ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
9 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
สารแขวนลอย คอลลอยด์ และสารละลาย

สารแขวนลอย คอลลอยด์ และสารละลาย
ถ้าจำแนกสารโดยใช้ขนาดของอนุภาคสารเป็นเกณฑ์จะแบ่งสารออกเป็น
3 กลุ่ม คือ
1. สารแขวนลอย
2. คอลลอยด์
3. สารละลาย

สารแขวนลอย หมายถึง สารที่มีขนาดของอนุภาคใหญ่กว่า 0.0001 เซนติเมตร หรือจะสังเกตโดยสายตาก็ได้ เพราะสารแขวนลอย เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ ซึ่งโดยปกติจะทำให้สารละลายขุ่น และเมื่อตั้งทิ้งไว้จะนอนก้น เช่น น้ำโคลน เป็นต้น

คอลลอยด์ หมายถึง สารละลายที่มีอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.0000001 - 0.0001 เซนติเมตร เช่น น้ำสบู่ น้ำนม ควันบุหรี่
สารละลาย หมายถึง สารที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน มีองค์ประกอบตั้งแต่
2 สารขึ้นไปและมีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 0.0000001 เซนติเมตร เช่น น้ำเกลือ น้ำอัดลม อากาศ เป็นต้น

สารละลาย
เมื่อนำสารตั้งแต่ 2 ชนิดมาผสมกันโดยไม่เกิดปฏิกิริยาเคมี ถ้าสารสามารถ
ผสมกันจนเป็นเนื้อเดียว แสดงว่าเกิดการละลาย สารผสม ที่ได้เรียกว่า
สารละลาย แต่ถ้าสารไม่สามารถผสมเป็นเนื้อเดียวกันจะได้สารเนื้อผสม
สารละลาย เป็นสารไม่บริสุทธิ์ที่เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดมารวมกัน
แล้วเกิดการละลายเป็นเนื้อเดียวกัน โดยไม่สามารถบอกได้ว่าส่วนใดเป็น
สารใด

สารละลายมีทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ
2.1 สารละลายที่มีสถานะเป็นของแข็ง ได้แก่ นาก ทองสัมฤทธิ์ เหรียญบาท
ฟิวส์ไฟฟ้า ทองเหลือง เป็นต้น

2.2 สารละลายที่มีสถานะเป็นของเหลว ได้แก่ น้ำส้มสายชู ยาล้างแผล
น้ำอัดลม เบียร์ เป็นต้น

2.3 สารละลายที่มีสถานะเป็นก๊าซ ได้แก่ อากาศ ก๊าซหุงต้ม ก๊าซชีวภาพ
เป็นต้น

องค์ประกอบของสารละลาย
ประกอบด้วยสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 2 ชนิด โดยที่สารหนึ่งทำหน้าที่เป็นตัวทำ
ละลาย และสารอื่น ๆที่เหลือทำหน้าที่เป็นตัวถูกละลาย การพิจารณาว่าสารใดทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายหรือตัวถูกละลาย มีเกณฑ์ดังต่อไปนี้

ก.สถานะ
ถ้าเป็นองค์ประกอบของสารละลายมีสถานะต่างกัน เมื่อองค์ประกอบใดที่มีสถานะเหมือนสารละลาย แล้วสารนั้นจะเป็น ตัวทำละลาย เช่น น้ำเชื่อมเป็นของเหลวประกอบด้วยน้ำตาลที่เป็นของแข็งและที่เป็นของเหลว โดยน้ำมีสถานะเหมือนน้ำเชื่อม ดังนั้น น้ำเป็นตัวทำละลาย ส่วนน้ำตาล เป็นตัวถูกละลาย ทิงเจอร์ไอโอดีนเป็นของเหลวประกอบด้วยไอโอดีน เป็นของแข็งและ แอลกอฮอล์ ์เป็นของเหลว โดยแอลกอฮอล์มีสถานะเหมือนทิงเจอร์ ดังนั้นแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย

ข.ปริมาณ
ถ้าองค์ประกอบของสารละลายมีสถานะเหมือนกันทุกประการ จะไม่สามารถใช้สถานะเป็นเกณฑ์ ตัดสินได้ แต่ใช้ปริมาณของสารเป็นเกณฑ์ โดยสารที่มีปริมาณมากที่สุดจะเป็นตัวทำละลาย สารที่มีปริมาณน้อยจะเป็นตัวถูกละลาย เช่น น้ำส้มสายชูประกอบ ด้วย น้ำเป็นของเหลวร้อยละ 94 และกรดแอซิติกเป็นของเหลวร้อยละ 6 สำหรับน้ำและกรดแอซิตริกเป็นของเหลวเหมือนกันจึงต้อง พิจารณาปริมาณสาร ปรากฎว่าน้ำมีปริมาณมากกว่ากรดแอซิตริก ดังนั้น น้ำเป็นตัวทำละลาย

ตัวอย่างตัวถูกละลายและตัวทำละลายในสารละลายชนิดต่าง ๆ

สารละลาย ตัวถูกละลาย ตัวทำละลาย
อากาศ ก๊าซออกซิเจน ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซอื่น ๆ ก๊าซไนโตรเจน
น้ำอัดลม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำตาล น้ำ
น้ำยาล้างแผล ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ น้ำ
เหรียญบาท นิกเกิล ทองแดง
ก๊าซหุงต้ม ก๊าซบิวเทน สารมีกลิ่น ก๊าซโพรเพน


Create Date : 09 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2552 11:07:51 น. 0 comments
Counter : 23898 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.