ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
20 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 
สอนลูกอย่างไรให้รู้ทัน "กรรม"



สอนลูกอย่างไรให้รู้ทัน "กรรม"

ด้วยสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ทำให้หลาย ๆ ครอบครัวไม่ค่อยมีเวลาให้แก่กัน พ่อแม่ต้องทำงานเพื่อความอยู่รอดของชีวิต และครอบครัว ส่วนลูกก็ต้องเตรียมพร้อมกับการสอบแข่งขันเพื่อแย่งชิงที่นั่งในโรงเรียนชื่อดังตามที่พ่อแม่คาดหวัง ส่งผลให้ครอบครัวยุคใหม่จำนวนไม่น้อย ค่อนข้างห่างวัด ห่างศาสนา และไม่มีธรรมะในหัวใจ

เมื่อครอบครัวขาดความเข้าใจในเรื่องธรรมะ และกฎแห่งกรรมแล้ว เจนจิรา เรียบร้อยเจริญ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "อ.เจน ญาณทิพย์" ให้ทัศนะในฐานะผู้มีญาณพิเศษด้านการเปิดกรรมภายหลังจบงานเปิดตัวหนังสือ "ภารกิจ Delete กรรม" ของสำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า เป็นสิ่งที่น่าห่วงใย และเป็นปัญหาที่ต้องช่วยกันแก้ เพราะไม่เช่นนั้น จิตใจของมนุษย์จะค่อย ๆ เสื่อมลง เกิดเป็นความวุ่นวาย และความวิบัติต่าง ๆ ในสังคมตามมาได้

"ครอบครัวยุคใหม่ค่อนข้างห่างไกลธรรมะ เมื่อเด็กไม่มีธรรมะในหัวใจ เป็นไปได้ที่พวกเขาจะตกหลุมพรางของอบายมุข และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด เกม หรือปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนเสียผู้เสียคน เห็นได้จากหญิงวัยรุ่นหญิงที่ท้องโดยไม่พร้อม และมีการทำแท้งกันมากขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ก็เพราะเด็กขาดธรรมมะ และไม่มีสติในการใช้ชีวิต" อ.เจนเผยให้เห็นภาพความเป็นจริงที่ยุ่งเหยิงวุ่นวาย และเสื่อมลงทั้งจริยธรรม และศีลธรรมของสังคมที่ห่างไกลธรรม

ดังนั้น การสอนลูกให้เข้าใจ "ธรรม" และเท่าทัน "กรรม" เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อให้เด็กไม่หลุดกรอบของความดีงาม และไม่ประมาทในทุก ๆ ขณะจิตของชีวิต

"นอกจากส่งเสริมลูกในด้านต่าง ๆ แล้ว พ่อแม่ไม่ควรลืมที่จะให้ความสำคัญกับธรรมะ เพราะจะทำให้เด็กรู้เท่าทันกรรม เช่น พากันสวดมนต์ไหว้พระ ทำบุญตักบาตร นั่งสมาธิเจริญสติ หรือสอนเรื่องกรรมให้ลูกเข้าใจง่าย ๆ ผ่านการเชื่อมโยงสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ถ้าลูกตั้งใจอ่านหนังสือ ลูกก็จะสอบผ่าน เป็นการสอนให้เห็นเหตุ และผลของการกระทำ หรือเล่าจากประสบการณ์จริงของพ่อแม่ที่อาบน้ำร้อนมาก่อนก็ได้ว่า ทำแบบนี้แล้วเกิดผลดี และไม่ดีอย่างไร เพื่อให้ลูกนำไปเป็นหลักคิด และอยู่ในสังคมโดยไม่ทำให้ตัวเอง และผู้อื่นต้องเดือดร้อน" อ.เจนให้คำแนะนำ

สำหรับครอบครัวที่ไม่ค่อยเชื่อ และมักมีความเห็นผิด ๆ เกี่ยวกับ "กฎแห่งกรรม" คือ ไม่เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เพราะคนไม่ดีกลับได้ดีมีถมไป อ.เจน ให้ความเชื่อมั่นว่า กรรม คือ การกระทำที่ส่งผลจริง หากทำดีก็ต้องได้ดีอย่างแน่นอน แต่เร็ว หรือช้านั้นขึ้นอยู่กับวิบากกรรมของแต่ละคน ดังนั้นหมั่นพากันทำความดี และไม่ประมาทกับชีวิต

"กรรม คือ การกระทำ มีทั้งกรรมดี และกรรมชั่ว แต่ละคนก็มีการกระทำอยู่ในชีวิตประจำวันด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะทำด้วยการคิด การพูด หรือการลงมือทำ ซึ่งไม่ควรคิดมากจนเครียดเกินไป เช่น บางคนกลัวนั่นกลัวนี่ และเอาแต่นั่งสมาธิอย่างเดียวจนไม่ทำงานทำการ หรือบางคนไม่เชื่อ และเลือกใช้ชีวิตด้วยความไม่ยั้งคิด ยั้งทำ ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้ เจนอยากให้ผสมผสานกันไปโดยใช้หลักธรรมเป็นตัวนำพาชีวิตอย่างพอดี รู้จักคิดก่อนทำ คิดก่อนพูด หรือใช้ชีวิตให้อยู่ในศีล5แล้วเชื่อเถอะค่ะว่า ชีวิตครอบครัวจะมีความสุข และมีแต่สิ่งดี ๆ เข้ามาอย่างแน่นอน" อ.เจนอธิบายเพิ่มเติม

ท้ายนี้ อ.เจน ให้แง่คิดสะกิดใจพ่อแม่ทุกครอบครัวว่า หากสถาบันครอบครัวไม่ให้ความสำคัญกับ "ธรรมะ" ก็คงยากที่เด็กจะเข้าถึงธรรม และรู้เท่าทัน "กรรมชั่ว" ซึ่งผลที่ตามมาคือ สังคมไทยจะค่อย ๆ ถอยหลังสู่ความเสื่อมในที่สุด ดังนั้น ถ้าอยากเห็นลูกหลานเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่คิดดี ทำดีก็ต้องฉีดวัคซีนธรรมตั้งแต่เด็ก ๆ เริ่มจากการให้เวลา และหมั่นชวนกันทำบุญ และคุณงามความดีผ่านการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา (นั่งสมาธิ)


ที่มา
//www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000035196


Create Date : 20 มีนาคม 2555
Last Update : 20 มีนาคม 2555 16:11:30 น. 0 comments
Counter : 813 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.