ประสบการณ์ตามหาจิต
 
มกราคม 2559
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
29 มกราคม 2559

โซเดี่ยมฟูลออไรด์ สารพิษทำลายศักยภาพของจิตและสมองมนุษย์ ....



มนุษย์ถูกโลกหลอกมานานหลายร้อยปี เราถูกสอนให้เชื่อว่า สารฟูลออไรด์ สามารถป้องกันฟันผุและช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่แปลกสำหรับคนไทยอีกหลายคนที่ไม่เคยรู้ว่า 


ผลจากการศึกษาวิจัยในสถาบัน fluoridation มีข้อมูลแสดงให้เห็นว่าสารพิษโซเดี่ยมฟลูออไรด์ มีผลต่อการลดระดับไอคิว, สมาธิและทำให้พลังจิตของมนุษย์ลดต่ำลง เมื่อสะสมอยู่ในร่างกายจำนวนมากจะทำลายกระดูก และทำลายต่อมสมองก่อให้เกิดโรคต่อมไร้ท่ออักเสบ มะเร็ง และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอี่นอีกมากมาย 


รวมถึงข้อมูลจากกลุ่มผู้ฝึกพลังจิต และการเปิดจิต ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า สารโซเดียมฟูลออไรด์ มีผลต่อต่อมไพเนียล (pineal gland) หรือ ตาที่สามและพลังจักระโดยส่งผลกระทบ ทำลายต่อมประสาทสัมผัสส่วนกลาง มีผลให้ต่อมไพเนียลฝ่อลีบเล็กลง 

ลดความสามารถในการเข้าถึงสมาธิในการฝึกอภิญญา และลดศักยภาพในการมองเห็นของตาที่สาม สัมผัสที่หกของมนุษย์ลดลง จิตตก ความคิด และความจำเชื่องช้า พรสวรรค์ด้านความคิดลดลง 


และข้อมูลที่กล่าวอ้างถึงค่ายกักกันทหารนาซี และผู้นำ ฮิตเลอร์ ในประเทศเยอรมัน สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน Gulags และไซบีเรีย ได้มีการผสมสาร "โซเดี่ยมฟูลออไรด์ " ในนำ้ดื่มและในท่อน้ำใช้เพื่อให้นักโทษดื่มใช้ ในค่ายกักกัน ซึ่งการดื่มกินสารโซเดี่ยมฟลูออไรด์ เป็นกลยุทธ์ให้นักโทษมีอาการ เชื่องซึม, ไม่มีสมาธิ, ประสาททำงานช้าลง เชื่อฟังคำสั่งและง่ายต่อการควบคุม สารพิษโซเดี่ยมฟูลออไรด์จะถูกดูดซึมผ่านผิวหนังเมื่อใช้อาบน้ำ มีอยู่ส่วนผสมอยู่ในยาสีฟัน fluoridated ดูดซึมผ่านเนื้อเยื่อทางช่องปากของเมื่อแปรงฟัน โดยไม่จำเป็นต้องที่จะกลืนมัน จากผลสำรวจว่ามีการเติม สารโซเดียมฟลูออไรด์ อยู่ทั่วไปในน้ำประปา,เครื่องดี่ม, นม, อาหารและยารักษาโรค  เพียง 50% เท่านั้น จากสารพิษที่เรารับเข้าสู่ร่างกายจะถูกร่างกายขับถ่ายออกโดยธรรมชาติ จึงยังมีสารพิษที่หลงเหลือสะสมอยู่ในอวัยวะต่างๆและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพมากมาย 




สารฟลูออไรด์ มีอยู่สองประเภทคือ 



1. แคลเซียมฟลูออไรด์   ( Calcium Fluoride ) สารจากธรรมชาติเป็นธาตุที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย และมีมากที่สุดในกระดูกและฟัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของฟัน เราสามารถพบฟลูออไรด์ได้ตามธรรมชาติ เช่น ในหิน ซึ่งส่วนมากเป็นฟลูออไรด์ในรูปของแคลเซียม นอกจากนั้นแล้วในชีวิตประจำวันเราสามารถได้รับแคลเซี่ยมฟลูออไรด์จากน้ำดื่ม อากาศที่เราหายใจ และอาหารที่มีกะดูก เมื่อบริโภค ฟลูออไรด์ ร่างกายจะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสโลหิต แล้วกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เลือด หัวใจ ของเหลวที่บริเวณไขสันหลัง กระดูก และฟัน เป็นต้น


2. ฟลูออรีน ( Fluoride )เป็นส่วนหนึ่งของสารสังเคราะห์ ที่มีชื่อว่าโซเดียมฟลูออไรด์ ( ที่ใช้เติมลงใน น้ำดื่ม ท่อน้ำประปาและยาสีฟัน) และแคลเซียมฟลูออไรด์ จากธรรมชาติ ลักษณะเป็นแก๊สสีเหลืองอ่อน หนักกว่าอากาศ มีกลิ่นฉุน ไม่ติดไฟ ยกเว้นเมื่อเกิดปฏิกิริยากับสารชนิดต่างๆทำให้เกิดประกายไฟและระเบิดได้ มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง และทำปฏิกิริยากับสารชนิดต่างๆ ได้ง่ายเนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นประจุลบ (Electronegative)



การใช้ประโยชน์,ความเสี่ยงในการสัมผัส สารฟลูออรีน


ฟลูออรีน เป็นสารที่มีความไวต่อการเกิดปฏิกิริยาค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสารประกอบ ซึ่งในธรรมชาติจะพบได้มากในแร่ Fluorite, Fluorapatite และ Cryolite ในทางอุตสาหกรรมจะมีการสังเคราะห์ฟลูออรีนขึ้นมาจากสารตั้งต้น Potssium bifluoride ใน Hydrogen fluoride ฟลูออรีนมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นการผลิตกรดกัดแก้ว(Hydrofluoric acid) การผลิต Uranium hexafluoride ซึ่งจะนำไปใช้ในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ต่อไป หรือยังใช้ฟลูออรีนในรูปของ Sulfur hexafluoride เพื่อใช้เป็นตัวกลางในหม้อแปลงหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ฟลูออรีนยังใช้ในการผลิต Fluoropolymers ซึ่งจะใช้ในเป็นฉนวนกันไฟฟ้า เคลือบผิวของโลหะชนิดต่างๆ เช่น สายไฟ หรือกระทะ(Teflon) เป็นต้น นอกจากนี้ฟลูออรีนยังมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมการแพทย์ต่างๆ เนื่องจากคุณสมบัติที่จับกับคาร์บอนได้ดี และไม่ถูกทำลายโดยงานในร่างกาย จึงนำมาใช้ในการผลิตยา ใช้เป็นสารในการตรวจทางรังสี(PET scan) หรือแม้กระทั่งใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยาฆ่าแมลง


ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสัมผัสกับฟลูออรีน โดยผ่านทางผิวหนัง ทางเยื่อบุตา และทางการหายใจ ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่ออวัยวะที่สัมผัส เช่น ระคายเคืองผิวหนัง เยื่อบุตา โพรงจมูก แสบในลำคอ ที่ผิวหนังอาจทำให้เกิดการอักเสบแดง เหมือนบาดแผลไหม้(Burn)ได้ ที่ตาทำให้เกิดการแสบ ร้อน แดงของเยื่อบุตา และอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อตาในระดับลึกได้ ทั้งนี้ระดับความรุนแรงต่ออวัยวะต่างๆ ขึ้นกับระดับความเข็มข้นของฟลูออรีน ในรายที่สูดดมเข้าไป ประมาณ 1-2 ชม.หลังการสัมผัสผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการไอ อึดอัดหายใจลำบาก มีไข้ หลังจากนั้นประมาณ 24-48 ชม. ผู้ป่วยจะมีอาการไอมากขึ้น เจ็บหน้าอก มีไข้ อาจเกิด Respiratory distress และ Pulmonary edema และทำให้เสียชีวิตได้ ในรายที่ไม่รุนแรงมาก อาการต่างๆส่วนใหญ่จะดีขึ้นเองในระยะเวลาประมาณ 10-30 วัน


ผู้ป่วยที่สูดดมฟลูออรีนเป็นระยะเวลานาน จะมีผลกระทบต่อปอด ตับ และไต บางรายอาจเกิดภาวะที่เรียกว่า Fluorosis โดยผู้ป่วยจะมีอาการสำคัญของ 3 ระบบดังนี้ Non-skeletal ได้แก่ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน, Dental ได้แก่ สีฟันเป็นรอยด่างดำ และ Skeletal ได้แก่ ปวดหลังโดยเฉพาะตอนกลางคืน การเคลื่อนไหวลำตัวได้จำกัด สันกระดูก(Trabeculae) ของกระดูกสันหลังมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีหินปูนเกาะตามเส้นเอ็นต่างๆ


การรักษาเพื่อลดอาการจากการสัมผัสกับฟลูออรีน 


โดยขึ้นอยู่กับช่องทางการสัมผัสของผู้ป่วย - ถ้าเป็นการสัมผัสทางการหายใจ ให้รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่เกิดเหตุ มาอยู่ในบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ สามารถให้ออกซิเจนได้ และคอยเฝ้าระวังอาการ Respiratory distress ในกรณีที่อาการเป็นมากขึ้นให้ใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ -ถ้าเป็นการสัมผัสทางตาและเยื่อบุตา ให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาด ที่อุณหภูมิปกติ ล้างด้วยปริมาณมากๆ และเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที ถ้ามีอาการระคายเคืองต่างๆ หรือมีอาการแสบ ร้อน บวม แดง ให้รีบปรึกษาแพทย์ -ถ้าเป็นการสัมผัสทางผิวหนัง ให้รีบถอดเสื้อผ้าที่ปกคลุมบริเวณนั้นออก และล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่ ด้วยปริมาณมากๆ การสัมผัสกับฟลูออรีนที่ผิวหนังโดยตรงอาจทำให้เกิดแผลในลักษณะ Frosbite ได้ -ถ้าเป็นการสัมผัสทางการกลืนกิน ให้รีบเจือจางด้วยการรับประทานน้ำหรือนม อย่างน้อย 120- 240 mL และสังเกตอาการต่างๆที่อาจเกิดขึ้น


เอกสารอ้างอิงจาก : 

Fluorine. A Comprehensive Guide to the Hazardous Properties of Chemical Substances. Pradyot P. 3th ed. John Wiley & Sons. 2007, pp 471-472. - Emily, F.M., and Bruce, A.F. Metal Compounds and Rare Earths. In: W.N Rom (ed.), Environmental and occupational medicine, 4th ed., pp. 1086-1087 . Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins 2007. - Fluorine. ILO Encyclopaedia of Occupational Health and Safety - Fluorine. International Chemical Safety Cards - Fluorine. Specific Medical Tests Published in the Literature for OSHA Regulated Substances - Fluorine, //www.toxnet.nlm.nih.gov/cgi-bin/sis/search/f?./temp/ 



พิษฟลูออไรด์ต่อร่างกาย

เป็นที่รู้ๆกันแล้วว่า หากร่างกายมนุษย์ได้รับฟลูออไรด์ปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดโทษแก่ร่างกาย ได้แก่
– การรบกวนการสร้างแคลเซียมของสารเคลือบฟัน
– ระบบกระดูกชำรุดเสียหาย น้ำหนักตัวลดและโครงสร้างของร่างกายผิดปกติ
– รบกวนระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์ได้
– รบกวน และต้านการทำงานของระบบเอนไซม์หลายชนิด
– การได้รับฟลูออไรด์เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ น้ำลายไหล ปวดท้อง ท้องเดิน มีอาการชัก ปวดตามกล้ามเนื้อ แรงดันเลือดต่ำ และหัวใจวายได้

ขนาดที่เป็นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อร่างกาย
– ฟันตกกระ ที่ 2 ppm
– กระดูกผิดรูป กระดูกพิการ ที่ 20 ppm
– การทำงานต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ที่ 50 ppm
– ร่างกายเจริญเติบโตช้า ที่ 100 ppm
– ไตทำงานผิดปกติ  ที่ 125 ppm

กระทรวงสาธารณสุขแนะนำปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มไม่ควรเกิน 0.7 ppm แต่อนุโลมที่ 0.1 ppm สำหรับพื้นที่ขาดแคลนฟลูออไรด์ ส่วนองค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ไม่ควรเกิน 1.5 ppm

ฟันตกกระ (Dental Fluorosis)
เมื่อร่างกายได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป (0.04-0.07 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม/วัน) ตั้งแต่เด็กเป็นระยะเวลาต่อเนื่องหลายปีจำทำให้เกิดความผิดปกติ คือ ความผิดปกติของผิวเคลือบฟันแท้ ที่เรียกว่า ฟันตกกระ (Dental Fluorosis) ที่เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์มากเกินความเหมาะสมจนรบกวนกระบวนการสร้างสารเคลือบฟัน ในระยะการสร้างฟันในกระดูกขากรรไกร ทำให้ฟันบางส่วนมีสีขาวขุ่นหรือเป็นทั้งซี่ ความรุนแรงจะขึ้นกับปริมาณของฟลูออไรด์ที่ได้รับ

พิษต่อกระดูก (Skeletal Fluorosis)
การดื่มน้ำที่มีฟลูออไรด์มากกว่า 10มิลลิกรัม/ลิตร ติดต่อกันมากว่า 10 ปีขึ้นไป ฟลูออไรด์จะกระตุ้นให้มีการสะสมแคลเซียมในกระดูกมากเกินความจำเป็น ทำให้เป็นโรคกระดูกแข็งด้าน (osteosclerosis)  โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) และมีกระดูกเป็นใย (woven bone)  และอาจพบลักษณะพิการ เช่น ขาโก่ง (crippling skeletal fluorosis) หรือการเคลื่อนไหวลำบาก

สารโซเดียมฟูลออไรด์ ได้มีการห้ามทิ้งทำลายในแม่น้ำลำคลองซึ่งเป็นสารอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม แต่ได้มีการอนุมัติให้นำมาใช้เป็นส่วนผสมของยาสีฟัน,นม,นำ้ดื่มและในและสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ในคศ. 1945 ในหลายประเทศได้มีการเติม โซเดี่ยมฟลูออไรด์ ลงในท่อน้ำประปาเพื่อส่งให้ประชากรใช้และดื่ม สารโซเดี่ยมฟลูออไรด์กลายเป็นสารเคมีหลักในปัจจุบันที่เพิ่มลงไปในน้ำประปา คือกรด Hydrofluorosilicic ที่มีส่วนประกอบอยู่ในอุตสาหกรรมปุ๋ยฟอสเฟต และจากผลการวิจัยได้พบข้อมูลว่า หนูที่ได้รับรับสารโซเดียมฟูลออไรด์ ก่อให้เกิดมะเร็งกระดูกมะเร็งตับและโรคทางกายอื่นๆ


ใน 60 รัฐของประเทศ สหรัฐอเมริกา และ ได้มีการรณรงค์ต่อต้านและยกเลิกการใช้ สารโซเดี่ยมฟูลออไรด์ แล้วตั้งแต่ ปี 1999 สืบเนื่องมาจากอัตราประชากรทีปวยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง เพิ่มมากขึ้นอย่างสูง


หน่วยทันตกรรม ในทวีปยุโรปตะวันตกได้ปฏิเสธหยุดและห้ามใช้ โซเดี่ยมฟูลออไรด์แล้ว เนื่องจากการส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อสุขภาพของประชากร ซึ่งก็ให้เป็นไปตามกฎหมายและจริยธรรม


จากผลสำรวจพบว่ามีเพียงประมาณ 5% ของประชากรโลกไม่มีการใช้สารโซเดี่ยมฟูลออไรด์ และประมาณ 50% ของคนเหล่านี้อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ 


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมของเดนมาร์กให้การแนะนำกับ fluoridation ในปี 1977 เพราะ "การศึกษาที่ไม่เพียงพอของประชากรส่งผลกระทบในด้านความเจ็ปป่วยในระยะยาวต่อระบบร่างกายและอวัยวะอื่น ๆ ของมนุษย์กระดูกและฟัน การปล่อยโซเดี่ยมฟลูออไรด์ลงในระบบนิเวศน้ำจืด ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสูขภาพ,สังคมอย่างร้ายแรงและต่อเนื่องมานาน "


รายชื่อของประเทศ ที่มีการห้ามหรือปฏิเสธ การใช้ โซเดี่ยมฟูลออไรด์ ( สารฟลูออรีน )



Austria, Belgium, Finland, Germany, Denmark, Sweden, Norway. The Netherlands and Hungary.










Create Date : 29 มกราคม 2559
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2559 22:39:46 น. 0 comments
Counter : 4566 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

KSSAND
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




New Comments
[Add KSSAND's blog to your web]