<<
มิถุนายน 2558
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
8 มิถุนายน 2558
 

จังหวะและเหตุผล‘รัฐบาลเปลี่ยนผ่าน’"?

                จังหวะและเหตุผล‘รัฐบาลเปลี่ยนผ่าน’"?

                                                                    เตือนใจ เจริญพงษ์


            เราๆท่านๆ อยากบอกว่า

 "รักบ้านเกิดเมืองนอนกันหนักหนา"

เพราะเมืองไทยของเราน่าอยู่น่าอาศัย

ไปต่างประเทศสักพัก

ก็มีอาการคิดถึง "Thailand" เสียแล้ว


แต่ประเทศไทยโชคร้าย

ที่มีนักการเมืองส่วนใหญ่เห็นประโยชน์ส่วนตน

แถมออกมาทะเลาะกัน แบบมีธงว่าต้องชนะอย่างเดียว

แม้จะทำผิดกฎหมายนานาประการก็ตาม

จนส่งผลเสียหายแก่ประเทศแบบแสนสาหัส


จนเรานึกถึง "ทหาร" และเรียกร้องให้เขาออกมาทุกที

พอเขาออกมาสักพัก ก็ลุแก่อำนาจ

เห็นประโยชน์ของพวกพ้องและคอร์รัปชั่นเสียเอง

รวมถึงว่า..มือไม่ถึงชั้นที่จะเป็นผู้นำปกครองประเทศ

แม้ว่าการออกมาของทหารแต่ละครั้ง

จะมีที่มาที่ไปไม่เหมือนกัน

ล่าสุดเข้าสูตร...ลับ..ลวง..พลาง

ประวัติศาสตร์แนวนี้วนเวียนเสมอมาจนเป็นวัฎจักร


บัดนี้..รัฐบาลยุคนายกตู่ก็ออกอาการเสียเองแล้ว

เริ่มตั้งแต่..การร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีเนื้อหาสาระแบบเหลือง-เขียว

ประชาชนก็มีอาการเหมือนจะเป็นไข้ เพราะรับไม่ได้หลายประการ

เรื่องของเรื่อง คนหมู่มากของประเทศ

ปรารถนาประชาธิปไตยแบบเต็มใบ

เราอยากเห็นบรรยากาศการเลือกตั้ง

ไม่ต้องการระบบเผด็จการ

ไม่ต้องการ 2 มาตรฐานจาก

...ผลไม้เน่าเสียของกระบวนการยุติธรรม

....และองค์กรอิสระ


ท้ายที่สุดเหมือนเล่นขายขนมตอนเด็กๆ

แนวว่านายกตู่จะลากยาวเป็นผู้นำไปอีก 2 ปี

ให้ปชช.ลงมติประชามติว่า...

จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกหรือไม่


แถมพลพรรคออกมาขานรับเหมือนว่าคิดกันไว้แต่ต้น

แบบการพิจารณาคดีการเมืองที่ลุยเช็คบิล

โดยมีธงคำตอบเดียวนะจ๊ะ

ให้บรรลุเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนผ่านรัฐบาลแบบง่ายๆ

ผู้คนพากัน..งงแล้ว...งงอีก

........................................................................................................

8 มิย.2558

คุณสุทธิชัย หยุ่น ค่ายกรุงเทพธุริจรายวัน 

เปิดมุมมองต่อเรื่องดังกล่าว 

"สูตรปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง กับ ‘รัฐบาลเปลี่ยนผ่าน’" ดังนี้


จะบอกว่าเป็นความบังเอิญ หรือเป็นเรื่องทำให้เห็นว่าบังเอิญก็แล้วแต่ 

ความเคลื่อนไหวของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

(สปช.) บางกลุ่มให้มีการ “ปฏิรูป 2 ปีก่อนเลือกตั้ง”

กับคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่ว่า 

“ถ้าจะให้อยู่ต่อก็ไปถามประชาชนกันเอง” ช่างสอดคล้องต้องกันอะไรเช่นนั้น


แรกเริ่มที่ได้ยินข้อเสนอ “ปฏิรูป 2 ปีก่อนเลือกตั้ง” 

ก็ยังงงๆ อยู่ว่าในทางปฏิบัติหมายถึงอะไร 

แปลว่า คสช., สปช. กับ สนช. และรัฐบาลจะอยู่ต่ออีกสองปีแล้ว

จึงจะมีการเลือกตั้งใช่หรือไม่


ถ้าอย่างนั้น หัวหน้า คสช. 

และนายกฯจะต้องออกมาแก้ Roadmap ที่วางเอาไว้อย่างไร 

จะอ้างเหตุผลอันใด

และมีอะไรรับรองว่าสองปีจะเห็นผลการปฏิรูปอย่างแท้จริง

อะไรเป็นไม้วัดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการปฏิรูปในสองปี?


ยิ่งจะมีความงงงันมากขึ้นเมื่อมีข้อเสนอจาก สปช. 

บางท่านว่าการจะให้ปฏิรูปสองปีก่อนเลือกตั้งนั้นควรจะ

ถามความเห็นประชาชน และการถามความเห็นประชาชน

ก็ควรจะใช้วิธีทำประชามติ


ก็ไหนๆ จะทำประชามติเรื่องร่างรัฐธรรมนูญแล้ว 

ก็ใส่คำถามเรื่องปฏิรูปสองปีก่อนเลือกตั้งเข้าไปในประชามติเสียเลย

นี่คือข้อเสนอของ สปช. ที่ต้องการจะทำทั้งสองเรื่องควบคู่กันไป

เพราะ สปช. ที่ผลักดันเรื่องนี้ไม่อยากจะเป็นคนเสนอเอง 

ต้องการให้เป็นเรื่องของประชาชน 

ซึ่งบางเสียงก็บอกว่าอาจจะมีการล่ารายชื่อของประชาชนเพื่อให้มีการทำประชามติเรื่องนี้


คนที่ผลักดันเรื่องนี้ไม่ต้องการจะได้ชื่อว่าพยายามจะให้ คสช.

 และรัฐบาลของ นายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา “สืบทอดอำนาจ”

นักข่าวถามนายกฯ เรื่องจะอยู่ต่อ นายกฯไม่ได้ปฏิเสธ 

แต่บอกว่าท่านไม่ได้ต้องการสืบทอดอำนาจ 

แต่ถ้าจะให้ทำงานต่ออีกระยะหนึ่ง 

ก็พร้อม แต่ต้องให้ประชาชนส่งเสียงออกมาให้ชัดเจน

และยังบอกว่าใครก็ตามที่ผลักดันเรื่องนี้

 ต้องไปช่วยอธิบายกับคนไทยและต่างประเทศให้เข้าใจเสียด้วย

เพราะแน่นอนว่าจะต้องมีคนที่คัดค้านเรื่องนี้ 

เพราะเท่ากับเป็นการทำผิดสัญญาที่เขียนไว้ใน Roadmap เดิม

ว่าจะมีการเลือกตั้งเมื่อรัฐธรรมนูญผ่านขั้นตอนทั้งหลาย 

ซึ่งตีความกันมาตลอดว่าเร็วที่สุดคือไตรมาสแรกของปีหน้า 

และช้าที่สุดก็คือไตรมาสที่สามของปีหน้า

แต่หากต้องทำการปฏิรูปสองปีก่อนแล้วจึงมีการเลือกตั้ง 

ก็แปลว่าจะต้องมีการแก้ไขเรื่องใหญ่ๆ 

ทั้งหมดโดยที่ยังไม่มีใครตอบได้ว่าจะขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น

โดยได้รับฉันทามติของคนไทยส่วนใหญ่ได้อย่างไร


มีคำถามว่าถ้าจะทำอย่างนั้นก็เขียนระบุไว้

ในร่างรัฐธรรมนูญว่าอย่างไร

คำถามต่อมาก็คือว่าสองปีที่จะปฏิรูปให้เสร็จก่อนเลือกตั้งนั้น 

ใครจะเป็นผู้ประเมินว่าการปฏิรูปทุกๆ 

ด้านของประเทศได้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้หรือไม่อย่างไร

เพราะไม่มีใครตอบได้ว่าการปฏิรูปที่จะทำให้เสร็จก่อนเลือกตั้งนั้น

จะวัดกันด้วยสูตรไหน ใครเป็นคนบอกว่าสองปีจะทำได้ 


และใครจะเป็นคนฟันธงว่าสองปีแล้วการปฏิรูป

ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่อย่างไร

แน่นอนว่า มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่เป็นห่วงว่า

หากมีการเลือกตั้งตามกำหนดเดิม 

นักการเมืองที่เข้ามาอาจจะเอาข้อเสนอเรื่องปฏิรูปทิ้งถังขยะเลยก็ได้ 

เพราะข้อเสนอปฏิรูปหลายข้อเป็นการปรับเปลี่ยนกฎกติกา

ที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของนักการเมืองอย่างปฏิเสธไม่ได้

ความห่วงกังวลเรื่องนี้มีผลทำให้เชื่อกันว่าหากทำตาม Roadmap เดิม 

ความพยายามจะปฏิรูปบ้านเมืองก็จะไร้ผล 

และการรัฐประหารครั้งนี้ก็จะ “เสียของ” อีกรอบหนึ่ง 

ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาใหญ่ ๆ ของประเทศชาติ

อย่างที่อ้างเป็นเหตุผลของการก่อรัฐประหารแต่อย่างใด


แต่การกระทำใด ๆ ที่ตีความได้ว่าเป็นการ “สืบทอดอำนาจ” 

ของ คสช. ก็จะเปิดจุดอ่อนให้มีการโจมตีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกเช่นกัน


ดังนั้น จึงควรจะต้องมีสูตรของ “รัฐบาลเปลี่ยนผ่าน”

ที่ประชาชนมีสิทธิมีเสียงในการทำให้การปฏิรูปเกิดขึ้นอย่างแท้จริง

เพื่อปูทางสู่การเลือกตั้งที่โปร่งใส, 

ยุติธรรมและตรวจสอบได้อย่างเปิดเผย


สูตรที่ว่านี้เป็นอย่างไร ผมเชื่อว่าผู้รู้ในบ้านเมืองมีมากมาย 

หากมีจิตใจมุ่งทำงานเพื่อผลประโยชน์ของชาติที่แท้จริง 

ยอมเสียสละ และไม่ชิงความได้เปรียบทางการเมือง 

ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะถกแถลงเพื่อหาข้อสรุปได้ /จบ
................................................................................................................................

คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12

นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลควรอยู่ในตำแหน่งต่อไปอีก 2 ปีหรือไม่?

กลายเป็นคำถามทางการเมือง


ประเด็นใหม่ล่าสุดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

โดยส่วนตัวเห็นว่าฝ่ายที่จะตัดสินใจเรื่องนี้ได้


ยังควรจำกัดวงอยู่แค่นายกรัฐมนตรี, คสช. 


หรืออย่างมากที่สุด ก็รวมถึงองค์กรต่างๆ ในแม่น้ำห้าสาย

ท่านๆ เหล่านั้น ควรแบกรับภาระในการตัดสินใจประเด็นนี้


ไว้เต็มสองบ่า โดยต้องพร้อมรับชอบและรับผิด 


กับผลลัพธ์ทุกทางที่อาจเกิดขึ้น

เพราะเมื่อได้อำนาจเข้ามา "แก้ไขปัญหาของประเทศ"


ด้วย "วิธีการพิเศษ"


ในโมงยามที่ระบอบประชาธิปไตยถูกมองว่าเป็น


"ตัวก่อปัญหา"จากสายตาของคนบางกลุ่ม

ถ้าท่านและผู้สนับสนุนเห็นควรว่า "ระบอบพิเศษ" นี้


 ควรต้องเดินหน้าต่อไปอีกหน่อย 


พวกท่านก็ควรใช้ "วิธีพิเศษ" เช่นเดิม 


มาช่วยรองรับความชอบธรรมของการตัดสินใจดังกล่าว

โดยยังไม่จำเป็นต้องเร่งรีบผลักดันให้ประชาชนรับภาระเป็น


"ผู้เลือก"ในการลงประชามติใดๆ ตราบเท่าที่ "ตัวเลือก"


ยังไม่หลากหลายจริง และบรรยากาศทางการเมืองยังไม่เอื้อ


ให้พวกเขามีเสรีภาพในการเลือกสิ่งต่างๆ ด้วยเจตจำนงของตนเอง

มิฉะนั้น การลงประชามติต่ออายุรัฐบาล 


จะนำมาซึ่งการทะเลาะ เบาะแว้ง แบ่งข้าง เลือกฝ่าย 


ที่เสียเวลาเปล่า และอาจไม่ได้นำพาประเทศกลับคืน


สู่ระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใด

สู้รอเวลาให้ประเทศกลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตย


(ถึงแม้จะไม่เต็มใบ)ที่มีรัฐธรรมนูญ มีพรรคการเมือง 


มีการเลือกตั้ง แล้วค่อยให้ประชาชนกลับมารับภาระ


เป็นผู้กำหนดชะตากรรมของประเทศให้ประชาชนทะเลาะกัน


อย่างสันติผ่านคูหาเลือกตั้ง


เวลานั้นคงไม่สายเกินไป

ส่วนในเวลานี้ถ้าท่านผู้มีอำนาจเห็นควรทำอะไร 


ก็โปรดจงทำสิ่งนั้นด้วยตัวท่านเองเถิดครับ ไ


ม่มีใครสามารถไปขวางทางพวกท่านได้อยู่แล้ว

พูดเรื่อง "ประชาธิปไตย" แล้ว "ตลาด" 


ก็เป็นอีกสิ่งสำคัญ ที่ไม่อาจ มองข้ามไป

ในปัจจุบัน รัฐบาลพยายามที่จะประชาสัมพันธ์ผลงาน 


ผ่านพื้นที่และเวลาของ "ตลาดทีวีดิจิตอล"


ซึ่งกำลังตั้งไข่อย่างทุลักทุเล

ส่งผลให้ช่วงเวลา "ไพรม์ไทม์" ของสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ 


ทั้งในช่วงหัวค่ำวันศุกร์ และช่วงเย็นตลอดสัปดาห์ 


ต้องถูกแบ่งสันปันส่วนไปให้รายการของทางรัฐบาล


และ คสช. ด้านหนึ่ง เป็นที่เข้าใจได้ว่าบ้านเมืองยังอยู่ในสภาวะ


"ไม่ปกติ" รัฐบาลจึงต้องพยายามสื่อสารกับประชาชนให้ใกล้ชิด


และมากเป็นพิเศษ

เมื่อสื่อที่เข้าถึงมวลชนหมู่มากที่สุดคือโทรทัศน์ 


จึงไม่แปลกที่จะมีการประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาลผ่าน


ทีวีทุกช่อง ในช่วงเวลาสำคัญ ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ของแต่ละครัวเรือน


 พักผ่อนอยู่อย่างพร้อมเพรียงกันหน้าจอโทรทัศน์

แต่อีกด้าน รัฐบาลก็พึงตระหนักเช่นกันว่า 


ตนเองกำลังใช้พื้นที่และเวลาของตลาดอยู่

ตลาดที่แข่งขันและประเมินค่ากันด้วยจำนวนเรตติ้ง


และอัตราค่าโฆษณา

ตลาดซึ่งวัดความสำเร็จกันด้วยความนิยมของผู้บริโภค


ที่มีต่อรายการใดรายการหนึ่งหรือช่องโทรทัศน์ใดช่องโทรทัศน์หนึ่ง

การเข้ามาแชร์พื้นที่และเวลาของตลาดทีวีดิจิตอล 


โดยรัฐบาลและ คสช. จึงส่งผลให้สถานีช่องต่างๆ 


ต้องปรับเปลี่ยนผังรายการ 


เพื่อให้รายการที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ของแต่ละช่อง 


ได้รับผลกระทบจากการขอพื้นที่และเวลาที่มิอาจปฏิเสธได้น้อยที่สุด

ส่วนรายการที่ได้รับความนิยมลดหลั่นลงไปก็ถูกเบียดบังพื้นที่


และเวลามากหน่อยจนบางวันอาจไม่เหลือเวลาในการนำเสนอเลย

จริงๆ เมื่อเข้ามาเล่นกับตลาดแล้ว ทีมงานของรัฐบาล


และ คสช. น่าจะลองสำรวจความเห็นจากผู้ชม 


ว่ารายการของตนเองได้รับความนิยมมากน้อยเพียงใด

ถ้าเรตติ้งยังไม่เยอะ จะได้เร่งปรับปรุงทั้งรูปแบบและเนื้อหา 


เพื่อให้สามารถสื่อสารกับคนดูอย่างมีสัมฤทธิผลเพิ่มมากขึ้น

อย่าลืมว่าการตอบสนองความพึงพอใจ


ให้แก่มวลชนจำนวนมหาศาลในตลาดนั้น


เป็นเรื่องยากเย็นพอๆ กับการควบคุมประชาชนพลเมือง


ในระบอบประชาธิปไตยนั่นแหละ

(ที่มา:มติชนรายวัน 8 มิ.ย.2558)

.......................................................................................................






Create Date : 08 มิถุนายน 2558
Last Update : 19 กันยายน 2558 3:35:26 น. 0 comments
Counter : 914 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com