ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
8 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
โครเมียม (CHROMIUM)

โครเมียม (CHROMIUM)

โครเมียม (CHROMIUM) โครเมียม เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อการเจริญเติบโตที่มีสุขภาพที่ดี มันมีความจำเป็นต่อขบวนการแตกของโมเลกุลโปรตีน ไขมัน และ คาร์โบไฮเดรต รองจากแคลเซียมแล้วโครเมียมเป็นแร่ธาตุที่ได้รับความนิยมมากสำหรับคน อเมริกันที่รับประทานเป็นประจำ และยังเป็นที่ร่างกายต้องการโครเมียมในปริมาณ 50 - 200 ไมโครกรัมต่อวัน โครเมียมมีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต) ในงานวิจัยพบว่า โครเมียมเป็นส่วนประกอบของสารที่เรียกว่า GTF (Glucose tolerance factor) โดยทำงานร่วมกับ ไนอาซิน และกรดอะมิโนอีกหลายชนิด นอกจากนั้นโครเมียมอาจมีบทบาทในการเพิ่ม HDL หรือคลอเรสเตอรอลชนิดดี และ ลดระดับคลอเรสเตอรอลทั้งหมด โครเมียมจะกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนน้ำตาล กลูโคสให้เป็นพลังงาน และขบวนการสังเคราะห์กรดไขมัน และคลอเรสเตอรอล จึงดูเหมือนว่าโครเมียมจะเพิ่มประสิทธิภาพของอินซูลิน และการจัดการกับน้ำตาลกูลโคส ป้องกันการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ (เพราะว่ามีอินซูลินมากเกินไป) หรือโรคเบาหวาน (เพราะว่ามีอินซูลินน้อยเกินไป) แหล่งที่พบโครเมียมที่ดีที่สุด คือ ในยีสต์ (Brewers yeast) นอกจากนั้นก็ยังพบใน เมล็ดธัญพืช และ ซีเรียล ซึ่งปรกติจะถูกทำลายไปในระหว่างกระบวนการผลิต เบียร์บางยี่ห้อก็อาจจะมีโครเมียมในปริมาณมาก


ข้อมูลทั่วไป
o เป็นเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการปริมาณน้อย และในร่างกายมีโครเมียมอยู่น้อยกว่า 6 มิลลิกรัม และจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

ประโยชน์ต่อร่างกาย
o จะ ทำงานร่วมกับอินซูลินในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอลเลสเตอรอลในเลือดได้ด้วยป้องกันหลอดเลือดแข็ง เป็นตัวที่มีบทบาทร่วมกับ RNA ในการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยนำอาหารที่ย่อยแล้วจำพวกอะมิโนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ป้องกันพิษที่เกิดจากตะกั่ว

แหล่งที่พบ
o อาหาร ที่มีโครเมียมสูงคือ ยีสต์ ข้าวชนิดต่างๆ เช่น ข้าวกล้อง รวมทั้ง ตับ ไข่แดง หอย เนยแข็ง เห็ด กากน้ำตาล น้ำมันข้าวโพด ผักและผลไม้จะมีอยู่ปริมาณเล็กน้อย

ปริมาณที่แนะนำ
o เด็ก 7 ขวบขึ้นไปรวมทั้งหญิงให้นมบุตร ควรได้รับวันล่ะ 0.05 - 0.2 มิลลิกรัม

ผลของการขาด
o เกิด การสะสมไกโคเจนที่สะสมไว้ที่ตับลดลง การเผาพลาญอะมิโนผิดปกติ คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ผนังเส้นเลือดเสื่อม การทำงานของอินซูลินไม่สมบูรณ์ ลดการเจริญเติบโต เกิดอาการคล้ายเบาหวานที่เกิดจากการขาดโครเมียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ

ผลของการได้รับมากไป
o มะเร็งปอดถ้ามีการสะสมเป็นเวลานาน เกิดบาดแผลที่คลายถูกเจาะด้วยตะปู คัน ผิวหนังอักเสบ เยื้อกั้นจมูกทะลุได้ ในกรณีสูดดมเป็นจำนวนมาก

ข้อมูลอื่นๆ
o การดูดซึม
+ อัตรา การดูดซึมในอาหารแต่ละอย่างจะแตกต่างกันออกไป แต่ทั้งหมดจะมีการดูดซึมไม่เกินร้อยล่ะ 3 ของโครเมียมทั้งหมดที่รับประทาน จะถูกขับออกทางปัสสาวะ และมีส่วนน้อยถูกขับออกทางอุจจาระ
o สารหรืออาหารเสริมฤทธิ์
+ โครเมียม คาโบเนต ยีสต์


ที่มา
//www.nutritionthailand.com/nutrition/miniral/352-chromium


Create Date : 08 มิถุนายน 2553
Last Update : 8 มิถุนายน 2553 11:38:58 น. 0 comments
Counter : 1322 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.