ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
7 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 
5 สิ่งที่พ่อแม่ยุคไอทีควร "ตามให้ทันลูกรักของเรา"

5 สิ่งที่พ่อยุคไอทีควร"ตามให้ทัน"

เคยมีเรื่องราวเศร้าๆ ที่ผู้ที่เป็นพ่อแม่หลายคนไม่อยากให้เกิดกับลูก เช่น ลูกโดนคนที่ไม่รู้จักลวงไปฆ่า ข่มขืน เพราะเล่นอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

ทุกคนยอมรับว่าโลกดิจิตอลเปลี่ยนชีวิตของคนทุกสถานะทุกอาชีพทั่วโลก แน่นอนว่าคุณพ่อในยุคไอทีย่อมไม่มีข้อยกเว้น ต่อไปนี้คือข้อสังเกตจาก “พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน” รองอธิบดีดีเอสไอซึ่งมีตำแหน่งเป็นนายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ซึ่งให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจว่า คุณพ่อยุคไอทีต้องมีบทบาทอย่างไรเพิ่มเติม จึงจะสามารถดูแลลูกรักให้อยู่รอดปลอดภัยบนโลกไซเบอร์


1. ตามให้ทันว่าลูกแชตกับใคร

ท่านญาณฯมองว่าการรู้ให้ทันว่าลูกกำลังแชตกับใครเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากประสบการณ์การทำคดีความอาชญากรรมที่มีสาเหตุมาจากการแชตในวัยเรียนพบว่าพ่อแม่ผู้ปกครองของเหยื่อไม่เคยใส่ใจว่าลูกหลานกำลังหมกตัวอยู่ในห้องเพื่อแชตกับใคร

ท่านญาณฯอธิบายว่า เด็กไทยมากกว่า 30% เป็นกลุ่มบ้านแตกสาแหรกขาดที่ย้ายมาอยู่กับญาติและมีครอบครัวมีปัญหา ซึ่งเด็กที่ถูกญาติด่าทอบ่อยครั้งเหล่านี้ได้รับความรักจากห้องแชตอย่างมาก จึงเป็นธรรมดาที่เด็กจะติดการแชตอย่างหนักจนอาจเป็นปัญหาสังคม

"อย่างกรณีน้องส้ม น้องส้มถูกป้าด่าทุกวันเช้าเย็น แต่พอเข้าห้องแชตปุ๊บ ข้อความเป็นสิบเป็นร้อยเข้ามาทักทายว่า สวัสดีครับน้องส้ม วันนี้มาแล้วเหรอ พวกนี้บางทีทักเพื่อลุ้นให้น้องส้มถอดเสียที พวกนี้ผู้ปกครองต้องเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับเรื่องพวกนี้ให้มาก พ่อแม่ต้องรู้ว่าลูกแชตกับใคร"



2. ตามให้ทันลูกด้วยความเข้าใจ

"มีเด็กมาแจ้งความกับผม เค้าบอกว่าหมดสิ้นกันแล้วคุณอา สามล้านเซนีหายไปเกลี้ยงเลย ดาบพิฆาตก็หายไปด้วย ยังจะหมวกอีก คือพวกนี้เค้ามองว่าเรื่องนี้คือเรื่องใหญ่จริงๆ ซึ่งผู้ใหญ่ก็ต้องเข้าใจเค้าด้วย"

ท่านญาณย้ำว่าพ่อและแม่ควรเข้าใจความคิดของลูกมากกว่าที่จะต่อว่าด่าทอ ฉะนั้นคุณพ่อในฐานะที่เป็น 1 ในกงล้อขับเคลื่อนครอบครัวที่สำคัญก็ควรให้ความสำคัญในจุดนี้ด้วย



3. ตามให้ทันเรื่องเล่นเกม

คุณพ่อยุคใหม่ต้องไม่ควรมองว่าเกมคือเรื่องร้ายแรงหรือเป็นสิ่งล่อลวง เพราะเด็กกับเกมนั้นเป็นสิ่งคู่กัน แต่คุณพ่อต้องบอกว่าเกมนี้ดี หรือเกมนี้ไม่ดี

"ยุคนี้ขู่ไม่ได้แล้ว สมัยก่อนพ่อสามารถห้ามลูกเล่นซ่อนแอบตอนกลางคืนแล้วหลอกว่าเดี๋ยวจะโดนผีพาไป หรือห้ามลูกเป่ากบด้วยการขู่ว่ามีผีมาดูดปาก ตอนนี้ขู่ไม่ได้แล้ว จะให้ขู่ว่าแชตมากแล้วเดี๋ยวโดนผีดูดเข้าหน้าจอเหรอ มันไม่ได้"



4. ตามให้ทันเล่ห์กลของลูก

"เด็กบางคนใช้วิธีเว้นบรรทัดสามครั้งติดกัน เพื่อเป็นรหัสลับบอกคู่แชตให้รู้ว่าพ่อแม่กำลังจับตามองการแชตอยู่ ในเมืองนอกจะมีการพิมพ์คำว่า pbm หรือ parent behind me ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเด็กไทยมีหรือเปล่า"

ฉะนั้นคุณพ่อยุคใหม่อย่าได้นิ่งนอนใจหากหน้าต่างแชตของลูกไม่มีข้อความใดๆปรากฏ หรือหากได้ยินเสียงเคาะคีย์บอร์ดถี่ๆ เพราะนี่อาจเป็นการส่งรหัสลับระหว่างกันก็ได้




5. ตามให้ทันเรื่องภัยไอที

"เราต้องเสริมสร้างความรู้ป้องกันภัยให้ผู้ปกครองด้วย และสอนทุกปีเพราะภัยเปลี่ยนไป เด็กไทยจะพร้อมเมื่อผู้ปกครองพร้อม ต้องแก้ที่การให้ความรู้ ต้องเปลี่ยน หาลูกล่อลูกชนให้ทัน"

ท่านญาณเล่าว่า การควบคุมดูแลจากระบบอัตโนมัติของภาครัฐนั้นไม่เพียงพอต่อการดูแลความปลอดภัยของเยาวชนไทย โดยพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องให้ความร่วมมือกัน

"อย่างเช่นเรื่องเบอร์โทรศัพท์ ระบบบล็อกการโพสต์เผยแพร่เลขโทรศัพท์เพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งนั้นไม่เคยได้ผล พวกนี้จะเปลี่ยนเป็นตัวเลขสลับด้วยขีด หรือไม่ก็พิมพ์เป็นเสียงจึ่ง-จ๋อง-จ๋าม-จี่เลยก็มี"

แน่นอนว่าภาระนี้ไม่ใช่ของคุณพ่อฝ่ายเดียว แต่คุณแม่ก็ต้องช่วยคุณพ่อด้วย รวมถึงลูกหลานไทยที่ต้องดูแลตัวเองด้วยนะจ้ะ


และที่สำคัญอย่าให้ลูก "ด่าออนไลน์"

ถือเป็นเรื่องที่ต้องจำใจยอมรับว่า วันนี้วัยรุ่นไทยได้วิวัฒนาการเขียน "คำด่า" จากที่เคยอยู่ในห้องน้ำ โต๊ะเรียน หรือกำแพง มาเป็นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว ที่น่าวิตกคือ นาทีนี้การด่าทอออนไลน์กำลังมีแนวโน้มก่อตัวขึ้นเป็นวงจรอุบาทว์ซึ่งอาจจะกัดกินสังคมไทยต่อไปในอนาคต เพราะงานสำรวจล่าสุดพบว่า 40% ของวัยรุ่นไทยทั่วประเทศพร้อมจะด่าทอกลับเมื่อโดนกระทำ

ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง "ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมความรุนแรงทั้งทางกายภาพและการข่มเหงรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของเยาวชนไทย" และอาจารย์สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ให้ข้อมูลว่า มากกว่า 26% ของกลุ่มตัวอย่างเยาวชนไทยอายุ 12-24 ปีจำนวน 2,500 คนทั่วประเทศ ไม่เห็นว่าการโพสต์ข้อความด่าทอบนอินเทอร์เน็ตเป็นการทำร้ายใคร และอีก 25% คิดว่าผู้ที่ด่าทอคนบนอินเทอร์เน็ตได้นั้น "เท่"

ถามว่าทำไมเรื่องนี้จึงน่าวิตก ดร.วิมลทิพย์ชี้ว่า เหตุที่คนไทยต้องสนใจเรื่องนี้เพราะการด่าทอคือหนึ่งในความรุนแรงที่ไม่ควรให้บ่มเพาะในเด็กด้วยประการทั้งปวง โดยความรุนแรงคือ 1 ใน 10 ที่นำไปสู่สาเหตุการตายยอดนิยมในประเทศไทย

การด่าทอนั้นเป็นรูปแบบการข่มเหงรังแกออนไลน์หรือที่ต่างประเทศเรียกกันว่าไซเบอร์บูลลีอิง (Cyber-bullying) ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของเด็กไทย โดยดร.วิมลทิพย์เผยว่า 25% ของกลุ่มตัวอย่างเคยเป็นเหยื่อถูกนินทา ด่าทอ รองลงมาคือ 21% เคยถูกส่งข้อความก่อกวน 10% เคยถูกนำข้อมูลส่วนตัวมาเผยแพร่ 10% เคยถูกแอบอ้างชื่อให้ร้าย 13% เคยถูกล้อเลียน ข่มขู่ คุกคาม และ 13% เคยถูกลบออกจากกลุ่ม

"การสำรวจพบว่า บทบาทการเป็นเหยื่อและผู้กระทำหมุนเป็นวงจร กลุ่มตัวอย่าง 40% บอกว่าถ้าโดนมาจะทำกลับ ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเด็กไม่รู้วิธีแก้ปัญหา และตัดสินใจแก้แค้นทำกลับ หมุนเป็นวงจรไม่จบสิ้น มีเพียง 5% เท่านั้นที่ไม่เคยบอกครู ปกปิด รอจนการข่มขู่จะเลิกไปเองโดยไม่ตอบโต้"

กลุ่มตัวอย่างมากกว่า 43.1% ระบุว่าเคยถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ แม้ตัวเลขนี้จะน่ากลัว แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่าคือการที่วัยรุ่นไทยเป็นทั้งผู้ถูกรังแกและเป็นผู้รังแกเสียเอง ทั้งที่ส่วนใหญ่รู้ว่าการข่มเหงนี้ไม่ควรกระทำ เพราะทำลายสุขภาพจิตเหยื่อ เป็นความรุนแรงและเป็นเรื่องที่ผิด สร้างปัญหา จุดนี้การศึกษาของดร.วิมลทิพย์พบว่าเกิดจากปัญหาครอบครัว โดยเฉพาะในเด็กอาชีวะที่มากกว่า 24% รู้สึกว่าแม่ไม่เข้าใจ เมื่อกระทำผิดแล้วจะโดนพ่อแม่ดุด่า ครอบครัวทะเลาะเป็นประจำ ไม่มีใครสนใจ

"วัยรุ่นไทยมากกว่า 30% ไม่กล้ากล่าวปฏิเสธ 36.5% ต้องการเป็นที่ยอมรับจึงต้องเห็นด้วย อัตราการข่มเหงรังแกออนไลน์ในเด็กไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษา เพราะเด็กรู้สึกว่าใครๆก็ทำ ถ้าทำต่อก็ไม่เห็นเป็นเรื่องอะไร"

ดร.วิมลทิพย์ชี้ว่า ประเทศไทยสามารถใช้แนวทางแก้ปัญหาจากประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งญี่ปุ่น สหรัฐฯ และอื่นๆที่ล้วนผ่านช่วงเวลาที่น่าเป็นห่วงมาแล้ว โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่สามารถดึงเด็กที่มีแนวโน้มเป็นผู้ข่มเหง มาบ่มนิสัยให้เด็กรู้สึกว่าการข่มเหงรังแกออนไลน์ไม่ใช่ความเท่ได้สำเร็จ

"ญี่ปุ่นรู้ว่าวิธีไหนเวิร์กไม่เวิร์ก ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นตั้งหน่วยงาน ตรวจจับคำด่าทดข่มขู่ มีการสั่งห้ามพกโทรศัพท์-ห้ามแชตในโรงเรียน นอกเวลาเรียนให้พ่อแม่ดูแล แม้จะร่วมมือกันทั้งโรงเรียน-รัฐ-ครอบครัวก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพราะเด็กเรียนรู้ว่าคำไหนจะถูกตรวจจับจึงเปลี่ยนเป็นสื่อสารด้วยศัพท์แสลงที่ผู้ใหญ่ตามไม่ทัน ผลที่ได้ไม่คุ้มเงินที่ลงทุนระบบไป จากนั้นญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนมาเล่นงานที่บุคลากรแทน กลับกลายเป็นว่าบุคลากรโรงเรียนกลับไม่รายงานว่ามีการข่มขู่ที่แท้จริงเท่าใด เมื่อไม่ได้ผล ญี่ปุ่นจึงกลับมาสร้างความเข้มแข็งกับครอบครัวและเด็ก ให้เด็กรู้สึกว่าไม่เดือดร้อนเมื่อถูกด่าทอ ทำให้ไม่เกิดวงจร"

ดร.วิมลทิพย์ชี้แนวทางว่าจะต่อยอดงานวิจัยชิ้นนี้ไปยังโรงเรียนทั่วประเทศ โดยเชื่อว่างานวิจัยนี้จะทำให้วิธีการคัดกรองเด็กในโรงเรียนไทยเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะแบบวัดระดับความสมบูรณ์ทางอารมณ์หรือ EQ ที่วัยรุ่นซึ่งเป็นผู้ข่มเหงออนไลน์ยังสอบผ่าน

"เด็กเรียนดีหน้าตาใสซื่อจำนวนไม่น้อยเป็นผู้ข่มเหงในไซเบอร์บูลลีอิง ทั้งหมดนี้กฏหมายไม่ใช่คำตอบ กฏหมายไทยไม่ได้ไม่ดี แต่การนำไปใช้เท่านั้นที่มีปัญหา สิ่งที่จำเป็นในตอนนี้คือพ่อแม่ต้องรู้ IT ไม่ใช่เป็นทุกข์เรื่องผลการเรียนของลูกอย่างเดียว"

วิมลทิพย์ย้ำหนักแน่นว่าแม้จะมีการข่มเหงออนไลน์ในวัยรุ่น แต่ไม่ได้แปลว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ทุกคนในสังคมที่ต้องลดความไม่ดีของอินเทอร์เน็๋ต ทำให้ดาบ 2 คมด้านที่ไม่ดีนั้นคมน้อยลง

** รู้หรือไม่? **

- คำว่า Cyber-bullying ใช้เรียกการรักแกกันอย่างต่อเนื่องผ่านโทรศัพท์มือถือหรืออินเทอร์เน็ตเท่านั้น ใช้เฉพาะในกลุ่มเด็ก ส่วนการข่มเหงในกลุ่มผู้ใหญ่จะนับเป็นอาชญากร ซึ่งจะรวมถึงผู้ที่รังแกผู้อื่นโดยไม่รู้ตัวด้วยการฟอร์เวิร์ดเมล จะได้รับโทษ 5 ปีปรับแสนบาทต่อการฟอร์เวิร์ด 1 ครั้ง

- หากเป็นเหยื่อรังแกออนไลน์ สามารถแจ้งความได้ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ เพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างถูกต้อง ซึ่งจะดีกว่าการกระทำตอบเป็นวงจรไม่รู้จบ


ที่มา
//www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9530000171147
//www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9530000170644


Create Date : 07 ธันวาคม 2553
Last Update : 7 ธันวาคม 2553 16:06:33 น. 0 comments
Counter : 1181 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.