ตุลาคม 2557

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
วิเคราะห์เหรียญกษาปณ์ต่างประเทศ
วิเคราะห์เหรียญกษาปณ์ต่างประเทศ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM

และเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS

จากบทความเดิมเรื่องเหรียญกษาปณ์ ที่เราใช้กันอยู่ทำมาจากวัสดุใดกัน และมีส่วนผสมอะไร
บ้างและเท่าไร ที่เป็นเหรียญกษาปณ์ไทย ตามลิงค์บทความด้านล่าง

บทความอื่นๆที่แนะนำเรื่องเหรียญสิบคลิก  ,เหรียญ25,50 สตางค์เหรียญ 1,2,5 บาทคลิก



มาบทความนี้ เราจะนำเหรียญกษาปณ์ต่างประเทศ ซึ่งเราจะนำเหรียญมาวิเคราะห์กัน เหรียญ
ที่นำมาเป็นเหรียญของ Australia ตามภาพล่าง เป็นเหรียญเก่าผ่านการใช้งานมานาน ทำให้ 
การวิเคราะห์ธาตุ จะได้ค่าเชิงปริมาณต่างจากเหรียญใหม่เล็กน้อย 

ด้านหน้าเหรียญกษาปณ์ Australia 

ด้านหลังเหรียญกษาปณ์ Australia 

ตามภาพเป็นภาพเหรียญกษาปณ์ Australia ด้านหน้า
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)  
กำลังขยาย x 15 เท่า สเกล 1 mm (มิลลิเมตร) 
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพเป็นภาพเหรียญกษาปณ์ Australia ด้านหน้า
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)  
กำลังขยาย x 15 เท่า สเกล 1 mm (มิลลิเมตร) 
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพเป็นภาพเหรียญกษาปณ์ Australia ด้านหน้า
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)  
กำลังขยาย x 15 เท่า สเกล 1 mm (มิลลิเมตร) 
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพเป็นภาพเหรียญกษาปณ์ Australia ด้านหน้า
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)  
กำลังขยาย x 35 เท่า สเกล 500 um (ไมโครเมตร) 
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพเป็นภาพเหรียญกษาปณ์ Australia ด้านหลัง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)  
กำลังขยาย x 15 เท่า สเกล 1 mm (มิลลิเมตร) 
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพเป็นภาพเหรียญกษาปณ์ Australia ด้านหน้า
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)  
กำลังขยาย x 500 เท่า สเกล 50 um (ไมโครเมตร) 
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพเป็นภาพเหรียญกษาปณ์ Australia ด้านหลัง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)  
กำลังขยาย x 2000 เท่า สเกล 10 um (ไมโครเมตร) 
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

วิเคราะห์เหรียญด้านหน้า  Coin Analysis ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX 

ตามภาพบนที่กำลังขยาย 500 เท่าเราจะวิเคราะห์ด้านเชิงคุณภาพ ทั้งภาพที่แสดง
ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะได้ผลเป็นกราฟเชิงคุณภาพเหมือนภาพล่าง


บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

กราฟเชิงคุณภาพเหรียญ  ตามตำแน่งภาพวิเคราะห์ กำลังขยาย x500

เราจะได้ผลว่ามีองค์ประกอบธาตุหรือสาร C คาร์บอน,O ออกซิเจน,Si ซิลิกอน,Mo 
โมลิดินั่ม,Ni นิเกิล และ Cu ทองแดง อยู่บนพื้นที่ที่เราวิเคราะห์ ตามภาพด้านล่าง 

วิเคราะห์เหรียญด้านหลัง  Coin Analysis ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX 

ตามภาพบนที่กำลังขยาย 2000 เท่าเราจะวิเคราะห์ด้านเชิงคุณภาพ ทั้งภาพที่แสดง
ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะได้ผลเป็นกราฟเชิงคุณภาพเหมือนภาพล่าง


บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

กราฟเชิงคุณภาพเหรียญ  ตามตำแน่งภาพวิเคราะห์ กำลังขยาย x2000

เราจะได้ผลว่ามีองค์ประกอบธาตุหรือสาร C คาร์บอน,O ออกซิเจน,Si ซิลิกอน,
Ni นิเกิล ,Mn แมงกาเนีส, Cu ทองแดง และ Fe เหล็ก อยู่บนพื้นที่ที่เราวิเคราะห์ 
ตามภาพด้านล่าง 

วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ Qualitative Analysis 
การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เราจะได้ค่าเป็น Element % หรือเรียกอีกชื่อ Wt% (weight %)
หรืออีกชื่อ Con% (concentration%) และ Atomic% 


บทความที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ

Quantitative method: ZAF ( 4 iterations).

 Analysed all elements and normalised results.

ตามผลด้านล่างเราจะวิเคราะห์ธาตุทั้งหมด ที่ตรวจพบเจอใน
เหรียญ Australia ด้านหน้า x500 ซึ่งเราจะได้องค์ประกอบธาตุหรือสาร 
C คาร์บอน 4.39 % ,O ออกซิเจน 2.44 % ,Si ซิลิกอน 0.13 % ,Ni นิเกิล 24.01%
Mo โมลิดินั่ม 0.31% และ Cu ทองแดง 68.72 %

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ

Quantitative method: ZAF ( 4 iterations).

 Analysed all elements and normalised results.

ตามผลด้านล่างเราจะวิเคราะห์ธาตุทั้งหมด ที่ตรวจพบเจอใน
เหรียญ Australia ด้านหลัง x2000 ซึ่งเราจะได้องค์ประกอบธาตุหรือสาร 
C คาร์บอน 2.60 % ,O ออกซิเจน 1.28 % ,Mn แมงกานีส  0.22 % ,Ni นิเกิล 25.61%
Fe เหล็ก 0.13 % และ Cu ทองแดง 70.14 %

เหรียญที่เราใช้จะมีส่วนประกอบเป็นโลหะผสมต่าง ๆกัน เช่น เหล็กกล้า 94.35% ผสมกับ
ทองแดง 5.65%  หรือ ส่วนผสมทองแดง 89%อะลูมิเนียม 5%สังกะสี 5% ดีบุก 1%  หรือ
ทองแดง 75% ผสมกับนิกเกิล 25% ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบของเหรียญแต่ละราคา เหรียญที่มี
ส่วนผสมระหว่างทองแดง 75 % กับ นิกเกิล 25 %  เรียกว่า คิวโปรนิกเกิล (Cupronickel) 

การวิเคราะห์เชิงปริมาณเหรียญจริง จะพบว่ามีส่วนผสมใกล้เคียง คิวโปรนิกเกิล (Cupronickel)
แต่เราจะพบว่ามีส่วนผสมอื่นแปลกปลอมเข้ามา เราจึงตัดธาตุอื่นๆที่ไม่ไช่ ทองแดงกับ นิกเกิล
ออก เราจะได้เชิงปริมาณตามภาพล่าง 

ซึ่งจะได้เชิงปริมาณใกล้เคียง คิวโปรนิกเกิล (Cupronickel) ตามภาพล่าง

การวิเคราะห์ดูการกระจายตัว แบบ Speed Mapping (เชิงคุณภาพ) 

จากผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เนื่องจากเราเลือกใช้วิเคราะห์ทั้งภาพ(Area)  
ไม่ได้เลือกใช้วิธียิงเป็นจุด (Point) ทำให้ผลที่ได้คือผลที่ได้ทั้งหมดที่เราเห็นตามภาพ ถ้า  
เราจะใช้วิธีการยิงเป็นจุด เพือจะให้ทราบตำแหน่งธาตุก็ได้ แต่อาจจะต้องยิงหลายจุด จะมีวิธี
การหาตำแหน่งของธาตุแบบรวดเร็ว ดูการกระจายตัว เช็คเพสที่เรียกว่า Mapping ตามผล  
ด้านล่างเราก็จะทราบ ตำแหน่งแต่ละธาตุว่าอยู่ส่วนใหนของตัวอย่างได้

การอ่านผล ยกตัวอย่างตรงตำแหน่งภาพช่อง O ออกซิเจน เราพบว่าตรงตำแหน่งสีสว่างมากตาม 
ภาพเป็นสีเหลืองจะมี O ออกซิเจน มากรองลงมาสีเขียว สีฟ้า น้ำเงินมีปริมาณน้อยมาก ส่วนสีดำ
ไม่มี O ออกซิเจน 

บทความที่เกี่ยวข้องและการดูผล : การทำ Mapping แบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ คลิกค่ะ
*** ภาพแสดงในเว็บขนาด 580x355 ส่วนภาพจริงจะมีขนาด 1024x520

 การดูการกระจายตัวของธาตุหลักนิเกิล เหล็ก และทองแดง พบว่ามีความสม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน
นอกนั้นจะกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ

*********************************************************************

สุดท้ายขอขอบคุณ Do SEM ที่เปิดพื้นที่ให้ มากๆครับ ติดตามบทความต่อๆไปนะครับ

น้อมรับทุกคำชี้แนะครับ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม) manatsanan2007@hotmail.com
หรือมาพบปะพูดคุยได้ตามประสาได้ที่ BigC จ.สุรินทร์ (แอร์ฟรี 555 จริงๆนะครับ) หรือมา  
ติดตามเป็นเพื่อนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ฝากคำถามได้ ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ 
//www.facebook.com/JeolOxfordInstruments?ref=hl

*********************************************************************  
เหรียญกษาปณ์,เงินเหรียญ,Coin,Australia Coin,วิเคราะห์เหรียญ,Coin analysis

สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์

Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด




Create Date : 16 ตุลาคม 2557
Last Update : 16 ตุลาคม 2557 16:49:56 น.
Counter : 1194 Pageviews.

1 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DoSEM
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



รับงานบริการ SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป และเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต คลองสาม ปทุมธานี
เว็บไชต์ :http://www.dosem24hr.com
site stat