ภาวะผมบาง หรือที่เรียกว่า Telogen effluvim
คลินิคปลูกผมเชียงใหม่
ผมร่วง ผมบาง หลายท่านอาจเจอกับภาวะเหล่านี้ ภาวะผมบางชนิดนี้เกิดจากสัดส่วนของผมในระยะงอก anagen ลดลง เป็นสาเหตุของผมร่วงที่พบได้บ่อย คนไข้มักจะมาด้วยอาการผมร่วงมากขึ้น โดยอาจจะน าเอาผมมาให้ดูด้วย และมักจะบอกว่า ไม่มีรากผม หรือรากผมมันฝ่อไป และชี้ให้ดูส่วนของรากผมซึ่งลีบบาง ไม่เป็นตุ่ม 

 ในการที่จะเข้าใจภาวะ Telogen effluvium นี้จะต้องเข้าใจวงจรของเส้นผมก่อน โดยปกติผมบนศีรษะของคนเรา จะอยู่ในระยะงอกประมาณ 80 ถึง 85 % ผมที่อยู่ในระยะงอกนี้ เรียกว่า anagen hair ผมในระยะนี้จะอยู่ได้ประมาณ 3 ปี แล้วรอการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระยะต่อไป บางเส้นมีอายุน้อยกว่ามากกว่า คละเคล้ากันไป 

ทำให้ผมจะค่อยๆทะยอย กันร่วง ไม่ได้ร่วงพร้อมๆ กันทีละมากๆ ผมที่อยู่ในระยะ anagen นี้จะติดแน่นกับหนังศีรษะ จะต้องออกแรงพอสมควรในการดึงออก และจะเห็นว่า รากผมในระยะ anagen นี้มีลักษณะเป็นตุ่ม เหมือนต้นหอมและมีปลอกหุ้ม เมื่อผมมาถึงระยะสุดท้าย
ของ anagen ซึ่งจะอยู่ในระยะนี้สั้นๆ แล้วเข้าสู่ระยะสุดท้ายที่พร้อมจะหลุดร่วงออกไป( telogen) 

ระยะนี้จะมีอายุประมาณ 3 เดือน รากผมในระยะนี้จะมีลักษณะเล็กลีบ และลอยตัวสูงขึ้นสู่ระดับผิว พร้อมที่จะหลุดร่วงเมื่อออกแรงดึงไม่แรงนัก ก็จะสามารถหลุดร่วงออกมาได้ 

ภาวะผมบางที่เกิดจากผมในระยะงอกใหม่มีสัดส่วนลดลง เกิดจากผมในระยะงอก หรือ anagen พากันเข้าสู่ระยะพักตัว catagen และระยะเตรียมที่จะหลุดร่วง telogen เพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ แทนที่จะมีอายุอยู่ถึง 3 ปีแล้วหยุดงอก แล้วถึงจะเข้าสู่ระยะพัก และระยะเตรียมร่วง แต่ไม่เป็นเช่นนั้น ทำให้สัดส่วนของผมที่อยู่ในระยะงอก anagen ลดลง โดยเหลือเพียง 50% หรือน้อยกว่า เมื่อผมเข้ามาสู่ระยะเตรียมร่วง หรือ telogen จ านวนมากๆ ก็จะพบว่ามีผมที่ร่วงออกมาในแต่ละวันมากขึ้น บางครั้งเมื่อเอามือรูดผมเบาๆ ผมก็จะหลุดติดมือออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ผมบางลง 

สาเหตุผมร่วง ผมบาง แบบเฉียบพลันที่พบบ่อยๆ คือ ภาวะหลังคลอดลูก ประมาณ 2-3 เดือนแล้ว มีอาการผมร่วงมากขึ้น นอกจากนี้ภาวะเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน เช่น SLE การมีไข้สูงจากโรคมาลาเรีย ทัยฟอยด์ ไข้เลือดออก ตกเลือด หลังคลอด ผ่าตัดใหญ่ ลดน้ าหนักเร็วๆ การบริจาคโลหิต ฯลฯ ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Telogen effluvium แบบเรื้อรัง ได้แก่ โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคตับ โรคไตเรื้อรัง มะเร็ง โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวกัน (Connective tissue disease) ภาวะโลหิตจาง โรคของต่อมธัยรอยด์ ชนิดทำงานน้อยลง(Hypothyroid) หรือ ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ(Thyrotoxicosis) 
แนวทางการรักษา
ถ้าเป็นแบบเฉียบพลัน สามารถหายได้เองโดยไม่จ าเป็นต้องรักษา แต่อาจใช้เวลา 2-3 เดือนในการรักษาเป็นอย่างน้อย ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการให้หายเร็ว การรักษาก็มีความจำเป็น แพทย์มักจะให้ทายาในรูป minoxidil 2-3% ซึ่งกลไกในการออกฤทธิ์ เชื่อว่าจะทำให้ผมอยู่ในระยะ anagen ยาวนานขึ้น และเส้นเลือดบริเวณรากผมขยายตัว มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณรากผมเพิ่มมากขึ้น การให้รับประทานธาตุเหล็กเสริมก็อาจช่วยให้อาการดีขึ้นเร็ว 

พบว่า คนไข้ที่มีภาวะ Telogen effluvium นี้จะมีระดับเหล็ก(serum ferritin) สะสมในเลือด ค่อนข้างต่ำแม้ว่าเจาะเลือดแล้วระดับ  ferritin อาจจะยังไม่ถึงระดับที่ท าให้โลหิตจางก็ตาม ดังนั้น การให้เหล็กเสริมให้คนไข้ที่มีภาวะ Telogen effluvium จึงเป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่ง คนไข้ Telogen effluvium แบบเฉียบพลันอาจหายเองได้ภายใน 1 ปี ส่วนคนไข้มีภาวะ Telogen effluvium เรื้อรัง อาจหายเองในระยะเวลา 3-10 ปี สำหรับการรักษานอกเหนือจากการรักษาด้วยวิธีข้างต้นดังกล่าวแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องรักษาโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม คนไข้ในกลุ่มนี้ แม้ว่าอาการผมบางจะดีขึ้นบ้างแต่ก็มักจะไม่ปกติเหมือนแต่ก่อน

ที่มา: meda clinic คลินิคปลูกผม เชียงใหม่



Create Date : 04 กรกฎาคม 2557
Last Update : 4 กรกฎาคม 2557 14:03:27 น.
Counter : 1885 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

pyopyo2524
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



กรกฏาคม 2557

 
 
1
2
3
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31