พืชผักปลอดภัย

 
เมษายน 2554
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
8 เมษายน 2554
 

ระบบโกลบอล จี เอ พี (Global GAP)

ระบบโกลบอล จี เอ พี (Global GAP)

Global GAP คือ มาตรฐานภาคเอกชนสำหรับการผลิตสินค้าเกษตรของกลุ่มผู้ค้าปลีกในยุโรป
มีที่มาจากมาตรฐาน GAP หรือ Good Agricultural Practice ของ องค์การอาหารและเกษตรกรรม
แห่งสหประชาชาติ (United Nations Food and Agriculture Organization-FAO) ซึ่งเป็นแนว
คิดเรื่องการทำเกษตรอย่างยั่งยืน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และสังคม

ในปี พ.ศ.2540 กลุ่มผู้ค้าปลีกในยุโรป (Euro-retailer Produce Working Group-
EUREP) ได้นำแนวคิดดังกล่าว มาจัดตั้งมาตรฐาน " Eurep GAP" และได้เปลี่ยนชื่อในปลายปี พ.ศ.
2550 เป็น " Global GAP " โดยมาตรฐานดังกล่าว มุ่งรับรองคุณภาพการเพาะปลูกสินค้าเกษตร เช่น
ผัก ผลไม้ สินค้าปศุสัตว์ และสินค้าประมง เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าสินค้าอาหารที่ผลิตจากฟาร์มดังกล่าว
นั้น ใช้สารเคมีและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแต่น้อย และมีการคำนึงถึง สวัสดิภาพความปลอดภัยของ
แรงงานและสัตว์ โดยกลุ่มผู้ค้าปลีกในยุโรปดังกล่าวได้ใช้มาตรฐาน Global GAP เป็นเงื่อนไข ว่า
ผู้ผลิตสินค้าอาหาร และเกษตรกรทั้งในยุโรปและจากประเทศที่สาม รวมถึงประเทศไทย ที่ต้องการนำสินค้า
ของตนไปจำหน่ายในร้านค้าปลีกในยุโรปที่เป็นสมาชิกของ Global GAP ต้องผ่านการรับรองจากมาตรฐาน
ดังกล่าว


Global GAP ออกมาตรฐานครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร
ตั้งแต่ การคัดเมล็ดพันธุ์ การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การให้สารเคมี ฯลฯ สำหรับการผลิตสินค้า
เกษตร 3 ประเภท ได้แก่

1. พืชผล เช่น ผัก ผลไม้ ชา กาแฟ และในอนาคต จะมีฝ้ายด้วย
2. ปศุสัตว์ เช่น วัว ควาย แกะ หมู ไก่
3. สัตว์น้ำ เช่น ปลาน้ำจืดประเภทลำตัวยาวมีเกล็ด ดังเช่น ปลาแซลมอน และปลาเทร้า กุ้ง
และในอนาคต จะมีปลาสังกะวาด และปลานิลด้วย

Global GAP ไม่ใช่ระเบียบของสหภาพยุโรป แต่เป็นมาตรฐานที่จัดทำโดย ภาค
เอกชนยุโรป ซึ่งได้อ้างอิงข้อกำหนดส่วนใหญ่ตามระเบียบของสหภาพยุโรป พร้อมมีข้อกำหนดบางอย่าง
เข้มงวดสูงกว่า เช่น การกำหนดระดับสูงสุดของสารตกค้างในอาหาร(MRLs) อีกทั้งไม่มีมาตรฐาน
บางอย่างที่ทางการสหภาพยุโรปกำหนดไว้ เช่น มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ ปี พ.ศ.2552 มีผู้ผลิต
ที่ได้รับรองมาตรฐาน Global GAP มากกว่า 80,000 ราย ใน 80 ประเทศทั่วโลกสำหรับประเทศไทยเอง
มีผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองเพียงไม่กี่ราย


ขั้นตอนขอรับรอง Global GAP

การขอรับรองนั้นมีระดับมาตรฐานและขั้นตอนการจดรับรองแบบเดียวกันทั่วโลก
โดยทางเกษตรเป็นผู้ติดต่อหน่วยงานออกใบรับรอง (Certification Bodies หรือ CBs)
ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ (accreditation) จาก Global GAP ให้เข้าไปตรวจสอบ
ระดับมาตรฐานของฟาร์ม ในส่วนของขั้นตอนการขอรับรองนั้น มีดังต่อไปนี้

1. Training : หลังจากที่เกษตรกรแจ้งความจำนงขอรับรองมาตรฐาน ทางบริษัทจะจัดการอบรม
ให้ข้อมูลแก่เกษตรกร ถึงแนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐาน Global GAP

2. Pre-implementation : เกษตรกรปรับตัว และนำแนวมาตรฐานไปปฏิบัติ (โดยอาจใช้ระยะเวลาปรับตัวประมาณ 3 เดือน)

3. pre-assessment : ทำการประเมินและให้ความเห็นเบื้องต้น เพื่อนำไปปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติอีกครั้ง
(โดยอาจใช้ระยะเวลาปรับปรุงประมาณ 1 เดือน)

4. Main audit : เมื่อเกษตรกรพร้อม CBs จะไปประเมินมาตรฐานของฟาร์ม หากตรงตามมาตรฐาน Global GAP ก็จะออกใบรับรองให้แก่ฟาร์มดังกล่าว (ไม่มีการติดฉลากบนสินค้า)

5. ใบรับรองมีระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้นเกษตรกรสามารถติดต่อ CBs ซึ่งเป็นหน่วยงานออกใบรับรองเพื่อ
ทำเรื่องขอรับรองมาตรฐานใหม่ได้อีกครั้ง


ขั้นตอนในการขอรับรองทั้งหมด อาจใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของเกษตรกรด้วย
ข้อกำหนด Global GAP ที่เพิ่มเติมมาจาก GAP (หัวข้อหลัก)

1. การตรวจติดตามคุณภาพภายใน คือ การตรวจทวนระบบของตนเองทั้งหมด
เพื่อหาข้อบกพร่อง และทำการแก้ไข โดยมีการบันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน

2. สุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิการผู้ปฏิบัติงาน คือ การป้องกันและดูแล
สุขภาพความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน นอกจากชุดป้องกันแล้ว ยังต้องมีการ
ตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานด้วย

3. สิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ คือ การทำเกษตรกรรมที่คำนึงถึงการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม การประหยัดน้ำและไฟ

4. การจัดการข้อร้องเรียน คือ ระบบการเปิดรับข้อร้องเรียนจากลูกค้า
เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของสินค้าให้ดียิ่งขึ้น

5. การสอบกลับได้ คือ สามารถตรวจทวนสอบได้ตั้งแต่ต้นจนจบ
ซึ่งจะดูข้อมูลจากบันทึกต่าง ๆ ที่สอดคล้องกัน

จากข้อกำหนดของ Global GAP ที่เพิ่มมาจาก GAP จะเห็นได้ว่า
มีข้อกำหนดเพิ่มเข้ามาอีกแค่ 5 ข้อเท่านั้น ซึ่งการจะพัฒนาระบบ GAP เป็น Global GAP
ไม่ได้ยากอย่างที่หลาย ๆ คนคิด ......




Create Date : 08 เมษายน 2554
Last Update : 8 เมษายน 2554 2:11:31 น. 0 comments
Counter : 14748 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

คนรักษ์ผัก
 
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ผลิตพืชผักปลอดภัยภายใต้ระบบ จี.เอ.พี
รับรองโดยกรมวิขาการเกษตร
ทำคอนแทคฟาร์มมิ่งพืชผัก
ทุกชนิดเพื่อการส่งออก
[Add คนรักษ์ผัก's blog to your web]

MY VIP Friend


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com