ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
10 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อุตรดิตถ์


wat in uttaradit


วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง หรือ วัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่ที่กลางเทศบาลตำบลทุ่งยั้ง ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นวัดโบราณประดิษฐานพระมหาธาตุประจำเมืองทุ่งยั้ง เมืองโบราณตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย

ตามตำนานการสร้างพระบรมธาตุกล่าวว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ผู้ครองเมืองสุโขทัย ได้เชิญพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาบรรจุไว้ในถ้ำใต้ดินโดยขุดลงไปเป็นถ้ำแล้วก่อพระธาตุไว้ โดยลักษณะเดิมของพระบรมธาตุเมืองทุ่งยั้งคงเป็นรูปเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ แต่ต่อมามีการบูรณะเพิ่มเติมโดยพญาตะก่าพ่อค้าไม้ชาวพม่าในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2544 เป็นลักษณะเจดีย์อย่างพม่า จนใน พ.ศ. 2451 ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทำให้ยอดพระบรมธาตุเจดีย์หักพังลงมา หลวงพ่อแก้วสมภารวัดพระบรมธาตุในขณะนั้นได้เป็นหัวหน้าปฏิสังขรณ์ซ่อมเพิ่มเติมดังรูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบัน


wat in uttaradit


วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งในปัจจุบันได้รับการบูรณะซ่อมแซมบำรุงอยู่เสมอในฐานะวัดสำคัญประจำเมืองทุ่งยั้ง ซึ่งเมืองทุ่งยั้งในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีผู้คนอาศัยติดต่อกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งพิจารณาได้จากสำเนียงการพูดของคนทุ่งยั้งเทียบกับกลุ่มคนในชุมชนชาวสุโขทัยเดิมที่มีประวัติชุมชนว่าเป็นกลุ่มคนที่อพยพไปตั้งบ้านเรือนที่อื่นได้ นอกจากนี้ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งยังมีประเพณีประจำปีที่สำคัญคือ ประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ทุกวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี โดยเป็นวันงานสลากภัตของวัดและจะมีการจัดแสดงพุทธประวัติตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพด้วย


wat in uttaradit


ตำนานพระบรมธาตุ-สมัยสุโขทัย
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ไปต่างๆกัน คือ วัดหน้าพระธาตุ วัดบรมธาตุ วัดทุ่งยั้ง วัดชัยบุรี วัดชัยปราการ วัดกัมโพชนคร วัดอุตรคามนคร สำหรับชื่อ “วัดกัมโพชนคร” เนื่องจากปรากฏหลักฐานการเรียกชื่อเมืองทุ่งยั้งในพงศาวดารเหนือว่า “กัมโพชนคร” ชาวบ้านแถบนั้นคงจะนำชื่อนี้มาเรียกวัดสำคัญประจำเมืองด้วยเช่นกัน

สมัยอยุธยา
สมัยอยุธยาตอนต้นถึงตอนกลาง ก็ยังไม่มีหลักมีหลักฐานที่เป็นเอกสารกล่าวถึงวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งโดยตรง จะมีก็เพียงพงศาวดารเหนือที่กล่าวถึงเพียงว่า ในสมัยพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ทรงทำศึกกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา โดยพระเจ้าติโลกราชทรงยกกองทัพจากเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองใกล้เคียงมาตั้งมั่นที่เมืองทุ่งยั้งด้วยรี้พลถึงห้าหมื่นเศษ ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าพระเจ้าติโลกราชจะมาทำการบูรณะพระบรมธาตุทุ่งยั้งนี้หรือไม่

สมัยอยุธยาตอนปลาย ในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2275-2301 ได้ทรงมาปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุทั้งที่เมืองพิษณุโลกและเมืองทุ่งยั้งโดยปรากฏความในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เป็นหมายรับสั่งในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศมีความโดยสังเขปว่า “โปรดให้มีตราพระราชสีห์ให้เมืองลับแล เมืองทุ่งยั้งรื้อวิหารและกำแพงแล้วสร้างใหม่” มีการสมโภชใหญ่ 3 วัน 3 คืน ภายในวิหารประดิษฐานพระประธานที่ชาวบ้านเรียกว่าหลวงพ่อหลักเมือง หากในส่วนขององค์พระบรมธาตุนั้นไม่มีข้อความในพงศาวดารระบุว่าได้มีการปฏิสังขรณ์ จึงไม่อาจสรุปได้ว่าองค์พระบรมธาตุจะได้รับการปฏิสังขรณ์เช่นเดียวกับวิหารและกำแพงหรือไม่

สมัยกรุงธนบุรี
สมัยกรุงธนบุรี ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยกกองทัพไปปราบเมืองสวางคบุรี (เมืองฝาง) พระยาพิชัยราชาถือพล 5,000 พระยายมราชถือพล 5,000 สมเด็จพระเจ้าตากสิน 12,000 เมือวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 8 จุลศักราช 1132 พ.ศ. 2313 ทรงพระกรุณาให้เย็บจีวรให้ได้ 1,000 ไตร บวชพระสงฆ์ฝ่ายเหนือคือบวชพระที่วัดพระฝาง 200 องค์ บวชพระที่วัดมหาธาตุ 200 องค์ บวชพระที่สวรรค์โลก 200 องค์ แล้วให้ลงมาอาราธนารับพระสงฆ์ราชาคณะและอันดับ 50 รูป ณ กรุงธนบุรีขึ้นไปบวชพระสงฆ์ไว้ทุกหัวเมืองแล้วพระราชทานพระราชาคณะไว้ให้อยู่สั่งสอนพระสงฆ์ฝ่ายเหนือ วันศุกร์แรม 10 ค่ำ เดือน 11 เสด็จพระราชดำเนินไปเมืองสวางคบุรี สมโภชพระธาตุ 3 วัน แล้วให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอารามและพระธาตุให้บริบูรณ์ดังเก่า แล้วพระองค์จึงเสด็จพระราชดำเนินไปสมโภชพระ ณ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง 3 วัน แล้วเสด็จไปสมโภชพระธาตุเมืองสวรรคโลก

สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์ พญาตะก่าเป็นพ่อค้าไม้ชาวพม่ามีศรัทธาแรงกล้าขออนุญาตทำการบูรณะพระมหาธาตุเจดีย์ ได้นำฉัตรมาติดยอดพระบรมธาตุเจดีย์ทุ่งยั้งและสร้างเจดีย์องค์เล็กที่ฐานชั้นล่างทั้ง 4 มุม และสันนิษฐานว่าการซ่อมของพญาตะก่าครั้งนี้คงจะซ่อมประมาณเดือนเสร็จก่อนเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 เนื่องจากปรากฏหลักฐานโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงบันทึกในพระนิพนธ์จดหมายระยะทางไปพิษณุโลกเกี่ยวกับวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2444 ไว้ส่วนหนึ่งดังนี้


wat in uttaradit


“หลังพระวิหารมีพระธาตุ สูงเห็นจะเกือบ 20 วา เป็นรูปเจดีย์พม่าใหม่อลองฉ่อง พระสีหสงครามว่าพระธาตุเดิมเล็ก นี่เขาทำบวกเข้าใหม่เมื่อสองเดือนนี้ ช่างพม่ารับจ้างทำอย่างพม่า พร้อมทั้งประตูกำแพงแก้วด้วย รูปร่างทำใหม่ก็ดีอยู่”

และเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทำให้ยอดพระบรมธาตุเจดีย์หักพังลงมา ต่อมาหลวงพ่อแก้วสมภารวัดพระบรมธาตุในขณะนั้นได้เป็นหัวหน้าปฏิสังขรณ์ซ่อมเพิ่มเติมดังรูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบัน


wat in uttaradit


การบูรณะพระบรมธาตุในสมัยรัตนโกสินทร์ จากการวิเคราะห์จากพระนิพนธ์จดหมายระยะทางไปพิษณุโลกเกี่ยวกับวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2444 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงกล่าวไว้ในหนังสือเที่ยวตามรางรถไฟเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2444 และหนังสือประวัติวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ของคุณนรินทร์ ประภัสสร สามารถสรุปได้ว่า ประมาณเดือนมีนาคม พ.ศ. 2444 มีการบูรณะครั้งแรกโดยช่างชาวพม่า และมีการบูรณะอีกครั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2451 โดยหลวงพ่อแก้วนั่นเอง


wat in uttaradit



wat in uttaradit



LubLae



LubLae



LubLae



LubLae



LubLae


ข้อมูล
//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87



Create Date : 10 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2552 18:43:57 น. 0 comments
Counter : 1425 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.