<<
มิถุนายน 2558
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
4 มิถุนายน 2558
 

ปมถอดยศ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร"

                   ปมถอดยศ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร"
                                                                เตือนใจ เจริญพงษ์

การเป็นนายกรัฐมนตรีเมืองไทย
ยุคนี้ไม่ง่ายเสียแล้ว................
เพราะความขัดแย้งของขั้วอำนาจทางการเมืองมีสูงมาก
ทันทีที่เปลี่ยนขั้ว จะมีการเช็คบิลกันอุตลุด
ชนิดขุดรากถอนโคลนกันทีเดียว
ประเด็น...เรื่องการปรองดอง เหมือนจะเป็น
"ภาพลวงตา"ที่ใช้เป็น slogan"ไปงั้นๆเอง .....
จนน่าเป็นห่วงว่า...
อนาคตแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอนของเราคงลุกเป็นไฟ
ได้ทุกขณะจิต ...จนผู้คนในประเทศต่างพากันอึดอัด
เพราะมองเห็นความเสียหายของชาติไทยชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
หลายเรื่องเราเอาความ"ขัดแย้งของขั้ว"มาเป็นที่ตั้ง
แล้วตะลุย...เล่นงานฝ่ายตรงข้ามชนิดต้องถอยร่นตกทะเลไปเลย
แถมไม่มีที่ยืน หรือหลังมิอาจพิงฝาได้เสียแล้ว
ปฎิมากรรมต่างๆที่...ขุน....เรือ เดินหมาก ก้าวย่างนั้น
เพื่อเหยียบให้อีกฝ่ายมิดดินไปเลย
##### ประการสำคัญ
ยังเป็น  2 มาตรฐาน เสียแล้วในทุกเรื่อง
ความจริงใจ+ความสง่างามของการกระทำ
มิได้มีให้เห็น...
พลังมืดที่เป็นหัวใจคนรากหญ้า และทุกชนชั้น
ที่มีความเห็นต่างนั้น ยังมีมากโข
ระวังจะเป็น...ปลาตายน้ำตื้น
หรือ เป็นฝ่ายเติมเชื้อเพลิงให้ไฟที่สุมและไม่มีวันดับ
ลุกลามเหมือนไฟลามทุ่ง
#### แค่อยากเตือนว่าเป็นห่วงจัง
ประชาชนชาวไทยไม่ต้องการคำตอบว่า...ใครแพ้ ....ใครชนะ
เพราะเห็นเป็นประจักษ์มาตลอดว่า
ขั้วไหนขึ้นมาเป็นใหญ่ ก็ทำความเสียหายให้ประเทศไม่แพ้กัน
แต่สิ่งที่คนไทยต้องการคือ...การเดินสายกลางที่ทำให้ชาติไทย
มีความสงบสุขอย่างยั่งยืนต่างหาก
"ปมถอดยศ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" "
เป็นอีกหนึ่งกรณีที่ชวนให้คิด......
ซึ่งมติชนรายวันนำเสนอเป็น

รายงานพิเศษ ดังนี้





















การถอด-ไม่ถอดยศ "พันตำรวจโท" ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ยืดเยื้อยาวนานเป็นมหากาพย์ 

ตั้งแต่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเข้ายึดอำนาจ 19 ก.ย. 2549 

กระทั่งยุคของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา


แต่ปมการถอด-ไม่ถอดยศ พลิกไป พลิกมาตามอำนาจการเมือง 

กระทั่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) 

ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการเซ็นถอดยศเปลี่ยนเก้าอี้มาแล้วถึง 8 นาย

 1.พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ 

2.พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ 

3.พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ 

4.พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี 

5.พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ 

6.พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว 

7.พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ 

และ 8.พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง

เรื่องราวการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ

เริ่มจากถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุก 2 ปี จากคดีการซื้อที่ดินถนนรัชดาภิเษก 

แต่ พ.ต.ท.ทักษิณได้หลบหนีลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ 

ทำให้เกิดเสียงจากขั้วตรงข้าม พ.ต.ท.ทักษิณให้มีการถอดยศ

 ปลายปี 2551

ท่าทีของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) 

เวลานั้นก็ขานรับแรงกดดันดังกล่าว 8 มกราคม 2552 

ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

 "กองวินัย" ของ สตช.ได้ทำการตรวจสอบตามข้อมูลที่ปรากฏ 

พบว่ากรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าเงื่อนไของค์ประกอบ

ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 

ข้อ (2) ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 

หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ 

หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท และข้อ (6) ต้องหาในคดีอาญา

แล้วหลบหนีไป สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในราชการหรือหน่วยงานของรัฐ

กองวินัยจึงส่งเรื่องเสนอไปยังกองกำลังพล 

เพื่อทำเรื่องไปยัง ผบ.ตร.ซึ่งเวลานั้นคือ พล.ต.อ.พัชรวาท 

แต่เมื่อเรื่องไปถึงมือ พล.ต.อ.พัชรวาทได้มีความเห็นว่า 

เรื่องนี้ เป็นกรณีที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อน 

เพราะเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 

จึงสั่งการให้พล.ต.ท.อาจิณ โชติวงศ์ ผบช. ก.ตร.

 ในฐานะที่เป็นหน่วยงานดูแลเรื่องกฎหมายและรู้เรื่องกฎระเบียบ 

พร้อมทั้งส่งเรื่องไปถามคณะกรรมการกฤษฎีกา

คณะกรรมการกฤษฎีกาจึงมีหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.)

 เรื่องแนวทางการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถอดยศตำรวจ

และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ในวันที่ 26 ต.ค. 

และตอบกลับถึง สตช.ในวันที่ 28 ต.ค. 2552 

โดยคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า

"เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 

ไม่ว่าเป็นคำพิพากษาของศาลใดย่อมอยู่ในหลักเกณฑ์

ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ให้ถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณได้

 รวมไปถึงการเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทาน

พระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2548"

แม้จะมีความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีการับรองถึงอำนาจ

ในการถอดยศ แต่ พล.ต.อ.พัชรวาท เกษียณราชการ

ในเดือน ก.ย. 2552 เสียก่อน เรื่องยังถูกดองไว้

และบังเอิญเป็นช่วงที่ สตช.เกิดภาวะสุญญากาศภายใน 

ไม่มี ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการขึ้นมากุมบังเหียน 

เนื่องจากติดปัญหาเรื่อง "อำนาจพิเศษ" เข้ามาเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้ง 

ผบ.ตร.คนใหม่ ภายในเดือนเดียวมีผู้เข้ามานั่ง ผบ.ตร.ถึง 2 คน 

คือ พล.ต.อ.วิเชียร และ พล.ต.อ.ธานี ก่อน พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ 

จะมานั่งเก้าอี้รักษาราชการแทน ผบ.ตร. 1 ปีเต็ม

เรื่องการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณในยุคของ พล.ต.อ.ปทีปไม่มีความคืบหน้า 

เขาเคยกล่าวไว้ให้สื่อมวลชนบันทึกเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2552 ไว้ว่า 

"ต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งเนื่องจากเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นเอกสารเก่า

ประมาณ 5-6 ปีแล้ว รวมทั้งระบบราชการมีการดำเนินการที่ล่าช้า 

แต่จะพยายามดูแลให้รวดเร็วที่สุด"

26 พ.ย. พล.ต.อ.ปทีปบอกความคืบหน้าการถอดยศอีกครั้งว่า 

อยู่ระหว่างการดำเนินการ ก่อนหน้านี้มีกลุ่ม ส.ว. 3-4 คน 

มายื่นคัดค้านการถอดยศโดยยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นมาว่า 

การพิจารณาถอดยศไม่ถูกต้องตามข้อกฎหมายทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ต้องส่งเรื่องนี้ไปให้ทางฝ่ายกฎหมาย สตช.พิจารณาอีกครั้ง 

คงไม่ส่งไปให้กฤษฎีกาดูอีก คงจบที่ สตช. เร็ว ๆ นี้ก็คงจบกระบวนการ ส่งให้ ครม.พิจารณา

เวลาล่วงเลยกระทั่งเกิดเหตุการณ์ชุมนุมสีเสื้อเมื่อเดือน มี.ค. 2553 "พล.ต.ต.โชติกร ศรีมันตระ" ผู้บังคับการกองทะเบียนพล (ผบก.ทพ.) 

ในฐานะต้นเรื่อง ระบุอีกมุมหนึ่งว่า 

ส่งเรื่องให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาข้อกฎหมายอยู่ ทราบว่า

จะส่งไปสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ 

ประกอบกับช่วงนี้เหตุการณ์บ้านเมืองไม่ปกติ มีการชุมนุม 

ไม่เหมาะพิจารณา อาจทำให้ไม่พอใจ

การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงกินเวลา 12 มี.ค.-19 พ.ค. 

เกิดการต่อสู้กลางเมืองมีผู้เสียชีวิตทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ชุมนุม 

แล้วปมการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณก็ถูกเก็บเข้าลิ้นชัก 

ไม่มีการพูดถึงในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แม้คณะกรรมการกฤษฎีกา

จะตอบยืนยันในปี 2554 ว่า สตช.มีอำนาจในการถอดยศได้ 

จนอำนาจการเมืองเปลี่ยนขั้วอีกครั้งในกลางปี 2554 กลับไปอยู่ขั้วข้าง พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง เป็นรัฐบาล ขณะนั้น

 พล.ต.อ.วิเชียร นั่งในตำแหน่ง ผบ.ตร. แต่รัฐบาลก็สั่งย้าย 

ไปนั่งในตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ 

เพื่อเปิดทาง ให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พี่เขยของ พ.ต.ท.ทักษิณ 

ขึ้นเป็น ผบ.ตร. โดยมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรองนายกฯ กำกับ สตช.

ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เหตุที่ไม่ถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ

 เพราะ สตช. บอกว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์และคดีของ 

พ.ต.ท.ทักษิณไม่ใช่คดีปกติ แต่เกิดจากการปฏิวัติ 

และถึงแม้ สตช.จะเสนอเรื่องให้ถอดยศ ตนก็จะไม่ถอด

มีแต่จะเพิ่มให้เป็น พล.ต.อ. ถ้าใครไม่พอใจก็ไปอภิปรายไม่ไว้วางใจได้

เมื่ออำนาจการเมืองพลิกขั้ว การเมืองใน สตช.ก็เปลี่ยนขั้วตาม 

มีรายงานลับจาก สตช.ระบุว่า 

กองวินัยซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว 

ได้นำเสนอต่อ ผบ.ตร ให้ยุติเรื่องการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ 

เนื่องจากจะทำให้เกิดความแตกแยกทางการเมืองซึ่งทาง 

ผบ.ตร.ได้ให้ความเห็นชอบตามที่กองวินัยเสนอ

จวบจน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว 

ผบ.ตร.คนสุดท้ายในยุครัฐบาลพรรคเพื่อไทย 

ประเด็นการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณไม่ถูกหยิบขึ้นมาพิจารณาอีก

 กระทั่งมีการยึดอำนาจโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 

พร้อมกับตั้ง พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ขึ้นมารักษาราชการแทน ผบ.ตร.

ล่าสุดเรื่องการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณกระหึ่มขึ้นอีกครั้ง 

พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ในฐานะ ผบ.ตร.คนที่ 8 

ที่มีอำนาจถอดยศ จึงต้องติดตามมหากาพย์การถอดยศ

ของ พ.ต.ท.ทักษิณจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ เฉกเช่น 7 ผบ.ตร.

ก่อนหน้านี้ อย่าคลาดสายตา/จบ


(ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ ฉบับ 4-7 มิถุนายน 2558)

......................................................................................................

มุมมองเรื่อง "การปรองดอง" ของรัฐบาลนายกตู่

คุณสุทธิชัย หยุ่น แสดงความเห็นเรื่องนี้ไว้น่าสนใจ

ลองพิจารณากันนะ

ตามมาด้วยกระบวนการถอดยศ และอาจจะมีการฟ้องมาตรา 112 ตามมา 

จากคำให้สัมภาษณ์ที่เกาหลีใต้ ก็อาจจะทำให้ความพยายาม “ปรองดอง” แห่งชาติ

มีอันต้องล่มสลายไป

ผมไม่เห็นเช่นนั้น และไม่คิดว่าควรจะเป็นอย่างนั้น

เพราะสิ่งทีเรียกว่า “ปรองดอง”

ของขั้วอำนาจทางการเมือง กับการ “สมานฉันท์”

ระหว่างประชาชนไม่ควรจะเป็นเรื่องเดียวกันเป็นอันขาด

หากเราในฐานะเป็นประชาชนเต็มขั้น 

สามารถถูกกลุ่มการเมืองที่มีผลประโยชน์เฉพาะตน 

กระชากลากถูไปเป็นพวก ถูกล้างสมองได้ง่าย ๆ 

ให้รักให้เกลียดคนอีกกลุ่มหนึ่งเพียงเพราะมีความเห็นต่างกันบ้างในบางเรื่อง 

เราก็ไม่อาจเรียกตัวเองเป็น“พลเมือง” ได้เต็มภาคภูมิ


ใครจะชอบคำนี้หรือไม่ก็ตาม 

ผมยังเชื่อว่า “พลเมือง” กับ “ประชาชน” และ “บุคคล” 

มีความหมายที่แตกต่างกัน 

และท้ายที่สุดทุกคนควรจะช่วยกันสร้าง “พลังแห่งพลเมือง”

ในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง โดยไม่ถูกกลุ่มผลประโยชน์ใด 

ใช้เราเป็นเครื่องมือในการต่อรองเพื่อการสร้างความได้เปรียบของฝ่ายนั้น

ความ “ปรองดอง” ของคนในชาติเป็นเรื่องสำคัญ

เกินกว่าที่จะยอมให้เป็นเรื่องของรัฐบาลกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล


การสร้างความ “สมานฉันท์” ในชาติมีความสำคัญกว่า

เพียงแค่ว่านายกฯปัจจุบันกับอดีตนายกฯ มีเรื่องที่จะต้องต่อรองกัน 

หรือมีคดีทางกฎหมายที่ต้องทำให้เกิดความชัดเจนว่าใครผิดใครถูก


จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่คนไทยจะต้อง “ข้ามพ้น”

ความขัดแย้งของกลุ่มอำนาจวันนี้ 

เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการสร้างความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง 

เคารพในความเห็นต่าง ตอกย้ำความเป็นคนไทยร่วมชะตากรรม

 และสร้างเสริมคุณภาพของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

เพื่อคนไทยรุ่นนี้และรุ่นต่อ ๆ ไป


หนึ่งปีที่ผ่านมา 

เรายังไม่เห็นการสร้างความปรองดองในหมู่ประชาชนอย่างเป็นเรื่องเป็นราว 

สภาปฏิรูปแห่งชาติที่ได้ตั้งหลายกลุ่มเพื่อการนี้

ยังไม่ได้มีผลงานเป็นรูปธรรมชัดเจน 

อาจเพราะเรายังติดกับดักของคำว่า “ปรองดอง”

ในความหมายที่จะต้องเกี่ยวโยงกับทักษิณ ชินวัตร

 หรือกลุ่มการเมืองต่าง ๆ จนไม่อาจแยกแยะจากความปรองดองของประชาชนได้


ความจริงคำว่า “ปรองดอง” ของกลุ่มผลประโยชน์การเมือง

ไม่ใช่เป็นความ “สมานฉันท์” ที่แท้จริง 

เหตุเพราะเมื่อการเมืองพูดถึงการอยู่ร่วมกันนั้น 

เขาหมายถึงอำนาจต่อรองของตนกับอีกกลุ่มหนึ่ง

 หากผลประโยชน์สอดคล้องต้องกัน หรือไม่ขัดกันในช่วงใดช่วงหนึ่ง 

ก็อาจจะเรียกว่าเป็นการ “ปรองดอง” 

แต่ทันทีที่ผลประโยชน์ขัดกัน 

ก็จะเกิดอาการฟาดฟันขึ้นมาได้

แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่อาจถือว่าความปรองดองของประชาชน 

คือความปรองดองของนักการเมือง ตรงกันข้าม 


คนไทยต้องเลิกคิดจะพึ่งพานักการเมือง

มาสร้างความปรองดองให้กับประชาชน

บ้านเมืองจะเดินหน้าต่อไปได้อยู่ที่ประชาชนเอง 

ที่จะต้องสร้างบรรยากาศแห่งความปรองดอง 

ที่นำไปสู่ความสมานฉันท์ที่ยั่งยืน 

เพราะผลประโยชน์ของพลเมืองไทยเป็นหนึ่งเดียว 


นั่นคือการสร้างพลังของประเทศในทุก ๆ ด้าน

เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งให้กับทุกคน ทุกชุมชน 

ซึ่งก็ย่อมหมายถึงการสร้างพลังให้กับประเทศชาติเป็นส่วนรวม

เราหวังพึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อสร้างความปรองดองที่แท้จริงไม่ได้ 

และเราต้องไม่เชื่อว่าเราจะปรองดองได้

ต่อเมื่อกลุ่มการเมือง “เกี้ยเซี้ย” กันได้เท่านั้น


เพราะปรองดองการเมือง

คือ เรื่องผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม 

แต่ปรองดองของพลเมือง คือผลประโยชน์ทั้งสังคม/จบ


ที่มาข้อมูล:กรุงเทพธุรกิจรายวัน 5มิย.2558

...............................................................................................................................

สมยศ ระบุถอดยศทำทักษิณต้องรอบคอบ

แม้จะไม่เสร็จทันยุคสมัยของตนก็ตาม 

พร้อม ขอบคุณ พิเชษฐ และ อดีต ผบ.ตร. ให้คำแนะนำ 

//www.matichon.co.th/online/2015/06/14343460531434346080l.jpg

15 มิ.ย. - พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 
กล่าวถึงความคืบหน้าการพิจารณาถอดยศ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร 
อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน
และมีหลายฝ่ายจับตา มีกลุ่มคนแบ่งออกเป็น2พวก คือ 
กลุ่มที่อยากให้เร่งรัดถอดยศ กับกลุ่มที่มองว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง
และมีการเสนอมีข้อท้วงติงมา จึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

ซึ่งช่วงที่ผ่านมา ต้องขอบคุณผู้ใหญ่หลายๆท่าน อาทิ
นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล อดีต สส.ปชป. ที่เขียนถึงกรณีนี้ 
รวมทั้งอดีตนายตำรวจที่ทำบันทึกเปิดผนึกมาถึงตน 
ตลอดจนอดีต ผบ.ตร.หลายๆท่านที่โทรศัพท์มาให้คำแนะนำในกรณีนี้ 
เลยยิ่งต้องใช้ความรอบคอบมากขึ้นกว่าเดิม

ขณะที่รายงานของคณะกรรมการชุดที่มีพลตำรวจเอกชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล 
ที่ปรึกษา สบ10 เป็นประธาน ได้ส่งรายงานมาถึงตนแล้ว 
ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้เป็นชุดพิเศษที่ทำหน้าที่กลั่นกรอง 
และอยู่ระหว่างพิจารณาให้ฝ่ายกฏหมายตั้งเรื่องก่อนสั่งการให้สำนักกำลังพล 
(สกพ) ดำเนินการตามระเบียบขั้นตอนต่อไป

ส่วนที่หลายฝ่ายอาจจะมองว่าเป็นซื้อเวลาหรือไม่นั้น 
พลตำรวจเอกสมยศกล่าวว่า แล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
เพราะทุกคนมีสิทธิ แต่ตนไม่รู้สึกอึดอัดใจ หรือหวั่นไหว 
ขอทำตามระเบียบกำหนดแม้จะไม่แล้วเสร็จในสมัยที่ตนเองดำรงตำแหน่ง
ก็ตาม/จบ
ที่มาข้อมูล:มติชนรายวัน 15มิย.2558
..................................................................................................







Create Date : 04 มิถุนายน 2558
Last Update : 19 กันยายน 2558 3:37:24 น. 0 comments
Counter : 1347 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com