ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
12 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
ตัวเป็นๆ ยูนิคอร์นแห่งท้องทะเล





ตัวเป็นๆ ยูนิคอร์นแห่งท้องทะเล

ทีมงานแผนกธรรมชาติวิทยา บีบีซีแห่งอังกฤษ (BBC Natural History Unit) ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง กับสิ่งที่บันทึกได้ระหว่างการถ่ายทำสารคดีชุด เหตุการณ์ยิ่งใหญ่แห่งธรรมชาติ (Nature's Great Events)

ภาพสิ่งมีชีวิตฝูงหนึ่ง ที่แหวกว่ายไปตามรอยแยกของน้ำแข็งบนผืนมหาสมุทรอาร์กติก ระหว่างกำลังอพยพย้ายถิ่นในช่วงฤดูร้อน

สัตว์ที่ผ่านเข้ามาให้บีบีซีได้มีโอกาสบันทึกนั้นคือ "นาร์วาฬ" (Narwhal) วาฬขาวขนาดเล็ก ที่อาศัยอยู่บริเวณอาร์กติก ซึ่งบางครั้งวาฬน้อยเหล่านี้ ได้รับฉายาว่า "ยูนิคอร์นแห่งอาร์กติก" หรือ "ยูนิคอร์นแห่งท้องทะเล" เพราะงาที่มีลักษณะบิดเกลียวยื่นยาวแทงทะลุออกมาจากปากของพวกมัน

งา (ที่เหมือนจะเป็นเขาของยูนิคอร์น) แต่ยื่น ออกจากปากของนาร์วาฬนี้ ยาวประมาณ 2 เมตร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า งาอันยาวยืดนี้เป็นความภาคภูมิใจของนาร์วาฬเพศผู้ที่ใช้ดึงดูดความสนใจ ระหว่างการจับคู่

ทีมงานของบีบีซีมุ่งหน้าสู่อาร์กติกตั้งแต่เดือน มิ.ย. 51 ที่ผ่านมา เพื่อจับจ้องบันทึกภาพการอพยพของเหล่าสัตว์ที่มีงาเหมือนช้างในช่วงฤดูร้อน

ช่วงเวลานี้ของปี อากาศเริ่มมีความร้อนสูงมากขึ้น ทำให้อุณภูมิน้ำทะเลสูงกว่าจุดเยือกแข็ง แผ่นน้ำแข็งหนาๆ เริ่มละลาย สร้างพื้นที่น้ำแข็งแตกกระจายไปทั่ว

ทุกๆ ปีในหน้าร้อนนาร์วาฬนับพันๆ ตัว จะใช้รอยแยกของแผ่นน้ำแข็งเป็นเส้นทางอพยพจากแหล่งที่อยู่คือบาฟฟิน เบย์ (Baffin Bay) ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างมหาสมุทรอาร์กติกกับแอตแลนติก ที่บริเวณแคนาดา มุ่งหน้านับพัน กิโลเมตรสู่ไฮอาร์กติกฟยอร์ด (High Arctic Fjords) อ่าวน้ำแข็งแถบขั้วโลกเหนือ พรมแดนของนอร์เวย์

ทว่า การติดตามหาร่องรอยของสัตว์เหล่านี้ใช่ว่าจะง่ายดาย

จัสติน แอนเดอร์สัน ผู้ผลิตรายการนี้กล่าวว่า แม้นาร์วาฬจะตัวใหญ่ แต่พื้นที่ในการค้นหาก็กว้างใหญ่พอๆ กับสก็อตแลนด์

"เหมือนกับงมเข็มในมหาสมุทร" เขาเปรียบเทียบ ทีมงานของเขาพร้อมกล้องบันทึกภาพใต้น้ำ ต้องใช้เวลาราว 4 สัปดาห์เฝ้ารอยูนิคอร์นทะเลบนแผ่นน้ำแข็ง แต่เมื่อเห็นร่องรอยของสิ่งที่รอคอยแล้ว แผ่นน้ำแข็งที่แทรกตัวอยู่ก็เริ่มเป็นอันตราย บางเกินกว่ามนุษย์จะอยู่ได้

แม้จะเปลี่ยนแผนมาใช้เฮลิคอปเตอร์ตามหา ที่ดูเหมือนว่าจะสะดวกสบายในการเดินทาง แต่หมอกในอาร์กติกก็เป็นอันตรายต่อการขับเครื่องบินเป็นอย่างยิ่ง

ทว่าหลังจากตามหาด้วยเฮลิคอปเตอร์มา 7 วันแล้ว ในวันที่ 8 ของการบินที่ท้องฟ้าแจ่มใส อีกทั้งยังมีพระอาทิตย์เที่ยงคืน (ในฤดูร้อนที่ขั้วโลกเหนือจะเห็นดวงอาทิตย์ 24 ชั่วโมง) ทำให้ช่างภาพสามารถบันทึกนาร์วาฬที่แหวกว่ายตามเส้นทางที่คาดหมาย จากเฮลิคอปเตอร์ได้ไม่ยาก

-ขอบคุณ manager.co.th
และ สนุกดอทคอม


Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2552 15:35:05 น. 1 comments
Counter : 1109 Pageviews.

 
ไม่เคยเห็นเลย แปลกดีคะ

สงสัยพวกมันคงต้องระวังโดนจิ้ม
งาแหลมมาก
เจอเผลอโดนกันเองไหมนะ


โดย: StarInDark วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:16:50:23 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.