ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
21 กันยายน 2554
 
All Blogs
 
ด่วนๆ.....อันตรายมากหากไม่อ่านก่อนรับมือ....24 ก.ย.ดาวเทียมเก่านาซาจะหล่นใส่โลก แต่ไม่รู้จุดไหน

24 ก.ย.ดาวเทียมเก่านาซาจะหล่นใส่โลก แต่ไม่รู้จุดไหน


ภาพดาวเทียมยูเออาร์เอสขณะอยู่ในวงโคจรเมื่อปี 2534 ซึ่งบันทึกโดยลูกเรือกระสวยอวกาศดิสคัสเวอรี (เอเอฟพี/นาซา)


ดาวเทียมเก่าอายุ 20 ปีและหนักกว่า 5 ตันของนาซาได้หลุดจากวงโคจรและจะหล่นสู่โลกราวๆ วันที่ 24 ก.ย.นี้ในบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จะระบุตำแหน่งที่แน่ชัดก่อนดาวเทียมพุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ 2 ชั่วโมงเท่านั้น แต่องค์การอวกาศสหรัฐฯ ยืนยันโอกาสเกิดอันตรายต่อคนบนโลกมีเพียง 1 ใน 3,200

ทั้งนี้ ดาวเทียมศึกษาบรรยากาศชั้นบนยูเออาร์เอส (UARS: Upper Atmosphere Research Satellite) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ซึ่งมีอายุ 20 ปีและหนักถึง 5 ตันได้หลุดจากวงโคจรและหล่นสู่พื้นโลกราวๆ วันที่ 24 ก.ย.54 ตามคาดการ์ณของนาซา โดยพื้นโลกที่ดาวเทียมจะตกลงมานั้นอยู่ระหว่าง 57 องศาเหนือและ 57 องศาใต้ของเส้นศูนย์สูตร ซึ่งเป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่

อย่างไรก็ดี ดาวเทียมดังกล่าวจะเผาไหม้และแตกสลายไปมากแล้วก่อนตกสู่พื้นโลก ซึ่งตามรายงานของบีบีซีนิวส์นักวิทยาศาสตร์คาดว่าจะมีชิ้นส่วนจากดาวเทียมดังกล่าว 26 ชิ้นตกสู่พื้นโลก และตกกระจายกินพื้นที่กว้าง 400-500 กิโลเมตร ซึ่งทางนาซาเผยว่านักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณตำแหน่งที่ซากดาวเทียมจะตกได้ล่วงหน้าเพียง 2 ชั่วโมงก่อนดาวเทียมเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ

ดาวเทียมดังกล่าวมีโอกาสทำอันตรายประชาชนถึง 1 ใน 3,200 ซึ่งสูงกว่าขีดกำจัดที่นาซากำหนดไว้คือ 1 ใน 10,000 แต่นาซาแจงต่อสื่อมวลชนว่าไม่มีใครที่ได้รับบาดเจ็บจากวัตถุอวกาศที่ตกกลับสู่พื้นโลก นอกจากนี้ประาชนทั่วไปยังไม่สามารถเก็บชิ้นส่วนดาวเทียมที่ตกลงมาไว้เป็นสมบัติส่วนตัวหรือแม้แต่ประมูลขายผ่านทางเว็บไซต์อีเบย์ (eBay) เนื่องจากเศษซากเหล่านั้นยังคงเป็นสมบัติของรับบาลสหรัฐฯ

ดาวเทียมยูเออาร์เอสนั้นถูกส่งขึ้นไปเมื่อปี 2534 โดยกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี (Discovery) ของนาซา และหยุดทำงานเมื่อปี 2548 อย่างไรก็ดี ดาวเทียมที่จะตกสู่พื้นโลกนี้ยังมีขนาดน้อยกว่าสกายแล็บ (Skylab) สถานีอวกาศของสหรัฐฯ ซึ่งตกสู่โลกเมื่อปี 2522 โดยสถานีอวกาศดังกล่าวหนักกว่าดาวเทียมดวงนี้ถึง 15 เท่า และตกสู่พื้นที่ฝั่งตะวันตกของออสเตรเลีย เป็นเหตุให้สหรัฐฯ ต้องจ่ายค่าทำความสะอาดแก่รัฐบาลออสเตรเลีย


ที่มา
//www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000118860


Create Date : 21 กันยายน 2554
Last Update : 21 กันยายน 2554 21:18:49 น. 0 comments
Counter : 1312 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.