<<
เมษายน 2558
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
27 เมษายน 2558
 

เรียนภาษาอังกฤษ ปนการเมืองและการทูตกันคะ

เช้านี้ได้เรียนรู้และทบทวนภาษา ปนการเมือง และการทูต 

จากคอลัมม์ของคุณสุทธิชัย หยุ่น

ขอเก็บสะสมไว้นะคะ ดังนี้


ผมเพิ่งกลับมาจากญี่ปุ่น ไปกระทบไหล่กับนักการเมืองคนสำคัญของญี่ปุ่น 

และตั้งวงวางแผนเสริมพลังของสื่อในเอเซียทั้งปวง โ

ดยที่สื่อไทยอยู่ในแถวหน้าของการต่อยอด ความเป็นมืออาชีพของคนข่าว 

ร่วมกันไม่น้อยกว่า 20 ประเทศในภูมิภาคนี้เครือข่ายหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชั้นนำ

ของเอเซียที่มีชื่อว่า Asia News Network (ANN) ที่รวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนข่าว, 

รูปและการฝึกปรือคนข่าวร่วมกันมา 16 ปีมีเครือเนชั่นของไทยเราเป็นแกนร่วมก่อตั้ง 

และเป็นสำนักเลขาธิการในกรุงเทพฯเป็นตัวอย่างของคนข่าวมืออาชีพที่ร่วมประสานกัน

อย่างเหนียวแน่น


หลังประชุมเสร็จ คณะบรรณาธิการของ ANN นำโดยบรรณาธิการของ Japan News 

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Yomiuri Shimbun หนังสือพิมพ์ยอดจำหน่ายสูงสุดของโลก (

วันละ 10 ล้านฉบับ) เข้าพบเพื่อสัมภาษณ์พิเศษมือขวาของนายกฯชินโซะ อาเบะ


เขาคือ Yoshihide Suga ตำแหน่งทางการคือ Chief Cabinet Secretary 

แปลตรงตัวคือ “เลขาธิการใหญ่ของคณะรัฐมนตรี”

แต่ตำแหน่งนี้ในโครงสร้างการเมืองญี่ปุ่นไม่ใช่แค่เลขาฯ ครม. 

หรือโฆษกรัฐบาล แต่เป็นคนที่นายกฯไว้วางใจที่สุด อยู่เหนือรัฐมนตรีทั่วไป 

และเป็นคนประสานระหว่างนายกฯกับนักการเมืองทุกสายทุกพรรค


คุณซูกะมีสมญานามว่าเป็น “Shadow Prime Minister” หรือ “นายกรัฐมนตรีเงา”

หรือหากเป็นภาษาการเมืองไทยก็จะเรียกว่า “นายกฯน้อย” เพราะแกเป็นคนทรงอิทธิพล 

เป็นคนร่างนโยบายของรัฐบาล และเป็นเงาของนายกฯอาเบะทีเดียว

เพื่อนนักข่าวญี่ปุ่นคนหนึ่งบอกผมว่าคุณซูกะเป็นคนร่างนโยบายสำคัญๆ ของนายกฯอาเบะ 

โดยเฉพาะแถลงการณ์แสดงจุดยืนของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี

หลังการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง ที่จะออกสู่ประชาคมโลกในเดือนสิงหาคมนี้ด้วย

ระหว่างการสัมภาษณ์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา 


คุณซูกะยืนยันว่าญี่ปุ่นจะใช้ “peaceful solutions through strong diplomacy 

from the position of a proactive contribution to peace based upon 

the principle of international cooperation” 

ในการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับจีน, เกาหลีใต้, และความขัดแย้งระหว่างจีน

กับอาเซียนบางประเทศในทะเลจีนใต้


คำว่า strong diplomacy แปลว่าจะเน้น “การทูตที่แข็งแกร่ง”

อาจหมายความว่าจะไม่อ่อนปวกเปียก จะมีจุดยืนมั่นคง 

และจะใช้ proactive contribution to peace อันเป็นการตอกย้ำว่า


ญี่ปุ่นจะใช้วิธีการ “เชิงรุก” มากกว่า “เชิงรับ” อย่างที่เคยเห็นมา

แต่ก็ยังยืนยันว่าจะต้องยึดพื้นฐานของ “ความร่วมมือระหว่างประเทศ” เป็นสำคัญ


คุณซูกะเน้นหลายครั้งระหว่างการให้สัมภาษณ์ว่า

ญี่ปุ่นกับจีนต้องร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้างสันติภาพและเสถียรภาพสำหรับภูมิภาคนี้

เพราะจีนเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 และญี่ปุ่นเป็นอันดับ 3 ของโลก 


จึงต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน 

และต้องร่วมมือกันสร้างบรรยากาศแห่งความเป็นมิตรบนพื้นฐานของความเข้าใจ

และร่วมมือกัน ป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง และมองไปในอนาคตมากกว่าจะย้อนไปดูอดีต


แกเน้นว่าคำว่า “future-oriented” หลายรอบ เช่นกัน

เพราะญี่ปุ่นไม่ต้องการให้เรื่องในอดีตมาเป็นอุปสรรคในการสร้างความสัมพันธ์

กับประเทศยักษ์ใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อปีนี้ครบรอบ 70 ปีหลังการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 

ซึ่งเป็นโอกาสที่ทั้งโลกถามหา “คำขอโทษ” ของต่อการความโหดร้ายทารุณของทหารญี่ปุ่น

ในช่วงสงคราม


นักการเมืองระดับสูงของญี่ปุ่นยังเกร็งๆ กับการให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ 

ต้องขอคำถามก่อน และเขียนคำตอบเอาไว้ล่วงหน้า 

ต่างฝ่ายต่างอ่านคำถามและคำตอบจากกระดาษ ทำให้ไม่มีโอกาสซักไซ้ไล่เรียงกัน

ถึงเบื้องลึกของนโยบายได้ 


เพิ่งเห็นนายหลี่เค่อฉียง นายกรัฐมนตรีจีนให้สัมภาษณ์

นักข่าว Financial Times อย่างละเอียด ซักถามกันหลายประเด็นสด ๆ ได้ 

(นักข่าวจีนบอกผมว่าเดิมนายกฯจีนให้เวลาครึ่งชั่วโมง 

แต่นายกฯจีนยอมตอบคำถามยาวถึง 2 ชั่วโมง)


แนวทางของผู้นำจีนต่อสื่อต่างประเทศอย่างนี้

ต้องถือว่าเป็นเรื่องใหม่ อาจเพราะผู้นำปักกิ่งตระหนักแล้วว่า

การจะสู้กับสหรัฐฯและตะวันตกในสงครามข่าวสารได้จะต้องพร้อมตอบคำถามของสื่อ 

ไม่ใช่เพียงใช้กลไกโฆษณาชวนเชื่อของรัฐอย่างเดียว 

แล้วจะสร้างความเข้าใจกับประชาคมโลกได้


อีกหน่อย ผู้นำญี่ปุ่นก็จะต้องปรับตัว 

ต้องพร้อมจะนั่งลงตอบคำถามสื่อต่างประเทศอย่างตรงไปตรงมา 

เพื่อแสดงจุดยืนของตนให้ชัดเจน ไม่ใช่ถาม-ตอบกันบนกระดาษอย่างที่ผ่านมา


เพราะการเมืองระหว่างประเทศจากนี้ไปต้องมีความโปร่งใส,

ชัดเจนและตอบทุกคำถามจึงจะสร้างความน่าไว้เนื้อเชื่อใจจริง ๆ ได้/จบ


...................................................................................................................................

และต่อมาว่าด้วยเรือง

ชินโซะ อาเบะ : เส้นบางๆ ระหว่างเสียใจกับขอโทษ


ผมเฝ้ารอคำปราศรัยของนายกฯ ชินโซะ อาเบะ ของญี่ปุ่นต่อหน้าการประชุมร่วม

 ของรัฐสภาสหรัฐเมื่อวานนี้ อย่างใจจดใจจ่อ 

เพราะต้องการรู้ว่าเขาจะใช้วลีทางการทูตอะไร 

เพื่อสะท้อนความรู้สึกของญี่ปุ่น ต่อบทบาทของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง 

ที่ยุติมาครบ 70 ปี


อาเบะสร้างความแปลกใจด้วยการอ่านคำปราศรัย เป็นภาษาอังกฤษด้วยท่วงทำนองช้า ๆ

 และชัดเจน

สุดท้ายก็ไม่มีคำขอโทษหรือ apology อย่างเป็นทางการต่อความโหดร้ายทารุณ 

ที่ทหารญี่ปุ่นกระทำต่อประเทศเพื่อนบ้าน


เขาใช้คำว่า “deep repentance” ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับ “deep remorse” ที่ไปใช้ในคำปราศรัยที่อินโดนีเซียเมื่อสัปดาห์ก่อน

แปลว่า “เสียใจอย่างลุ่มลึก”


และมุ่งจะให้คนอเมริกันได้รู้สึกว่า ผู้นำญี่ปุ่นมาแสดงความเสียใจต่อความสูญเสีย 

ของทหารอเมริกันหลายแสนคนในสงครามกับญี่ปุ่น

 ด้วยการใช้คำว่า “eternal condolences” ต่อดวงวิญญาณของนักรบอเมริกัน

วลีนี้แปลได้ว่าเป็น “ความเสียใจชั่วนิรันดร์”

ซึ่งก็เท่ากับเป็นการเฉียดคำว่า apology ไปมาอยู่นั่นเอง


อาเบะกล่าวตอนหนึ่งว่า ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องเจ็บปวด 

อะไรที่เกิดไปแล้วไม่อาจจะไปแก้ให้ไม่เกิดไม่ได้

  “History is harsh. What is done cannot be undone”


แน่นอนว่าจะต้องมีคนแย้งว่า แม้ว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่เกิดไปแล้ว 

ย้อนไปแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่คนรุ่นปัจจุบันก็ย่อมสามารถแก้ไข 

และผู้กระทำผิดจะต้องรับผิดและขอโทษผู้เสียหายอย่างเต็มปากเต็มคำ 

ไม่อ้อมค้อมหรือพยายามหลบเลี่ยงความรับผิดชอบนั้น

ในห้องประชุมรัฐสภาสหรัฐวันนี้ หนึ่งในผู้นั่งฟังเป็นคนอเมริกันที่เคยถูกญี่ปุ่น

จับเป็นเชลยศึกอยู่ด้วย


ความรู้สึกของเขาเป็นอย่างไรไม่ปรากฏเป็นข่าว

 คำว่า “เสียใจ” โดยไม่ “ขอโทษ” นั้นพอเพียงสำหรับการลืมอดีตที่โหดร้ายนั้นได้หรือไม่

อาเบะพยายามจะพูดเรื่องอดีตให้น้อย เน้นเรื่องบทบาทอนาคตของญี่ปุ่น

ว่าจะร่วมสร้างสันติภาพโลกอย่างกระตือรือร้น และจะประสานมือกับสหรัฐ

เพื่อดำเนินการตามแนวทางนี้อย่างคึกคัก


หน้าตึกรัฐสภามีผู้ประท้วงและตะโกน “Apologize, Apologize, Apologize” 

แต่คำนี้ก็ไม่หลุดจากปากของอาเบะแต่อย่างใด

เขาเพียงบอกว่าจะยึดมั่นตามที่อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น 

เคยประกาศเป็นจุดยืนของประเทศญี่ปุ่นในเรื่องสงคราม

เขาหมายถึงแถลงการณ์เมื่อปี 1995 ของอดีตนายกฯ โทมิอิชิ มูรายามา

ที่ยอมขอโทษอย่างจริงใจ (heartfelt apology) 

ต่อสิ่งที่ทหารญี่ปุ่นได้กระทำต่อประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านอย่างร้ายแรง

แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา ผู้นำญี่ปุ่นก็ไม่ยอมเอ่ยเอื้อนคำนี้อีก


คนญี่ปุ่นบางคนเห็นว่าผู้นำของเขาจะต้องแสดงจุดยืนเรื่องนี้อย่างชัดเจน 

เพื่อจะได้เดินหน้าต่อไป ไม่ถูกประวัติศาสตร์หลอนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

แต่คนญี่ปุ่นอีกไม่น้อยที่ยืนยันว่ารัฐบาลญี่ปุ่นก่อน ๆ ได้กล่าวคำขอโทษแล้ว 

น่าจะพอได้แล้ว มีเพื่อนญี่ปุ่นรุ่นเก่าของผมคนหนึ่งบอกว่า

“จะต้องให้เราขอโทษกี่ครั้งหรือ


ความจริงการไปเยือนสหรัฐของนายกฯญี่ปุ่นครั้งนี้ 

มีประเด็นเรื่องการเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจหลายเรื่อง 

แต่ผู้คนสนใจเรื่อง “คำขอโทษ”

เพราะเป็นปีครบรอบ 70 ปีแห่งการสิ้นสุดของสงครามโลก

เดือนสิงหาคมนี้ อาเบะ เตรียมจะออกแถลงการณ์เรื่องนี้อีกครั้ง 

จึงเป็นที่มาของการเฝ้าจับตามองว่า เขาจะใช้ศิลปะของภาษาการเมืองทูตพูดถึงประวัติศาสตร์อย่างไร

เพราะถ้าไม่บริหารความรู้สึกของเพื่อนบ้านว่าด้วยอดีต 

ก็ย่อมไม่อาจจะจูงมือไปสู่อนาคตอย่างเพื่อนร่วมทางได้

ที่มาข้อมูล:คุณสุทธิชัย หยุ่น กรุงเทพธุรกิจรายวัน 30 เมย.2558/จบ

....................................................................................................................................





Create Date : 27 เมษายน 2558
Last Update : 19 กันยายน 2558 13:05:34 น. 0 comments
Counter : 1097 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com