ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
30 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
พบกระดูกปู่ทวด “ป้าลูซี่” อายุมากกว่าป้า 400,000 ปี


โครงกระดูกปู่ทวดกาดานูมู (ไซน์เดลี/Cleveland Museum of Natural History)

พบกระดูกปู่ทวดของ “ป้าลูซี” ในเอธิโอเปีย อายุมากกว่าป้า 400,000 ปี และมีขนาดใหญ่โตกว่า อีกทั้งร่องรอยกระดูกยังชี้ให้เห็นว่า ลักษณะเหมือนมนุษย์พัฒนาแล้วคือเดินหลังตรงนั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาของการวิวัฒนาการเร็วกว่าที่เราคิดไว้

ทั้งนี้ ทีมของ ดร.โยห์แนนเนส ไฮเล-เซแลสซี (Dr.Yohnannes Haile-Selassie) หัวหน้ากองมานุษยวิทยาเชิงกายภาพและภัณฑรักษ์พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเคลฟแลนด์ (Cleveland Museum of Natural History Curator) สหรัฐฯ พร้อมทีมสำรวจนานาชาติได้ค้นพบสิ้นส่วนกระดูกอายุ 3.6 ล้านปีในเอธิโอเปีย และทำการวิเคราะห์ชิ้นส่วนกระดูกดังกล่าว

สิ่งมีชีวิตตระกูลคนนี้มีอายุมากกว่าโครงกระดูกของ “ป้าลูซี” (Lucy) ผู้โด่งดังประมาณ 400,000 ปี และมีขนาดใหญ่โตกว่าอย่างเห็นได้ชัด ไซน์เดลีระบุว่างานวิจัยตัวอย่างกระดูกใหม่นี้เผยให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตคล้ายมนุษย์ที่พัฒนาแล้วซึ่งเดินหลังตรงนั้น อุบัติขึ้นในช่วงต้นๆ ของวิวัฒนาการเร็วกว่าที่เคยคิดกันไว้

ไฮเล-เซแลสซี เป็นผู้มีรายชื่อลำดับแรกในการวิเคราะห์ตัวอย่างเบื้องต้น ซึ่งจะรายงานผลการวิจัยลงวารสารออนไลน์ฉบับ 21มิ.ย.2010 ของวารสารเนชันแนลอคาเดมีออฟไซน์ส (Proceedings of the National Academy)

สำหรับตัวอย่างที่พบล่าสุดนี้พบว่าโครงกระดูกบางส่วนที่พบนั้นเป็นสปีชีส์เดียวกับป้าลูซีคือ ออสเตราโลพิเธคัสอะฟาเรนซิส (Australopithecus afarensis) โดยทีมของไฮเล-เซแลสซีได้พบชิ้นส่วนกระดูกของญาติป้าลูซีในพื้นที่วรันโซ-มิลล์ในเขตอะฟาร์ (Afar Region) ของเอธิโอเปีย ซึ่งใช้เวลาค้นพบเป็นเวลาร่วม 5 ปีตามหลังการค้นพบชิ้นส่วนแทนท่อนล่างเมื่อปี 2005 โดยทีมได้พบชิ้นส่วนกระดูกไหปลาร้าและกระดูกหัวไหล่ที่เกือบจะสมบูรณ์ที่สุด นับแต่มีบันทึกการค้นพบฟอสซิลมนุษย์ อีกทั้งยังพบชิ้นส่วนสำคัญของซี่โครงด้วย

ปู่ทวดของป้าลูซีนี้มีชื่อเล่นว่า “กาดานูมู” (Kadanuumuu) ซึ่งตั้งขึ้นโดยทีมวิจัย หมายถึง “หนุ่มใหญ่” (big man) ในภาษาอะฟาร์และสะท้อนถึงขนาดของโครงร่างมนุษย์โบราณนี้ โดยผู้ชายมนุษย์โบราณมีความสูงขณะยืนประมาณ 5-5.5 ฟุต หรือ 152-157 เซนติเมตร ขณะที่ป้าลูซีมีความสูงเพียง 3.5 ฟุต หรือ 100 เซนติเมตร

“บุคคลนี้มีเท้าเต็มสองเท้าและสามารถที่จะเดินได้เหมือนมนุษย์ปัจจุบัน ซึ่งผลจากการค้นพบนี้ ตอนนี้เรากล่าวได้อย่างมั่นใจว่า ป้าลูซีและญาติของเธอเกือบจะเดิน 2 ขาได้ชำนาญพอๆ กับเราแล้ว และวิวัฒนาการในการยืดขาของเรานั้นเริ่มขึ้นเร็วกว่าที่เรานึกไว้” ไฮเล-เซแลสซีกล่าว

เขาอธิบายว่าความเข้าใจทั้งหมดของเราเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์สปีชีส์ออสตราโลพิเธคัสอะฟาเรนิสนั้นขึ้นอยู่ป้าลูซีเป็นส่วนใหญ่ เพราะป้าลูซีเป็นผู้หญิงที่ตัวเล็กกว่าปกติ อีกทั้งยังมีขาที่สั้นมาก ทำให้นักวิจัยบางคนติดใจว่า ป้าลูซีนั้นยังปรับตัวได้ไม่เต็มที่ให้เดินตัวตรง แต่การพบโครงกระดูกใหม่ทำให้ความคิดดังกล่าวผิด เพราะหากโครงร่างของป้าลูซีใหญ่ขึ้นเท่ากับโครงกระดูกล่าสุดนี้ ขาของเธอก็จะยาวขึ้นด้วย

ดร.ซี โอเวน เลิฟจอย (Dr.C. Owen Lovejoy) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเคนท์สเตท (Kent State University) ซึ่งร่วมในการวิจัยครั้งนี้และช่วยในการวิเคราะห์โครงกระดูกนี้ กล่าวว่าเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับป้าลูซี่งมนุษย์ทั้งสองต่างมีกระดูกเชิงกราน กระดูกขาท่อนล่างที่สมบูรณ์ และบางส่วนของแขน กระดูกสันหลัง และทรวงอก แต่โครงกระดูกที่พบใหม่นั้นมีกระดูกซี่โครงที่สมบูรณ์กว่า และมีกระดูกสะบักที่เกือบจะสมบูรณ์ ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบร่างกายของ ออสตราโลพิเธคัสอะฟาเรนิส ได้มากกว่าที่โครงกระดูกของป้าลูซีจะบอกได้

ผู้ร่วมวิจัยครั้งนี้ยังมี ดร.บรูซ ลาติเมอร์ (Dr. Bruce Latimer) นักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ในเคลฟแลนด์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาต้นกำเนิดมนุษย์ ของสถาบันวิทยาศาสตร์ต้นกำเนิดมนุษย์ แห่งมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ (Case Western Reserve University) ดร.เบเวอร์ลี เซย์เลอร์ (Dr. Beverly Saylor) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแอดิสอะบาบา (Addis Ababa University) ในเอธิโอเปีย ศูนย์ลำดับอายุทางธรณีวิทยาเบิร์กเลย์ (Berkeley Geochronology Center) และมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด (Stanford University)

สำหรับมนุษย์ออสตราโลพิเธคัสอะฟาเรนิสนั้นเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในยุคต้นๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี จนถึงทุกวันนี้มีเพียงชิ้นส่วนโครงกระดูกของป้าลูอายุ 3.2 ล้านปีเท่านั้นที่เป็นตัวแทนของมนุษย์สปีชีส์นี้ และถูกค้นพบเมือ่ปี 1974 ซึ่งนำทีมโดย ดร.โดนัลด์ โจฮันสัน (Dr. Donald Johanson) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภัณฑรักษ์ของพิพิธภัณฑ์

จากการวิเคราะห์โครงกระดูกของกาดานูมูได้ชี้ให้เห็นว่าไหล่และซี่โครงของมนุษย์สปีชีส์นี้แตกต่างจากซิมแปนซี โดยเลิฟจอยกล่าวว่า การค้นพบเหล่านี้ได้ยืนยันข้อสรุปของพวกเขาจากตัวอย่างมนุษย์ “อาร์ดี” (Ardi) ว่า คนและซิมแปนซีมีวิวัฒนาการสุดท้ายของบรรพบุรุษร่วมกัน

ทั้งนี้อาร์ดีหรืออาร์ดีพิเธคัส รามิดัส (Ardipithecus ramidus) เป็นสปีชีส์ของมนุษย์โบราณที่มีอายุ 4.4 ล้านปี ซึ่งถูกค้นพบเมื่อ ต.ค.2009 โดยทีมวิจัยที่ร่วมค้นพบในครั้งนั้นได้แก่ ดร.ไฮเล, เลิฟจอย และนักวิทยาศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์เคลฟแลนด์พร้อมผู้ช่วยนักวิจัย คือ ดร.ลินดา สเปอร์ล็อค (Dr. Linda Spurlock) ดร.บรุซ ลาติเมอร์ (Dr. Bruce Latimer) และ ดร.สก็อตต์ ซิมป์สัน (Dr. Scott Simpson) โดยชื่ออาร์ดีนี้เป็นชื่อที่เรียกโดยวารสารไซน์ (Science) ที่ให้การค้นพบดังกล่าวเป็นการค้นพบแห่งปี

ที่มา
ผู้จัดการออนไลน์


Create Date : 30 มิถุนายน 2553
Last Update : 30 มิถุนายน 2553 8:08:47 น. 0 comments
Counter : 1964 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.