ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
12 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
จั๊กจั่น...แมลงตัวนี้น่ารัก


ปกติคนอีสานจะกินจั๊กจั่นเป็นอาหาร ทั้งตัวแก่ ตัวอ่อน(อร่อยกว่า) และไข่จั๊กจั่น แต่เมื่อไม่นานมานี้กลับมีข่าวว่า ชาวบ้านบางคนเชื่อว่ามีว่านจั๊กจั่นที่สามารถรักษาโรคได้ ซึ่งผลปรากฏว่าเป็นเพียงจั๊กจั่นที่ขึ้นราและอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เรามาทำความรู้จักจั๊กจั่นแบบแท้จริงกันดีกว่าเนาะ

จักจั่น
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Arthropoda
ชั้น Insecta

อันดับ Hemiptera
อันดับย่อย Auchenorrhyncha
อันดับฐาน Cicadomorpha
วงศ์ใหญ่ Cicadoidea
วงศ์ Cicadidae
Westwood, 1840

จักจั่น (Cicada) จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอด order Hemiptera,suborder Auchenorrhyncha

- มีตาขนาดใหญ่ อยู่ด้านข้างของหัว มีประสาทการรับรู้ที่ดีอยู่บนปีก
- ค้นพบประมาณ 2500 สปีชี่ส์แล้ว บนโลก
- จั๊กจั้นอาศัยอยู่ในบริเวณเขตร้อน ซึ่งเป็นแมลงที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะมีขนาดที่ใหญ่ และสามารถส่งเสียงที่ไพเราะได้
- จั๊กจั่นบางครั้งจะถูกสับสนกับ ตั๊กแตนหนวดสั้น (locust)
- จั๊กจั่นไม่มีเหล็กไนไว้ต่อย และไม่กัดมนุษย์
- บางพื้นที่ จั๊กจั้นถือว่าเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยม และยังจัดเป็นอาหารยาอีกด้วย

ข้อมูลเบ็ดเตล็ด
จั๊กจั่นเป็นแมลงที่สามารถนำมาเป็นอาหารได้

ลักษณะทางกายภาพ

จักจั่นเป็นแมลงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอันดับ Homoptera ลักษณะเด่นของจักจั่น คือเพศผู้สามารถทำเสียงได้ แหล่งกำเนิดเสียงมาจากบริเวณด้านใต้ลำตัวของท้องปล้องแรกต่อกับส่วนอก จักจั่นแต่ละชนิดมีเสียงเฉพาะในแต่ละตัว ทำให้สามารถแยกประเภทของจักจั่นได้จากเสียงร้อง ทำนองของเสียงร้องอาจบ่งบอกได้ถึงการป้องกันตัว ตกใจเมื่อถูกรบกวน หรือร้องเรียกเพื่อหาคู่ จักจั่นมีส่วนหัวและส่วนอก กว้างเรียวมาทางหาง มีตาเดี่ยว 3 ตาเรียงกันเป็นรูป 3 เหลี่ยม อยู่ใกล้กับด้านสันหลัง ของศีรษะ หนวดสั้นเป็นรูปขน ปากเป็นแบบเจาะดูด มีปีกบางใสและยาวกว่าลำตัว เวลาเกาะอยู่กับที่ ปีกจะหุบชิดกันเป็นรูป 3 เหลี่ยม มองคล้ายหลังคา ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนสลับกับสีน้ำตาลเข้ม ตัวอ่อนมีสีน้ำตาลอ่อน ตาโต ขาหน้ามีขนาดใหญ่ไว้สำหรับขุดดิน ตัวเต็มวัยมีขนาดลำตัวตั้งแต่หัวจรดปีกประมาณ 30 – 40 มิลลิเมตร


แหล่งที่อยู่อาศัย

ตัวเต็มวัยเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ โดยเฉพาะต้นกุง หรือกอหน่อไม้ ตัวเมียจะเจาะต้นไม้ให้เป็นรูเล็ก ๆ เพื่อวางไข่เมื่อไข่ฟักกลายเป็นตัวอ่อนแล้ว ตัวอ่อนจะร่วงลงสู่พื้นดิน ใช้ขาหน้าขุดฝังตัวอยู่ในดิน เมื่อเจริญเต็มที่จะไต่ขึ้นมาบนต้นไม้ ลอกคราบ กลายเป็นตัวเต็มวัยอาศัยอยู่บนต้นไม้ ระยะที่เป็นตัวเต็มวัยนี้สั้นมาก คือเมื่อผสมพันธุ์และวางไข่จะตายลง


รูปแบบการไล่ล่า

จักจั่นเป็นแมลงที่ชาวบ้านนิยมบริโภค วิธีการไล่ล่าสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

1. ใช้ยางพันไม้แล้วติดที่ปีกของจักจั่น วิธีนี้ชาวบ้านเรียกว่า "ติดจักจั่น" จะเริ่มจากนำยางที่เรียกว่า "ตัง" ซึ่งได้จากต้นไฮ้ มาผสมกับยางของต้นกุง คนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันชาวบ้านใช้ไม้ไผ่ มาจุ่มลงแล้วพันยางตังให้ติดบริเวณปลายของไม้ นำไปแตะที่ปีกจักจั่นที่เกาะอยู่ตามกิ่งไม้ เมื่อปีกติดยางตังจักจั่นจะบินไม่ได้ ชาวบ้านใช้มือดึงจักจั่นออกจากตัง วิธีนี้ทำให้ปีกของจักจั่นฉีกขาด ชาวบ้านนิยมหาจักจั่นด้วยวิธีนี้ เพราะเห็นตัวจักจั่นได้ไม่ชัดเจนเท่าใดนัก ข้อควรระวังในการไล่ล่าด้วยวิธีนี้ คือ ต้องระวังไม่ให้ยางตังติดเสื้อ หรือผมของผู้ไล่ล่า เพราะยางตังไม่สามารถซักหรือล้างออกได้

2. ใช้วิธีการเขย่าต้นไม้ วิธีการนี้ชาวบ้านใช้เมื่อไล่ล่าจักจั่นตอนกลางคืน ชาวบ้านสังเกตตัวจักจั่นจากต้นกุงเป็นหลัก การหาจะไปพร้อมกับไฟฉายหรือโคมไฟแบตเตอรี่ บางคนก็ยังใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน คือใช้การ "กระบอง" เมื่อพบก็เขย่าต้นกุงให้ตัวจักจั่นหล่นลงมา ชาวบ้านอธิบายว่า ตอนกลางคืนจักจั่นจะมองไม่เห็น และไม่สามารถบินได้ เมื่อตัวหล่นลงมาจึงใช้มือเปล่าตะครุบได้อย่างง่ายดาย นอกจากสังเกตจากต้นกุงแล้ว ชาวบ้านยังสังเกตจากต้นไม้อื่นๆ อีก โดยชาวบ้านไปยืนอยู่ใต้ต้นไม้ ถ้าต้นใดมีจักจั่นก็จะมีละอองน้ำคล้ายฝนตกปรอยๆ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "เยี่ยวจักจั่น" ถ้าต้นใดมีละอองน้ำมาก ก็แสดงว่ามีจักจั่นอยู่มาก ก็ลงมือเขย่าต้นไม้ หรือใช้ไม้ตีตามกิ่งเพื่อให้ตัวจักจั่นล่วงลงสู่พื้น และเก็บด้วยมือเปล่า

รูปแบบการนำไปบริโภค

เมื่อได้ตัวจักจั่นมาได้แล้ว จะเด็ดปีกและหัวออก ล้างทำความสะอาด และถ้าหากจับด้วยวิธีใช้ยางตัง ต้องล้างให้สะอาดเป็นพิเศษ มิฉะนั้นจะมีกลิ่นของยางตังติดปนมากับตัวจักจั่น ตัวเต็มวัยสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอด คั่ว หมก ยำ แกง ก้อย ลาบ ป่น (ตำดิบ) บริโภคดิบ และนำมาทำเมี่ยง

ที่มา :
ฝ่ายวิชาการ สถาบันการแพทย์แผนไทย
และวิกีพีเดีย



Create Date : 12 กรกฎาคม 2553
Last Update : 12 กรกฎาคม 2553 10:04:35 น. 0 comments
Counter : 5163 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.