ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
23 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 
คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่คนไทยใช้กันผิดบ่อยๆ (ควรอ่าน!)

คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่คนไทยใช้กันผิดบ่อยๆ(ควรอ่าน!)


ในปัจจุบันมีคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่คนไทยใช้ กันจนติดปากอยู่ มากมาย แต่คุณเคยรู้ไหมว่ามีบางคำที่ ฝรั่งเค้าไม่ได้ใช้อย่างที่เราพูดกันติดปาก


1.อินเทรนด์ ( in trend)
คำนี้อินเทรนด์มากๆ เอ๊ย...ฮิตมากๆ ในปัจจุบัน สามารถได้ยินตามรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ทั่วไป เพราะใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง เช่น เด็กสมัยนี้ถ้าจะให้อินเทรนด์ต้องตามแฟชั่นเกาหลี ซึ่งบางทีเวลาคุณต้องการพูดว่า "มันทันสมัย" คุณอาจจะติดปากว่า " It is in trend." คำว่า "ทันสมัย" ฝรั่งเค้าไม่ใช้คำว่า " in trend" อย่างคนไทยหรอกค่ะ เค้าจะใช้คำว่า "trendy" หรือ " fashionable" ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์ที่คุณสามารถวางไว้หน้าคำนามที่ต้ องการขยาย เช่น a trendy haircut ทรงผมที่ทันสมัย , a fashionable restaurant ร้านอาหารที่ทันสมัย หรือจะไว้หลัง verb to be เช่น It is trendy. หรือ It is fashionable. ก็ได้


2.เว่อร์ (over)
เช่น ใยคนนั้นทำอะไรเว่อร์ๆ She is over. ไม่มีความหมายแต่อย่างใดในภาษาอังกฤษ ฝรั่งที่ได้ยินคุณพูดเช่นนี้ คงมึนตึบ พร้อมทำสีหน้างงว่ามันหมายถึงอะไรเหรอ ? พูดถึงคำนี้ คนไทยน่าจะหมายถึงการพูดเกินจริงหรือทำเกินจริง ซึ่งถ้าพูดเกินจริง ควรจะใช้คำศัพท์ที่ว่า " exaggerate" เป็นคำกิริยา อ่านว่า เอก-แซ้ก-เจ่อ-เรท เช่น

" He said you walked 30 miles." เค้าบอกว่าคุณเดินตั้ง 30 ไมล์
" No - he's exaggerating. It was only about 15." ไม่หรอก เค้าพูดเว่อร์ (เกินจริง) มันก็แค่ 15 ไมล์เอง

ดัง นั้น ถ้าจะบอกว่า เธอพูดเว่อร์น่ะ ก็บอกว่า You're exaggerating. หรือจะบอกเค้าว่า อย่าพูดเว่อร์ๆ น่ะ อาจใช้ว่า Don't exaggerate. ส่วนอาการเว่อร์อีกแบบคือการทำเกินจริง เราจะใช้คำกิริยาที่ว่า "overact" เช่น You're overacting. เธอทำเว่อร์เกิน (แสดงอารมณ์เกินจริง)


3.ดูหนัง soundtrack
เวลาคุณจะบอกใครว่า ฉันต้องการดูหนังฝรั่งที่พากย์ ภาษาอังกฤษ อย่าพูดว่า " I want to watch a soundtrack film." แต่ควรจะใช้ว่า " I want to watch an English film." เพราะความหมายของคำว่า " soundtrack" คือ ดนตรีที่อยู่ในภาพยนตร์ต่างหากล่ะค่ะ ถ้าเราจะพูดถึงหนังฝรั่งที่ พากย์เสียงภาษาไทย เราต้องบอกว่า " I want to watch an English film that is dubbed into Thai." เพราะคำกิริยาว่า "dub" คือพากย์เสียงจากต้นแบบในหนั งหรือรายการโทรทัศน์ไปเป็ นภาษาอื่น ส่วนหนังที่มีคำบรรยายใต้ ภาพเราเรียกว่า " a subtitled film" ซึ่งคำบรรยายที่อยู่ใต้ภาพ เราเรียกว่า " subtitles" ( ต้องมี s ต่อท้ายเสมอนะค่ะ) เช่น a French film with English subtitles หนังฝรั่งเศสที่มีคำบรรยายใต้ ภาพเป็นภาษาอังกฤษ หนังบางเรื่องจะมีคำบรรยายใต้ ภาพเป็นภาษาเดียวกับที่นักแสดงพูด เรามีศัพท์เรียกเฉพาะว่า " closed-captioned films/videos/television programs" หรือ อาจเขียนย่อๆ ว่า " CC" เช่น You should watch a closed-captioned film to improve your English. คุณควรจะดูหนังฝรั่งที่มี คำบรรยายภาษาอังกฤษเพื่อพั ฒนาภาษาอังกฤษของคุณ


4.นักศึกษาปี 1 คนไทยมักเรียกว่า " freshy"
ซึ่ง ฝรั่งไม่รู้เรื่องหรอกค่ะ เพราะไม่มีการบัญญัติศัพท์คำนี้ ในภาษาอังกฤษ เค้าจะใช้คำว่า " fresher" หรือ " freshman" เช่น He is a fresher. หรือ He is a freshman. หรือ He is a first-year student. เขาเป็นนักศึกษาปี 1 ส่วนปีอื่นๆ คนไทยเรียกถูกแล้วค่ะ คือ ปี 2 เราเรียก a sophomore, ปี 3 เรียกว่า a junior และ ปี 4 เรียกว่า a senior


5.อัดหรือบันทึก คนไทยมักพูดทับศัพท์ว่า เร็คคอร์ด ( record)
คำๆนี้สามารถเป็นได้ทั้งคำนามและคำกิริยา เพียงแค่เปลี่ยนตำแหน่ง stress กล่าวคือ ถ้าจะใช้เป็นคำนามที่แปลว่า แผ่นเสียงหรือสถิติ ให้ขึ้นเสียงสูงที่พยางค์แรก คือ "เร็ค-คอร์ด" เช่น He wants to buy a record. เขาต้องการซื้อแผ่นเสียง , I broke my own record. ฉันทำลายสถิติของฉันเอง แต่ถ้าคุณจะหมายถึงคำกิริยาที่ แปลว่า อัดหรือบันทึก ต้อง stress พยางค์หลัง ซึ่งจะอ่านว่า "รี-คอร์ด" เช่น I'll record the film and we can all watch it later. ฉันจะอัดหนัง เราจะได้เก็บไว้ดูทีหลังได้ ส่วนเครื่องบันทึก เราเรียกว่า "recorder" อ่านว่า รี-คอร์-เดอร์


6.ต่างคนต่างจ่าย เรามักใช้ American share
รับรองว่าฝรั่ง(ต่อให้เป็นชาวอเมริกันด้วยค่ะ) ได้ยินแล้ว งงแน่นอน ถ้าคุณจะหมายถึงต่างคนต่างจ่ายให้ใช้ว่า " Let's go Dutch." หรือ " Go Dutch (with somebody)." อันนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นธรรมเนียมของชาวดัตช์หรือเปล่า ? ที่ต่างคนต่างจ่ายเลยมีสำนวนอย่ างนี้ หรือคุณอาจจะบอกตรงๆ เลยว่า " You pay for yourself." คือเป็นอันรู้กันว่าต่างคนต่ างจ่าย แต่ถ้าคุณต้องการเป็นเจ้ามือ( ไม่ใช่เล่นไพ่นะค่ะ)เลี้ยงมื้ อนี้เอง คุณควรพูดว่า " It's my treat this time." หรือ " My treat." หรือ " It's on me." หรือ " All is on me." หรือ " I'll pay for you this time." ทั้งหมดแปลว่า มื้อนี้ฉันจ่ายเอง ส่วนถ้าจะบอกเพื่อนว่า คราวหน้าแกค่อยเลี้ยงฉันคืน ให้บอกว่า " It's your treat next time."


7.ขอฉันแจม ( jam) ด้วยคน
ในกรณีนี้คำว่า "แจม" น่าจะหมายถึง "ร่วมด้วย" เช่น We are going to eat outside. Do you want to jam? เรากำลังจะออกไปกินข้าวข้างนอก เธอจะไปด้วยมั้ย ? ในภาษาอังกฤษไม่ใช้คำว่า jam ในกรณีแบบนี้ ซึ่งควรจะใช้ว่า " Do you want to join us?", "Do you want to come with us?" หรือ " Do you want to come along?" จะดีกว่าค่ะ


8.เขามีแบ็ค ( back) ดี
" He has a good back." ฝรั่งคงงงว่ามันเกี่ยวอะไรกับข้ างหลังของเค้า เพราะ back แปลว่า หลัง (อวัยวะ) แต่คุณกำลังจะพูดถึงมีคนคอยสนั บสนุน ซึ่งต้องใช้ " a backup" ซึ่งหมายถึง คนหรือสิ่งของที่ช่วยสนับสนุน ช่วยเหลือ เกื้อกูล เป็นกำลัง



ที่มา
แพรวา
//variety.teenee.com/foodforbrain/43682.html


Create Date : 23 มีนาคม 2555
Last Update : 23 มีนาคม 2555 12:14:46 น. 0 comments
Counter : 2683 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.