ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
1 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 
เวทีประชาคม : เวทีการแสดงความคิดเห็นของประชาชน

เวทีประชาคม (Civil Society Forum or People Forum) เป็นวิธีการและเป้าหมายที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม (participatory learning) ระหว่างคนที่มีประเด็นหรือปัญหาร่วมกัน โดยใช้เวทีในการสื่อสารเพื่อการรับรู้และเข้าใจในประเด็น/ปัญหา และช่วยกันผลักดัน หรือหาข้อสรุปเป็นแนวทางแก้ไขประเด็นปัญหานั้นๆ

องค์ประกอบของการจัดเวทีประชาสังคมที่ดี นั้นต้องประกอบด้วย
๑. ประเด็นที่เป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นปัญหาร่วม ซึ่งประเด็นดังกล่าวต้องที่ชัดเจน ครอบคลุม ง่ายต่อความเข้าใจ โดยไม่ต้องอธิบายความมาก เป็นเรื่องที่มีการรับรู้ร่วมกันมาก่อนแล้วสำหรับผู้เข้าร่วมในกระบวนการประชาสังคมทุกคน

๒. มีวัตถุประสงค์ของการจัดประชาคมที่ชัดเจน ว่าจัดเพื่ออะไร จัดไปทำไม และจะเอาผลที่ได้จากการประชาสังคมนั้นไปทำอะไร ควรมีการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชาคมอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่มีประเด็นซ่อนเร้น(No hidden agenda)

๓. มีกระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการที่ดี ในการขับเคลื่อนประเด็นไปสู่วัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม

๔. ผู้เข้าร่วมประชาคมมีการแสดงความคิดเห็น และความรู้สึกได้อย่างกว้างขวาง อิสระ ไม่ถูกครอบงำ และเป็นไปอย่างเท่าเทียม ผู้เข้าร่วมต้องเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรง สามารถแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือผู้เข้าร่วมที่เป็นตัวแทนที่แท้จริงของชุมชนที่เข้าใจปัญหาหรือประเด็นที่พูดคุย และผู้เข้าร่วมที่เป็นตัวแทนของผู้มีหน้าที่ให้บริการ หรือจัดสวัสดิการให้แก่ชุมชน ยกตัวอย่างเช่น การจัดเวทีประชาคมเพื่อระดมการป้องกันและแก้ปัญหาไข้หวัดนก ผู้เข้าร่วมประชาคม ควรประกอบด้วยกลุ่มแรกคือ ตัวแทนชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. อสม. พระ ครู ฯลฯ กับ กลุ่มที่สองที่เป็นผู้มีหน้าที่ให้บริการ (หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ) เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชน เป็นต้น

๕. มีผู้อำนวยการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือวิทยากรกระบวนการ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการจัดเวทีประชาคม (Facilitator/Moderator)ที่มีทักษะและประสบการณ์ และเป็นกลาง ไม่ครอบงำ ไม่ชี้นำ หรือมีคำตอบอยู่ในใจล่วงหน้า (Pre-conditioned decision) ทักษะที่จำเป็นคือ ทักษะในการตั้งและถามคำถาม รู้จักเลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับคนแต่ละกลุ่ม ทักษะในการฟัง ทักษะในการวิเคราะห์และสรุปประเด็นหรือข้อคิดเห็นจากกลุ่ม และทักษะในการจัดการกลุ่ม เช่น จัดการกับผู้เข้าร่วมที่ชอบพูดมากเกินไปหรือไม่ชอบพูดเลย โดยใช้คำพูดและท่าทีที่นุ่มนวลหรืออาจใช้อารมณ์ขันเข้ามาช่วย เพื่อให้เกิดการถกอภิปรายแลกเปลี่ยนกัน (Deliberate)อย่างกว้างขวาง ตรงประเด็น และมีข้อสรุปที่นำไปปฏิบัติหรือทำให้เกิดความก้าวหน้าในขั้นตอนต่อไปได้ ซึ่งในงานด้านสาธารณสุขนั้น โดยส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แพทย์ พยาบาล ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่มักมีโอกาสต้องทำหน้าที่ดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง ในการจัดเวทีประชาคมในประเด็นสาธารณสุข อาจพิจารณาใช้วิทยากรกระบวนการที่เป็นบุคลากรสาธารณสุขเอง หรือ เป็นบุคคลภายนอกวิชาชีพก็ได้ ซึ่งมีข้อดีต่างกันในแง่ที่บุคลากรสาธารณสุขจะเข้าใจเนื้อหาแต่อาจจะอดไม่ได้ที่จะชี้นำ ในขณะที่บุคคลภายนอกอาจจะมีความเป็นกลางแต่ต้องเข้าใจเนื้อหาและระบบงานที่เกี่ยวข้องพอสมควรด้วย ผู้ที่ต้องทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการบ่อย ๆ ควรหาโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมทักษะการเป็นวิทยากรกระบวนการซึ่งจะช่วยให้เกิดความมั่นใจในการทำหน้าที่ดังกล่าวมากขึ้น สำหรับเอกสารนี้มีข้อแนะนำสำหรับการทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการที่จะกล่าวถึงต่อไป

๖. มีบรรยากาศที่ดี ซึ่งรวมถึง มีคำถามที่ดี ที่เปิดโอกาสให้คนได้เกิดการแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา มีบรรยากาศของการเรียนรู้ร่วมกันและสมานฉันท์ มีสถานที่ที่ดีและเอื้ออำนวยต่อการพูดคุย เช่น มีห้องที่ทำให้ผู้เข้าร่วมเวทีมีสมาธิ มีเครื่องขยายเสียงที่ช่วยให้ได้ยินการสนทนาต่างๆ อย่างทั่วถึง มีการจัดที่นั่งที่เหมาะสม มีผู้อำนวยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดี เป็นต้น

๗. มีระยะเวลาที่เหมาะสมไม่เร็วหรือรวบรัดเกินไปจนทำให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกอึดอัด และไม่ช้าหรือนานเกินไปจนทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อ

๘. ต้องมีข้อสรุปเกิดขึ้นทุกครั้งที่ทำเวทีประชาสังคม ว่า คนในกลุ่มคิดอย่างไรกับประเด็นนั้นๆ จะมีแนวทางในอนาคตร่วมกันอย่างไร เพื่อแก้ไขหรือผลักดันประเด็นดังกล่าว มีข้อเสนอแนะไหนบ้างที่น่าสนใจและน่าจะนำไปขยายต่อ เมื่อสรุปแล้วต้องแจ้งต่อที่ประชุมเพื่อแก้ไข เพิ่มเติม และให้ที่ประชุมมีมติยอมรับผลที่เกิดจากการประชาสังคมนั้นๆ

๙. มีสื่อและอุปกรณ์การสื่อสารที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจประเด็น เนื้อหา ตรงกัน เช่น ในขั้นตอนการอธิบายวัตถุประสงค์ของการจัดเวที อาจจำเป็นต้องใช้สื่อภาพและเสียง ( Audio/visual) เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เช่น การฉาย power point หรือการแจกเอกสารชี้แจงประเด็นหลัก ๆ ให้กับผู้เข้าร่วมเวที รวมไปถึงกระดาน กระดาษ การ์ด ปากกา เทปกาวหรือหมุด ฯลฯ

๑๐. มีการประสานงานล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ที่จะมาร่วมเวทีมีเวลาเตรียมข้อมูล เตรียมความคิดที่จะมานำเสนอได้เป็นอย่างดี หากเนื้อหามีความซับซ้อนอาจจำเป็นต้องส่งข้อมูลให้ศึกษาล่วงหน้า เป็นต้น

โดย ดวงกมล (วัฒนสุข) พรชำนิ
จาก //www.tddf.or.th/tddf/library/files/doc/library-2007-02-28-240.doc


Create Date : 01 ธันวาคม 2551
Last Update : 1 ธันวาคม 2551 9:22:14 น. 0 comments
Counter : 15421 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.