ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
9 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
ปัญหา "การหย่าร้าง" เรื่องที่ทุกบ้านไม่ควรมองข้าม!

ปัญหา "การหย่าร้าง" เรื่องที่ทุกบ้านไม่ควรมองข้าม!

เมื่อได้ยินเรื่อง "การหย่าร่าง" เป็นเรื่องที่ใครฟังแล้ว ย่อมเกิดความรู้สะเทือนจิตใจไม่น้อย และไม่ต้องการให้เกิดกับชีวิตสมรสของตัวเอง เพราะเป็นความโหดร้าย และเปลี่ยนแปลงความรู้สึกทั้งสามี และภรรยา รวมไปถึงตัวลูกที่จะรับผลกรรมหลังจากการหย่าร้างโดยตรง เด็กบางคนจึงมีชีวิตที่ขาด เกิดเป็นปมด้อยติดตัวตามไปเมื่อต้องเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อน

ดังนั้น ปัญหาการหย่าร้าง และการสมรสใหม่ของครอบครัว เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แนวโน้มจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของครอบครัวนั้นๆ จึงเกิดเป็นความกังวล และความกลัว สะท้อนได้จากผลวิจัยเรื่อง "การศึกษาความกลัวของนักเรียนที่มีต่อการหย่าร้าง และการสมรสใหม่ของครอบครัว" ที่สะท้อนความคิด และรู้สึกของเด็กต่อปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

งานวิจัยชิ้นนี้ ได้ทำการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ด้วยวิธีการใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความกลัวของของนักเรียนที่มีต่อการหย่าร้างและการสมรสใหม่ของครอบครัว เป็นกลุ่มนักเรียนในช่วงชั้นที่ 2 ซึ่งได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และช่วงชั้นที่ 3 ซึ่งได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวนทั้งสิ้น 20,507 คน จากทั้งหมด 95 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 อ.เมือง จ.ลพบุรี

ผลการวิจัยจากการสำรวจ "ภัสยกร เลาสวัสดิกุล" บัณฑิตหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผย และสะท้อนให้เห็นว่า มีความกลัวเกิดขึ้น 7 ชนิดคือ ความกลัวการล้มเหลว ความกลัวการไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ความกลัวการถูกวิพากษ์วิจารณ์ และความลำบากใจ ความกลัวการถูกกระทำจากบุคคลอื่น ความกลัวการถูกกระทำอันตรายภายในครอบครัว ความกลัวในสิ่งที่ตนไม่รู้ และความกลัวการถูกทอดทิ้ง

"นักเรียนหญิงจะมีความกลัวในด้านการไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ กลัวการถูกกระทำจากบุคคลอื่น และกลัวถูกทอดทิ้งมากกว่านักเรียนชาย โดยจะมีความรู้สึกวิตกกังวลว่าตนเองจะสูญเสียถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับความรัก การดูแลเอาใจใส่จากบุคคลที่ตนเองรักเหมือนเดิม โดยมักจะแสดงออกในลักษณะของการเสียใจ การเศร้าโศก หรือการเก็บซ่อนความทุกข์ใจไว้ภายใน ที่สำคัญเด็กหญิงจะมีความรู้สึกว่าตนเองไม่ปลอดภัย กลัวจะได้รับอันตรายมากกว่าเด็กชาย ซึ่งต่างจากเพศชายที่มักจะแสดงออกในลักษณะของพฤติกรรมที่ต่อต้าน ก้าวร้าว หรือพฤติกรรมที่เป็นปัญหามากกว่า"

ด้านอายุที่แตกต่างกันจะมีความกลัวต่อการหย่าร้างและการสมรสใหม่ของครอบครัวแตกต่างกันไปด้วย โดยเด็กมีอายุมากขึ้นอาจมีการรับรู้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ตนเองกำลังเผชิญอยู่มากขึ้น จึงทำให้เกิดความวิตกกังวลมากขึ้น เด็กที่มีอายุระหว่าง 13-15 ปี มีความกลัวมากกว่านักเรียนที่มีอายุระหว่าง 9-12 ปี โดยจะกลัวด้านความล้มเหลว ความกลัวการไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ความกลัวการถูกกระทำจากบุคคลอื่น ความกลัวในสิ่งที่ตนไม่รู้ และความกลัวการถูกทอดทิ้ง เด็กที่มาจากครอบครัวหย่าร้างจะมีความกลัวมากกว่าเด็กที่มาจากครอบครัวปกติ

สำหรับเด็กมีพี่น้องจากครอบครัวเดิมอยู่ด้วย มีความกลัวการถูกทอดทิ้งน้อยกว่าเด็กที่เป็นลูกคนเดียว เนื่องมาจากการมีพี่น้องย่อมช่วยให้เกิดการแบ่งปันความรู้สึกที่เกิดขึ้นอันเป็นผลที่เกิดมาจากการหย่าร้าง เด็กจะไม่รู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว หรือถูกทิ้งให้เผชิญสถานการณ์การหย่าร้างแต่เพียงลำพังคนเดียว ซึ่งต่างจากนักเรียนที่ไม่มีพี่น้องจากครอบครัวเดิมอาจรู้สึกว่าตนเองต้องถูกทอดทิ้งให้เผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของคนเองโดยลำพัง ไม่มีคนคอยปรึกษา จึงทำให้เกิดความกลัวการถูกทอดทิ้งมากกว่า

"พ่อแม่ ก่อนที่คิดจะหย่าร้างควรตระหนักถึงผลที่ตามมาอันจะส่งผลกระทบต่อลูกด้วย ทั้งนี้หากมีความจำเป็นที่จะต้องหย่าร้าง บิดามารดาควรสร้างความเข้าใจ หรืออธิบายถึงสาเหตุหรือความจำเป็นของการหย่าร้างเพื่อให้เด็กเข้าใจ ผู้ปกครอง บุคคลในครอบครัว ตลอดจนผู้ใกล้ชิดควรทำความเข้าใจนักเรียนที่ต้องเผชิญกับปัญหาการหย่าร้างและการสมรสใหม่ของครอบครัว โดยคำนึงถึงความรู้สึก และสร้างความเข้าใจในพฤติกรรมของลูกให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ด้วย

ด้านครูประจำชั้น ครูผู้สอน และครูแนะแนว หน้าที่สำคัญคือ ควรทำความเข้าใจถึงความรู้สึกที่นักเรียนต้องเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว ให้กำลังใจแก่นักเรียนและจะเป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้าใจถึงพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก และจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการที่จะช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแก่นักเรียนที่กำลังเผชิญกับการหย่าร้างหรือการสมรสใหม่ของครอบครัว ให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงไปและสามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข" ภัสยกรฝากทิ้งท้าย


โดย
ผู้จัดการออนไลน์


Create Date : 09 พฤษภาคม 2553
Last Update : 9 พฤษภาคม 2553 16:37:42 น. 1 comments
Counter : 543 Pageviews.

 
สวัสดีค่ะ


ขอขอบคุณสำหรับบทความดีๆ นี้ค่ะ



โดย: LoveTurJang วันที่: 12 พฤษภาคม 2553 เวลา:12:57:23 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.