Group Blog
 
<<
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
2 เมษายน 2556
 
All Blogs
 
ไอแซก นิวตัน จากครอบครัวชาวนา นักวิทยาศาตร์ที่โด่งดัง


ภาพเขียนของไอแซกนิวตันขณะอายุ 46 ปี

เกิด    4 มกราคม ค.ศ. 1643 (ปฏิทินเกรกอเรียน) 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642  (ปฏิทินจูเลียน) วูลสธอร์ป ลิงคอนไชร์ ประเทศอังกฤษ  เสียชีวิต    31 มีนาคม ค.ศ. 1727 (ปฏิทินเกรกอเรียน) 20 มีนาคม ค.ศ. 1727 (ปฏิทินจูเลียน) เคนซิงตัน มิดเดิลเซกซ์ ประเทศอังกฤษ ที่พำนัก    อังกฤษ สัญชาติ    อังกฤษ เชื้อชาติ    อังกฤษ  สาขาวิชา    ฟิสิกส์, คณิตศาสตร์, ดาราศาสตร์, ปรัชญาธรรมชาติ, เล่นแร่แปรธาตุ, เทววิทยา ผลงาน    กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน  ความโน้มถ่วงสากล  แคลคูลัส  ทัศนศาสตร์




ชีวิตครอบครัว.....นิวตันไม่เคยแต่งงาน และไม่มีหลักฐานใดที่บ่งบอกว่าเขาเคยมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับผู้ใด...แม้จะไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ก็เชื่อกันโดยทั่วไปว่าเขาถึงแก่กรรมไปโดยที่ยังบริสุทธิ์ ดังที่บุคคลสำคัญหลายคนกล่าวถึง เช่นนักคณิตศาสตร์ ชาลส์ ฮัตตัน  นักเศรษฐศาสตร์ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ และนักฟิสิกส์ คาร์ล เซแกน

วอลแตร์ นักเขียนและนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสซึ่งพำนักในลอนดอนในช่วงเวลาที่ฝังศพของนิวตัน อ้างว่าเขาได้ค้นพบข้อเท็จจริงนี้ เขาเขียนไว้ว่า "ผมได้รับการยืนยันจากหมอและศัลยแพทย์ที่อยู๋กับเขาตอนที่เขาตาย" (เรื่องที่อ้างกล่าวว่า ขณะที่เขานอนบนเตียงและกำลังจะตาย ก็สารภาพออกมาว่าเขายังบริสุทธิ์อยู่  ในปี 1733 วอลแตร์ระบุโดยเปิดเผยว่านิวตัน "ไม่มีทั้งความหลงใหลหรือความอ่อนแอ เขาไม่เคยเข้าใกล้หญิงใดเลย"

  • นิวตันมีมิตรภาพอันสนิทสนมกับนักคณิตศาสตร์ชาวสวิส Nicolas Fatio de Duillier ซึ่งเขาพบในลอนดอนราวปี 1690 แต่มิตรภาพนี้กลับสิ้นสุดลงเสียเฉยๆ ในปี 1693 จดหมายติดต่อระหว่างคนทั้งคู่บางส่วนยังคงเหลือรอดมาถึงปัจจุบัน


ชีวประวัติ....วัยเด็ก
ไอแซก นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1643 (หรือ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642 ตามปฏิทินเก่า) ที่วูลส์ธอร์พแมนเนอร์ ท้องถิ่นชนบทแห่งหนึ่งในลินคอล์นเชียร์ ตอนที่นิวตันเกิดนั้นประเทศอังกฤษยังไม่ยอมรับปฏิทินเกรกอเรียน ดังนั้นวันเกิดของเขาจึงบันทึกเอาไว้ว่าเป็นวันที่ 25 ธันวาคม 1642 บิดาของนิวตัน (ชื่อเดียวกัน) ซึ่งเป็นชาวนาผู้มั่งคั่งเสียชีวิตก่อนเขาเกิด 3 เดือน เมื่อแรกเกิดนิวตันตัวเล็กมาก เขาเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่มีผู้ใดคาดว่าจะรอดชีวิตได้ มารดาของเขาคือ นางฮานนาห์ อายสคัฟ บอกว่าเอานิวตันใส่ในเหยือกควอร์ทยังได้ (ขนาดประมาณ 1.1 ลิตร) เมื่อนิวตันอายุได้ 3 ขวบ มารดาของเขาแต่งงานใหม่กับสาธุคุณบาร์นาบัส สมิธ และได้ทิ้งนิวตันไว้ให้มาร์เกรี อายส์คัฟ ยายของนิวตันเลี้ยง นิวตันไม่ชอบพ่อเลี้ยง และเป็นอริกับมารดาไปด้วยฐานแต่งงานกับเขา ความรู้สึกนี้ปรากฏในงานเขียนสารภาพบาปที่เขาเขียนเมื่ออายุ 19: "ขอให้พ่อกับแม่สมิธรวมทั้งบ้านของพวกเขาถูกไฟผลาญ" ...นิวตันเคยหมั้นครั้งหนึ่งในช่วงปลายวัยรุ่น แต่เขาไม่เคยแต่งงานเลย เพราะอุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการศึกษาและการทำงาน


นับแต่อายุ 12 จนถึง 17 นิวตันเข้าเรียนที่คิงส์สกูล แกรนแธม (มีลายเซ็นที่เชื่อว่าเป็นของเขาปรากฏอยู่บนหน้าต่างห้องสมุดโรงเรียนจนถึงทุกวันนี้) ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1659 เขากลับไปบ้านเกิดเมื่อมารดาที่เป็นหม้ายครั้งที่ 2 พยายามบังคับให้เขาเป็นชาวนา แต่เขาเกลียดการทำนา ครูใหญ่ที่คิงส์สกูล เฮนรี สโตกส์ พยายามโน้มน้าวให้มารดาของเขายอมส่งเขากลับมาเรียนให้จบ จากแรงผลักดันในการแก้แค้นครั้งนี้ นิวตันจึงเป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนสูงที่สุด


เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1661 นิวตันได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยทรินิตี้ เคมบริดจ์ ในฐานะซิซาร์ (sizar; คือทุนชนิดหนึ่งซึ่งนักศึกษาต้องทำงานเพื่อแลกกับที่พัก อาหาร และค่าธรรมเนียม) ในยุคนั้นการเรียนการสอนในวิทยาลัยตั้งอยู่บนพื้นบานแนวคิดของอริสโตเติล แต่นิวตันชอบศึกษาแนวคิดของนักปรัชญายุคใหม่คนอื่นๆ ที่ทันสมัยกว่า เช่น เดส์การ์ตส์ และนักดาราศาสตร์ เช่น โคเปอร์นิคัส, กาลิเลโอ และเคปเลอร์ เป็นต้น

ปี ค.ศ. 1665 เขาค้นพบทฤษฎีบททวินามและเริ่มพัฒนาทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ซึ่งต่อมากลายเป็นแคลคูลัสกณิกนันต์ นิวตันได้รับปริญญาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1665 หลังจากนั้นไม่นาน มหาวิทยาลัยต้องปิดลงชั่วคราวเนื่องจากเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ แม้เมื่อศึกษาในเคมบริดจ์เขาจะไม่มีอะไรโดดเด่น

แต่การศึกษาด้วยตนเองที่บ้านในวูลส์ธอร์พตลอดช่วง 2 ปีต่อมาได้สร้างพัฒนาการแก่ทฤษฎีเกี่ยวกับแคลคูลัส ธรรมชาติของแสงสว่าง และกฎแรงโน้มถ่วงของเขาอย่างมาก นิวตันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับแสงอาทิตย์อย่างหลากหลายด้วยแท่งแก้วปริซึมและสรุปว่ารังสีต่างๆ ของแสงซึ่งนอกจากจะมีสีแตกต่างกันแล้วยังมีภาวะการหักเหต่างกันด้วย การค้นพบที่เป็นการอธิบายว่าเหตุที่ภาพที่เห็นภายในกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้เลนส์แก้วไม่ชัดเจน ก็เนื่องมาจากมุมในการหักเหของลำแสงที่ผ่านแก้วเลนส์แตกต่างกัน ทำให้ระยะโฟกัสต่างกันด้วย จึงเป็นไม่ได้ที่จะได้ภาพที่ชัดด้วยเลนส์แก้ว การค้นพบนี้กลายเป็นพื้นฐานในการพัฒนากล้องโทรทรรศน์แบบกระจกเงาสะท้อนแสงที่สมบูรณ์โดยวิลเลียม เฮอร์เชล และ เอิร์ลแห่งโรส ในเวลาต่อมา ในเวลาเดียวกับการทดลองเรื่องแสงสว่าง นิวตันก็ได้เริ่มงานเกี่ยวกับแนวคิดในเรื่องการโคจรของดาวเคราะห์


ค.ศ. 1667 เขากลับไปเคมบริดจ์อีกครั้งหนึ่งในฐานะภาคีสมาชิกของทรินิตี้ซึ่งมีกฎเกณฑ์อยู่ว่าผู้เป็นภาคีสมาชิกต้องอุทิศตนถือบวช อันเป็นสิ่งที่นิวตันพยายามหลีกเลี่ยงเนื่องจากมุมมองของเขาที่ไม่เห็นด้วยกับศาสนา โชคดีที่ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนว่าภาคีสมาชิกต้องบวชเมื่อไร จึงอาจเลื่อนไปตลอดกาลก็ได้ แต่ก็เกิดปัญหาขึ้นในเวลาต่อมาเมื่อนิวตันได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเมธีลูเคเชียนอันทรงเกียรติ ซึ่งไม่อาจหลบเลี่ยงการบวชไปได้อีก ถึงกระนั้นนิวตันก็ยังหาทางหลบหลีกได้โดยอาศัยพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2

  • ชีวิตการงาน

  • การหล่นของผลแอปเปิลทำให้เกิดคำถามอยู่ในใจของนิวตันว่าแรงของโลกที่ทำให้ผลแอปเปิลหล่นน่าจะเป็นแรงเดียวกันกับแรงที่ “ดึง” ดวงจันทร์เอาไว้ไม่ไปที่อื่นและทำให้เกิดโคจรรอบโลกเป็นวงรี ผลการคำนวณเป็นสิ่งยืนยันความคิดนี้แต่ก็ยังไม่แน่ชัดจนกระทั่งการการเขียนจดหมายโต้ตอบระหว่างนิวตันและโรเบิร์ต ฮุก ที่ทำให้นิวตันมีความมั่นใจและยืนยันหลักการกลศาสตร์เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ได้เต็มที่


ในปีเดียวกันนั้น เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ได้มาเยี่ยมนิวตันเพื่อถกเถียงเกี่ยวกับคำถามเรื่องดาวเคราะห์ ฮัลลเลย์ต้องประหลาดใจที่นิวตันกล่าวว่าแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ที่ทำให้การวงโคจรรูปวงรีได้นั้นเป็นไปตามกฎกำลังสองที่นิวตันได้พิสูจน์ไว้แล้วนั่นเอง


 ซึ่งนิวตันได้ส่งเอกสารในเรื่องนี้ไปให้ฮัลเลย์ดูในภายหลังและฮัลเลย์ก็ได้ชักชวนขอให้นิวตันเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น และหลังการเป็นศัตรูคู่ปรปักษ์ระหว่างนิวตันและฮุกมาเป็นเวลานานเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้ค้นพบ “กฎกำลังสอง” แห่งการดึงดูด หนังสือเรื่อง "หลักการคณิตศาสตร์ว่าด้วยปรัชญาธรรมชาติ” (Philosophiae naturalist principia mathematica หรือ The Mathematical Principles of Natural Philosophy) ก็ได้รับการตีพิมพ์ เนื้อหาในเล่มอธิบายเรื่องความโน้มถ่วงสากล และเป็นการวางรากฐานของกลศาสตร์ดั้งเดิม (กลศาสตร์คลาสสิก) ผ่านกฎการเคลื่อนที่ ซึ่งนิวตันตั้งขึ้น นอกจากนี้ นิวตันยังมีชื่อเสียงร่วมกับ กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ในฐานะที่ต่างเป็นผู้พัฒนาแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์อีกด้วย


งานสำคัญชิ้นนี้ซึ่งถูกหยุดไม่ได้พิมพ์อยู่หลายปีได้ทำให้นิวตันได้รับการยอมรับว่าเป็นนักฟิสิกส์กายภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ผลกระทบมีสูงมาก นิวตันได้เปลี่ยนโฉมวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทห์วัตถุที่มีมาแต่เดิมโดยสิ้นเชิง นิวตันได้ทำให้งานที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยกลางและได้รับการเสริมต่อโดยความพยายามของกาลิเลโอเป็นผลสำเร็จลง และ “กฎการเคลื่อนที่” นี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของงานสำคัญทั้งหมดในสมัยต่อๆ มา


ภาพวาดนิวตันในปี ค.ศ. 1702 โดย ก็อดฟรีย์ เนลเลอร์

ในขณะเดียวกัน การมีส่วนในการต่อสู้การบุกรุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยอย่างผิดกฎหมายจากพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ทำให้นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาในปี ค.ศ. 1689-90 ต่อมาปี ค.ศ. 1696 นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลโรงผลิตกษาปณ์เนื่องจากรัฐบาลต้องการบุคคลที่ซื่อสัตย์สุจริตและมีความเฉลียวฉลาดเพื่อต่อสู้กับการปลอมแปลงที่ดาษดื่นมากขึ้นในขณะนั้นซึ่งต่อมา นิวตันก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการในปี ค.ศ. 1699 หลังจากได้แสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม และในปี ค.ศ. 1701 นิวตันได้รับเลือกเข้าสู้รัฐสภาอีกครั้งหนึ่งในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัย และในปี ค.ศ. 1704 นิวตันได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “ทัศนศาสตร์” หรือ Optics ฉบับภาษาอังกฤษ (สมัยนั้นตำรามักพิมพ์เป็นภาษาละติน) ซึ่งนิวตันไม่ยอมตีพิมพ์จนกระทั่งฮุก คู่ปรับเก่า


  • บั้นปลายของชีวิต

ชีวิตส่วนใหญ่ของนิวตันอยู่กับความขัดแย้งกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะฮุก, ไลบ์นิซ และเฟลมสตีด ซึ่งนิวตันแก้เผ็ดโดยวิธีลบเรื่องหรือข้อความที่เป็นจิตนาการหรือไม่ค่อยเป็นจริงที่ได้อ้างอิงว่าเป็นการช่วยเหลือของพวกเหล่านั้นออกจากงานของนิวตันเอง

นิวตันตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์งานของตนอย่างดุเดือดเสมอ และมักมีความปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็นเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงนี้มีให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี ค.ศ. 1693 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของนิวตัน

หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี ค.ศ. 1705 นิวตันใช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตันไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็นอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลัง ๆ และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1703 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

 นิวตันดำรงตำแหน่งเป็นนายกราชสมาคมแห่งลอนดอนที่ได้รับสมญา “นายกสภาผู้กดขี่”
เมื่อนิวตันเสียชีวิตลง พิธีศพของเขาจัดอย่างยิ่งใหญ่เทียบเท่ากษัตริย์ ศพของเขาฝังอยู่ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงของอังกฤษ
เซอร์ไอแซก นิวตันมีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือพระเจ้าท้ายสระแห่งสมัยกรุงศรีอยุธยา

เซอร์ไอแซก นิวตัน (อังกฤษ: Sir Isaac Newton) (4 มกราคม ค.ศ. 1643-31 มีนาคม ค.ศ. 1727 ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642- 20 มีนาคม ค.ศ. 1726 ตามปฏิทินจูเลียน)1 นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาวอังกฤษ


งานเขียนในปี ค.ศ. 1687 เรื่อง Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica (เรียกกันโดยทั่วไปว่า Principia) ถือเป็นหนึ่งในหนังสือที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานของวิชากลศาสตร์ดั้งเดิม ในงานเขียนชิ้นนี้ นิวตันพรรณนาถึง กฎแรงโน้มถ่วงสากล และ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ซึ่งเป็นกฎทางวิทยาศาสตร์อันเป็นเสาหลักของการศึกษาจักรวาลทางกายภาพตลอดช่วง 3 ศตวรรษถัดมา นิวตันแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ บนโลกและวัตถุท้องฟ้าล้วนอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติชนิดเดียวกัน โดยแสดงให้เห็นความสอดคล้องระหว่างกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์กับทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของตน ซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล และช่วยให้การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ายิ่งขึ้น


นิวตันสร้างกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงที่สามารถใช้งานจริงได้เป็นเครื่องแรก และพัฒนาทฤษฎีสีโดยอ้างอิงจากผลสังเกตการณ์ว่า ปริซึมสามเหลี่ยมสามารถแยกแสงสีขาวออกมาเป็นหลายๆ สีได้ ซึ่งเป็นที่มาของสเปกตรัมแสงที่มองเห็น เขายังคิดค้นกฎการเย็นตัวของนิวตัน และศึกษาความเร็วของเสียง


ในทางคณิตศาสตร์ นิวตันกับก็อตฟรีด ไลบ์นิซ ได้ร่วมกันพัฒนาทฤษฎีแคลคูลัสเชิงปริพันธ์และอนุพันธ์ เขายังสาธิตทฤษฎีบททวินาม และพัฒนากระบวนวิธีของนิวตันขึ้นเพื่อการประมาณค่ารากของฟังก์ชัน รวมถึงมีส่วนร่วมในการศึกษาอนุกรมกำลัง


นิวตันไม่เชื่อเรื่องศาสนา เขาเป็นคริสเตียนนอกนิกายออร์โธดอกซ์ และยังเขียนงานตีความคัมภีร์ไบเบิลกับงานศึกษาด้านไสยศาสตร์มากกว่างานด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เสียอีก เขาต่อต้านแนวคิดตรีเอกภาพอย่างลับๆ และเกรงกลัวในการถูกกล่าวหาเนื่องจากปฏิเสธการถือบวช
ไอแซก นิวตัน ได้รับยกย่องจากปราชญ์และสมาชิกสมาคมต่างๆ ว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

  • ด้านคณิตศาสตร์

กล่าวกันว่า ผลงานของนิวตันเป็น "ความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ในทุกสาขาของคณิตศาสตร์ในยุคนั้น" ผลงานที่เขาเรียกว่า Fluxion หรือแคลคูลัส ซึ่งปรากฏอยู่ในงานเขียนชุดหนึ่งเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1666 ในปัจจุบันได้รับการตีพิมพ์อยู่รวมกับงานด้านคณิตศาสตร์อื่นๆ ของนิวตัน  ในจดหมายที่ไอแซก แบร์โรว์ ส่งไปให้จอห์น คอลลินส์เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1669 กล่าวถึงผู้เขียนต้นฉบับ De analysi per aequationes numero terminorum infinitas ที่เขาส่งไปให้คอลลินส์เมื่อเดือนมิถุนายนปีเดียวกันนั้นว่า

Mr Newton, a fellow of our College, and very young ... but of an extraordinary genius and proficiency in these things.

ต่อมานิวตันมีข้อขัดแย้งกับไลบ์นิซในเรื่องที่ว่า ใครเป็นผู้คิดพัฒนาแคลคูลัสก่อนกัน นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่เชื่อว่าทั้งนิวตันและไลบ์นิซต่างคนต่างก็พัฒนาแคลคูลัสกณิกนันต์กันโดยอิสระ แม้ว่าจะมีบันทึกที่แตกต่างกันมากมาย ดูเหมือนว่า นิวตันจะไม่เคยตีพิมพ์อะไรเกี่ยวกับแคลคูลัสเลยก่อนปี ค.ศ. 1693 และไม่ได้เขียนบทความฉบับสมบูรณ์ในเรื่องนี้ตราบจนปี ค.ศ. 1704 ขณะที่ไลบ์นิซเริ่มตีพิมพ์บทความฉบับเต็มเกี่ยวกับกระบวนวิธีคิดของเขาในปี ค.ศ. 1684 (บันทึกของไลบ์นิซและ "กระบวนวิธีดิฟเฟอเรนเชียล" เป็นที่ยอมรับนำไปใช้โดยนักคณิตศาสตร์ในภาคพื้นยุโรป และต่อมานักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษจึงค่อยรับไปใช้ในปี ค.ศ. 1820) แต่อย่างไรก็ดี แนวคิดนี้ไม่ได้ให้ข้อสังเกตในเนื้อหาของแคลคูลัส ซึ่งนักวิจารณ์ทั้งในยุคของนิวตันและยุคสมัยใหม่ต่างระบุว่า มีอยู่ในเล่มที่ 1 ของหนังสือชุด Principia ของนิวตัน (ตีพิมพ์ปี 1687) และในต้นฉบับลายมือเขียนที่มีมาก่อนหน้านี้ เช่น De motu corporum in gyrum ("การเคลื่อนที่ของวัตถุในวงโคจร") เมื่อปี 1684 Principia ไม่ได้เขียนในภาษาแคลคูลัสแบบที่เรารู้จัก แต่มีการใช้แคลคูลัสกณิกนันต์ในรูปแบบเรขาคณิต ว่าด้วยจำนวนที่ถูกจำกัดด้วยสัดส่วนของจำนวนที่เล็กลงไปเรื่อยๆ นิวตันสาธิตวิธีการนี้เอาไว้ใน Principia โดยเรียกชื่อมันว่า กระบวนวิธีสัดส่วนแรกและสัดส่วนสุดท้าย (method of first and last ratios) และอธิบายไว้ว่าเหตุใดเขาจึงแสดงความหมายของมันในรูปแบบเช่นนี้ โดยกล่าวด้วยว่า "นี้คือการแสดงวิธีแบบเดียวกันกับกระบวนการของการแบ่งแยกไม่ได้อีกต่อไป"

ด้วยเหตุนี้ในยุคปัจจุบัน Principia จึงถูกเรียกว่าเป็น "หนังสือที่อัดแน่นด้วยทฤษฏีและการประยุกต์ใช้แคลคูลัสกณิกนันต์" และ "lequel est presque tout de ce calcul" ("แทบทุกสิ่งอย่างเกี่ยวกับแคลคูลัส") ในยุคของนิวตัน การใช้กระบวนวิธีเช่นนี้ของเขาที่เกี่ยวข้องกับ "จำนวนกณิกนันต์หนึ่งอันดับหรือมากกว่านั้น" ได้แสดงไว้ในงานเขียน De motu corporum in gyrum ของเขาเมื่อปี 1684 และในงานเขียนเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ที่เขียนขึ้น "ระหว่าง 2 ทศวรรษก่อนปี 1684


นิวตันลังเลในการเผยแพร่แคลคูลัสของเขาก็เพราะเขากลัวข้อโต้แย้งและคำวิพากษ์วิจารณ์ เขาเคยสนิทสนมกับนักคณิตศาสตร์ชาวสวิส Nicolas Fatio de Duillier ครั้นปี 1691 ดุยลิเยร์เริ่มต้นเขียน Principia ของนิวตันขึ้นในรูปแบบใหม่ และติดต่อกับไลบ์นิซ มิตรภาพระหว่างดุยลิเยร์กับนิวตันเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่ปี 1693 และหนังสือนั้นก็เลยเขียนไม่เสร็จ

สมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอนหลายคน (สมาคมซึ่งนิวตันเป็นสมาชิกอยู่ด้วย) เริ่มกล่าวหาไลบ์นิซว่าลอกเลียนผลงานของนิวตันในปี ค.ศ. 1699 ข้อโต้แย้งรุนแรงขึ้นถึงขั้นแตกหักในปี 1711 เมื่อทางราชสมาคมฯ ประกาศในงานศึกษาชิ้นหนึ่งว่า นิวตันคือผู้ค้นพบแคลคูลัสที่แท้จริง และตราหน้าไลบ์นิซว่าเป็นจอมหลอกลวง งานศึกษาชิ้นนั้นกลายเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยเมื่อพบในภายหลังว่าตัวนิวตันนั่นเองที่เป็นคนเขียนบทสรุปของงานโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับไลบ์นิซ ข้อขัดแย้งในเรื่องนี้กลายเป็นรอยด่างพร้อยในชีวิตของทั้งนิวตันและไลบ์นิซตราบจนกระทั่งไลบ์นิซเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1716


นิวตันได้รับยกย่องโดยทั่วไปเนื่องจากทฤษฎีบททวินามที่ใช้ได้สำหรับเลขยกกำลังใดๆ เขาเป็นผู้ค้นพบ Newton's identities, Newton's method, เส้นโค้งบนระนาบลูกบาศก์ (โพลีโนเมียลอันดับสามของตัวแปรสองตัว), เขามีส่วนอย่างสำคัญต่อทฤษฎี finite differences, และเป็นคนแรกที่ใช้เศษส่วนเลขชี้กำลัง (fractional indices) และนำเรขาคณิตเชิงพิกัดมาใช้หาคำตอบจากสมการไดโอแฟนทีน เขาหาค่าผลบวกย่อยโดยประมาณของอนุกรมฮาร์โมนิกได้โดยใช้ลอการิทึม (ก่อนจะมีสมการผลรวมของออยเลอร์) และเป็นคนแรกที่ใช้อนุกรมกำลัง งานของนิวตันเกี่ยวกับอนุกรมอนันต์ได้รับแรงบันดาลใจจากเลขทศนิยมของไซมอน สเตวิน (Simon Stevin)


นิวตันได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ลูเคเชียนด้านคณิตศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1669 โดยการเสนอชื่อของแบร์โรว์ ซึ่งในวันรับตำแหน่งนั้น ผู้รับตำแหน่งที่เป็นภาคีสมาชิกของเคมบริดจ์หรือออกซฟอร์ดจะต้องบวชเข้าเป็นพระในนิกายแองกลิกัน อย่างไรก็ดี ตำแหน่งศาสตราจารย์ลูเคเชียนนี้ไม่ได้บังคับว่าผู้รับตำแหน่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา (คาดว่าคงเพราะต้องการให้มีเวลาเพื่อวิทยาศาสตร์มากกว่า) นิวตันจึงยกเป็นข้ออ้างว่าตนไม่จำเป็นต้องบวช และได้รับพระราชานุญาตจากพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ทำให้นิวตันไม่ต้องประสบกับปัญหาเรื่องแง่มุมทางศาสนาของตนกับแนวคิดของนิกายแองกลิกัน


ด้านทัศนศาสตร์

ช่วงปี 1670-1672 นิวตันสอนวิชาทัศนศาสตร์ ในระหว่างช่วงเวลานี้ เขาศึกษาเรื่องการหักเหของแสง โดยแสดงให้เห็นว่า ปริซึมสามารถแตกแสงขาวให้กลายเป็นสเปกตรัมของแสงได้ และถ้ามีเลนส์กับปริซึมอีกแท่งหนึ่งจะสามารถรวมแสงสเปกตรัมหลายสีกลับมาเป็นแสงขาวได้ นักวิชาการยุคใหม่เปิดเผยว่างานวิเคราะห์แสงขาวของนิวตันนี้เป็นผลมาจากวิชาเล่นแร่แปรธาตุเชิงคอร์พัสคิวลาร์


เขายังแสดงให้เห็นว่า แสงที่มีสีจะไม่เปลี่ยนคุณสมบัติไปไม่ว่าจะถูกกระจายลำแสงออกส่องไปยังพื้นผิววัตถุใดๆ ก็ตาม นิวตันให้ข้อสังเกตว่า ไม่ว่าแสงนั้นจะสะท้อน กระจาย หรือเคลื่อนผ่านอะไร มันก็ยังคงเป็นสีเดิมอยู่นั่นเอง นอกจากนี้เขาสังเกตว่า สีนั้นคือผลลัพธ์จากการที่วัตถุมีปฏิกิริยากับแสงที่มีสีอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าวัตถุนั้นสร้างสีของมันออกมาเอง แนวคิดนี้รู้จักในชื่อ ทฤษฎีสีของนิวตัน (Newton's theory of colour)


เกียรติคุณและอนุสรณ์

นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส โจเซฟ-หลุยส์ ลากรองจ์ มักพูดบ่อยๆ ว่านิวตันเป็นอัจฉริยะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา มีอยู่ครั้งหนึ่งเขากล่าวว่า นิวตันนั้น "โชคดีที่สุด เพราะเราไม่อาจค้นพบระบบของโลกได้มากกว่า 1 ครั้ง"กวีชาวอังกฤษ อเล็กซานเดอร์ โพพ ได้รับแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของนิวตัน และเขียนบทกวีที่โด่งดังมาก ดังนี้:

ธรรมชาติและกฎแห่งธรรมชาติซ่อนตัวอยู่ในความมืด
พระเจ้าตรัสว่า "ให้นิวตันกำเนิด" แล้วแสงจึงมี
Nature and nature's laws lay hid in night;
God said "Let Newton be" and all was light.

แต่ตัวนิวตันเองค่อนข้างจะถ่อมตัวกับความสำเร็จของตัวเอง ครั้งหนึ่งเขาเขียนจดหมายถึงโรเบิร์ต ฮุก ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1676 ว่า

ถ้าฉันสามารถมองได้ไกล นั่นก็เพราะฉันยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์
If I have seen further it is by standing on the shoulders of giants

อย่างไรก็ดี นักเขียนบางคนเชื่อว่า ถ้อยคำข้างต้นซึ่งเขียนขึ้นในช่วงเวลาที่นิวตันกับฮุกกำลังมีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับการค้นพบเรื่องแสง น่าจะเป็นการตอบโต้ฮุก (โดยว่าเป็นถ้อยคำที่ทั้งสั้นและห้วน) มากกว่าจะเป็นการถ่อมตน วลี "ยืนบนบ่าของยักษ์" อันโด่งดังตีพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยกวีชื่อ จอร์จ เฮอร์เบิร์ต (อดีตโฆษกมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และภาคีสมาชิกของวิทยาลัยทรินิตี้) ในงานเขียนเรื่อง Jacula Prudentum (1651) มีความหมายหลักคือ "คนแคระที่ยืนบนบ่าของยักษ์ จะมองเห็นได้ไกลกว่าที่แต่ละคนมอง" ผลกระทบในที่นี้จึงน่าจะเป็นการเปรียบเปรยว่าตัวนิวตันนั่นเองที่เป็น "คนแคระ" ไม่ใช่ฮุก
มีบันทึกในช่วงหลัง นิวตันเขียนว่า:

ฉันไม่รู้หรอกว่าโลกเห็นฉันเป็นอย่างไร แต่กับตัวเองแล้ว ฉันเหมือนจะเป็นเด็กที่เล่นอยู่ริมชายฝั่ง เพลิดเพลนิกับการเสาะหาก้อนกรวดเรียบๆ หรือเปลือกหอยที่สวยเป็นพิเศษ ขณะที่มหาสมุทรแห่งความจริงอันยิ่งใหญ่ทอดตัวอยู่เบื้องหน้าโดยยังไม่ถูกค้นพบ

นิวตันยังคงมีอิทธิพลต่อนักวิทยาศาสตร์มาตลอด เห็นได้จากการสำรวจความคิดเห็นสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน (ซึ่งนิวตันเคยเป็นประธาน) เมื่อปี ค.ศ. 2005 โดยถามว่า ใครเป็นผู้มีอิทธิพลยิ่งใหญ่ต่อประวัติศาสตร์แห่งวิทยาศาสตร์มากกว่ากันระหว่างนิวตันกับไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์แห่งราชสมาคมฯ ให้ความเห็นโดยส่วนใหญ่แก่นิวตันมากกว่า ปี ค.ศ. 1999 มีการสำรวจความคิดเห็นจากนักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกปัจจุบัน 100 คน ลงคะแนนให้ไอน์สไตน์เป็น "นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล" โดยมีนิวตันตามมาเป็นอันดับสอง ในเวลาใกล้เคียงกันมีการสำรวจโดยเว็บไซต์ PhysicsWeb ให้คะแนนนิวตันมาเป็นอันดับหนึ่ง


อนุสรณ์
อนุสาวรีย์นิวตัน (1731) ตั้งอยู่ในมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ด้านทิศเหนือของทางเดินสู่เวทีนักร้องของโบสถ์ ใกล้กับที่ฝังศพของเขา ศิลปินผู้แกะสลักคือ ไมเคิล ไรส์แบร็ค (1694-1770) ทำด้วยหินอ่อนสีขาวและเทา ออกแบบโดยสถาปนิก วิลเลียม เคนท์ เป็นรูปปั้นนิวตันกำลังนอนเอนอยู่เหนือหีบศพ ศอกขวาตั้งอยู่บนหนังสือสำคัญหลายเล่มของเขา มือซ้ายชี้ไปยังม้วนหนังสือที่ออกแบบในเชิงคณิตศาสตร์ เหนือร่างเขาเป็นปิระมิดกับโดมท้องฟ้า แสดงสัญลักษณ์จักรราศีและเส้นทางเดินของดาวหางใหญ่แห่งปี 1680 ด้านข้างมียุวเทพกำลังใช้เครื่องมือหลายอย่างเช่นกล้องโทรทรรศน์และปริซึม


  • บล็อกหน้านี้อยู่ในหมวด วิทยาศาตร์ นะขอรับSmiley

.......
บทความ วิกิพีเดีย
ขอบคุณพิเศษสำหรับท่านผู้เขียนบทความบทนี้เป็นอย่างสุง



Create Date : 02 เมษายน 2556
Last Update : 29 เมษายน 2556 4:58:20 น. 57 comments
Counter : 3109 Pageviews.

 
สวัสตอนเที่ยง เวลาเกาหลีคะ ท่านขุน
ชีวประวัติ ไอแซก นิวตัน
มีแต่เรื่องน่าทึ่งคะ ขอบคุณที่เอาบทความดีๆมาแบ่งปันนะคะ ^^


โดย: Clannad วันที่: 2 เมษายน 2556 เวลา:10:16:40 น.  

 
คิดถึงท่านขุนนะขอรับ มาส่งใบลาพักร้อนสักเด๋วนุงนะค้า^^


โดย: แม่อ้วนคนสวย วันที่: 2 เมษายน 2556 เวลา:10:16:51 น.  

 
ชีวิต ของนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ ไม่ธรรมดาจริงๆๆ ครับ
แวะมาเยี่ยม และโหวตให้ครับ



โดย: Sleeping_prince วันที่: 2 เมษายน 2556 เวลา:11:15:12 น.  

 
แวะมาทักทาย ช่วงอาหารกลางวันครับ


โดย: อยากบอกว่าหลง วันที่: 2 เมษายน 2556 เวลา:12:02:45 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
diamondsky Klaibann Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

นักวิทยาศาสตร์คืออัจฉริยะบุคคลที่ที่มีคุณูปการยิ่งต่อมวลมนุษยชาติ ถ้าไม่มีพวกเขา โลกเราคงไม่วิวัฒนาการมาได้ขนาดนี้ ขอปรบมือให้ค่ะ


โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 2 เมษายน 2556 เวลา:16:01:22 น.  

 
ไม่ทันจริงๆ แหละจ้า ปิดคอมไปทำงานแล้วจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 2 เมษายน 2556 เวลา:20:39:03 น.  

 
อืม ! คนที่มีปัญหาครอบครัวแล้วทำตัวแย่ๆ
สร้างปัญหาให้สังคมแล้วเอาคำว่าปัญหาครอบครัวมาอ้าง
น่าจะได้อ่านบทความนี้นะคะ จะได้รู้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่มีปัญหา
แล้วเขาจะหาทางออกในทางที่ผิดๆ แต่มีบางคนที่เอาปัญหานั้น
มาเป็นแรงผลักดันเพื่อสร้างสรรสังคม สร้างสรรโลก
และสร้างเจริญรุ่งเรื่อง ชื่อเสียง เงินทองให้ตัวเอง
อ่านประวัติของท่านแล้ว ทึ่งจริงๆค่ะ


โดย: ฝากเธอ2 วันที่: 2 เมษายน 2556 เวลา:21:08:27 น.  

 
สวัสดีค่ะ ท่านขุน

วันนี้ท่านขุน แว๊บแรกที่เปิดเข้ามา คิดว่าจะเป็นรูปของท่านขุนเสียอีก ฮ่าๆ

กว่าที่ท่านเซอร์จะได้มาอยู่ในใจของคนทั้งโลก ประวัติความเป็นมาของท่านก็ต้องต่อสู้อะไรๆ มามากมายเลยนะคะ

ขอบคุณที่ทำมาฝากกันค่ะ

***เพิ่งเข้าใช้งาน blog ได้วันนี้ ยังไม่ได้อัพเรื่องใหม่ ไม่ต้องแวะก็ได้นะคะ อัพแล้วจะรีบมาเคาะประตูบ้านค่ะ ^_^


โดย: มัดใจ วันที่: 2 เมษายน 2556 เวลา:22:31:20 น.  

 
ไม่ได้แวะมาหาท่านหลายเพลาแล้ว


โดย: ลั่นทมขาว วันที่: 2 เมษายน 2556 เวลา:22:57:56 น.  

 
แวะมาทักทายค่ะ
บ้านหลังนี้มีเรื่องที่น่าอ่านๆ ทั้งนั้นเลย
ขอบคุณนะคะที่แบ่งปัน ^^


โดย: สมุดบันทึกสีเทา วันที่: 2 เมษายน 2556 เวลา:23:04:54 น.  

 
สวัสดีค่ะ มาอ่านประวัติท่านเซอร์ค่ะ ^^



โดย: lovereason วันที่: 2 เมษายน 2556 เวลา:23:42:49 น.  

 
แวะมาโหวตให้ค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: ฝากเธอ2 วันที่: 3 เมษายน 2556 เวลา:0:10:43 น.  

 
เคยไปอ่านเจอคำถามที่ว่า..
ไอแซก นิวตัน ได้เรียนรู้อะไรหลังจากที่เขาไปนั่งใต้ต้นแอปเปิ้ลแล้วผลแอปเปิ้ลหล่นลงมา?

ซึ่งคำตอบก็เป็นการตอบแบบกวนๆว่า..
เขาได้เรียนรู้ว่าเขาจะต้องย้ายไปนั่งที่อื่น..อะไรทำนองนี้


เราจำชื่อไอแซก นิวตัน ได้ก็จากเรื่องผลแอปเปิ้ลหล่นนี่แหละ
แต่ไม่เคยไปค้นหาประวัติของเขาแบบเต็มๆอ่านสักที
ที่เคยได้เล่าเรียนในโรงเรียนมาบ้างก็ไม่รู้ว่าล่องหนหายตัวไปไหนหมด
สงสัยจะส่งกลับคืนสู่โรงเรียนไปหมดแล้ว อิ อิ


วันนี้ได้มาอ่านประวัติของเขาตั้งแต่ต้นจนจบในบล็อกนี้
เป็นบล็อกที่มีประโยชน์มากค่ะ โหวตให้แล้วนะคะ..


ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมที่บล็อกเราด้วยค่ะ


โดย: คนร่วมชายคา วันที่: 3 เมษายน 2556 เวลา:2:47:07 น.  

 
Smileyสวัสดีขอรับ..เพื่อนๆทุกท่าน... พอดีว่าคุณท่าน ขุนฯ เพิ่งกลับเข้าบ้านเดี๋ยวก็จะออกไปเรียนต่อ... Smileyวันนี้เป็นการเรียนภาษาอังกฤษอเมริกา Smileyในห้องเรียนมีนักเรียนหลากหลายอาชีพ และหลายชาติเช่น หมอ ทนาย เคสเชียร์ เจ้าของร้านนวด(เป็นคนจีน)Smiley เดี๋ยวกลับมาจากเรียนแล้วจะค่อยๆแวะหาเพื่อนนะขอรับSmileySmileySmiley


โดย: ขุนเพชรขุนราม วันที่: 3 เมษายน 2556 เวลา:6:10:11 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น



โดย: ไอแซก นิวตัน (เตยจ๋า ) วันที่: 3 เมษายน 2556 เวลา:10:00:23 น.  

 


แวะมาทักทายค่ะ


โดย: Pikake วันที่: 3 เมษายน 2556 เวลา:13:04:43 น.  

 
แวะมาขอบคุณค่ะ
ที่อุตส่าห์ทั้งบังคับและขู่เข็ญให้ลูกสาวไปโหวตให้ที่บล็อก
ความจริงถ้าไม่ว่างก็ไม่ต้องลำบากก็ได้นี่คะ ไว้ว่างแล้วค่อยแวะไป

ยังไงก็ต้องขอบคุณมากและฝากขอบคุณไปถึงลูกสาวด้วยค่ะ



โดย: ฝากเธอ2 วันที่: 3 เมษายน 2556 เวลา:20:36:40 น.  

 

มากด Like ให้เป็นคนที่ 2
สุดยอด



โดย: อุ้มสี วันที่: 3 เมษายน 2556 เวลา:23:14:25 น.  

 
มาอ่านประวัติ ไอแซก นิวตัน นักวิทยาศาสตร์คนดังค่ะ
ติดโหวตไว้ก่อนนะคะ ท่านขุน


โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 4 เมษายน 2556 เวลา:2:28:53 น.  

 
เห็นท่านขุนฯแวะไปอรุณสวัสดิ์
เราเลยตามกลับมาราตรีสวัสดิ์ค่ะ..

(ฝั่งยุโรปถึงเวลาต้องเข้านอนแล้ว..


โดย: คนร่วมชายคา วันที่: 4 เมษายน 2556 เวลา:5:18:41 น.  

 
ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ จะไปนอนแล้วค่ะ


โดย: Lilac Girl วันที่: 4 เมษายน 2556 เวลา:9:12:42 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมโมเสสบ่อย ๆ นะคะ
ขอโทษด้วยค่ะที่ตอบช้า ช่วงนี้งานยุ่ง
วันนี้เอาสาระดี ๆ มาฝากกันอีกละ ขอบคุณนะคะ


โดย: mariabamboo วันที่: 4 เมษายน 2556 เวลา:10:13:05 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แต่ละท่านนี่ เข้าใจยากพอๆ กับสูตรหรือทฤษฏีที่คิดออกมาเลยนะคะ
---
สวัสดียามเที่ยงๆ ค่ะ


โดย: ประกายพรึก วันที่: 4 เมษายน 2556 เวลา:12:11:30 น.  

 


มาทักทายวันดีๆ อีกวันนะค่ะ



ทักทายกันวันร้อนๆๆ


โดย: Pikake วันที่: 4 เมษายน 2556 เวลา:12:21:34 น.  

 
สวัสดีค่ะ ท่านขุน

กลับมาประจำการแล้วค่ะ

มาพร้อมอากาศร้อนๆ 41 องศา



โดย: มัดใจ วันที่: 4 เมษายน 2556 เวลา:19:30:00 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปโหวตให้กันจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 4 เมษายน 2556 เวลา:21:38:25 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุน
ช่วงนี้ไม่ค่อยได้แวะมา
เพราะบางวันก็เข้าบล็อคไม่ได้ โหวตก็ไม่ได้
ถามไปทางพันทิป บอกว่าสงสัยโดนไวรัส
วันนี้มาได้รีบมาโหวตให้ก่อนนะคะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
andrex09 Travel Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: pantawan วันที่: 4 เมษายน 2556 เวลา:23:34:41 น.  

 
สวัสดียามเช้าขอรับ...เพื่อนๆทุกท่าน... ขอบคุณสำหรับคอมเม้นท์ทุกความเห็นทุกข้อคิดอีกทั้งภาพสวยๆและอีกที่โหวตบล็อกวิทยาฯขอบคุณมากๆขอรับ วันนี้มีเหตุการณ์ที่ทำให้ท่านขุนฯวิตก ..คือว่าเมื่อวานนี้ไปสัญญาไว้กับเพื่อนบล็อกท่านไหน?(จำไม่ได้)ว่าจะกลับมาโหวต(เพราะว่าเมื่อวานโหวต(หมด)..)วันนี้ตามหา คอมเม้นท์(สัญญา)ของตัวเองไปหลายๆที่(ทั้งๆที่ยุ่ง)แอบบ่นฮ่า ไม่เจอจริงๆ วิตกหนักเลยล่ะขอรับ ต่อไปจะไม่อีกแล้ว ... ผิดสัญญา แล้วทานข้าวไม่ลง นอนไม่หลับ วิตกจริต รับประทาน


โดย: ขุนเพชรขุนราม วันที่: 5 เมษายน 2556 เวลา:7:57:24 น.  

 
สวัสดียามเช้าค่ะ
มีความสุขในวันหยุดนะคะ


โดย: สมุดบันทึกสีเทา วันที่: 5 เมษายน 2556 เวลา:9:52:57 น.  

 
สวัสดีตอนก่อนเที่ยงครับ


โดย: อัสติสะ วันที่: 5 เมษายน 2556 เวลา:11:39:34 น.  

 
55555 เป็นเหมือนกันเลยค่ะ หลังๆ เลยไม่สัญญาแล้ว แต่ถ้าสัญญาก็ต้องจดไว้ค่ะ ไม่งั้นลืมหมด แหะๆ
สวัสดียามใกล้เที่ยงค่ะ ทานข้าวให้อร่อยนะคะ


โดย: ประกายพรึก วันที่: 5 เมษายน 2556 เวลา:11:39:54 น.  

 


ทักทายยามเที่ยงๆ นะจ๊ะ

มีความสุขมากๆ น๊ะ ร้อนเนอะ


โดย: Pikake วันที่: 5 เมษายน 2556 เวลา:12:20:37 น.  

 
โหวตให้ครับ ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ร้อนสุดๆครับ วันนี้ ห้องทำงานมีแอร์ แต่อุณหภูมิ 30 องศา


โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 5 เมษายน 2556 เวลา:13:08:19 น.  

 
มาโหวตบล็อคให้นะคะ อ่านเพลินเชียว...บุคคลสำคัญอีกท่านของโลกเน๊อะ


โดย: คมไผ่ วันที่: 5 เมษายน 2556 เวลา:15:06:03 น.  

 
ขอบคุณท่านขุนสำหรับคะแนนโหวตด้วยนะคะ

อ้าว...จะช่วยท่านขุนตามหาสัญญาได้ยังไงคะเนี้ย
ประเดี๋ยวท่านคุณจะกินอาหารไม่ได้
เจ็บป่วยไป ใครจะประจำการบ้านนี้ล่ะคะ



โดย: มัดใจ วันที่: 5 เมษายน 2556 เวลา:15:58:04 น.  

 


หลับฝันดี ตลอดคืนนะค่ะ


โดย: Pikake วันที่: 5 เมษายน 2556 เวลา:21:48:05 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุน
ไม่ได้แวะมาทักทายซะสองวัน ขออภัยด้วยนะคะ
ติดภาระกิจเลี้ยงหลานค่ะ
และขอบคุณท่านที่แวะไปทักทายเสมอเลย
มีความสุขและสนุกกับวันหยุดพักผ่อนเสาร์-อาทิตย์นี้นะคะ




โดย: ฝากเธอ2 วันที่: 5 เมษายน 2556 เวลา:22:19:22 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุน
มีความสุขกับ วันหยุดนะคะ


โดย: pantawan วันที่: 5 เมษายน 2556 เวลา:23:49:13 น.  

 
สวัสดีในวันอากาศร้อนๆ ของเมืองไทย(อีกแล้ว) ค่ะท่านขุน

แหม ถ้าขอได้ตอนนี้ อยากให้ท่านขุนส่งหิมะไปให้สัก 100 ลำเครื่องบิน



โดย: มัดใจ วันที่: 6 เมษายน 2556 เวลา:8:48:41 น.  

 
"ช่วงเมษา ที่มีลมธรรมชาติพัดมาเย็นๆ"

อ๊าย...แสดงว่าเราต้องอยู่ในยุคเดียวกันนะคะเนี้ย
คนสมัยนี้ไม่รู้หรอกค่ะ ว่าเย็นแบบธรรมชาตินั้นมันชื่นใจยังไง

มัดใจว่า มนุษย์สำคัญตนผิดค่ะท่านขุน
คิดว่าโลกเป็นของตัวเอง ทั้งๆที่เราก็เป็นแค่สิ่งเล็กๆ บนโลกเท่านั้น
พัฒนาทางวัตถุ แต่ไม่พัฒนาทางจิตใจน่ะซิคะ

ถ้านักวิทยาศาสตร์เก่งจริงๆ
ต้องคิดวัคซีนกันทำชั่วหรือยาแก้คิดชั่วออกมาให้ได้
เลิกโครงการค้นพบดาวดวงใหม่
แล้วหันมาศึกษาการพัฒนาจิตใจของมนุษย์แทน

ท่านขุนพอจะทราบมั้ยคะ ว่าตอนนี้องการองกรณ์พัฒนาจิตใจและการกระทำของมนุษย์เนี้ย
มันตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง แล้วมีงบประมาณเท่าไหร่

ฮ่าๆๆ คุยเรื่องนี้แล้วอินน์ค่ะท่านขุน เขียนซะยาวเลย คิกๆๆ

ปล.ดีใจที่ท่านขุนอ่านแล้วขำ ไม่คิดว่ายัยป้านี่ติ๊งต๊องนะคะ


โดย: มัดใจ วันที่: 6 เมษายน 2556 เวลา:9:49:04 น.  

 
ขอบคุณสำหรับโหวตนะคะ

สุขสันต์วันหยุดค่ะ


โดย: คมไผ่ วันที่: 6 เมษายน 2556 เวลา:10:09:00 น.  

 
สวัสดีสาย ๆ ๆ ๆ ของวันหยุดเช่นกันค่ะ เชียงใหม่ร้อนมากค่ะ กะจะพาเจ้าตัวเล็กหาอะไรกินเย็น ๆ ก่อนละคะ


โดย: mariabamboo วันที่: 6 เมษายน 2556 เวลา:10:16:05 น.  

 


สวัสดีวันจักรี นะค่ะ วันนี้ร้อนแต่ก็ใจเย็นๆ อยู่ค่ะ

มีความสุขกับความเป็นจริงในชีวิตรอบๆ ตัวเนอะ


โดย: Pikake วันที่: 6 เมษายน 2556 เวลา:12:59:17 น.  

 
สวัสดียามบ่ายวันเสาร์ค่ะ
ตอนนี้ที่เมกาคงดึกมาแล้ว ท่านขุนก็คงเข้าสู่นิททราแล้วมั้งคะ
นอนหลับฝันดีและตื่นมาพบเช้าวันหยุดที่สดใสค่ะ




โดย: ฝากเธอ วันที่: 6 เมษายน 2556 เวลา:13:30:22 น.  

 
ขอบคุณสำหรับโหวตที่บล็อกด้วยนะคะ


โดย: ฝากเธอ วันที่: 6 เมษายน 2556 เวลา:13:32:04 น.  

 
มาอ่านประวัตินักวิทยาศาสคร์ผู้โด่งดังค่ะ
ขอบคุณที่แวะไปทักทายกันนะคะ
ช่วงนี้เข้าบล็อกช้าหน่อยค่ะ ติดขี้เกียจ อิอิ..โทษว่าอากาศร้อนซะงั้น
คืนนี้นอนหลับฝันดีนะคะ


โดย: เนินน้ำ วันที่: 6 เมษายน 2556 เวลา:20:41:24 น.  

 
ขอบใจที่แวะไปทักทายกันจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 6 เมษายน 2556 เวลา:21:14:52 น.  

 
มาส่งกำลังใจให้ท่านขุนค่ะ
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

มีความสุขมากๆนะคะ


โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 7 เมษายน 2556 เวลา:0:24:19 น.  

 
ทักทายดึกๆครับ ท่านขุน
หยุด 3 วันไปเที่ยวไหนครับ


โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 7 เมษายน 2556 เวลา:0:30:25 น.  

 
สวัสดีขอรับ...เพื่อนๆทุกท่าน... ท่านขุนฯ ไม่อยู่บ้าน 1 วัน ... เย็นนี้(เช้าวันอาทิตย์สำหรับไทย) คุณท่านขุนฯต้องเดินทางไปปฏิบัติธรรม ที่วัด1คืนกะ หนึ่งวัน ไว้กลับมาแล้วจะนำบุญมาฝากเพื่อนๆทุกท่าน... ขอขอบคุณทุกกำลังใจและทุกคอมเม้นท์ขอรับ


โดย: ขุนเพชรขุนราม วันที่: 7 เมษายน 2556 เวลา:2:27:42 น.  

 
^
^

ขออนุโมทนาบุญกับท่านขุนและผู้ปฏิบัติธรรมด้วยนะคะ


โดย: มัดใจ วันที่: 7 เมษายน 2556 เวลา:10:06:51 น.  

 
สวัสดีค่ะ ท่านขุน

รีบมาปูเสื่อรอฟังท่านขุน เล่าถึงบรรยากาศในการไปปฏิบัติธรรมค่ะ
มาทันได้นั่งแถวหน้าพอดี
วัดไทยในต่างประเทศ เป็นอย่างไรบ้างคะ

...

***คอมเม้นท์ของท่านขุนเรื่องเกี่ยวกับ...มนุษย์เราเป็นต้นเหตุ ของเรื่องราวทุกสิ่งทุกอย่าง

มัดใจอ่านแล้วอึ้งไป 30 วินาที

เพราะเป็นเรื่องจริงที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไป
แต่ท่านขุน จัดเต็ม ฮ่าๆๆ ... ถูกใจมัดใจจริงๆ ค่ะ



โดย: มัดใจ วันที่: 7 เมษายน 2556 เวลา:10:19:55 น.  

 
สวัสดียามสายๆวันอาทิตย์ค่ะ
ขอให้มีความสุขกับการปฏิบัติธรรมนะคะ
และขอให้ได้บุญกลับมาเยอะๆ อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ






โดย: ฝากเธอ2 วันที่: 7 เมษายน 2556 เวลา:11:35:15 น.  

 


มีความสุขมากๆ กับวันอากาศร้อนๆ ร่มๆๆในใจก็พอค่ะ


โดย: Pikake วันที่: 7 เมษายน 2556 เวลา:16:35:59 น.  

 
ขอบคุณสำหรับการเป็นกำลังใจที่ดี และคะแนนโหวตน่่ะครับ


โดย: อัสติสะ วันที่: 7 เมษายน 2556 เวลา:21:52:49 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตนะคะ

พรุ่งนี้ทำงานอีกแล้ว สู้กันต่อไป


โดย: สมุดบันทึกสีเทา วันที่: 7 เมษายน 2556 เวลา:23:18:17 น.  

 
สวัสดีวันใหม่....แต่เข้าวันที่ 8 แล้วน้า เพิ่งกลับจากเชียงใหม่หน่ะท่าน


โดย: ลั่นทมขาว วันที่: 7 เมษายน 2556 เวลา:23:57:38 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.