ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
14 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
การสร้างชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5

An Instructional Package on Thinking Skills in Problem Solving of Science on Force for Pratomsuksa 5 Students Using Weir and Constructionism Theory.
Kharom Pleedee1, Singhadej Tangjuank2
1Master Degree student, Department of Curriculum and Instruction
Faculty of Education, Uttaradit Rajabhat University
2Lecturer, Faculty of Science and Technology, Uttaradit Rajabhat University
______________________________________________________

Abstract: The purposes of the study ware to instructional package on thinking skills in problem solving of science on force for Pratomsuksa 5 students using Weir and constructionism theory. Population is students at grade 5 and 8 classroom at Tha-It Municiple School. The sample consisted of 30 Pratomsuksa 5 students in the second semester of the BE 2552 academic year at Tha-It Municiple School in Meaung District, Uttaradit Province. The research instruments were an instructional package, an achievement posttest and a satisfaction questionnaire for the instructional package. The data were analyzed through mean, standard deviation, efficiency of E1/E2.

The results were as follows:
1. The instructional package on thinking skills in problem solving of science on force for Pratomsuksa 5 students using Weir and constructionism theory consisted of four different sets : Set 1 force and resultant force (3 hours) ; Set 2 friction (3 hours) ; Set 3 air pressure (3 hours) ; And Set 4 water pressure and buoyant force (3 hours) with the total of 12 hours.
2. The effectiveness of the science instructional package was 87.33/83.89 which reached the criteria of 80/80
3. The students’ satisfaction towards the science instructional package was at the highest level.

Keyword : Instructional package, Problem Solving of Science, Weir theory, Constructionism theory



การสร้างชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีของเวียร์และ
ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน

คารม พลีดี1, สิงหเดช แตงจวง2
1นักศึกษาปริญญาโท, สาขาหลักสูตรและการสอน (การสอนทั่วไป)
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
2อาจารย์, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
______________________________________________________

บทคัดย่อ :
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จำนวน 8 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/8 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Specific purpose sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังการใช้ชุดกิจกรรม และแบบวัดความพึงพอใจของชุดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้ E1/E2

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสร้างชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ได้ชุดกิจกรรมทั้งหมด 4 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 เรื่อง แรงและแรงลัพธ์ ( 3 ชั่วโมง) ชุดที่ 2 เรื่อง แรงเสียดทาน ( 3 ชั่วโมง) ชุดที่ 3 เรื่อง ความดันอากาศ ( 3 ชั่วโมง ) ชุดที่ 4 เรื่อง แรงดันน้ำและแรงลอยตัว ( 3 ชั่วโมง ) รวมใช้เวลาทั้งหมด 12 ชั่วโมง
2. ผลของชุดกิจกรรมมีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ย 87.33/83.89 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : ชุดกิจกรรม, การคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์,ทฤษฎีการแก้ปัญหาของเวียร์,การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน


บทนำ

ศึกษาถูกละเลยและไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ผู้เรียนมิได้เรียนรู้และสัมผัสกับความเป็นวิทยาศาสตร์มากนัก จากการประเมินผลการทดสอบคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 48 จาก 50 ประเทศในโลก สาเหตุเนื่องมาจากครูไม่สอนให้นักเรียนฝึกคิดแก้ปัญหา ไม่เน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาในด้านการคิด การแสดงความคิดเห็น การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เน้นการถ่ายทอดความรู้ สัดส่วนการฝึกคิด ฝึกปฏิบัติมีน้อยกว่าการท่องเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐยังมีนักเรียนคิดแก้ปัญหาไม่เป็น ไม่สนใจเรียนเท่าที่ควร ขาดความรับผิดชอบ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ จากการประเมินโดยการทดสอบจากสถาบันการทดสอบแห่งชาติ (O-Net) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนโดยเฉลี่ย 53.34 คะแนน ต่ำสุด 15 คะแนน จึงจำเป็นต้องหาวิธีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ดีขึ้น และจากการประเมินสถานศึกษาโดยสำนักงานการการประเมินสถานศึกษา(สมศ.)ได้ให้ข้อเสนอแนะการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ว่า ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการคิด และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
แนวความคิดเกี่ยวกับกระบวนการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์นั้น เวียร์ได้เสนอขั้นตอนในการคิดแก้ปัญหาไว้ 4 ขั้นคือ ขั้นระบุ

ปัญหาหรือวิเคราะห์ประโยคที่เป็นปัญหา ขั้นนิยามสาเหตุของปัญหา ขั้นค้นหาแนวทางแก้ปัญหาหรือ ตั้งสมมติฐาน และขั้นพิสูจน์วิธีแก้ปัญหาหรือผลลัพธ์ที่ได้จากการแก้ปัญหา และถ้าเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ซึ่งเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนได้มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเอง ความรู้ที่สร้างขึ้นมานี้จะมีความหมายกับผู้เรียน มีความคงทน ผู้เรียนไม่ลืมง่ายและสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดี และความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ จะเป็นรากฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

การฝึกการคิดทางด้านการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์มีผู้ศึกษาและมีการนำเสนอเทคนิคในการฝึกไว้หลายวิธี แต่วิธีที่สะดวกและช่วยลดภาระของครูได้มากและเป็นที่นิยมคือการสร้างชุดฝึกเพราะครูสามารถสร้างเองได้ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นอุปกรณ์การสอนที่ช่วยลดภาระของครูได้มาก ประหยัดค่าใช้จ่าย ลงทุนต่ำ ในขณะฝึกผู้เรียนสามารถบันทึกผล และมองเห็นความก้าวหน้าของตนเองได้อย่างเป็นระบบระเบียบ สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ช่วยให้นักเรียนเรียนด้วยตนเองตามศักยภาพ เพิ่มประสิทธิภาพในการอ่าน ส่งเสริมความรับผิดชอบของนักเรียน แก้ปัญหาการขาดแคลนครู ช่วยไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายจากการเรียนที่ครูต้องทบทวนซ้ำซาก ช่วยลดภาระครูในการสอน และช่วยประหยัดรายจ่ายของค่าอุปกรณ์ที่มีนักเรียนจำนวนมาก

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าชุดกิจกรรมสามารถนำมาใช้ในการฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาได้ เนื่องจากสามารถใช้พัฒนาทักษะการคิดที่ต้องการโดยเฉพาะได้ นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการอ่านและความรับผิดชอบผู้เรียน สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ช่วยให้นักเรียนไม่เกิดความเบื่อหน่าย จากปัญหาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เห็นควรที่จะทำชุดกิจกรรม โดยใช้ทฤษฎีการแก้ปัญหาของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยใช้เนื้อหาเรื่อง แรง ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อฝึกให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดแก้ปัญหาตลอดจนเป็นแนวทางในการออกแบบชุดกิจกรรมการฝึกการคิดแก้ปัญหา เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนเรื่องอื่นๆ ในสาระวิทยาศาสตร์และกลุ่มสาระอื่นๆ ต่อไป

คำถามการวิจัย

1. ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน มีรูปร่างลักษณะ และองค์ประกอบอย่างไร
2. ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์หรือไม่
3. นักเรียนมีความพึงพอใจในชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานในระดับใด

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อสร้างชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแรง ตามทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
2. เพื่อวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแรง ตามทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
3. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแรง ตามทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5


ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. ทฤษฎีการแก้ปัญหาของเวียร์
2. ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงาน (Constructionism )

ขอบเขตการวิจัย

ด้านเนื้อหา
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 เรื่อง แรง
ด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
ด้านตัวแปร
1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การเรียนจากชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
2. ตัวแปรตาม ได้แก่
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
2.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์

สมมติฐานการวิจัย

1. ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพคิดเป็นคะแนนระหว่างเรียนและหลังเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80/80
2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ในระดับดี

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา 5 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งมีจำนวน 8 ห้องเรียน
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/8 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 30 คน ซึ่งได้เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Specific purpose sampling) ทั้งนี้เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีลักษณะตรงกับประชากรเป้าหมาย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. ชุดกิจกรรมสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
3. แบบวัดความพึงพอใจชุดกิจกรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-Experimental Research) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มเดียว เก็บข้อมูลระหว่างและหลังการทดลอง ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองตามลำดับดังนี้
1. ทำหนังสือขอความร่วมมือในการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ถึงโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐที่ผู้วิจัยต้องการเก็บรวบรวมข้อมูล
2. ดำเนินการสอนกับกลุ่มทดลอง โดยใช้ชุดกิจกรรมที่สร้างขึ้น
3. หลังจากเสร็จสิ้นการทดลองแล้ว ทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และวัดความพึงพอใจในการเรียน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ต่อไป

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม
2. วิเคราะห์หาคุณภาพแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ โดย
2.1 วิเคราะห์ความแม่นตรง (Validity) ด้วยวิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้องของชุดกิจกรรม ( IOC)
2.2 วิเคราะห์หาค่าความยากง่าย (Difficulty) ของข้อสอบในแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
2.3 วิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) ของข้อคำถามแบบอิงเกณฑ์
2.4 วิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอิงเกณฑ์ โดยใช้สูตรของเบรน(Brenn) และเคน (Kan)
3. วิเคราะห์คุณภาพแบบวัดความพึงพอใจ โดย
3.1 วิเคราะห์ความแม่นตรง (Validity) ด้วยวิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้องของชุดกิจกรรม
3.2 หาค่าความเชื่อมั่น สัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha coefficient) โดยใช้สูตรของครอนบัค (Cronbach)
3.3 หาค่าเฉลี่ย
3.4 หาส่วนเบี่ยงเบน
3.5 หาค่าร้อยละ

สรุปผลการวิจัย

1. ผลการสร้างชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ชุดที่ 1 เรื่อง แรงและแรงลัพธ์ ใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง ชุดที่ 2 เรื่อง แรงเสียดทาน ใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง ชุดที่ 3 เรื่อง ความดันอากาศ ใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง ชุดที่ 4 เรื่อง แรงดันน้ำและแรงลอยตัว ใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง รวมใช้เวลาทั้งหมด 12 ชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ทำการตรวจความถูกต้องของชุดกิจกรรม ความเหมาะสมระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ การวัดผลและประเมินผล และนำมาคำนวณ หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) พบว่า ดัชนีความสอดคล้องของชุดกิจกรรมชุดที่ 1 - 4 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 แสดงว่า ชุดกิจกรรมมีคุณภาพเหมาะสมและมีความสอดคล้องตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย
2. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน พบว่า ชุดกิจกรรมมีประสิทธิภาพระหว่างเรียน/หลังเรียน เท่ากับ 87.33/83.89 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจในการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับมากที่สุด

อภิปรายผล

1. ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีอยู่ 4 ชุด ใช้เวลาในการดำเนินการเรียน จำนวน 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย ชุดที่ 1 เรื่อง แรงและแรงลัพธ์ ใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง ชุดที่ 2 เรื่อง แรงเสียดทาน ใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง ชุดที่ 3 เรื่อง ความดันอากาศ ใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง ชุดที่ 4 เรื่อง แรงดันน้ำและแรงลอยตัว ใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง รวมใช้เวลาทั้งหมด 12 ชั่วโมง บทเรียนที่สร้างขึ้นจะเรียงลำดับจากเรื่องที่ง่ายไปหายาก โดยการจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้จะดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีครูคอยให้คำแนะนำ และเน้นให้นักเรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างผลงานขึ้นมาตามเนื้อหาที่ได้เรียนมาตามประสบการณ์ที่ใช้ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ที่ได้รับ

ผลสัมฤทธิ์หลังการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน พบว่า นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนร้อยละ 83.89 ซึ่งมีคะแนนสูงกว่าสมมติฐานการวิจัยในข้อที่1 ที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ระหว่างเรียนและหลังเรียนโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 แสดงว่า ชุดกิจกรรมส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของทวีศักดิ์ ไชยมาโย (2540) ซึ่งได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง ความร้อนและสสาร ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดการสอน ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.11/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคงทนในการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมแตกต่างกัน โดยนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมและสอดคล้องกับงานวิจัยของเนื้อทอง นายี่ (2544 ) ที่ได้ศึกษา ผลการใช้ชุดกิจกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความสนใจทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 56 คน จัดกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม โดยกลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ ซึ่งผู้เรียนปฏิบัติด้วยตนเองกลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการสอนโดยครูเป็นผู้สอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่ 1 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสนใจทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนสูงกว่า กลุ่มทดลองที่ และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสอดคล้องกับงานวิจัยของสุธิพร พลอยสุข (2550) ได้ศึกษาผลการใช้ชุดฝึกการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ตามทฤษฏีของเวียร์โดยการฝึกเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนที่ได้รับวิธีการฝึกเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการในแต่ละทักษะและโดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อใช้แบบทดสอบวัดการปฏิบัติ วัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการพบว่า นักเรียนที่ได้รับวิธีการฝึกเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการโดยภาพรวมและทักษะด้านการกำหนดและควบคุมตัวแปรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ และสอดคล้องกับงานวิจัยของคำเพียร อุปรีทอง (2550) ได้สร้างชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องบรรยากาศโดยใช้แผนผังมโนทัศน์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่าชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องบรรยากาศโดยใช้แผนผังมโนทัศน์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้ง 8 ชุดมีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยเท่ากับ 79.94/72.52 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70

2. ผลการศึกษาความพึงพอใจในการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการได้รับการจัดการเรียนรู้ ในระดับพึงพอใจมากที่สุด และนักเรียนมีพฤติกรรมที่ให้ความสนใจ ตั้งใจเรียน มีความกระตือรือร้นที่จะเรียน และมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์สูงขึ้น

ข้อเสนอแนะทั่วไป

1. จากผลการวิจัยการสร้างชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน สามารถนำชุดกิจกรรมนี้ไปดัดแปลง หรืออาจนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระวิทยาศาสตร์ เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมมือกันเสนอวิธีแก้ปัญหาตามแนวทางและพื้นฐานประสบการณ์ของนักเรียนตามศักยภาพ เป็นการส่งเสริมการแก้ปัญหา ซึ่งจะเป็นพื้นฐานการเรียนในระดับสูงขึ้น
2. ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีของเวียร์และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดังนั้น โรงเรียนหรือครูผู้สอนอาจนำแนวทางการสร้างชุดกิจกรรมนี้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือประยุกต์ใช้กับนักเรียนชั้นอื่นๆ ได้
3. ครูควรศึกษารายละเอียดของชุดกิจกรรมให้เข้าใจ จัดห้องเรียนให้พร้อมต่อการเรียนการสอน หรืออาจมีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับกิจกรรมเพื่อให้การปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนดำเนินไปอย่างมีลำดับขั้นตอน และบรรลุตามวัตถุประสงค์

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรมีการเปรียบเทียบความรู้ระหว่างการเรียนจากชุดกิจกรรมแบบรายบุคคลกับแบบรายกลุ่ม
2. ควรมีการศึกษาวิจัยรูปแบบการคิดแก้ปัญหารูปแบบที่เหมาะสมกับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แตกต่างกัน

เอกสารอ้างอิง

1. กรมวิชาการ. (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

2. กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

3. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2544). ลายแทงนัก คิด. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

4. คำเพียร อุปรีทอง. (2550). การสร้างชุด กิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องบรรยากาศโดยใช้แผนผังมโนทัศน์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์. ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

5. ทวีศักดิ์ ไชยมาโย. (2540). รายงานการวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้ เรื่องความร้อนและสสาร ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โดยชุดการสอน. นครพนม : ฝ่ายวิจัยและประเมินผลทางการ ศึกษา หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงาน ประถมศึกษานครพนม.

6. ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน : องค์ ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

7. เนื้อทอง นายี่. (2544). ผลการใช้ชุดกิจกรรม ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการ สอนโดยครูเป็นผู้สอนที่มีต่อทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความ สนใจทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิต วิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

8. ประเวศ วะสี. (2538 – 2539, ธันวาคม – มกราคม). วารสารข้าราชการครู 16(2) :
3 – 4.
9. ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2551). สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
10. รุ่ง แก้วแดง. (2541). การปฏิวัติการศึกษา ไทย. กรุงเทพฯ : มติชน.
11. สมจิต สวธนไพบูลย์. (2526). การพัฒนาการ สอนครูวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินท รวิโรฒ ประสานมิตร.
12. สิปปนนท์ เกตุทัต. (2541, พฤษภาคม). “แนวความคิดเกี่ยวกับทิศทางและนโยบาย ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาของ ประเทศไทย,” วิชาการ. หน้า 3 .
13. สุคนธ์ สินธพานนท์. (2550). นวัตกรรมการ เรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพของ เยาวชน. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
14. สุธิพร พลอยสุข. (2550). การใช้ชุดฝึกการคิด แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ตามทฤษฏีของ เวียร์โดยการฝึกเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นบูรณาการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยและ สถิติทางการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
15. สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์...การสอนคิด แก้ปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาพ พิมพ์.
16. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. คณะอนุกรรมการการปฏิรูปการเรียนรู้. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ดี.
17. สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2551). การ ประเมินผลสัมฤทธิ์นักเรียนระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2550. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : //bet.bopp.go.th.



Create Date : 14 มิถุนายน 2553
Last Update : 21 มีนาคม 2554 13:56:27 น. 11 comments
Counter : 3879 Pageviews.

 
Its like you read my mind! You seem to know so much about this, like you wrote the book in it or something. I think that you could do with some pics to drive the message home a little bit, but other than that, this is wonderful blog. An excellent read. I'll definitely be back.
Discount Oakley radar //www.chrystalhorses.net/128.html


โดย: Discount Oakley radar IP: 94.23.252.21 วันที่: 2 สิงหาคม 2557 เวลา:21:49:54 น.  

 
I believe that is one of the so much important information for me. And i'm glad reading your article. But should remark on few normal things, The site style is great, the articles is truly excellent : D. Good task, cheers
giubbotto peuterey roma //www.adbarno.it/adb/?it-giubbotto-peuterey-roma-11487.html


โดย: giubbotto peuterey roma IP: 192.99.14.36 วันที่: 10 ตุลาคม 2558 เวลา:21:44:03 น.  

 
You're so interesting! I do not think I've read something like this before. So great to discover another person with a few genuine thoughts on this topic. Seriously.. thank you for starting this up. This site is something that is required on the internet, someone with a bit of originality!
piumini moncler a milano //www.robertomazzi.it/?it-piumini-moncler-a-milano-6455.html


โดย: piumini moncler a milano IP: 192.99.14.34 วันที่: 11 ตุลาคม 2558 เวลา:7:07:26 น.  

 
This is very interesting, You're a very skilled blogger. I have joined your rss feed and look forward to seeking more of your magnificent post. Also, I've shared your web site in my social networks!
occhiali oakley usati //www.tribunuoro.it/?it-occhiali-oakley-usati-19178.html


โดย: occhiali oakley usati IP: 192.99.14.36 วันที่: 11 ตุลาคม 2558 เวลา:16:51:07 น.  

 
A person essentially help to make significantly posts I might state. That is the very first time I frequented your web page and up to now? I surprised with the analysis you made to create this particular put up extraordinary. Magnificent task!
moncler baby london //www.ibcd.de/?it-moncler-baby-london-9211.html


โดย: moncler baby london IP: 192.99.14.34 วันที่: 12 ตุลาคม 2558 เวลา:2:58:51 น.  

 
Hello, its fastidious post about media print, we all know media is a wonderful source of facts.
scuola elementare uggiano la chiesa //www.adbarno.it/iffi/?it-scuola-elementare-uggiano-la-chiesa-2763.html


โดย: scuola elementare uggiano la chiesa IP: 133.130.49.172 วันที่: 12 ตุลาคม 2558 เวลา:3:26:08 น.  

 
Nice post. I was checking constantly this blog and I am impressed! Very helpful information specifically the last part :) I care for such information much. I was seeking this certain info for a long time. Thank you and best of luck.
gafas ray ban nicaragua //travailderue.org/?es-gafas-ray-ban-nicaragua-14626.html


โดย: gafas ray ban nicaragua IP: 192.99.14.34 วันที่: 12 ตุลาคม 2558 เวลา:9:10:26 น.  

 
Very nice article, exactly what I was looking for.
ugg espa?a originales //www.mothercare.es/?es-ugg-espa?a-originales-1092.html


โดย: ugg espa?a originales IP: 192.99.14.36 วันที่: 12 ตุลาคม 2558 เวลา:21:03:22 น.  

 
OciFtQ wow, awesome article.Much thanks again. Really Cool.


โดย: fake tits IP: 188.165.240.145 วันที่: 11 ตุลาคม 2559 เวลา:8:47:45 น.  

 
น่าสนใจ..มีการเผยแพร่ผลงานเต็มรุปแบบไหมค่ะ


โดย: ya IP: 101.51.86.96 วันที่: 7 กันยายน 2560 เวลา:15:20:09 น.  

 
EJBKs4 Looking forward to reading more. Great article post.Really looking forward to read more. Really Cool.


โดย: pron best IP: 37.233.27.142 วันที่: 20 กันยายน 2560 เวลา:14:15:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.