ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
24 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
เคล็ดลับสร้างแรงจูงใจในการเรียน

เคล็ดลับสร้างแรงจูงใจในการเรียน



การที่เด็กจะประสบความสำเร็จในการเรียนนั้นจำเป็นต้องมีปัจจัยหลายประการ

หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือการสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้เกิดขึ้นกับเด็ก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวของครูเองจะต้องเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น และหมั่นสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วย

"เรียนรู้ข้ามโลก" ฉบับนี้ ขอนำเคล็ดลับการสร้างแรงจูงใจในการเรียน 8 ประการของ เท็ด นัสโบม ครูผู้มีประสบการณ์สอนในระดับชั้นประถมศึกษามากว่า 10 ปีในโรงเรียนไวเทเคอร์ มลรัฐโอเรกอน ในสหรัฐอเมริกา มาเผยแพร่เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูบ้านเราในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของแต่ละโรงเรียน

ความกระตือรือร้นและตื่นเต้น

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นคือการได้เห็นเด็กๆ เรียนรู้ และผมก็มักจะให้เด็กรู้ว่าผมตื่นเต้นด้วย ผมบอกเด็กๆ ว่า "ยังมีเรื่องอีกมากมายที่พวกหนูต้องเรียนรู้ และเป้าหมายของครูคือสอนให้พวกหนูเป็นผู้เรียนที่ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา" นัสโบมกล่าวว่า ครูต้องหาทางที่จะกระตุ้นหรือหล่อเลี้ยงความกระตือรือร้นและความน่าตื่นเต้นของตนเองให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ เนื่องจากท่าทีในการสอนและการเรียนรู้ของครูจะส่งผ่านไปยังนักเรียนด้วย


ตั้งเป้าหมายสูง

นัสโบมเป็นครูที่ตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคนไว้สูง เขาพยายามจะสื่อไปถึงนักเรียนว่า "ความคาดหวังของครูคือ การที่นักเรียนสามารถบรรลุเป้าหมายในการเรียนที่ครูวางไว้" นัสโบมแสดงความเห็นว่า "หากครูตั้งเป้าหมายไว้สูง เด็กมีแนวโน้มจะเรียนรู้ได้ดีกว่า ในทางตรงข้าม ถ้าครูตั้งเป้าหมายต่ำ เด็กจะลดระดับการแสดงออกทางการเรียนของตนเองให้ต่ำลงเท่ากับความคาดหวังของครู"


ทางเลือก

นัสโบมมักจะเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ฝึกฝนการเลือก ตัวอย่างเช่น เมื่อครูแจกกระดาษแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ ในคำสั่งระบุว่าเด็กสามารถเลือกทำโจทย์ข้อที่เป็นเลขคู่หรือเลขคี่ก็ได้ จากนั้นครูจะบอกต่อว่า "แต่ถ้านักเรียนเป็นคนที่ขยันหมั่นเพียรจริงๆ นักเรียนควรจะแก้โจทย์ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งให้เสร็จ" ในการใช้เทคนิคนี้ เป็นไปเพื่อ "เปลี่ยนวิธีการออกคำสั่งให้เป็นเรื่องของการท้าทาย"และมักพบว่ามีเด็กจำนวนถึงร้อยละ 90 ที่เลือกแก้โจทย์ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งต่อจนเสร็จ เพราะเด็กต้องการจัดตนเองอยู่ในกลุ่มคนที่มีความขยันหมั่นเพียร


ความรับผิดชอบ

ถึงแม้ว่านักเรียนจะมีโอกาสในการฝึกฝนการเลือก แต่นัสโบมก็ถ่วงดุลย์การมีอิสระนั้นโดยให้เด็กมีความรับผิดชอบ "เมื่อนักเรียนรู้ว่าตนเองต้องมีความรับผิดชอบ นักเรียนจะเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้อย่างน่าทึ่ง" แต่ละวัน นัสโบมจะเลือกเด็กนักเรียน 1 คนและมอบหมายให้รับผิดชอบดูแลเรื่องการเข้าชั้นเรียนของเพื่อนๆ ในห้อง ซึ่งพบว่าเด็กๆ จะสนุกกับกับความรับผิดชอบ แม้แต่การเปิดประตูให้เพื่อนๆ เดินเข้าห้อง ที่เป็นเช่นนี้เพราะนัสโบมแสดงให้นักเรียนเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องของคนที่น่ายกย่อง และเป็นผู้มีอภิสิทธิ์


เน้นด้านบวก

เวลาให้คะแนนนักเรียน นัสโบมจะเน้นโจทย์ที่เด็กตอบถูก เช่น ทำได้ 43 จาก 50 ข้อ มากกว่าบอกว่าเด็กทำผิด 7 ข้อ เมื่อเด็กแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้สำเร็จ ครูจะเขียนคำว่า "ดี" ลงไป และเพิ่มคะแนนเป็น 50 ในกระดาษคำตอบนั้น ในกรณีที่เด็กบ่นว่า "หนูเหลืออีก 7 คะแนนเองก็จะได้เต็ม" ครูจะตอบเด็กว่า "หนูได้ตั้ง 43 เต็ม 50 แน่ะ หนูทำได้ดีแล้ว"



เรียนแบบร่วมมือ

นักเรียนจะต้องมีสำนึกในเรื่องของความรับผิดชอบและการถูกตรวจสอบกับเพื่อนนักเรียนด้วยกันมากกว่าครู นัสโบมจะให้นักเรียนฝึกฝนการดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกันในกลุ่มเพื่อน โดยพยายามจัดให้เด็กที่มีลักษณะเป็นผู้นำ 1 คนกระจายอยู่ในแต่ละกลุ่ม เป็นต้น

นัสโบมกล่าวว่า นักเรียนมีแนวโน้มที่จะสร้างแรงจูงใจซึ่งกันและกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม โดยนักเรียนแต่ละคนจะมีจุดแข็งหรือความรู้สึกท้าทายเฉพาะตัว ซึ่งหากไม่มีสิ่งนี้จะไม่มีทางบรรลุเป้าหมายของกลุ่มได้


กำลังใจ


เมื่อสังเกตเห็นว่านักเรียนคนไหนกำลังประสบปัญหาหรือรู้สึกไม่สบายใจ นัสโบมจะพยายามมองหาจุดชมเชยจากการกระทำเล็กๆ น้อยๆ ของเด็ก เป็นต้นว่า เมื่อเด็กเก็บเศษกระดาษที่ตกอยู่บนพื้นขึ้นมาวางไว้บนโต๊ะ นัสโบมก็จะพูดชมเชยเด็กและให้รางวัล เนื่องจากเขาเชื่อว่าการที่เด็กได้กระทำดีแล้วครูชมแม้ว่าจะเล็กน้อยในวันที่เด็กประสบปัญหาหรือไม่สบายใจ จะช่วยดึงนักเรียนให้กลับมาสู่การเรียนได้ตามปกติ

ครูนัสโบมมักใช้กิจกรรมที่แตกต่างหลากหลายในการให้กำลังใจเด็ก บางครั้งครูจะร้องเพลงนำแฮปปี้เบริ์ดเดย์ในวันเกิดของเด็ก เป็นผู้นำในการทำห้องเรียนให้มีชีวิตชีวา และทำแผนภูมิบันทึกการหลุดของฟันน้ำนมของเด็ก ในกรณีที่เด็กบางคนมีปัญหาหรือรู้สึกไม่สบายใจ ครูจะจัดกิจกรรมหรือใช้วิธีการพิเศษที่จะทำให้เด็กมีความสบายใจขึ้น

"บางครั้งเมื่อเด็กบางคนรู้สึกไม่สบายใจ ผมมักจะพูดในชั้นเรียนว่า ‘มีใครอยากให้เพื่อนและครูปรบมือให้ไหม ? ถ้ามีก้าวออกมาหน้าชั้นเรียนเลย’ เวลาที่เราพูดอย่างนี้เด็กมักจะก้าวออกมา และเราก็ปรบมือให้เขา ในตอนแรกเด็กอาจจะรู้สึกเก้อเขินบ้าง แต่ในที่สุดแล้วเขาจะตระหนักว่า ครูและเพื่อนๆ ในห้องต่างเป็นห่วงและรักเขา"

นอกจากวิธีการดังกล่าวแล้ว นัสโบมยังใช้วิธีที่เรียกว่า "ลูกแก้วในโถ" ในยามที่เด็กๆ ทั้งชั้นนั่งทำงานเงียบๆ และมุ่งมั่นอยู่กับงานที่ตนเองได้รับมอบหมาย ครูจะหย่อนลูกแก้วหนึ่งลูกลงในโถ "ผมตกลงกับเด็กๆ ว่า เมื่อเขาได้ยินเสียงลูกแก้วหล่นลงในโถ เขาจะต้องทำงานต่อไป" เมื่อลูกแก้วเต็มโถแล้ว เด็กทั้งห้องจะได้รับอนุญาตให้ทำกิจกรรมพิเศษที่พวกเขาสนใจ ซึ่งโดยทั่วไปเด็กๆ จะออกเสียงร่วมกันว่าอยากทำอะไร บางครั้งเป็นการดูหนังและรับประทานข้าวโพดคั่วไปด้วย หรือมีเวลาว่างในชั้นเรียนเพิ่มขึ้น จับกลุ่มเล่นกัน เป็นต้น


กฎ กติกา

เพื่อให้ห้องเรียนดำเนินไปอย่างราบรื่น ครูจำเป็นต้องฝึกทักษะในการจัดการกับพฤติกรรมด้านลบของเด็กบางคน "เมื่อเด็กทำบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้คุณรู้สึกโกรธ ผมจะใช้โอกาสนี้ในการสอนเด็ก"

นัสโบมทิ้งข้อคิดฝากไปถึงเพื่อนครูในท้ายที่สุดว่า "เมื่อครูรู้สึกสนุก เด็กจะรู้สึกสนุกไปด้วย และเมื่อครูสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง นักเรียนจะเกิดแรงจูงใจเช่นเดียวกัน"


ที่มาข้อมูล :
สานปฏิรูป ฉบับที่ 63 เดือนกรกฎาคม 2546


Create Date : 24 มกราคม 2554
Last Update : 24 มกราคม 2554 22:10:53 น. 1 comments
Counter : 2579 Pageviews.

 
+ Education Blog


โดย: wbj วันที่: 25 มกราคม 2554 เวลา:10:47:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.