<<
กุมภาพันธ์ 2559
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
10 กุมภาพันธ์ 2559

Dcleanfood.com : ทำความรู้จักกับกระเทียม สุดยอดสมุนไพรไทย

วันนี้เรายังอยู่ในเรื่องของพืชผักและสมุนไพรกันอยู่นะครับ โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุนชนิดหนึ่งซึ่งอยู่คู่กับเมนูอาหารไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งความมีกลิ่นฉุนของสมุนไพรชนิดนี้ทำให้มีผู้นำไปแต่งเรื่องราวว่ากระเทียมสามารถปราบผีดิบได้ ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า แต่สิ่งที่จริงแท้แน่นอนโดยไม่ต้องพิสูจน์คือกระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณและคุณค่าทางอาหารมากมายและการรับประทานกระเทียมสามารถรับประทานได้แบบสด ๆ ตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) หรือนำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับปรุงอาหารประเภทต่าง ๆ ก็ได้ และวันนี้เราจะมาพูดถึงประวัติและความเป็นมาของกระเทียมกันครับ


กระเทียม (garlic)

มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Allium sativum Linn. เป็นพืชล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน อยู่ใน วงศ์ Alliaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับ หอมหัวใหญ่ หอมแดง ส่วนที่ใช้รับประทานคือ ลำต้น ดอก และหัว หัวของกระเทียมเป็นทั้งเครื่องเทศ (spice) และสมุนไพร (herb) ที่มีสารประกอบที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก ทำให้กระเทียมมีกลิ่นรสเฉพาะตัว ใช้ปรุงอาหาร (cooking) หลายชนิด ทั้ง ต้ม ผัด น้ำพริกแกง ทอด และยังใช้เป็นวัตถุดิบนำมาแปรรูป (food processing) เพื่อการถนอมอาหารและเพิ่มมูลค่า เป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด กระเทียมมีกรดแอมิโน อาร์จินีน (arginine) oligosaccharides, flavonoid, and selenium ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพกระเทียมจำหน่ายในรูปหัวกระเทียมแห้ง ประกอบด้วยกลีบเรียงซ้อนกันประมาณ 4-15 กลีบ บางพันธุ์จะมีเพียงกลีบเดียว เรียกว่า "กระเทียมโทน" แต่ละกลีบมีกาบเป็นเยื่อบางๆสีขาวอมชมพูหุ้มอยู่โดยรอบ กลิ่นหอมฉุน รสชาติเผ็ดร้อน

กระเทียมมีหัวอยู่ใต้ดินแบบ Tunic bulb โดยหัวของกระเทียมมีลักษณะกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 ซม. มีแผ่นเยื่อสีขาวหรือสีม่วงอมชมพูหุ้มอยู่ 3-4 ชั้น ซึ่งลอกออกได้ แต่ละหัวมี 6-10 กลีบ กลีบเกิดจากตาซอกใบของใบอ่อน ลำต้นลดรูปลงไปมาก ใบเดี่ยว (Simple leaf) ขึ้นมาจากดิน เรียงซ้อนสลับ แบนเป็นแถบแคบ กว้าง 0.5-2.5 ซม. ยาว 30-60 ซม. ปลายแหลมแบบ Acute ขอบเรียบและพับทบเป็นสันตลอดความยาวของใบ โคนแผ่เป็นแผ่นและเชื่อมติดกันเป็นวงหุ้มรอบใบที่อ่อนกว่าและก้านช่อดอกทำให้เกิดเป็นลำต้นเทียม ปลายใบสีเขียวและสีจะค่อยๆ จางลงจนกระทั่งถึงโคนใบ ส่วนที่หุ้มหัวอยู่มีสีขาวหรือขาวอมเขียว ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม (Umbel) ประกอบด้วยตะเกียงรูปไข่เล็กๆ จำนวนมากอยู่ปะปนกับดอกขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนน้อย มีใบประดับใหญ่ 1 ใบ ยาว 7.5-10 ซม. ลักษณะบาง ใส แห้ง เป็นจะงอยแหลมหุ้มช่อดอกขณะที่ยังตูมอยู่ แต่เมื่อช่อดอกบานใบประดับจะเปิดอ้าออกและห้อยลงรองรับช่อดอกไว้ ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด เรียบ รูปทรงกระบอกตัน ยาว 40-60 ซม. ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบรวม 6 กลีบ แยกจากกันหรือติดกันที่โคน รูปใบหอกปลายแหลม ยาวประมาณ 4 มม. สีขาวหรือขาวอมชมพู เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดที่โคนกลีบรวม อับเรณูและก้านเกสรเพศเมียยื่นขึ้นมาสูงกว่าส่วนอื่นๆ ของดอก รังไข่ 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1-2 เม็ด ผลเล็กเป็นกระเปาะสั้นๆ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม มี 3 พู เมล็ดเล็ก สีดำ

วันนี้เราทำความรู้จักกับกระเทียมกันไปบ้างแล้ว ซึ่งท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะไม่ชอบรับประทานกระเทียม เพราะความที่กระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุน แต่ในบทความวันพรุ่งนี้ที่จะนำเสนอในเรื่องของสรรพคุณและประโยชน์ของกระเทียม ท่านผู้อ่านก็จะทราบว่าทำไมบางท่านถึงนิยมรับประทานกระเทียมสด ๆ ซึ่งเป็นการรับประทานตามหลักกการของอาหารคลีน (Clean Food) และอาจจะเปลี่ยนใจหันมาลองรับประทานกระเทียมกันก็เป็นได้ครับ




Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2559 9:43:46 น. 0 comments
Counter : 1145 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2712490
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 2712490's blog to your web]