Group Blog
 
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
5 เมษายน 2555
 
All Blogs
 
ยุวทูตดาราศาสตร์ ดูดาว?เกาหลี?


ยุวทูตดาราศาสตร์ ดูดาว?เกาหลี?
วิภาวี จุฬามณี
มหัศจรรย์มากเลยครับ เหมือนผมมีเวทมนตร์' น้องสตังค์ หรือ นายพลเดช อนันชัย หนุ่มน้อยผอมบาง เจ้าของตำแหน่งยุวทูตดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 พูดพลางชี้ไม้ชี้มือไปทางกล้อง โทรทรรศน์วิทยุขนาด 21 เมตร น้ำหนักกว่าพันตัน ที่ตัวเองเพิ่งจะใช้มือเล็กๆ กดปุ่มสั่งการให้หันซ้าย-ขวาตามใจ โดยมีเจ้าหน้าที่ชาวเกาหลีคอยให้คำแนะนำอยู่ใกล้ๆ ก่อนจะพูดตบท้ายว่า เป็นโอกาสดี และมีเยาวชนน้อยคนนักจะได้มาสัมผัสประสบการณ์ยิ่งใหญ่เหมือนกับเขา

โอกาสดีๆ เช่นนี้ เกิดขึ้นภายใต้โครงการ 'เปิดโลก ทรรศน์ด้านดาราศาสตร์ให้เด็กไทย ณ สาธารณรัฐเกาหลี' ที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดขึ้น
โดยต่อยอดจากโครงการประกวดยุวทูตดาราศาสตร์ประจำปี 2554 นำผู้ชนะเลิศและรองอันดับ 1 และ 2 เดินทางไปทัศนศึกษาหน่วยงานด้านดาราศาสตร์ไกลถึงสาธารณรัฐเกาหลี หรือเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 19-24 มี.ค.ที่ผ่านมา

ทริปตะลุยเกาหลีครั้งนี้ นอกจากน้องสตังค์ นักเรียนชั้นม.6 โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.เชียงราย ยังมี 'น้องเทพ'นายอำพันเทพ ธารวณิชย์การ นักเรียนชั้นม.5 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ รองยุวทูตดาราศาสตร์ อันดับ 1 และ 'น้องใบเฟิร์น'น.ส.ฐิติกานต์ ฉุยฉาย นักเรียนชั้นม.6 โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา จ.สุโขทัย รองยุวทูตดาราศาสตร์ อันดับ 2 ร่วมเดินทาง

โดยมีผู้ใหญ่ใจดี 'พี่แอ้'จุลลดา ขาวสะอาด หัวหน้าฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ สดร. และ 'อาจารย์แอ๋ม'ดร.ศิรามาศ โกมลจินดา อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ ม.เชียงใหม่ คอยให้คำแนะนำและดูแล

ตั้งแต่ลงเครื่องที่ปูซาน เมืองท่าทางตอนใต้ของเกาหลี น้องๆ ยุวทูตท่าทางตื่นเต้น เพราะเป็นการเดินทางมาต่างบ้านต่างเมืองครั้งแรก

หลังทำความรู้จักเมืองปูซานอยู่พักหนึ่ง ขึ้นรถบัสเดินทางต่อไปยังเมืองเคียงจู อยู่ห่างไปทางเหนือประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อเยี่ยมชม 'หอดูดาวชมซงแด' (Cheomseongdae Observatory) หอดูดาวแห่งแรกของเกาหลี และได้ชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออก

ฐานของหอดูดาวชมซงแด สร้างจากก้อนหิน 12 ก้อน วางเรียงแทนจำนวนเดือน 12 เดือน ขณะที่ตัวหอประกอบด้วยหิน 365 ก้อน แทนจำนวนวันใน 1 ปี

หอดูดาวแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยพระราชินีซอนต๊อก (Seondeok Queen) ประมุของค์ที่ 27 แห่งราชวงศ์ชิลลา เพื่อลบล้างความเชื่องมงายเรื่องไสยศาสตร์ ทำลายอิทธิพลของขุนนาง 'มีซิน' และใช้เป็นที่ดูความเปลี่ยนแปลงของดวงดาว เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการทำเกษตรกรรมของชาวเมือง

รู้จักจุดเริ่มต้นของศาสตร์แห่งดวงดาวของชาวเกาหลีไปแล้ว จุดหมายต่อไป ยุวทูตโจ๋เดินทางไปยัง 'หอดูดาวโบฮยูนซาน' (Bohyunsan Optical Astronomy Observatory : BOAO) ตั้งอยู่บนภูเขาโบฮยูนซาน เขตยังซุน เพื่อดูความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดาราศาสตร์สมัยใหม่


ระหว่างทางขึ้นหอดูดาวยังเห็นหิมะประปราย แต่สิ่งที่ทำให้ยุวทูตดาราศาสตร์ทั้ง 3 ตื่นเต้นยิ่งกว่า คือการได้สัมผัส กล้องโทรทรรศน์ริตชีย์- เครเตียน (Ritchey-Cretien reflector) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 เมตร เป็นกล้องโทรทรรศน์ออฟติคอลที่ใหญ่ของเกาหลี และมีภาพปรากฏอยู่บนธนบัตรชนิด 1,000 วอน ด้วย

นอกจากนี้ ยังมีกล้อง Solar Flare Telescope ซึ่งใช้สังเกตพื้นผิว และชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ น้อยคนนักจะได้มาสัมผัสใกล้ๆ

ดร.จอน ยอง เบียม นักวิจัยประจำหอดูดาวโบฮยูนซาน บรรยายให้ยุวทูตดาราศาสตร์ทั้ง 3 ฟังว่า กว่าจะก่อสร้างหอดูดาวที่นี่ได้ ต้องสำรวจภูเขากว่าร้อยลูก เพราะภูมิประเทศของเกาหลีอยู่ติดทะเล ไม่เอื้ออำนวยต่อการตั้งหอดูดาวมากนัก

แม้สภาพอากาศที่หอดูดาวโบฮยูนซาน ฟ้าจะเปิดเพียง 24 เปอร์เซ็นต์ต่อปี แต่หอดูดาวแห่งนี้ก็ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากจะเป็นสถานที่ทำงานของนักวิจัยด้านดาราศาสตร์ และเป็นสถานีตรวจวัดอากาศแล้ว ยังเปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้เดือนละครั้ง แต่ละปีมีผู้มาเยือนไม่ต่ำกว่า 25,000 คน

ถัดจากหอดูดาวโบฮยูนซาน คณะยุวทูตเดินทางต่อไปยัง 'หอดูดาวโซแบกซาน' (Sobaeksan Optical Astronomy Observatory : SOAO) ตั้งอยู่บนเขาโซแบก ในเขตทานยาง สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1,378 เมตร

หอดูดาวโซแบกซาน เป็นหอดูดาวสมัยใหม่แห่งแรกของเกาหลี เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อปีค.ศ.1978 ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง บอลเลอร์-ชีเวนส์ (Boller & Chivence Reflector) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 61 ซ.ม. งานวิจัยหลักคือ การสังเกตการณ์ดาวอุปราคา ดาวแปรแสง และดาราจักรเชิงโฟโตเมตรี

แม้จะเป็นหอดูดาวขนาดเล็ก แต่ก็มีประสิทธิภาพสูง ทั้งยังเปิดเป็นโรงเรียนสอนดาราศาสตร์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนม.ค.-ก.พ. มีผู้สนใจทั้งที่เป็นชาวเกาหลีเอง และชาวต่างชาติ

ยิ่งไปกว่านั้น ยังเปิดโปรแกรมพิเศษสำหรับนักเรียนมัธยมปลาย และมีโปรแกรมสำหรับนักเขียน ศิลปิน และนักแสดง 2 ครั้งต่อปี เพราะคนกลุ่มนี้ต้องการเรียนรู้รูปแบบการใช้ชีวิตของนักดาราศาสตร์ เพื่อนำไปเป็นไอเดียในงานเขียน หรือการแสดงของพวกเขา

ก่อนมุ่งหน้าไปยังสถาบันดาราศาสตร์และอวกาศเกาหลี (Korea Astro nomy and Space Science Institute : KASI)หน่วยงานหลักที่ควบคุมดูแลหอดูดาวทั้ง 2 แห่งข้างต้น คณะของเราแวะที่ 'พิพิธภัณฑ์นาอิลซอง' (Nha Il Seong Museum of Astronomy) ซึ่ง อาจารย์นาอิลซอง นักดาราศาสตร์สมัยใหม่รุ่นแรกๆ ของเกาหลี และเป็นผู้มีส่วนผลักดันให้สร้างหอดูดาวสมัยใหม่ เปิดบ้านเป็นพิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์ให้ผู้สนใจได้เยี่ยมชม


ซอง ภูมิใจนำเสนอ อาทิ นาฬิกาแดดแกะสลักจากหิน ปฏิทินดาราศาสตร์สมัยราชวงศ์หยวน ทำจากหินขนาด 250 ซ.ม. และแผนที่ดาวขนาดใหญ่วาดด้วยมือ ซึ่งทำสำเนามาจากเพื่อนชาวญี่ปุ่น เนื่องจากฉบับจริงถูกเผาไปแล้ว ตั้งแต่ตอนที่สหรัฐอเมริกามาทิ้งระเบิดปรมาณูที่ญี่ปุ่น
ภายในพิพิธภัณฑ์มีเครื่องมือดาราศาสตร์จัดแสดงไว้มากมาย ชิ้นที่ อาจารย์นาอิล
นอกจากนี้ ยังมีแผนที่ดาวของชาวเกาหลีที่ทำเป็นฉากกั้นห้อง และแผนที่ดาวรูปแบบอื่นๆ จากประเทศจีน ยุวทูตดาราศาสตร์ทั้ง 3 ยังได้ความรู้ใหม่อีกว่า แผนที่ดาวของประเทศจีนและเกาหลี มีข้อแตกต่างที่สังเกตได้ง่ายๆ


คือ แผนที่ดาวของจีน ดาวทุกดวงจะถูกเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์วงกลมขนาดเท่าๆ กัน ขณะที่แผนที่ดาวเกาหลีละเอียดกว่านั้น เพราะจะบอกความสว่างของดวงดาว ผ่านวงกลมที่มีขนาดใหญ่-เล็ก แตกต่างกัน

แล้วคณะของเราก็มาถึง สถาบันดาราศาสตร์และอวกาศเกาหลี หรือ นาซ่าแห่งเกาหลี ที่ เมืองแทยอน (Daejeon) ครั้งนี้ยุวทูตดาราศาสตร์ได้รับเกียรติจาก ดร.พิล โอ ปาร์ก ผอ.สถาบันมาต้อนรับและพูดคุยอย่างเป็นกันเอง

ก่อนจะให้เจ้าหน้าที่พาไปดูนิทรรศการ และชม หอดูดาววิทยุแทดุก (Taeduck Radio Astronomy : TRAO) ตั้งอยู่ภายในสถาบัน และปิดท้ายเส้นทางตามรอยดาว ด้วยการเยี่ยมชมเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ทางไกลของประเทศเกาหลี (Korean VLBI Network : KVN) ที่ มหาวิทยาลัยยอนซุย (Yonsui University) กรุงโซล

ณ ที่นี่เอง ยุวทูตดาราศาสตร์ของเราได้ทดลองควบคุมกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ ด้วยมือตัวเอง

น้องสตังค์ ยูวทูตดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 เป็นตัวแทนเพื่อนๆ อีก 2 คน พูดถึงความประทับใจจากการทัศนศึกษาครั้งนี้ว่า เป็นประสบการณ์ที่ดีมาก และอาจเป็นโอกาสครั้งเดียวในชีวิตที่ได้ขึ้นไปบนหอดูดาว พูดคุยกับนักดาราศาสตร์ที่ทำงานอยู่บนนั้นจริงๆ

โดยเฉพาะความประทับใจในตัว ผอ.สถาบันดาราศาสตร์และอวกาศเกาหลี ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนตัวเล็กๆ ได้แลกเปลี่ยนความเห็น รวมถึงเจ้าหน้าที่ทุกคนที่อนุญาตให้สัมผัสอุปกรณ์ดาราศาสตร์ที่หนักเป็นพันๆ ตัน

'การเดินทางมาทัศนศึกษาครั้งนี้ ช่วยตอบคำถามบางคำถามที่ในหนังสือเรียนไม่มีคำตอบ ผมประทับใจที่เขาบอกว่า รัฐบาลเกาหลีเห็นความสำคัญ และสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าด้านดาราศาสตร์จริงๆ'

ก่อนปิดท้ายทริปนี้ว่า

'ในฐานะยุวทูตดาราศาสตร์ ผมและเพื่อนๆ จะนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ตามวาระ และโอกาสต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนไทยสนใจดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น'

credit ://www.khaosod.co.th/



Create Date : 05 เมษายน 2555
Last Update : 5 เมษายน 2555 8:26:29 น. 0 comments
Counter : 1446 Pageviews.

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.