ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
10 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 
สุดทึ่ง!!! ภาพ “ดวงอาทิตย์” ในมุมมอง 3 มิติ จากยานแฝด "สเตอริโอ"

เผยภาพแรก “ดวงอาทิตย์” มุมหน้าหลังเต็มๆ จากยานแฝด "สเตอริโอ"


ภาพด้านหน้าและด้านหลังของดวงอาทิตย์ที่ยานแฝดสเตอริโอบันทึกไว้ โดยนักวิจัยใด้ปรับภาพทั้งสองให้เป็นภาพทรงกลม


นาซาปล่อยภาพแรกในมุมหน้าหลังของดวงอาทิตย์ ที่รวมเป็นภาพวงกลมเดียว บันทึกโดยยานแฝด “สเตอริโอ” ที่ส่งขึ้นไปเมื่อเกือบ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งเผยให้เห็นทรงกลมของพลาสมาร้อน และสนามแม่เหล็กที่ราวกับถักทออย่างประณีต

แองเจลอส วอร์ลิดัส (Angelos Vourlidas) สมาชิกทีมวิทยาศาสตร์ของหอดูดาวอวกาศสเตอริโอ (Solar Terrestrial Relations Observatory: STEREO) กล่าวกับเอเอฟพี ว่าเป็นครั้งแรก ที่เราสามารถเฝ้าดูกิจกรรมของดวงอาทิตย์ได้ในรูปแบบ 3 มิติ ซึ่งกล้องของยานสเตอริโอได้เผยให้เห็นดวงอาทิตย์ในอย่างที่ดวงอาทิตย์เป็น นั่นคือ ทรงกลมของพลาสมาร้อน และสนามแม่เหล็กที่ราวกับถูกถักทออย่างดี

ทั้งนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ระบุว่า ยานแฝดสเตอริโอแต่ละตัว ได้บันทึกภาพดวงอาทิตย์ครึ่งดวง เมื่อโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกันในแต่ละด้านของดวงอาทิตย์ แล้วส่งสัญญาณภาพกลับมายังโลก จากนั้นนักวิจัยได้รวมภาพทั้งสองให้กลายเป็นภาพวงกลม ดังนั้น ภาพที่เผยออกมาจึงไม่ใช่ภาพปกติ

กล้องโทรทรรศน์ของสเตอริโอ ถูกปรับเพื่อบันทึกความยาวคลื่นของการแผ่รังสีอัลตราไวโอเลตรุนแรง 4 ย่าน ซึ่งถูกเลือกเพื่อติดตามลักษณะสำคัญของกิจกรรมบนดวงอาทิตย์ เช่น การลุกจ้า (flare) สึนามิสนามแม่เหล็กและเส้นแรงสนามแม่เหล็ก เป็นต้น และไม่มีสิ่งใดเล็ดลอดการจับจาของหอดูดาวอวกาศทั้งสองไปได้

“นี่เป็นช่วงเวลาสำคัญของฟิสิกส์สุริยะ” วอร์ลิดัสให้ความเห็น

ด้าน ลิกา กุฮาธาคัวร์ตา (Lika Guhathakurta) นักวิทยาศาสตร์ของโครงการสเตอริโอ จากสำนักงานใหญ่นาซา กล่าวว่า ด้วยข้อมูลลักษณะที่ได้มานี้ ทำให้เราส่งยานไปบินรอบๆ ดวงอาทิตย์เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นที่ขอบฟ้าดวงอาทิตย์ โดยที่เราไม่ต้องละจากแผนก ซึ่งสิ่งที่เขาคาดหวังคือความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ฟิสิกส์สุริยะเชิงทฤษฎี และการพยากรณ์สภาพอวกาศ (space weather)

ทั้งนี้ ในอดีตจุดมืดที่ทรงพลัง อาจอุบัติขึ้นทางด้านที่ไม่มองจากโลกไม่เห็น ดังนั้น เมื่อดวงอาทิตย์หมุน จะทำให้บริเวณดังกล่าวหันตรงมายังโลกของเรา แล้วปลดปล่อยการปะทุ พร้อมเมฆพลาสมา โดยที่เรามีเวลาเตือนภัยเพียงเล็กน้อย

“จะไม่เป็นแบบนั้นอีกแล้ว” บิลล์ มัวร์ทาฟ (Bill Murtagh) นักพยากรณ์อาวุโสจากศูนย์คาดการณ์สภาพอวกาศ ขององค์การบริหารสมุทศาสตร์และบรรยากาศสหรัฐฯ (National Oceanic and Atmospheric Administration) หรือโนอา (NOAA) กล่าว และบอกด้วยกิจกรรมซึ่งอยู่ในด้านที่มองไม่เห็นนั้นไม่อาจสร้างความประหลาดใจได้แก่เราได้อีกแล้ว เรารู้จะแน่ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้น

ทั้งนี้ โนอาเองได้ใช้แบบจำลอง 3 มิติจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสเตอริโอ เพื่อปรับปรุงการพยากรณ์สภาพอวกาศ สำหรับเตือนสายการบิน บริษัทผลิตกระแสไฟฟ้า ผู้ดูแลดาวเทียมและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ

นาซาระบุว่า ยานสเตอริโอถูกส่งขึ้นไปเมื่อเดือน ต.ค.2006 และได้ศึกษาการไหลของพลังงานและสสารจากดวงอาทิตย์มายังโลก เมื่อถึงปี 2007 ยานอวกาศแฝดได้บนทึกภาพ 3 มิติของดวงอาทิตย์ และในปี 2009 ได้สังเกตการณ์ระเบิดที่รุนแรงที่เรียกว่า “การพ่นมวลของชั้นโคโรนา” (coronal mass ejections) หรือ “ซีเอ็มอี” (CME) ซึ่งสามารถรบกวนระบบสื่อสาร การทำงานของดาวเทียม ระบบนำร่องและสายส่งไฟฟ้าของโลกได้


ภาพวาดจำลองหอดูดาวสเตอริโอโคจรรอบดวงอาทิตย์และมาอยู่ตรงข้ามกัน และทำมุมกัน 180 องศา จนภาพหน้าหลังของดวงอาทิตย์


ภาพจำลองหอดูดาวอวกาศสเตอริโอ (ภาพประกอบทั้งหมดจากนาซา)


ที่มา
//www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000017940


Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2554 16:02:59 น. 1 comments
Counter : 1393 Pageviews.

 
ขอบคุณและสวัสดีครับ


โดย: nordcapp (nordcapp ) วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:11:12:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.