ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
4 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
โครงสร้างของหู หน้าที่ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของหู และวิธีวัดการได้ยิน

โครงสร้างของหู หน้าที่ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของหู และวิธีวัดการได้ยิน


ภาพจาก//guru.sanook.com/picfront/sub/4029__28122006044720.jpg

โครงสร้างของหู
หูแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ
หูชั้นนอก ประกอบด้วยใบหู ช่องหูชั้นนอก และแก้วหู ผิวหนังใบหูยื่นเข้าไปบุช่องหูชั้นนอกและแก้วหู แก้วหูเป็นเยื่อบางมาก รูปร่างเกือบเป็นวงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๘-๙ มิลลิเมตร หนาประมาณ ๐.๑ มิลลิเมตร
หูชั้นกลาง เป็นโพรงอากาศขนาดเล็กติดต่อกับโพรงอากาศมาสทอยด์ (mastoid cavity) หลังหู มีช่องติดต่อกับบริเวณคอหลังจมูกโดยท่อยูสเตเชียน (eustachian tube) ในหูชั้นกลางมีกระดูกนำเสียง ๓ ชิ้น คือ ค้อน ทั่ง และโกลน ติดต่อจากแก้วหูไปที่ช่องรูปรี (oval window) ในหูชั้นกลางทั้งหมดบุด้วยเยื่อเมือก
หูชั้นใน มีอวัยวะประสาทสัมผัส ๒ อย่างฝังอยู่ในกระดูกที่แข็งแรงมาก คือ อวัยวะรูปหอยโข่ง (cochlea) ทำหน้าที่รับเสียง และอวัยวะหลอดกึ่งวง (semicircular canal) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว ในหูชั้นในมีน้ำหล่อเลี้ยงอวัยวะสัมผัสทั้งสองเป็นระบบเดียวกัน และติดต่อถึงกัน หูชั้นในมีช่องเปิดเข้าหูชั้นกลาง ๒ อัน คือ ช่องรูปรีซึ่งมีฐานของกระดูกโกลนปิดอยู่โดยมีเยื่อบางๆ ยึดไว้ และช่องรูปกลม (round window) ซึ่งมีเยื่อบางๆ ปิดไว้ ช่องทั้งสองเป็นตำแหน่งให้เสียงเข้าออกหูชั้นใน และป้องกันไม่ให้น้ำหล่อเลี้ยงหูชั้นในไหลออกมาด้วย


เซลล์ขนรับคลื่นเสียง (ขยายประมาณ ๖๐๐ เท่า)

หน้าที่ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของหู
๑. ป้องกันการอักเสบและช่วยซ่อมแซม ช่องหูชั้นนอกและแก้วหูบุด้วยผิวหนังซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับผิวหนังทั่วร่างกาย จึงมีความต้านทานการติดเชื้อได้มาก เช่น น้ำที่มีเชื้อโรคเข้าหูชั้นนอกก็เกิดการอักเสบได้ยาก ผิวหนังบุช่องหูชั้นนอกและแก้วหูงอกได้เร็ว ดังนั้น แก้วหูที่ฉีกขาดจาดอุบัติเหตุจึงหายได้เองโดยการงอกของผิวหนัง แก้วหูเปรียบเหมือนประตูหน้าบ้านของหูชั้นกลาง คอยป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้าหูชั้นกลางซึ่งทำให้เกิดโรคหูน้ำหนวก ผู้ที่แก้วหูทะลุเป็นรูจึงเป็นทางให้เชื้อโรคเข้า และเกิดโรคหูน้ำหนวกตลอดเวลา ไม่มีทางหายขาดนอกจากผ่าตัดซ่อมแซมปะแก้วหู
๒. นำเสียง เสียงเข้าหูชั้นในโดยผ่านช่องหูชั้นนอก แก้วหู และกระดูกหู ๓ ชิ้น เข้าหูชั้นในทางช่องรูปรีไปที่อวัยวะรูปหอยโข่ง จากนี้ เส้นประสาทสมองที่ ๘ นำเสียงไปสู่สมอง ถ้ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดขวางทางเดินของเสียง เช่น ช่องหูตัน แก้วหูทะลุกระดูกหูถูกยึดแน่นหรือขาดหายไป เสียงเข้าไม่ได้เต็มที่ จะเกิดอาการหูตึงแบบการนำเสียงเสีย (conductive hearing loss) อย่างไรก็ตาม แก้วหูไม่ได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำเสียงทั้งหมด เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นการที่แก้วหูทะลุเป็นรูโต จะมีอาการหูตึงไปบ้างเท่านั้นไม่ใช่หูหนวกดังที่เข้าใจกัน ในบางคนที่แก้วหูทะลุเป็นรูเล็กๆ ไม่มีอาการหูตึง หรือมี แต่เป็นอาการหูตึงน้อย หูตึงมาก หรือหูหนวกนั้นขึ้นอยู่กับกระดูกหูทั้ง ๓ ชิ้น โดยเฉพาะกระดูกโกลนมีความสำคัญที่สุดรวมทั้งสภาพของหูชั้นในด้วย
๓. รับฟังเสียงและควบคุมการทรงตัว ถ้าอวัยวะรูปหอยโข่งเสียหรือประสาทหูพิการ (เส้นประ-สาทสมองที่ ๘) จะทำให้เกิดอาการหูตึงแบบหูชั้นในหรือประสาทหูเสีย (sensori-neural hearing loss) อวัยวะหลอดกึ่งวงไม่ได้ทำหน้าที่ตามปกติ การควบคุมการทรงตัวเสียไป เกิดอาการเวียนศีรษะ น้ำหล่อเลี้ยงอวัยวะรับเสียงและการทรงตัวในหูชั้นในติดต่อถึงกัน การเสียหน้าที่ของหูชั้นในจึงมักจะมีอาการได้ทั้ง ๒ อย่าง คือหูตึงและเวียนศีรษะ ความผิดปกติของเส้นประสาทหูและข่ายการติดต่อในสมอง ทำให้เกิดอาการหูตึงหรือหูหนวก และเวียนศีรษะได้เช่นกัน

วิธีวัดการได้ยิน
โดยทั่วไป หูตึงแบบการนำเสียงเสียอาจจะรักษาได้ทางยาหรือการผ่าตัด หูตึงแบบหูชั้นในหรือประสาทหูเสียรักษายากหรือรักษาไม่ได้ ผู้ที่หูตึงจึงจำเป็นต้องแยกประเภทว่า เป็นหูตึงประเภทไหน วิธีวัดการได้ยินเพื่อให้ทราบว่าหูตึงมากหรือน้อย หรือ หูตึงประเภทไหน ต้องอาศัยวิธีการวัดหลายอย่าง ดังนี้
๑. การใช้ส้อมเสียง (tuning fork) ที่ใช้บ่อยคือ ส้อมเสียงความถี่ ๕๑๒ และ ๑,๐๒๔ เฮิรตซ์ (Hertz, รอบต่อวินาที) เป็นการวัดได้คร่าวๆ ไม่สามารถบอกเป็นตัวเลขได้
๒. การวัดการได้ยินด้วยเครื่องตรวจการได้ยิน (audiometer) เป็นการตรวจการได้ยินที่ใช้มากที่สุด เพราะสามารถบอกได้ทั้งประเภทหูตึงและปริมาณหูตึง เครื่องมีหลายชนิดและหลายแบบเพื่อใช้วัดการได้ยินในสภาพและในอายุต่างๆ กัน แบบที่ได้ผลแน่นอนที่สุด คือ ใส่หูฟัง ครอบหูทั้งสองข้าง ผู้ป่วยยกมือหรือกดปุ่มเมื่อได้ยินเสียง การตรวจวิธีนี้จะได้ผลแน่นอนและเชื่อถือได้เมื่อเด็กอายุ ๕-๖ ปีขึ้นไป อายุที่ต่ำกว่านี้ต้องใช้การตรวจวิธีอื่น
เครื่องตรวจการได้ยินนี้วัดความดังของเสียงที่มีความถี่ต่างๆ กันตั้งแต่ ๑๒๕-๘,๐๐๐ เฮิรตซ์ ความดัง -๑๐ ถึง +๑๑๐ เดซิเบล* (decibel) การรายงานผลใช้ค่าเฉลี่ยของความดังที่ความถี่ ๕๐๐, ๑,๐๐๐ และ ๒,๐๐๐ เฮิรตซ์
การได้ยิน มีระดับการได้ยิน ๒๕ เดซิเบลหรือน้อยกว่า
หูตึง มีระดับการได้ยิน ๒๕-๙๐ เดซิเบล
หูหนวก มีระดับการได้ยินมากกว่า ๙๐ เดซิเบลไม่สามารถเข้าใจคำพูดได้
๓. การวัดการทำงานของหูชั้นกลางด้วยเครื่องไฟฟ้า (acoustic impedance audiometer) เป็นการวัดการทำงานของแก้วหู กระดูกนำเสียง และกล้ามเนื้อในหูชั้นกลาง ตลอดจนวัดปริมาตรของหูชั้นกลาง การตึงตัวของกระดูกนำเสียง รีเฟล็กซ์ของกระดูกโกลน และการทำงานของท่อยูสเตเชียน การวัดด้วยเครื่องไฟฟ้านี้ได้ค่าประมาณของหูตึงเท่านั้น ไม่แน่นอนเท่าวิธีที่ ๒ ซึ่งช่วยแยกประเภทหูตึงได้ ข้อดีคือเป็นการวัดโดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องยกมือหรือกดปุ่มอะไรเลย นั่งเฉยๆ เท่านั้น ผู้ป่วยต้องยอมให้ใส่ท่อยางเข้าช่องหูชั้นนอก เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี หรือคนที่หมดสติก็วัดได้ เด็กเล็กวัดตอนที่นอนหลับตามปกติ ถ้าเด็กโตอาจให้ยานอนหลับก่อนวัดก็ได้
๔. การวัดการได้ยินด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (brain stem electrical response audiometer) เป็นการวัดการได้ยินแบบใหม่สุดโดยใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (microcomputer) เก็บข้อมูลการทำงานของสมองขณะที่หูถูกกระตุ้นด้วยเสียง บันทึกผล และหาค่าเฉลี่ย แล้วแสดงผลการวัด สามารถวัดการได้ยินของเด็กตั้งแต่แรกเกิด คนปัญญาอ่อน หรือหมดสติได้เด็กอายุ ๑ วัน - ๓ เดือน วัดขณะนอนหลับตามปกติอายุ ๓ เดือน -๗ ปีให้ยานอนหลับ อายุเกิน ๗ ปี หรือผู้ใหญ่ ตรวจได้ทันที โดยผู้ป่วยนอนบนเตียงเฉยๆ ไม่ต้องยกมือหรือกดปุ่มอะไร มีสายปะติดที่หน้าผากหลังหู และใส่หูฟังครอบหูไว้ขณะที่ตรวจ การตรวจนี้สามารถประมาณระดับหูตึงได้ค่าใกล้เคียงกับการวัดวิธีที่ ๒ มาก และแยกประเภทหูตึงได้ นอกจากนี้ยังสามารถบอกตำแหน่งพยาธิสภาพที่ทำให้หูตึงหรือหูหนวกได้ด้วยว่าอยู่ตรงส่วนไหนของสมอง

จาก
//guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?q=%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A7%A2%CD%A7%CB%D9&select=1


Create Date : 04 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2552 11:15:40 น. 0 comments
Counter : 30146 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.