Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2553
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
17 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
แผนฉุกเฉินเพื่อรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและภัยพิบัติต่างๆ ในญี่ปุ่น




สาระน่ารู้


 


แผนฉุกเฉินเพื่อรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและภัยพิบัติต่างๆ ในญี่ปุ่น



เนื่องจากปัจจุบันเกิดแผ่นดินไหวและภัยธรรมชาติต่างๆ ขึ้นบ่อยและคาดว่ามีเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขึ้นในเขตคันโตในอนาคตอันใกล้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงขอประชาสัมพันธ์แผนฉุกเฉินที่พึงปฏิบัติกรณีเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและเหตุการณ์ภัยพิบัติรุนแรงอื่นๆ สำหรับชาวไทยที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่น ดังนี้

1. การเตรียมพร้อมเบื้องต้น


 



1.1 หาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่หลบภัยใกล้ที่พักอาศัยของท่าน ที่ทางการญี่ปุ่นกำหนดไว้ในแต่ละเขต

1.2 เตรียมเงินสดเอกสารสำคัญ น้ำดื่ม อาหาร ไฟฉาย วิทยุ และของใช้ส่วนตัวอื่นๆ ที่จำเป็นไว้ในที่ที่สามารถหยิบได้ง่ายในกรณีเกิดภัยพิบัติ

1.3 กำหนดสถานที่นัดรวมตัวกับสมาชิกครอบครัวในกรณีเกิดภัยพิบัติ

1.4 นำวัสดุมายึดเฟอร์นิเจอร์ไม่ให้ล้มหรือหล่นกรณีเกิดแผ่นดินไหว


2. การปฏิบัติตนในกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหว

2.1 กรณีอยู่ในบ้าน หรือบริเวณอาคาร

(1) หาที่ปลอดภัยหลบ เช่น อยู่ใต้โต๊ะ

 


(2) หากแผ่นดินไหวมีความแรงลดลง ควรรีบปิดสวิตช์ก๊าซ และเครื่องใช้ไฟฟ้า

(3) หาทางออกและรีบออกจากบริเวณอาคาร โดยนำสิ่งของจำเป็นที่เตรียมไว้ติดตัวไปด้วย

(4) หลังจากออกจากตัวอาคารให้ตั้งสติ และระวังอันตรายจากวัตถุที่อาจล้มหรือตกลงมา

(5) รีบเดินไปยังสถานที่หลบภัย

(6) ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่ทำได้และรับฟังข้อมูลล่าสุดทางวิทยุ และสื่ออื่นๆ


2.2 กรณีอยู่ในลิฟท์

(1) กดปุ่มเปิดลิฟท์ไว้ทุกชั้น

(2) พยายามหาทางออกจากลิฟท์

(3) หากไฟฟ้าดับ และไม่สามารถเปิดประตูได้ กดปุ่มฉุกเฉินไว้อย่างต่อเนื่องและรอให้มีคนติดต่อมา


2.3 กรณีอยู่ภายนอกอาคาร

(1) ระวังวัตถุต่างๆ เช่น ป้าย หรือสิ่งก่อสร้างที่อาจหล่นลงมาได้

(2) พยายามไปอยู่ในที่โล่ง หรือที่ที่คิดว่าปลอดภัยที่สุดในบริเวณใกล้เคียง

2.4 ขณะกำลังขับรถ

(1) จับพวงมาลัยรถให้แน่น และลดความเร็วลงอย่างช้าๆ จนรถหยุด
(2) ไม่จอดรถกีดขวางทางถนน เพื่อให้รถพยาบาลหรือรถดับเพลิงผ่านทางได้เมื่อจอดรถแล้วให้เดินไปยังที่หลบภัยโดยไม่ต้องล็อครถและทิ้งกุญแจไว้ในรถ


2.5 ขณะอยู่ในรถไฟ

(1) ควรจับราว หรือห่วงจับในรถไฟให้แน่น

(2) หากรถไฟหยุดกลางทาง อย่าออกจากรถไฟจนกว่าจะมีประกาศจากเจ้าหน้าที่


(3)ปฏิบัติตามคำแนะนำจากคนขับรถไฟ หรือเจ้าหน้าที่


3. บริการข้อความสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่เมื่อเกิดภัยพิบัติ

เนื่องจากเวลาเกิดภัยพิบัติร้ายแรง จะมีปัญหาเรื่องช่องสัญญาณโทรศัพท์ทำให้ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ตามปกติได้ แต่ท่านจะสามารถฝากข้อความถึงบุคคลอื่น หรือตรวจสอบข้อความจากบุคคลในครอบครัวได้ผ่านระบบบริการฝากข้อความ ซึ่งบริษัทโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกบริษัทต่างมีบริการนี้ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริษัทโทรศัพท์มือถือที่ท่าน

วิธีฝากข้อความ

1.กดเลือกหัวข้อ “Disaster Message Board” / “災害用伝言板” (บริการข้อความเมื่อเกิดภัยพิบัติ)

2.ลงทะเบียนโดย กด “Register” / “登録” (บันทึกข้อความ) กดเลือกข้อความที่ท่านต้องการ และ/หรือพิมพ์ข้อความเพิ่มเติมภายใน 100 ตัวอักษร

3.กดปุ่ม “Register” / “登録” (บันทึกข้อความ)ใส่หมายเลขโทรศัพท์ หรืออีเมล์บุคคลที่ท่านต้องการแจ้งให้ทราบ และ

4.กดเลือก “Send” / “送信”(ส่งข้อความ)

วิธีเช็คข้อความ

1.กดเลือกหัวข้อ “Disaster Message Board” / “災害用伝言板” (บริการข้อความเมื่อเกิดภัยพิบัติ)
2.กดตรวจสอบข้อความที่ปุ่ม “Confirm” / “確認”
3.ใส่หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบุคคลที่ท่านต้องการยืนยันความปลอดภัย (แบ่งตามบริษัทโทรศัพท์ที่ใช้) กดเลือกอ่านข้อความ
4.ในกรณีที่มีข้อความฝากถึงท่านโดยตรง ท่านจะได้รับข้อความแจ้งจากบริษัทโทรศัพท์

อนึ่ง ผู้ที่มิได้อาศัยในญี่ปุ่น หรือใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของญี่ปุ่น สามารถตรวจสอบข้อความที่มีผู้ฝากไว้ได้ผ่านเว็บไซต์ของบริษัทโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละบริษัท

ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามข่าวสารข้อมูลต่างๆ และสถานการณ์ความคืบหน้าล่าสุดผ่านทางเว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูตฯ ที่ ข้อมูลจาก www.thaiembassy.jp


สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
25 ตุลาคม 2009

__________________________________________________


กระดานถาม-ตอบ

ถาม ถูกสามีทำร้าย ถือว่าทำผิดกฎหมายหรือไม่ แจ้งตำรวจได้หรือไม่
ตอบ การทำร้ายร่างกายถือว่ามีความผิดอาญา ไม่ว่าคนที่ทำร้ายจะเป็นใคร สามารถแจ้งความได้ การแจ้งความกับตำรวจควรไปแจ้งตำรวจในขณะมีบาดแผลหรือถ่ายรูปบาดแผลหรือร่องรอยการถูกทำร้ายร่างกายไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการเอาผิดกับคนกระทำ และควรจดบันทึกว่าถูกทำร้าย อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร หากมีใบรับรองแพทย์ด้วยก็จะเป็นหลักฐานในการเอาความผิดได้ และสามารถปรึกษากับประชาสงเคราะห์ (ฟุคุชิ) ที่เขต/อำเภอที่ได้ลงทะเบียนคนต่างชาติไว้ หรือติดต่อหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือชาวต่างชาติ หรือติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ
<<<<<<<<<<<<

ถาม สื่อสารกับเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นไม่เข้าใจ มีเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานอาสาสมัครที่ให้ความช่วยเหลือหรือไม่
ตอบ มีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือชาวต่างชาติในเขต/อำเภอต่างๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีล่ามอาสาสมัครที่พูดภาษาไทยได้ มีทั้งอาสาสมัครคนไทยและอาสาสมัครชาวต่างชาติที่คอยให้ความช่วยเหลือตามหน่วยงานอาสาสมัครทีได้แนะนำไปในข้างต้น เช่น เด็กไทยกรุ๊ป TNJตะวัน แชร์ ฯลฯ

<<<<<<<<<<<<

ถาม ตนเองไม่มีวีซ่า ไม่ได้จดทะเบียนสมรส บุตรยังไม่ได้สัญชาติญี่ปุ่น สามารถอยู่ในญี่ปุ่นต่อไปได้หรือไม่
ตอบ หากบิดาของบุตรเป็นชาวญี่ปุ่น และยอมรับว่าเป็นบุตรก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งว่าบุตรเป็นชาวญี่ปุ่น จากนั้น ก็ยื่นคำร้องขอวีซ่าเพื่อเลี้ยงดูบุตรในญี่ปุ่นได้

<<<<<<<<<<<<

ถาม สามีบอกว่าถ้าหย่าแล้ว ตนจะไม่มีสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร และต้องกลับประเทศไทย จริงหรือไม่
ตอบ ไม่จริง หญิงชาวต่างชาติมักเข้าใจผิดว่าถ้าหย่ากับสามีแล้ว จะต้องกลับประเทศตนเองและไม่มีสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร มีหญิงชาวต่างชาติจำนวนมากที่ฟ้องหย่าจากสามีชาวญี่ปุ่นและชนะคดี โดยได้รับสิทธิในการเลี้ยงดูบุตรต่อไป อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนในการดำเนินการฟ้องหย่าจนเสร็จสิ้นคดีมักจะใช้เวลานาน จึงต้องมีความอดทน

<<<<<<<<<<<<

ถาม หากเกิดกรณีฉุกเฉิน เช่น ถูกสามีทำร้ายในเวลากลางคืน ควรจะติดต่อที่ใด
ตอบ โทรแจ้งที่หมายเลขโทรศัพท์เบอร์ 110

<<<<<<<<<<<<

ทุกปัญหามีทางแก้ไขสามารถสอบถามหรือปรึกษาได้ทุกหน่วยงานของกลุ่มอาสาสมัครช่วยเหลือคนไทยได้ทุกเขตและทุกหน่วยงาน
ข้อมูลจาก www.thaiembassy.jp



ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ครอบครัวเด็กไทยกรุ๊ป

















Create Date : 17 พฤษภาคม 2553
Last Update : 17 พฤษภาคม 2553 11:31:36 น. 0 comments
Counter : 4950 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Dekthaigroup
Location :
Utsunomiya, Tochigi. Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add Dekthaigroup's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.