ความจริง-ความดี-ความงาม.........พยายาม-ส่งมอบ-ให้ปวงชน <<<<<<<<<<<<<<<<<
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
4 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
หลิ่งหนานฮว่าพ่าย (嶺南畫派) : สกุลช่างศิลปะจีนยุค "เปลี่ยนแปลง"









"Change"..........

คำที่เป็นพระเอกมานานพอควร
พอๆกับคำว่า Globalization (โลกาภิวัตร)
ในวงการไหนๆก็เหมือนกัน เขาว่ากันว่าอะไรๆมันไปรวดเร็ว
คนอยู่กับที่คือคนที่ถอยหลัง ตามไม่ทันเพื่อน
น้ำที่มันขังนิ่ง...ไม่ช้าก็จะเน่า...
ศิลปะจีน โดยเฉพาะด้านจิตรกรรม ทำกันมาตามประเพณี
ย่ำอยู่กับที่หลายร้อยปีดีดัก.........คนวาดก็เบื่อ คนดูก็เซ็ง

ลัทธิขงจื่อทำให้เกิดศรัทธาแห่งการเคารพบรรพชน
เคารพสิ่งที่บรรพชนสร้าง...........จึงหาคนกล้า "นอกครู" ยาก

แต่กรุงจีนรึจะสิ้นคนกล้า............ แหะ แหะ...ตามผมมาคร้าบ





............................................................



ลุ ค.ศ.1757 รัฐบาลราชวงศ์ชิงเปิดการค้าทางทะเลกับนานาชาติ
(ตรงกับสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระเจ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต)
ฝรั่งมังค่าเริ่มหาตลาดระบายสินค้ามาแถบเอเซียกันยกใหญ่
เมืองกว่างโจว ในมณฑลกวางตุ้งเป็นเพียงแห่งเดียวที่กฎหมายจีน
อนุญาตให้เป็นเมืองท่าขนถ่ายสินค้าสู่จีน นาน 86 ปี...ตราบถึงปี ค.ศ.1843
(ตรงกับไทยสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)


ด้านอุษาคเณย์ของจีนนี่แหละ รวมถึงมณฑลกวางตุ้งยุคใหม่
เรียกขานกันแบบลำลองว่า "หลิ่งหนาน" (嶺南) แปลตามศัพท์ว่า "เทือกเขาทางใต้"
บรรดาปราชญ์ทางการเมืองที่สำคัญหลายคนได้อุบัติขึ้นในแถบนี้
เช่น คังโหย่วเหวย (康有為 1858-1927) และเหลียงฉี่เชา (梁啟超 1873-1929)
ซึ่งเป็นพวกหัวก้าวหน้าต้องการสร้างระบอบรัฐธรรมนูญแทนระบอบจักรพรรดิ์ดั้งเดิม
และ ดร. ซุนยัตเซ็น (孫中山,孫逸仙 1866-1925) ผู้สถาปนาสาธารณรัฐจีนในปี ค.ศ.1911


วิวัฒนาการของจิตรกรรมจีนแบบชาวกวางตุ้งเริ่มมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19
แต่ยังไม่แพร่หลาย
มาเป็นที่ยอมรับกันในระดับชาติเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 นี่เอง




..........................................




สองพี่น้องสกุลเกา....ผู้นำของ "สกุลช่างศิลปะหลิ่งหนาน"



เกาเจี้ยนฝู้ (高劍父 1879-1951) ได้เข้าสังกัดสมาคมถงเหมิงฮุ่ย (同盟會) ซึ่งก่อตั้งโดย
ซุนยัตเซ็นเมื่อปี ค.ศ.1905 เป้าหมายคือปฏิวัติล้มล้างระบอบจักรพรรดิ์


หลังปี ค.ศ.1911 เกาเจี้ยนฝู้ได้อุทิศตนเพื่อการ "เปลี่ยนแปลง"
โดยผ่านการวาดภาพ การเผยแพร่ผลงาน-เขียนบทความ การสอนลูกศิษย์
เขาสนับสนุนส่งเสริมพัฒนา "ภาพเขียนแบบจีนใหม่" ซึ่งเขากับสานุศิษย์
และน้องชายคือ



เกาฉีฟง (高奇峰 1889-1933)
ได้พยายามรวมเอาสไตล์การวาดแบบดั้งเดิมให้
เข้ากับองค์ประกอบแบบเรียลิสติคของตะวันตก ผสมผสานกับแบบญี่ปุ่นยุคใหม่(เมจิ)
จึงได้ศิลปะแนวใหม่ที่เข้าถึงประชาชนจีนในระบอบสาธารณรัฐจีนใหม่
ได้มากกว่าการวาดภาพแบบปัญญาชนยุคเก่าในอดีต

ทั้งคู่ได้พัฒนาการใช้สีและฝีแปรงอันรุนแรงที่ผลลัพธ์ออกมาเป็นเอกลักษณ์
ส่งอิทธิพลมากมายในหมู่จิตรกรทางภาคใต้


ยังมีจิตรกรอีกท่านหนึ่งที่จัดว่าเป็นผู้ร่วมบุกเบิกคือ


เฉินซู่เหริน (陳樹人 1884-1948)


ทั้ง 3 ท่านได้รับเกียรติเรียกว่า สามจิตรกรหลิ่งหนานผู้ยิ่งใหญ่
("สองเกา หนึ่งเฉิน") 三大家 ("二高一陈")
ทั้งสามท่านมีครูร่วมกัน ครูทั้งสองพี่น้องแห่งสกุล "จวี" นับเป็นผู้จุดประกาย
ของสกุลช่างศิลปะหลิ่งหนานทีเดียว ขอเอ่ยนามเพื่อให้เกียรติแก่
จวีเฉา (居巢 1811-1889) กับ



จวีเหลียน (居廉 1828-1904)


จิตรกรอีกท่านหนึ่งที่โดดเด่นของสำนักนี้คือ



เจ้าเส้าอ๋าง (趙少昂 1905-1998) ผู้ร่วมสมัยและฝีมือฉมังนัก



............................................................




มีคำกล่าวจาก หวงพินหง (黃賓虹 1865-1955)
จิตรกรร่วมสมัยท่านหนึ่งว่า


" สมัยถัง...เป็นดังส่าหมัก(เหล้า)
สมัยซ่ง...เป็นดังสุรา
สมัยหยวน...ลุมาตกต่ำ
เป็นดังสุราผสมเจือด้วยน้ำ
ยิ่งสมัยนี้ล่วงมา...
น้ำยิ่งผสมมากขึ้น
ในสมัยปัจจุบันนี้...รูปเขียน
มีแต่น้ำ แต่ไร้สุรา
ผู้เสพแล้วไม่อาจเมามาย
ดูไปแล้วช่างดูดาดไร้รสชาติยิ่งนัก "



จิตรกรผู้นำในสกุลช่างศิลปะหลิ่งหนาน เสนอให้ก้าวกระโดดเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
โดยขอเอา "ธรรมชาติเป็นครู"....มุ่งพินิจพิจารณาวาดแบบ "เขียนจากของจริง"

คำสอนมีว่า


"折衷中外 ...."เจ๋อจงจงเว่ย์
融合古今" .... หรงเหอกู่จิน"

("พินิจพิเคราะห์ใคร่ครวญถึงจีนและต่างชาติ
ผสมผสานเอาอดีตให้เข้ากับปัจจุบัน")


คตินิยมของสกุลช่างศิลปะหลิ่งหนานมีความคล้ายคลึงกับทาง
ลัทธิ "อิมเพรสชั่นนิสม์" คือ
จับเอาวิญญาณของธรรมชาติมาทั้งรูปทรงและสีสัน
สะท้อนเอามาจากของจริง คือเคารพในนฤมิตกรรมของธรรมชาติ
สิ่งที่เห็นกับสิ่งที่วาดลงไปไม่มีความแตกต่างถึงขั้นขัดแย้งกัน
รสชาติที่ได้รับถีงจะไม่เหมือนธรรมชาติ
แต่ก็มีสิ่งสะท้อนจากวิญญาณแท้จริงของธรรมชาติ

แบบอย่างที่มาคือจากญี่ปุ่นและจากทางฝรั่งตะวันตกผสมผสานกัน
ในสำนักอิมเพรสชั่นนิสม์ ก็ได้รับอิทธิพลการลงสีจากภาพพิมพ์ไม้ของญี่ปุ่น
ส่วนญี่ปุ่นเองก็ได้รับอิทธิพลจากจีนหลายครั้งหลายครา
จึงอาจกล่าวได้ว่า....

สกุลช่างศิลปะหลิ่งหนานเป็นการรับเอาวัฒนธรรมญี่ปุ่นยุคเมจิและตะวันตก
หวนกลับมาสู่จีนอีกครั้งหนึ่ง ดังมีคำกล่าวว่า


"外師造化 ...."เว่ย์ซือเซ่าฮว่า
中得心源" .... จงเต๋อซินหยวน"

(ศึกษาอารยธรรมจากเบื้องนอก-ต่างชาติ
ธำรงแก่นจิตใจดั้งเดิมของภายใน-จีน)





จขบ.ขอสรุปรวบยอดง่ายๆว่า....
แบบอย่างของจีน......เน้นหนักโดดเด่นที่เส้นฝีพู่กัน
เส้นจะไม่ใช้เป็นเส้นร่างรูป แต่จะจุ่มสีแล้วแต้มป้ายปาดไปเลย
วิธีแบบนี้เรียกว่าวาดแบบ "ไม่มีกระดูก" (沒骨)
แบบอย่างตะวันตกและญี่ปุ่นยุคเมจิ...เน้นที่สีสันแสงเงากับเพอสเพ็คทีฟ




..................................................................



จะไม่พูดมากกว่านี้แล้ว ดูชมภาพเลย
คงจะทำให้ทราบซึ้งกว่าที่ผมว่ามาข้างต้นครับ





ชุดแรกของ จวีเฉา (居巢) 3 ภาพ

1


ลั่วหยางฮวา


2


ปลาตระกูล catfish


3


นกกระยางคู่


....................................................


ชุดที่ 2 ของ จวีเหลียน (居廉) 2 ภาพ


4


ใบบัวห่อดอกไม้


5


ดอกโบตั๋นกับแอสเตอร์


....................................


ชุดที่ 3 ของ เจ้าจือเชียน (赵之谦) 2 ภาพ


6


ดอก...(ไม่รู้จักชื่อ)


7


ดอกโบตั๋นกับกุหลาบ


.......................................



ชุดที่ 4 ของ เกาเจี้ยนฝู้ (高劍父) 4 ภาพ


8


เหยี่ยวจ้อง


9


เสือคำรามใต้ดวงจันทร์


10


ฟักทอง


11


บัวขาว



...............................................


ชุดที่ 5 ของ เกาฉีฟง (高奇峰) 6 ภาพ

12


ฝนคราวสันต์ ต้นหลิวริมบึง


13


นกอินทรี


14


วานรชมจันทร์


15


ม้าขาวกับแรกหิมะ


16


ภาพทิวทัศน์


17


พระโพธิธรรม(ตั๊กม้อ) เพ่งกำแพง


................................................



ดูว่าบล๊อกจะยาวเกินไปแล้ว

ขอต่อคราวหน้านะครับ

จะเป็นภาพเขียนของ เฉินซู่เหริน กับ เจ้าเส้าอ๋าง

รับรองสวยสะเด็ดยาดแน่นอน.....




............................................................


ก่อนจบฟังเพลงเพราะๆสักเพลง มีบรรยากาศของจีนที่รับเอา
วัฒนธรรมตะวันตกทางดนตรีและบัลเล่ต์มาแสดง เป็นการปรับ
จิตสำนึกของประชาชนให้เข้ากับระบอบการเมืองการปกครอง
แบบฝรั่ง ปลุกใจและเร้าใจทีเดียวครับ

การแสดงบัลเล่ต์ประกอบเพลง Yellow River Concerto กระบวนที่ 4



ขอบคุณ You Tube ที่ส่งผ่านเพลงและการแสดงดีๆมาให้เราได้ชมกัน


..........................................................









Create Date : 04 กันยายน 2553
Last Update : 6 กันยายน 2553 23:11:38 น. 31 comments
Counter : 5993 Pageviews.

 
สวัสดีครับคุณดิ่ง
ผมนั้นชอบภาพวาดภู่กันจีนนี้จริงเลยครับ
ดูไม่ยุ่งยาก (ในการวาด) ตามควคามคิดผม
แต่ไม่เคยทำได้หรอก....ผมจึงชอบเก็บเอารูปภาพแบบนี้เอาไว้มากมายครับ...จากของคุณดิ่ง...และ วินิจสิริ ครับ...เอาไว้ดู บางทีก็พิมพ์
รวมๆกัน มีความสุขดีครับ....แต่ถ้าจะมาวิเคราะห์ถึงความหมาย
และอารมย์แห่งภาพ...ยังไม่สามารถเลยครับ
.................................................................
คุณดิ่ง สบายดีนะครับ


โดย: panwat วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:0:31:39 น.  

 
แอบอ่านที่ทำงาน
แว้บมาเดาว่าดอกไม่รู้จักชื่อสีขาวเหมือน Dogwood มากค่ะ
ใบก็เหมือนนะคะ แต่ใบ Dogwood ไม่เป็นสีเขียวเข้มอย่างในภาพ
เพราะฉะนั้นมีโอกาสผิดค่ะ

ไ้ว้แว้บมาดูละเอียดอีกทีค่ะ ตอนนี้แอบหนีไปก่อนแล้วววว


โดย: SevenDaffodils IP: 65.160.41.6 วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:4:29:26 น.  

 
ไม่รู้จะพูดอะไรเลยพี่... อึ้งสุดๆ
แต่ละรูปสวยงามมากมาย



อรุณสวัสดิ์นะครับพี่ดิ่ง ^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:7:19:05 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่


บล็อกพี่ผมไม่เคยเสพต่ำกว่าสองครั้งเลยครับ
เดี๋ยวกลับมาอ่านอีกรอบแน่นอนครับ









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:8:07:00 น.  

 
บัวขาวของเกาเจี้ยนฝู้...สวยมากเลยครับ

ส่วนผลงานของเกาฉีฟง ผมชอบวานรชมจันทร์กับภาพท่านตั๊กม้อครับ





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:8:32:17 น.  

 
ตราประทับอันนี้
คนจีนแกะให้ครับ
เค้ามาอออกบู๊ทที่เชียงใหม่
เลยให้ออกแบบและแกะให้
ก็ออกมาสวยถูกใจดีครับพี่



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:9:08:50 น.  

 


โดย: panwat วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:19:15:35 น.  

 
เข้ามาชมอีกรอบ

สวยงามจับใจ



อรุณสวัสดิ์นะครับพี่ดิ่ง ^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 6 กันยายน 2553 เวลา:7:05:23 น.  

 
ท่านพี่ขอรับ

ศิลปะหลิ่งหนานดูจะถูกจริตกับกระผมดีกว่ายุคอื่นนะขอรับ แสดงว่าอุปนิสัยกระผมคงนิยมแนวอิมเพรสชั่นนิสต์ ผสมผสานอารยธรรมหลากแบบมากกว่า

ใช้พู่กันปาดไปเลยโดยไม่ต้องร่างเนี่ย ต้องแม่นจริงๆ นะขอรับ ต้องเข้าใจการผสมสีอย่างทะลุปรุโปร่ง นับว่าครีเอทีฟมากๆ ศิลปินยุคนี้

ท่านพี่ เนื่องจากท่านน้องตาลายกับชื่อภาษาจีนเป็นประจำ อ่านทีไรไม่เคยจำได้ ถ้ามีรูปประกอบคั่นแสดงหน้าตา หรือผลงานบ่งบอกศิลปิน หรือยุคสมัย ก็คงทำให้ท่านน้องมีจังหวะปรับสมองตามได้ทันอยู่บ้าง

หวังว่าคงไม่มาป่วนเกินไปนะขอรับ..คริคริ


โดย: น้องหมี (Bkkbear ) วันที่: 6 กันยายน 2553 เวลา:9:45:14 น.  

 
ขอบคุณครับพี่




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 กันยายน 2553 เวลา:10:55:01 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่

เมื่อวานอ่านบล้อกพี่ไปซะสามรอบครับ 555







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:8:01:48 น.  

 
ความฝันในหอแดง
เคยอ่านแต่เรื่องย่อครับพี่
ฉบับเต็มยังไม่ไ่ด้อ่านเลยครับ


ว่าแล้วก็รบกวนพี่ติงช่วยทำบล้อก
ความฝันในหอแดงเลยครับ 555

ผมคิดว่าคงมีเพื่อนบล้อกที่เคยได้ยินชื่อ
แต่ไม่รู้เรื่องราวโดยละเอียดน่ะครับ


นิยายจีนที่ผมชอบ มีบัณฑิตเที่ยงคืนด้วยครับ
แต่ตอนที่อ่านก็เด็กอยู่มาก
อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจบทพิศวาสในเรื่องซักเท่าไหร่ครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:10:18:23 น.  

 
หวัดดีค่ะคุณพี่ดิ่ง..

ภาพในบล็อกนี้สวยจับจิตทั้งนั้นเลยคุณพี่โดยเฉพาะชุดที่ 2 ของ จวีเหลียน และชุดที่ 3 ของ เจ้าจือเชียน ป้าโซชอบภาพใบบัวห่อดอกไม้ที่สุด ไม่ๆๆ ไม่ใช่เพราะจินตนาการไปถึงใบบัวห่อข้าวหรอกนะคุณพี่ อย่าคิดยังง้านนน ชอบเพราะสีที่ใช้กับความเหมาะเจาะ อ๊ะ..พูดเหมือนเป็นผู้รู้


อ่านบล็อกคุณพี่แล้วดิ่งลงไปถึงประวัติศาสตร์เลยค่ะ ได้ความรู้จริงๆ ขอบพระคุณค่ะ


ปล. คุณพี่ปรับบล็อกตามคำเรียกร้องของพี่หมีนี่นา.. อ๊ะ.. เด็กเส้น ชอบๆค่ะ เพราะเห็นภาพแล้วก็ดูรูปศิลปินไปด้วยจะได้รู้ว่าอ้อ..คนนี้วาดนะ


โดย: ป้าโซ วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:13:21:18 น.  

 
ภาพในบล็อคนี้ก็งามสะเด็ดแล้วล่ะค่า ยิ่งมองก็ยิ่งเพลิน แถมได้ความรู้เรื่องราวของศิลปินแบบเจาะลึกด้วย ขอบคุณมาก ๆ นะคะ

เพิ่งรู้ว่าลักษณะการวาดภาพแบบจีนเรียกว่า "ไม่มีกระดูก" ถึงจะไม่เน้นแสงเงา แต่เราว่าสวยและมีชีวิตชีวาไม่แพ้ศิลปะของตะวันตกเลยนะคะ ชอบหมดทุกภาพเลยค่ะ โดยเฉพาะภาพม้า ขนม้าดูแล้วเหมือนเรืองแสงได้

ปล. ภาพในบล็อคนี่อยู่ในคอลเล็คชั่นของคุณDingtechทุกภาพหรือเปล่าคะ


โดย: haiku วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:18:16:23 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 กันยายน 2553 เวลา:7:55:21 น.  

 
ชอบคำว่าหว๊านหวานของพี่จังครับ 5555+




อรุณสวัสดิ์นะครับพี่ดิ่ง ^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 9 กันยายน 2553 เวลา:6:41:19 น.  

 
กราบขอบพระคุณงามๆ ที่ท่านพี่อุตส่าห์บรรเลงเพลงตามคำขอ

ดูบันเทิงเข้าใจง่ายสำหรับเด็กออทิสซึ่มแบบกระผมขึ้นอีกเยอะเรยขอรับ กะลังนึกว่าศิลปะของแบบไทยแท้แนวอิมเพรสชั่นนิสต์มันมีบ้างไหม?

( ปล. นี่ๆ เจ้าป้า ไม่ต้องแวะมาแอบกัดเรย)


โดย: น้องหมี (Bkkbear ) วันที่: 9 กันยายน 2553 เวลา:15:20:52 น.  

 
แวะมาขอบคุณย้อนหลังกับคำอวยพรวันเกิดในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมานะคะ พอดีเข้าบล็อกเก่า ๆ ของตัวเองไม่บ่อย พอเพิ่งเจอเลยขอคลิกลิงค์เข้ามาขอบคุณน่ะค่ะ

ขออวยพรให้คุณ Dingtech พบเจอแต่ความสุข และประสบผลสำเร็จตามความหวังทุกประการค่ะ


โดย: JC2002 วันที่: 9 กันยายน 2553 เวลา:23:53:35 น.  

 
มีคำถามมาถามเล่นๆๆ เกี่ยวกับต้นไม้ครับ



โดย: Sleeping_prince วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:2:33:09 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:5:32:10 น.  

 

วันนี้ขอตอบเม้นท์เพื่อนๆครับ

........................................................
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""


คุณพันวัตต์...
คุณพระจันทร์ของขวัญ...
=ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมทักทาย
ยินดีที่ชอบรูปเขียนจีน...จะอัพมาให้ชมอีกครับ


คุณแป๋ว ศิษย์น้อง...
=ขอบคุณศิลปินภาพถ่ายร่ายคำที่กรุณามาบอกชื่อดอก Dogwood
คงไม่มีแถวบ้านเรานะครับ


คุณน้องก๋า...
=พาหมิงๆมาเยี่ยมทุกวัน
ที่ขอให้ทำเรื่อง “ความฝันในหอแดง” ใจยังไม่ถึง
เพราะยาวและซับซ้อนมาก ทางจีนเขาศึกษาเหมือนกับเป็นวิชาหนึ่งเลย
ส่วนเรื่องอีโรติคของจีนเอามาเทียบกับสมัยนี้ 555+ ...เดะ เดะ
แต่ถ้าภาพวาดอีโรติคละก็ของจีนพิศดารไม่น้อยหน้าใครเลยครับ...ใจไม่ถึง ไม่กล้าโพสอีกแหละ


คุณน้องป้าโซ...
=ผมก็ชอบข้าว..เอ๊ย ดอกไม้ห่อใบบัวเหมือนกัน
ที่ตลาดร้อยปีแถวสุพรรณเขาอร่อยโด่งดังเชียว


คุณไฮกุ....
=ดีใจที่ชอบครับ ภาพในบล๊อกนี้ผมสะสมไว้จากหลายรูปแบบครับ
เป็นหนังสือ เป็นปฏิทิน และเป็นพวกรีโพรดัคชั่นครับ


คุณน้องหมีบางกอก...
=ศิลปะไทยแนวอิมเพรสชันนิสม์มีมากมายครับ
จิตรกรที่โด่งดังที่ผมชอบคือท่าน อจ.จิตร บัวบุศย์ (ท่านเปลี่ยนชื่อเป็น ประกิต แล้ว)
ซึ่งเป็นอดีต ผอ. ร.ร.เพาะช่าง, เป็นราชบัณฑิต. เป็นศิลปินแห่งชาติ
ท่านเคยไปศึกษาที่ญี่ปุ่น 5 ปี และไปอเมริการะยะหนึ่ง
เพิ่งมีงานฉลองอายุครบ 100 ปีของท่านเมื่อเมษาที่ผ่านมาครับ



โดย: Dingtech วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:9:02:34 น.  

 
ผมเพิ่งไปโหลดอีบุ๊ค
ภาพอีโรติกของศิลปินญี่ปุ่นยุคโบราณครับพี่
เปิดดูคร่าวๆ
สวยมากทีเดียว

ผมว่ามันเป็นศิลปะมากกว่าอนาจารครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:10:28:10 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่













โดย: กะว่าก๋า วันที่: 11 กันยายน 2553 เวลา:7:55:45 น.  

 
อรุณสวัสดิ์นะครับพี่ดิ่ง

วันหยุดไปเที่ยวไหนรึเปล่าครับ


^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 11 กันยายน 2553 เวลา:8:39:21 น.  

 
สวยงามมากๆเลยค่ะ เพิ่งรู้ว่าภาพเขียนจีนมีวิวัฒนาการและการผสมผสาน ผ่านหลายยุคหลายสมัย ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆที่นำมาฝากค่ะ


โดย: sawkitty วันที่: 11 กันยายน 2553 เวลา:16:56:55 น.  

 
สวัสดีครับท่านประสกดิ่ง
........................................
สวัสดี 4 ทุ่มกว่าครับลุงแอ้ด
......................................
[ Please click me tender ]


โดย: panwat วันที่: 11 กันยายน 2553 เวลา:22:57:57 น.  

 
แวะไปบ้านลุงแอ้ด...เลยติดพันมานะครับ...อืม


โดย: panwat วันที่: 11 กันยายน 2553 เวลา:23:00:20 น.  

 
แวะมาชะเง้อดูว่ามีของใหม่มาให้อ่านรึยางงง..

สวัสดีวันอาทิตย์ค่ะคุณพี่ วันนี้ไปเที่ยวไหนป่าวคะ?


ปล. พี่หมีเค้าว่าเจ้าป้าที่ไหนแอบกัดเค้าคะคุณพี่? น้องป้าละง้ง งง.. แง่มๆ


โดย: ป้าโซ วันที่: 12 กันยายน 2553 เวลา:9:07:57 น.  

 
55555555555555555+

ภูมิปัญญา คำนี้โดนใจอย่างแรงเลยครับพี่ อิอิ



สวัสดียามเช้าครับพี่ดิ่ง ^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 12 กันยายน 2553 เวลา:10:14:27 น.  

 
ขอบพระคุณครูดิ่งมากที่มอบความรู้ด้านศิลปะให้กับกลุ่มผู้คนที่สนใจศิลปะจีนครับรวมถึงผมดว้ยครับ แต่ผมมี่คำถามรบกวนครับว่า ถ้าเราไปซื้อภาพจึนมาแล้วอยากรู้ว่าคนที่วาดเป็นใคร เราจะมีทางค้นหาข้อมูลได้ที่ไหนครับ ผมเพิ่งได้ภาพวาดมาให้เขาอ่านให้เขาว่าคนวาดชื่อ หวังหลันเหร่อ ผมจึงอยากทราบว่าเขาเป็นใคร,อยู่ในยุคไหนครับ ขอบคุณมากๆครับครูดิ่ง


โดย: อภิเดช สารชู IP: 223.24.68.140 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2560 เวลา:13:38:56 น.  

 
ขอบพระคุณครูดิ่งมากที่มอบความรู้ด้านศิลปะให้กับกลุ่มผู้คนที่สนใจศิลปะจีนครับรวมถึงผมดว้ยครับ แต่ผมมี่คำถามรบกวนครับว่า ถ้าเราไปซื้อภาพจึนมาแล้วอยากรู้ว่าคนที่วาดเป็นใคร เราจะมีทางค้นหาข้อมูลได้ที่ไหนครับ ผมเพิ่งได้ภาพวาดมาให้เขาอ่านให้เขาว่าคนวาดชื่อ หวังหลันเหร่อ ผมจึงอยากทราบว่าเขาเป็นใคร,อยู่ในยุคไหนครับ ขอบคุณมากๆครับครูดิ่ง


โดย: อภิเดช สารชู IP: 223.24.68.140 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2560 เวลา:13:39:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Dingtech
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]









◉ ภุมราท้าโลกกว้าง . . เกินฝัน

หวังวาดสู่สวรรค์ . . . . . เวิกโพ้น

แท้คืนสู่สามัญ . . . . . . มละตื่น

ยังฉงนงวยโงกโง้น . . . .โง่ตื้นลืมตาย ฯ





Dingtech :

ผมเป็นคนธรรมดา ธรรมดา มาจากบ้านนอก
รักศิลปะทุกชนิด ทุกรูปแบบ ทุกสัญชาติ

รักชาติไทย รักประเทศไทย
รักคนไทยทุกคน จงรักภักดี และ
เคารพสักการะพระมหากษัตริย์ไทย

ยินดีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆทุกคนครับ





since 16 December 2009

New Comments
Friends' blogs
[Add Dingtech's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.