ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
12 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
ที่มาของมงคล 38 ประการ

ที่มาของมงคล 38 ประการ


เหล่าเทวดาทูลถาม ท้าวสักกเทวราช "อะไรคือมงคล"


กาลเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา ณ ชมพูทวีป มหาชน และคนทั้งหลาย ผู้อาศัยอยู่ในโลกใบนี้ ต่างคนต่างก็มีความปริวิตกหวาดกลัวต่อความทุกข์ยากเดือดร้อนจากภัยที่จักเป็นอันตรายแก่ตน และคนทั้งทรัพย์สินในครอบครัว ด้วยอาศัยอำนาจแห่งความกลัวนี้ ชนทั้งหลายได้พากันขวนขวายแสวงหาที่พึ่งพาอาศัย ที่ตนเชื่อว่าประเสริฐและทรงอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจักได้ช่วยคุ้มครองปกปักรักษาชีวิตและทรัพย์สินของตนๆ ให้อยู่รอดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงที่จักอุบัติขึ้นบางขณะก็ใช้ที่พึ่งนั้น ให้ช่วยปัดเป่า รักษาอาการเจ็บไข้และโรคร้ายทั้งปวง บางทีก็ใช้ให้ที่พึ่งนั้นดลบันดาลให้พืชผลทางการเกษตรของตนเจริญงอกงาม หรือไม่ก็ใช้ที่พึ่งนั้นช่วยปกป้องภัยภิบัติ อันจักพึงมีแก่พืชผลทางการเกษตรทรัพย์สินและชีวิตของตน ซึ่งบางครั้งก็ดูเหมือนว่าที่พึ่งเหล่านั้นได้ดลบันดาลให้สำเร็จประโยชน์ตามที่ขอได้จริง

แต่ก็บ่อยครั้งหรือหลายครั้งที่ที่พึ่งเหล่านั้นมิได้ช่วยให้สำเร็จประโยชน์ตามที่ขอได้เลย แถมยังเป็นตัวทำลายชีวิตทรัพย์สินของผู้เคารพยอมรับบูชาเสียอีก และชีวิตของที่พึ่งเหล่านั้นก็มีมากมายหลายชนิดหลายประเภท มีชีวิตบ้าง ไม่มีชีวิตบ้าง ตัวอย่างเช่น ผู้คนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองก็พากันเคารพบูชาแม่พระคงคา บูชาเจ้าสมุทร บูชาผีน้ำ พรายภูตน้ำ หรือที่สุดก็บูชาสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำนั้นพวกที่อยู่ในป่าเขาต่างก็พากันบูชาเจ้าป่า เจ้าเขา รุกขเทวดา นางไม้ เจ้าที่ จอมปลวก แม้ในที่สุด ก็เคารพบูชาสัตว์น้อยใหญ่ที่อิงอาศัยอยู่ในป่านั้น ว่าเป็นที่พึ่งอันศักดิ์สิทธิ์ ประเสริฐ พวกที่อาศัยอยู่ในเมืองก็พากันเคารพบูชาดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า บางพวกก็บูชาลม ฝน ไฟ บางพวกก็บูชาทาง 3 แพร่ง และทางแยกต่างๆ บางพวกก็บูชาสัตว์เลี้ยงในบ้าน และนอกบ้านได้แก่ วัว งู นก ไก่ ปลา และบางพวกก็บูชามนุษย์ที่ประพฤติพรต บำเพ็ญตบะ

เมื่อมหาชนของผู้คนทั้งหลายพากันบูชาสิ่งเคารพของตนๆ ดังได้กล่าวมาแล้วต่างก็พากันบูชาด้วยของบูชาอันเลิศ พร้อมกระนั้นก็ขอความคุ้มครองรักษา บำบัดปัดเป่า ขจัดทุกข์ภัยจากสิ่งเคารพของตน ซึ่งผลที่ตอบรับบางทีก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง จนทำให้เป็นที่โจษจัน เคลือบแคลง ระแวงสงสัยแก่มหาชนคนทั้งหลายว่า สิ่งเคารพอันใดกันแน่ที่จัดว่าเป็นสิ่งเคารพที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ดีมีมงคล มหาชนทั้งหลายต่างฝ่ายต่างพากันถกเถียงอยู่เคลื่อนกล่นอลหม่านก็ยังหาข้อยุติมิได้ ว่าอะไรคือสิ่งเคารพที่เป็นมงคลสูงสุด จนร้อนถึงเหล่าเทวดาชั้นกามาวจร อันได้แก่เทวดาที่สถิตอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ เมื่อได้สดับคำโจษขานของมนุษย์ที่อยู่ในความดูแลของตนๆ ก็พากันสอบถามกันและกันว่า

"เอ...พวกมนุษย์เขาถามกันไปมาว่า อะไรคือสิ่งดีมีมงคลสูงสุด"
"นั่นสิท่าน! อะไรล่ะ ข้าพเจ้าก็มิได้รู้เหมือนกัน"
"ถ้าอย่างนั้นชาวเราทั้งหลาย พากันไปเข้าเฝ้ามหาเทพ เพื่อทูลถามปัญหานี้เถิด"


ท้าวสักกเทวราชทูลถาม พระพุทธเจ้า ณ เชตวันมหาวิหารอารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถึ


เหล่าเทพเทวาทั้งหลาย ก็ได้พากันไปเข้าเฝ้ามหาเทพผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ พร้อมกับทูลถามปัญหาว่าอะไรเป็นมงคลสูงสุด องค์อินทราธิราชผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ เมื่อได้ทรงฟังปัญหาของเหล่าเทพเทวาทั้งหลายดังนั้นแล้ว ก็วิเคราะห์ใคร่ครวญพิจารณาดู ก็หาได้รู้ไม่ สุดปัญญาที่จอมเทพไทจักแก้ไข ก็เลยตรัสขึ้นว่า เห็นทีปัญหานี้จักต้องกราบทูลอาราธนาขอให้พระจอมบรมศาสดาทรงเมตตาแก้ปัญหาในครั้งนี้ ด้วยเหตุที่ว่าพระองค์ทรงเป็นพระสัพพัญญู มิมีอะไรที่ไม่ทรงรู้ คิดดังนั้นแล้วก็ชวนเหล่าเทวดาทั้งหลายมาเฝ้าทูลถามปัญหา ณ เชตวันมหาวิหารอารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐีใกล้เมืองสาวัตถี

เมื่อท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า และบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งทูลถามพระองค์ว่า อะไรคือมงคลของชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงหลักมงคล ซึ่งมีทั้งหมด ๓๘ ประการ มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ยึดถือวัตถุ แต่ยึดถือการปฏิบัติฝึกฝนตนเอง

แม้หลักมงคลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง จะประกอบไปด้วย เหตุผลอย่างสมบูรณ์ ไม่มีใครสามารถหักล้างได้ แต่ก็มิได้หมายความว่า คณาจารย์ นักคิด เจ้าลัทธิทั้งหลายจะล้มเลิกความคิดเดิม หันมาเชื่อพระองค์ทุกคน เพราะล้วนแต่หนาแน่นด้วยทิฏฐิกันทั้งนั้น แม้จะรู้ตัวว่าผิด แต่ยังยืนยันวาทะของตนอยู่ และสานุศิษย์ของแต่ละสำนักก็ยังทำการเผยแพร่อยู่อย่างไม่หยุดยั้ง ประกอบกับนิสัยของคนเรามีความขลาดประจำตัวอยู่แล้ว ชอบทำอะไรเผื่อเหนียว ไว้ก่อน จึงมีผู้ยอมรับนับถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เกิดเป็นมงคล ๒ สาย พัวพันกันมาจนถึงปัจจุบันคือ

๑. มงคลของนักคิด เรียกว่า มงคลมี ยึดถือเอาว่า การมีสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นมงคล ซึ่งแต่ละที่แต่ละสมัยก็ยึดถือต่างๆ กันไป ไม่มีอะไรแน่นอน ของบางอย่าง บางที่ถือเป็นมงคล บางที่อาจถือว่าเป็นอัปมงคลก็ได้

๒. มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า มงคลทำ ยึดถือเอาการปฏิบัติฝึกฝนตนเองเป็นเกณฑ์ เป็นสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ใดปฏิบัติตามแล้วย่อมได้ผลแน่นอน

มงคลของนักคิดนั้น มีผู้เสนอขึ้นมาแล้ว ก็มีผู้โต้แย้งลบล้างไป แล้วก็มีผู้เสนอขึ้นมาใหม่อยู่เรื่อยๆ จนหาข้อยุติไม่ได้ แต่มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เมื่อทรงแสดงแล้ว ก็ไม่มีใครสามารถหาเหตุผลมาลบล้างได้ แม้ พระองค์จะทรงเปิดโอกาส ให้คัดค้านวิพากษ์วิจารณ์ได้ตลอดเวลา ดังความในบทสรรเสริญพระธรรมคุณ ที่ว่า "เอหิปัสสิโก เชิญมาพิสูจน์เถิด"

ที่มา:
//www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=4563824440836
//www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=4563824440836&Page=2




Create Date : 12 ตุลาคม 2552
Last Update : 12 ตุลาคม 2552 14:32:16 น. 0 comments
Counter : 885 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.