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔
             ๓๕. อุชฌานสัญญีสูตร ว่าด้วยพวกเทวดาผู้มุ่งหมายจะเพ่งโทษ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=687&Z=730&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             พวกเทวดาผู้มีความมุ่งหมายเพ่งโทษ (อุชฌานสัญญิกา) จำนวนมาก
มีวรรณงาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วลอยอยู่ในอากาศ
             เทวดาตนหนึ่ง กล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาค ใจความว่า

             บุคคลใดตนเป็นอย่างหนึ่ง แต่ประกาศตนเป็นอีกอย่างหนึ่ง
             ชื่อว่าลวงปัจจัยเขากินด้วยความเป็นขโมย (เทวดาตนนี้หมายถึงพระผู้มีพระภาค)
             บุคคลทำกรรมใดควรพูดถึงกรรมนั้น ไม่ทำกรรมใด ก็ไม่ควรพูดถึงกรรมนั้น
             (ตัวเองทำอะไร ก็ควรพูดอย่างที่ตัวเองทำนั้น ไม่ใช่พูดแล้ว แต่ไม่ทำ)
             บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้จักบุคคลนั้น ผู้ไม่ทำ มัวแต่พูดอยู่

             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า
                          ใครๆ ไม่อาจดำเนินปฏิปทานี้ด้วยเหตุสักว่าพูด หรือฟัง
                          ส่วนเดียว บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย ผู้มีฌาน ย่อมพ้นจาก
                          เครื่องผูกของมาร ด้วยปฏิปทาอันมั่นคงนี้
(การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)
                          บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย ทราบความเป็นไปของโลกแล้ว
                          (รู้แล้วซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของสังขารโลก)
                          รู้แล้ว (รู้อริยสัจ ๔) เป็นผู้ดับกิเลส ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกี่ยวข้องใน
                          โลกแล้วย่อมไม่พูดโดยแท้
(ย่อมไม่พูดโอ้อวดหรือลวงโลก)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_2
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4

             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เทวดาเหล่านั้นลงมายืนบนพื้นดิน
หมอบลงใกล้พระบาทของพระองค์ แล้วทูลขอพระองค์ทรงอดโทษให้พวกตนผู้เป็นพาล
แล้วจะสำรวมต่อไป (เนื่องจากตอนแรกไม่ได้ถวายอภิวาทพระองค์และกล่าววาจา
เพ่งโทษพระองค์)
             พระผู้มีพระภาคทรงยิ้มแย้ม
             (ทรงดำริว่า เราจะแสดงกำลังของพระพุทธเจ้าก่อน แล้วค่อยอดโทษแก่พวกเทวดา)
             เทวดาเหล่านั้นเข้าใจว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอดโทษให้ จึงกลับขึ้นไป
บนอากาศ เทวดาตนหนึ่งกล่าวคาถาใจความว่า

             เราแสดงโทษแล้ว แต่บุคคลที่มีความโกรธอยู่ภายใน ไม่อดโทษให้
             บุคคลนั้นย่อมสวมสอดเวร (ผูกเวร) เวรทั้งหลายก็ไม่สงบ
             ถ้าโลกนี้ โทษก็ไม่มี ความผิดก็ไม่มี เวรทั้งหลายก็ไม่สงบแล้ว
             ในโลกนี้ใครจะเป็นผู้ฉลาด ไม่หลงใหล มีสติเล่า และเพราะเหตุไร?

             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถา ใจความว่า
             พระตถาคต โทษก็ไม่มี ความผิดก็ไม่มี พระตถาคตเป็นผู้มีปัญญา ไม่หลงใหล มีสติ
             เมื่อท่านแสดงโทษแล้ว หากบุคคลมีความโกรธอยู่ภายใน ย่อมไม่อดโทษให้
             บุคคลนั้นย่อมสวมสอดเวร เราไม่ชอบเวรนั้น เราย่อมอดโทษให้พวกท่าน

------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔
             ๓๖. สัทธาสูตร ว่าด้วยศรัทธา
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=731&Z=751&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             เทวดาสตุลลปกายิกา (ผู้เทิดทูนธรรมของสัตบุรุษ) จำนวนมาก มีวรรณงาม
มาเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วถวายอภิวาท
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=78&bgc=honeydew#เรื่องผู้เทิดทูนธรรมสัตบุรุษ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัตบุรุษ

             เทวดาองค์หนึ่ง กล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาค ใจความว่า
             ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน (เพราะเมื่อมีศรัทธาก็จะปฏิบัติตนในศีลในธรรม
ทำให้มีวิบากเป็นสุข) หากมีศรัทธา ย่อมมีบริวารยศและเกียรติยศ เมื่อตายแล้วก็จะไปสู่สวรรค์
             บุคคลพึงละความโกรธ มานะ และสังโยชน์เสีย
             กิเลสย่อมไม่เกาะเกี่ยวบุคคลนั้นผู้ไม่เกี่ยวข้องในนามรูป ผู้ไม่มีกิเลส
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ศรัทธา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัทธา

             (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถา ใจความว่า)
             คนพาลย่อมประมาท ส่วนนักปราชญ์ย่อมไม่ประมาท
             บุคคลอย่าประมาท และอย่ายินดีทางกาม
             เพราะบุคคลที่ไม่ประมาทแล้วเพ่ง
(ฌาน ๒) อยู่ ย่อมบรรลุบรมสุข (พระนิพพาน)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_2

[แก้ไขตาม #119]

ความคิดเห็นที่ 119
ฐานาฐานะ, 29 พฤษภาคม เวลา 21:03 น.

GravityOfLove, 9 ชั่วโมงที่แล้ว
...
11:44 AM 5/29/2014

             อุชฌานสัญญีและสัทธาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=687&Z=751

             สรุปความได้ดีครับ มีข้อแก้ไขเพิ่มเติมดังนี้ :-
             เราแสดงโทษแล้ว แต่บุคคลที่มีความโกรธอยู่ภายใน ไม่อดโทษให้
             บุคคลนั้นย่อมสวมสอดเวร (ผูกเวร) เวรทั้งหลายก็ไม่สงบ
             ถ้าโลกนี้ โทษก็ไม่มี ความผิดก็ไม่มี แล้วในโลกนี้ใครจะเป็นผู้ฉลาด ไม่หลงใหล มีสติเล่า
แก้ไขเป็น
             เราแสดงโทษแล้ว แต่บุคคลที่มีความโกรธอยู่ภายใน ไม่อดโทษให้
             บุคคลนั้นย่อมสวมสอดเวร (ผูกเวร) เวรทั้งหลายก็ไม่สงบ
             ถ้าโลกนี้ โทษก็ไม่มี ความผิดก็ไม่มี เวรทั้งหลายก็ไม่สงบแล้ว
             ในโลกนี้ใครจะเป็นผู้ฉลาด ไม่หลงใหล มีสติเล่า และเพราะเหตุไร?

ความคิดเห็นที่ 120
ฐานาฐานะ, 29 พฤษภาคม เวลา 21:05 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๓๕. อุชฌานสัญญี
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=687&Z=730
              ๓๖. สัทธาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=731&Z=751

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 121
GravityOfLove, 29 พฤษภาคม เวลา 22:28 น.

             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
             เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
             ๓๕. อุชฌานสัญญี
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=687&Z=730

             ๑. เทวดามาเพ่งโทษพระผู้มีพระภาคว่า ถ้อยคำของพระองค์กับการกระทำของพระองค์
เป็นไปคนละอย่าง เมื่อพระองค์ตรัสตอบแล้ว เทวดาเหล่านั้นได้ขอขมาโทษ
             ๒.พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          ใครๆ ไม่อาจดำเนินปฏิปทานี้ด้วยเหตุสักว่าพูด หรือฟัง
                          ส่วนเดียว บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย ผู้มีฌาน ย่อมพ้นจาก
                          เครื่องผูกของมาร ด้วยปฏิปทาอันมั่นคงนี้
                          บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย ทราบความเป็นไปของโลกแล้ว
                          รู้แล้ว เป็นผู้ดับกิเลส ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกี่ยวข้องใน
                          โลกแล้วย่อมไม่พูดโดยแท้ ฯ

                          โทษทั้งหลายก็ไม่มี ความผิดก็ไม่มีแก่พระตถาคตนั้น ผู้ตรัสรู้
                          แล้ว ผู้เอ็นดูแก่สัตว์ทั้งปวง พระตถาคตนั้นไม่ถึงแล้วซึ่ง
                          ความหลงใหล พระตถาคตนั้นย่อมเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มี
                          สติในกาลทั้งปวง เมื่อพวกท่านแสดงโทษอยู่ หากบุคคลใด
                          มีความโกรธอยู่ในภายใน มีความเคืองหนัก ย่อมไม่อด
                          โทษให้ บุคคลนั้นย่อมสอดสวมเวร เราไม่ชอบเวรนั้น เรา
                          ย่อมอดโทษแก่ท่านทั้งหลาย ฯ
----------------------
             ๓๖. สัทธาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=731&Z=751

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมตามประกอบความประมาท
                          ส่วนนักปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือนบุคคล
                          รักษาทรัพย์อันประเสริฐ บุคคลอย่าตามประกอบความประมาท
                          และอย่าตามประกอบความสนิทสนมด้วยอำนาจความยินดีทาง
                          กาม เพราะว่าบุคคลไม่ประมาทแล้วเพ่งพินิจอยู่ ย่อม
                          บรรลุบรมสุข ฯ
             ๒. ยโส แปลว่า ยศ ได้แก่บริวาร.
             กิตฺติ แปลว่า เกียรติยศ ได้แก่การกล่าวยกย่องสรรเสริญ.
             ๓. การเพ่งหรือฌาน มี ๒ คือ เพ่งอยู่ด้วยลักษณูปนิชฌาน และอารัมมณูปนิชฌาน
             (๑) วิปัสสนา มรรคและผล ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน
             วิปัสสนา ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่าเข้าไปเพ่งซึ่งลักษณะทั้งสาม (ไตรลักษณ์)
             มรรคชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่าย่อมให้สำเร็จซึ่งปหานกิจที่มาถึงแล้วโดยวิปัสสนา
             ผลชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่าย่อมเข้าไปเพ่งซึ่งนิโรธสัจจะ อันเป็นตถลักษณะ
             (๒) สมาบัติ ๘ เป็นอารัมมณูปนิชฌาน เพราะการเข้าไปเพ่งอารมณ์แห่งกสิณ

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 05 มิถุนายน 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 22:12:41 น.
Counter : 515 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2557

1
2
3
4
6
7
8
10
11
12
14
15
17
18
19
20
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog