ผู้บุกเบิกและผู้นำในระบบการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับถังเก็บน้ำบนดิน ถังเก็บน้ำใต้ดิน ถังบำบัดน้ำเสีย ถังดักไขมัน รวมถึงนวัตกรรมถังเก็บน้ำเพื่อการตกแต่งและนวัตกรรม Silver Nano ป้องกันแบคทีเรียของถังเก็บน้ำ รายแรกของโลก

 
กันยายน 2557
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
1 กันยายน 2557
 

บ่อเกรอะ – บ่อซึม แตกต่างกันอย่างไร

โดยส่วนใหญ่แล้ว น้ำที่ผ่านการใช้ในการอุปโภคและบริโภคแล้วภายในครัวเรือนของเรานั้น จะแปรสภาพกลายเป็นน้ำเสีย เนื่องจากมีการปนเปื้อน สิ่งสกปรกต่างๆ โดยทั่วไป น้ำเสียจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. น้ำทิ้ง (Waste Water)

คือ น้ำเสียจากการชำระล้างอาบน้ำ โดยจะระบายสู่สาธารณะโดยแรงโน้มถ่วง โดยท่อควรมีความลาดเอียงอย่างน้อย 1:100 รวมทั้ง ต้องมีท่ออากาศ เพื่อให้อากาศในท่อ มีทางระบาย เพื่อการไหลที่ดี และมีจุดเปิด (Clean Out) เพื่อทำความสะอาดในกรณี เกิดการ อุดตัน บริเวณจุดหักจุดเลี้ยวของท่อส่วนน้ำทิ้ง จากครัวนั้น ควรมีบ่อดักขยะ และไขมัน (Grease Trap) ก่อนระบายสู่ทางสาธารณะ เพื่อป้องกันการอุดตัน

2. น้ำโสโครก (Soil Water)

คือ น้ำเสียรวมไปถึงสิงปฏิกูลจากสุขภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น โถส้วม โถปัสสาวะ ส่วนมากท่อจะแยกออกจากน้ำทิ้ง เพื่อลดปัญหาเรื่องกลิ่น โดยน้ำโสโครก จะต้องมีการบำบัดก่อนระบายสู่สาธารณะ ตามมาตรฐาน หรือกฏกระทรวงฉบับที่ 44 (พ.ศ.2538)

ถังบำบัดน้ำเสีย (Waste water Tank) มีหน้าที่หลักคือ บำบัดน้ำเสียโดยระบบที่นิยมใช้คือ Activated Sludge เป็นการใช้จุลชีพทำหน้าที่ ย่อยสลายของเสียในน้ำ โดยน้ำเสียที่บำบัด เรียบร้อยแล้วนั้น จะสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เช่น การรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น

ในปัจจุบันนี้ระบบบำบัดน้ำเสียภายในครัวเรือนสามารถทำได้สองทาง ทางแรกก็คือการทำ บ่อเกรอะ-บ่อซึม ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปและมีมานานแล้ว มีรายละเอียดวิธีการก่อสร้างและวิธีบำบัดน้ำเสียดังนี้ครับ

วิธีการก่อสร้างบ่อเกรอะ-บ่อซึม คือ การใช้ถังคอนกรีตสำเร็จรูป ทรงกระบอก มาต่อๆ กัน ฝังในดิน จำนวน 2 บ่อ บ่อที่ 1 รับน้ำมาจากแหล่งน้ำเสียต่าง ๆ แล้วจะมีถังบำบัด โดยธรรมชาติ น้ำส่วนที่ล้นออกมาจากถังที่ 1 จะเข้าไปในถังที่ 2 คือ บ่อซึม แล้วจะมีการกระจายน้ำออกไปตามดินโดยรอบ

วงซีเมนต์สำหรับสร้างบ่อเกรอะ-บ่อซึม

ข้อเสียของการใช้บ่อเกรอะบ่อซึม คือ จะต้องตั้งอยู่ห่างจาก แหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคทั่วไป เพราะความสกปรก จะกระจายมาตามดินได้ และในกรณีที่มีน้ำใต้ดินสูง ก็ไม่อาจใช้บ่อเกรอะและบ่อซึม ได้เพราะน้ำในบ่อซึม จะไม่สามารถซึมออกไปในดินได้ และเมื่อถึงเวลาเต็ม จะต้องมีการดูดสิ่งปฏิกูลจากบ่อเกรอะออกไปทิ้งด้วยมิฉะนั้นจะใช้งานไม่ได้

จะเห็นได้ว่าถึงแม้ บ่อเกรอะ-บ่อซึม จะมีผู้ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็มีปัญหาและรายละเอียดปลีกย่อยที่ยังแก้ไขไม่ได้อยู่ครับ ดังนั้นในปัจจุบันนี้จึงได้มีวัสดุชนิดใหม่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้น วัสดุชนิดนั้นก็คือถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป นั่นเองครับ

ขอบคุณที่มา: //baansanruk.blogspot.com/2011/06/blog-post_26.html




Create Date : 01 กันยายน 2557
Last Update : 1 กันยายน 2557 11:33:44 น. 0 comments
Counter : 728 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

devilmancry09
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add devilmancry09's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com