Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ไวรัส อีโบล่า EBOLA ... ระบบเฝ้าระวัง ของบ้านเรา ห่วยจริงหรือ ?

จากข่าวที่ มีผู้ต้องสงสัยติดเชื้อไวรัส “อีโบลา”  เดินทางเข้าประเทศไทย แล้ว ไม่ไปรายงานตัวเพื่อตรวจสอบร่างกายทุกวัน ตามนัด .. ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ ระบบเฝ้าระวังโรค ของกระทรวงสาธารณสุขว่า ไม่ได้มาตรฐาน ห่วย แย่ ฯลฯ  
https://www.thairath.co.th/content/465145

https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1416809966


ผมไม่ได้เก่งเรื่องระบาดวิทยา แต่ผมก็เห็นว่า ระบบที่ดำเนินการอยู่นี้ เหมาะสมอยู่แล้ว  และ ไม่ใช่ว่า เป็นระบบที่ เราคิดกันขึ้นมาเอง แต่เป็นระบบเฝ้าระวังที่เป็นมาตรฐานทั่วโลก .. 

จึงอยากให้ค่อย ๆ คิดพิจารณา บนพื้นฐานของความรู้ทางวิชาการ ก่อนที่จะตัดสิน ก่อนที่จะต่อว่า ..

ท่านใดที่สนใจ อยากให้ดาวน์โหลด มาลองอ่านดู ไม่กี่นาที ก็อ่านจบแล้ว ถ้ามีข้อเสนอแนะอะไรเพิ่มเติม ก็แนะนำได้เลยนะครับ ..

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่
https://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/th/home

ที่อยู่: ชั้น 1,4 อาคาร 8 (ตึกสถาบันราชประชาสมาสัย) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ จ.นนทบุรี 11000 เบอร์โทรศัพท์: 0 2590 3159 โทรสาร: 0 2590 3397
อีเมล์: thaieid@gmail.com
Facebook: https://www.facebook.com/THAIBEID

..................

ดาวน์โหลดเอกสาร ได้ที่ ...

หนังสือ แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกันและควบคุมโรค Ebola ประเทศไทย 2557 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://www.mediafire.com/view/wnw6rwlc8vu3kvz/Guidline_ebola_2.pdf
 

แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกันและควบคุมโรค Ebola ประเทศไทย 2557 โดย : สำนักระบาดวิทยา 

https://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/news.php?g=1&items=1764

ข่าวเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา  โดย : สำนักสารนิเทศ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
https://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/news.php?g=1&items=1697

ข้อมูลโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาสำหรับประชาชนทั่วไป
https://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/news.php?g=1&items=1745

ข้อมูลโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา สำหรับเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข
https://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/news.php?g=1&items=1744


ถ้าใช้เฟสบุ๊ด แนะนำให้ แอด หรือ ติดตาม เฟสของ ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา .. อาจารย์จะมีข้อมูลวิชาการอัพเดตตลอดครับ สงสัยอะไรถามได้เลย ^_^
https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha


ภาพบางส่วนจากหนังสือแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกันและควบคุมโรค Ebola ประเทศไทย 2557 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://www.mediafire.com/view/wnw6rwlc8vu3kvz/Guidline_ebola_2.pdf
















เพิ่มเติมความเห็น ของสมาชิกพันทิบ สมาชิกหมายเลข 1901725
จากกระทู้   https://pantip.com/topic/32900224
 
เรียน สมาชิกทุกท่าน

    สำหรับชาวเซียร์รา รีโอน ที่มีข่าวทางสื่อต่างๆ จริงๆ แล้วเค้าไม่ใช่ผู้ป่วยหรือไม่ใช่ผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลาค่ะ เค้าเป็นผู้เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรคฯ สำหรับชาวต่างชาติที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือในระเทศที่มีการติดเชื้อดังกล่าว ที่เข้ามาพักอาศัยและทำธุรกิจอยู่ในประเทศไทย ทางกระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการเฝ้าระวัง

-    ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่ประเทศไทยได้ประกาศเป็นเขตติดโรค ซึ่งรวมทั้ง ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา จะต้องมาแสดงตน และสำแดงเอกสารสุขภาพตามที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกำหนด  ที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ณ สนามบิน หรือ จุดผ่านแดนต่างๆ ก่อนที่จะผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

-    ผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา จะได้จัดการตรวจวัดอุณหภูมิ และบันทึกข้อมูลของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดทุกคน และติดตามสอบถามอาการต่อเนื่องทุกวันจนกว่าจะพ้นระยะพักตัวของโรค

-    กรมควบคุมโรค ได้เสนอให้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นโรคติดต่ออันตรายให้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่ม131 ตอนพิเศษ 154 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2557 หรือ พ.ร.บ. โรคติดต่อ การประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย จะทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการป้องกันควบคุมโรคได้อย่างเข้มข้น ซึ่งมาตรการการคัดกรองผู้เดินทางทั้งจุดผ่านแดนทางบก ท่าเรือ และท่าอากาศยาน  เป็นการเสริมมาตรการป้องกันควบคุมโรคให้เข้มงวดมากกว่าเดิม ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อต่อการเดินทางและการค้าระหว่างประเทศ แต่มีผลดีต่อประชาชนโดยรวม มาตรการทางกฎหมายตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ ๒๕๒๓ ที่ดำเนินการ เช่น

1) การดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุม ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ  โดยเจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำด่านฯ สามารถตรวจตรายานพาหนะ ผู้เดินทาง สิ่งของหรือสัตว์ที่มากับพาหนะ รวมทั้งควบคุม การกำจัดสิ่งอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในพาหนะ เป็นต้น ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความเกิดขึ้นหรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้น ให้บุคคลต่างๆ เช่น เจ้าบ้าน เจ้าของพาหนะ ผู้ให้การดูแลรักษา แจ้งต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ และ

2) มาตรการการตรวจคัดกรอง กักกัน และรักษา โดยให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจดำเนินการให้คนหรือสัตว์ซึ่งป่วยหรือมีเหตุสงสัยว่าป่วยเป็นโรคติดต่ออันตราย เป็นผู้สัมผัสโรค หรือเป็นพาหะของโรคติดต่ออันตราย มารับการตรวจ การชันสูตรทางแพทย์ หรือการรักษา หรือคุมไว้สังเกต ณ สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด และให้มีอำนาจแยกกักผู้นั้นไปรับการรักษาในสถานพยาบาลหรือในที่เอกเทศ จนกว่าจะได้รับการตรวจและการชันสูตรทางแพทย์ว่าพ้นระยะติดต่อของโรคหรือหมดเหตุสงสัย เป็นต้น

-    จากการการดำเนินการคัดกรองผู้เดินทาง และการติดตามอาการผู้เดินทางเป็นเวลา 21 วัน ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2557 ถึง 22 พฤศจิกายน 2557 ได้ทำการคัดกรองและติดตามอาการผู้เดินทางทั้งหมด 3,143 ราย (ประเทศกินี 890 ราย, ประเทศไลบีเรีย 121 ราย, ประเทศเซียร์ราลีโอน 91 ราย, ประเทศไนจีเรีย 1,614 ราย, ประเทศดีอาร์คองโก 240 ราย, ประเทศเซเนกัล 166 ราย, ประทศมาลี 17 ราย และ อื่นๆ 4 ราย)

-    ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากผู้เดินทางเป็นอย่างดี กรมควบคุมโรค ยังได้จัดทำคำแนะนำสุขภาพแจกให้กับผู้เดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาด (Health Beware card) พร้อมกับคำชี้แจงกฎหมายควบคุมโรคของไทยสำหรับกรณีการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Health Regulation Regarding Ebola outbreak) ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้เดินทางจากประเทศที่กำลังมีการระบาดอีกด้วย

-    สำหรับผู้ที่เดินทางมาจาก 3 ประเทศที่มีการระบาดหนักของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา คือ ไลบีเรีย กินี และ เซียร์รา ลีโอน กรมควบคุมโรคได้เพิ่มความเข้มงวดในการคัดกรอง และติดตามผู้เดินทางตามมาตรการทางสาธารณสุข โดยจะมีเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ โดยสำนักโรคติดต่อทั่วไป และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ไปส่งผู้เดินทางทั้ง 3 ประเทศ ถึงที่พัก รวมทั้งติดตามโทรสอบถามอาการเจ็บป่วยทุกวัน มีการติดตามไปเยี่ยมและวัดอุณหภูมิกายหรือวัดไข้ ทุกวันจันทร์และวันศุกร์ จนกว่าจะครบ 21 วัน หลังเดินทางมาจากพื้นที่ระบาด หรือ เดินทางออกนอกประเทศ (ในกรณีที่ไม่ครบ 21 วัน)

-    ในกรณีผู้เดินทางมาจากประเทศระบาดอื่นๆ เช่น ไนจีเรีย ดีอาร์คองโก หลังเดินทางมาถึงประเทศไทยผู้เดินทางจะต้องโทรมาแจ้งที่อยู่ที่ชัดเจนและเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อสะดวก สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 กด 9 ช่วงเวลา 08.00 - 17.00 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ ซึ่งเจ้าหน้าที่สายด่วนฯ 1422 จะส่งต่อข้อมูลให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ผู้เดินทางอาศัยอยู่ไปติดตามต่อไป ค่ะ

สมาชิกหมายเลข 1901725



 

องค์การอนามัยโลกเผยยอดเหยื่อ “อีโบลา” พุ่งเฉียด 11,000 ศพ ติดเชื้อทะลุ 26,000 ราย ชี้ ยังเจอ “เคสใหม่” ต่อเนื่อง

1 พฤษภาคม 2558 06:27 น.(แก้ไขล่าสุด 1 พฤษภาคม 2558 10:54 น.)
https://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000049718



18 กรกฎาคม 2562  เรื่องเล่าเช้านี้

*องค์การอนามัยโลก* ประกาศให้*อีโบลา* ที่กำลังแพร่ระบาดในสาธารณรัฐ*คองโก* เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern) คำนิยามที่ใช้ไม่บ่อยครั้งนักและมักใช้เฉพาะกับ*โรคระบาด* ซึ่งก่อนหน้านี้ทางหน่วยงานด้านสาธารณสุขของสหประชาชาติเคยใช้เพียง 4 ครั้ง ได้แก่ ไวรัส H1N1 หรือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ระบาด, การแพร่ระบาดของโรคโปลิโอในปี 2014,การแพร่ระบาดของ*อีโบลา* ในหลายพื้นที่ของแอฟริกาตะวันตกตั้งแต่ปี 2014 ถึง 2016 และการระบาดของไวรัสซิกาในปี 2016

โดยขณะนี้พบผู้เสียชีวิตจาก*อีโบลา* แล้วมากกว่า 1,600 คน นับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมเป็นต้นมา ไวรัส*อีโบลา* เริ่มแพร่ระบาดในจังหวัดนอร์ทคิวู ของ สาธารณรัฐ*คองโก* ก่อนแผ่ลามไปยังจังหวัดอิตูรีที่อยู่ติดกัน

*อีโบลา* เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งในกลุ่มโรคไข้เลือดออก เชื่อกันว่าแพร่ระบาดจากสัตว์ โดยเฉพาะค้างคาว และลิง ทั้งนี้อีโบล่าแพร่จากคนสู่คนโดยการสัมผัสกับเลือด น้ำลาย น้ำมูก เหงื่อ อสุจิ และสารคัด
หลั่งอื่นๆ จากร่างกายของผู้ติดเชื้อ  
การฟักตัวของเชื้อใช้วลา 2 วัน ถึง 3 สัปดาห์ ผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั้งตัว เจ็บคอ ตามมาด้วยอาการท้องเสีย อาเจียน มีผื่นนูน มีเลือดออก ตามเยื่อบุของร่างกาย เช่น เยื่อบุตา ช่องปาก และอวัยวะภายใน มีอาการผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง การทำงานของตับและไตล้มเหลว ผู้ติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตสูงมากกว่า 50% เพราะอาการในระยะเริ่มต้นเหมือนโรคอื่นๆ ทั่วไป เช่น มาเลเรีย ไข้เลือดออกจากไวรัสชนิดอื่น ไข้หวัด ท้องร่วง กว่าจะรู้ชัดว่าติดเชื้ออีโบล่าก็สายเกินไปแล้ว

https://morning-news.bectero.com/international/18-Jul-2019/147701?fbclid=IwAR18lDcjWsUGVBjb-oUSPT1dFaql7hqRpvGV1rN5wx88HDHO2s9bqsBRRqs

อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว
 
ข่าวการประกาศระดับความฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก เกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาที่ตอนนี้กำลังเป็นข่าว
 
1. ประเทศคองโก มีการระบาดของอีโบลาเป็นประจำ ตามพื้นที่การระบาด ความยากจน ขาดแคลนทรัพยากร ทำให้การระบาดเป็นวงกว้างทุกครั้ง
 
2. การระบาดครั้งนี้เริ่มตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2561 และมีการระบาดต่อเนื่องมาตลอด ไม่รุนแรงนัก
 
3. มีการประชุมเพื่อปรับกลยุทธและแก้ไขมาตรการการรับมือให้ทันสมัยตลอดเวลาจากองค์กรนานาชาติต่าง ๆ นำโดยองค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติ
 
4. เนื่องจากรายงานผู้ป่วยที่ยืนยันการป่วยเพิ่มสูงถึงกว่า 2,500 รายทั้ง ๆ ที่มีมาตรการออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ทันสถานการณ์
 
5. WHO จึงประกาศ emergency level 3 หรือ L3 เพื่อให้ประเทศคองโก ประเทศรอบข้าง และประเทศอื่น ๆ ในโลกได้เตรียมตัว การประกาศนี้จะต้องมีการประชุมร่วมกับรัฐบาลคองโก เพราะการประกาศจะกระทบต่อความมั่นคงและเสถียรภาพของประเทศ ทั้งภายในและจากภายนอกประเทศ
 
6. การประกาศระดับสาม คือมีภัยคุกคามเร่งด่วน ต้องแก้ไขด่วนที่สุด เพราะเริ่มคุกคามมนุษยชาติแล้ว และจะลุกลามหากไม่แก้ไข ต้องระดมทรัพยากรและสรรพกำลัง เงินทุน เพื่อมาป้องกันโรคหรือภาวะต่าง ๆ (เป็นลักษณะประกาศสากลของ IASC inter-agency standing committee)
 
7. ในอดีต เช่น ภาวะสงครามในซีเรีย พายุไต้ฝุ่นพัดถล่มพม่า ต้องให้การช่วยเหลือและขอร้องนานาชาติให้มาร่วมมือกัน เพื่อโลกของเรา
 
8. มาตรการออกมาเพื่อจัดตั้งและบริหารเงิน บุคลากร ยา วัคซีน การร่วมมือในหน่วยงานต่าง ๆ ของคองโก ส่วนประเทศเพื่อนบ้าน ต้องเฝ้าระวังชายแดน ควบคุมการเล็ดลอดทางพรมแดน จัดการสอดส่องหาผู้ที่สัมผัสโรคแล้วจัดการดูแลเพื่อควบคุมพื้นที่การระบาด
 
9. สำหรับประเทศอื่น ๆ ให้เตรียมมาตรการรับมือหากมีผู้ป่วยสงสัยหรือสัมผัสโรค เฝ้าระวังทางเข้าออกประเทศโดยเฉพาะสนามบินและสายการบิน และขอให้ร่วมให้การช่วยเหลือคองโกโดยด่วน
 
10. ยังไม่ได้หมายความว่าระบาดไปทั่วโลก ตอนนี้เป็นการระบาดในประเทศคองโกเป็นหลักและบริเวณรอบข้างบางส่วนเท่านั้น
 
ที่มา WHO and United Nations
 
https://www.facebook.com/medicine4layman/photos/a.1454742078175154/2304314866551200/?type=3&theater

*******************************************
 

ไทยเข้ม 3 มาตรการ หลัง WHO ประกาศ ‘อีโบลา’ เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินระหว่างประเทศ



*******************************************






ไวรัสโคโรนา2012(MERS , เมอร์ส) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=19-06-2015&group=4&gblog=110



Create Date : 25 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 5 มิถุนายน 2563 20:51:04 น. 3 comments
Counter : 3715 Pageviews.  

 
ไข้เลือดออก ... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-10-2015&group=4&gblog=116

ไข้เลือดออก..ฤดูกาลแห่งโศกนาฏกรรม ยุงลายกัดคน(ป่วย..เป็นไข้)เลือดออกตาย แต่แพทย์ผู้รักษาเป็นจำเลย?
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2008&group=4&gblog=38

ไวรัสโคโรนา2012 (MERS , เมอร์ส) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=19-06-2015&group=4&gblog=110

ไวรัส ซิกา โรคไข้ซิกา (Zika Fever) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-01-2016&group=4&gblog=118

ไวรัส อีโบล่า EBOLA ... ระบบเฝ้าระวัง ของบ้านเรา ห่วยจริงหรือ ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2014&group=4&gblog=105

จากไข้หวัดใหญ่ MEXICO ถึงไข้หวัดใหญ่ 2009 .... บทเรียนสาธารณสุขไทย
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-05-2009&group=4&gblog=76

ข้อมูลสำคัญ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และ สถานการณ์ล่าสุด ... แถม เวบน่าสนใจ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2009&group=4&gblog=79

ชิคุนกุนยา ... ที่กำลังระบาด ในภาคไต้ ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2009&group=4&gblog=75

ตาแดง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-09-2014&group=4&gblog=103




โดย: หมอหมู วันที่: 29 มกราคม 2559 เวลา:21:43:46 น.  

 
18 กรกฎาคม 2562 เรื่องเล่าเช้านี้

*องค์การอนามัยโลก* ประกาศให้*อีโบลา* ที่กำลังแพร่ระบาดในสาธารณรัฐ*คองโก* เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern) คำนิยามที่ใช้ไม่บ่อยครั้งนักและมักใช้เฉพาะกับ*โรคระบาด* ซึ่งก่อนหน้านี้ทางหน่วยงานด้านสาธารณสุขของสหประชาชาติเคยใช้เพียง 4 ครั้ง ได้แก่ ไวรัส H1N1 หรือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ระบาด, การแพร่ระบาดของโรคโปลิโอในปี 2014,การแพร่ระบาดของ*อีโบลา* ในหลายพื้นที่ของแอฟริกาตะวันตกตั้งแต่ปี 2014 ถึง 2016 และการระบาดของไวรัสซิกาในปี 2016

โดยขณะนี้พบผู้เสียชีวิตจาก*อีโบลา* แล้วมากกว่า 1,600 คน นับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมเป็นต้นมา ไวรัส*อีโบลา* เริ่มแพร่ระบาดในจังหวัดนอร์ทคิวู ของ สาธารณรัฐ*คองโก* ก่อนแผ่ลามไปยังจังหวัดอิตูรีที่อยู่ติดกัน

*อีโบลา* เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งในกลุ่มโรคไข้เลือดออก เชื่อกันว่าแพร่ระบาดจากสัตว์ โดยเฉพาะค้างคาว และลิง ทั้งนี้อีโบล่าแพร่จากคนสู่คนโดยการสัมผัสกับเลือด น้ำลาย น้ำมูก เหงื่อ อสุจิ และสารคัด
หลั่งอื่นๆ จากร่างกายของผู้ติดเชื้อ
การฟักตัวของเชื้อใช้วลา 2 วัน ถึง 3 สัปดาห์ ผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั้งตัว เจ็บคอ ตามมาด้วยอาการท้องเสีย อาเจียน มีผื่นนูน มีเลือดออก ตามเยื่อบุของร่างกาย เช่น เยื่อบุตา ช่องปาก และอวัยวะภายใน มีอาการผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง การทำงานของตับและไตล้มเหลว ผู้ติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตสูงมากกว่า 50% เพราะอาการในระยะเริ่มต้นเหมือนโรคอื่นๆ ทั่วไป เช่น มาเลเรีย ไข้เลือดออกจากไวรัสชนิดอื่น ไข้หวัด ท้องร่วง กว่าจะรู้ชัดว่าติดเชื้ออีโบล่าก็สายเกินไปแล้ว

https://morning-news.bectero.com/international/18-Jul-2019/147701?fbclid=IwAR18lDcjWsUGVBjb-oUSPT1dFaql7hqRpvGV1rN5wx88HDHO2s9bqsBRRqs



โดย: หมอหมู วันที่: 19 กรกฎาคม 2562 เวลา:13:41:07 น.  

 
ไทยเข้ม 3 มาตรการ หลัง WHO ประกาศ ‘อีโบลา’ เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินระหว่างประเทศ
Fri, 2019-07-19 19:15 -- hfocus

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ติดตามสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในต่างประเทศ เตรียมพร้อมทั้งการเฝ้าระวัง และป้องกันโรค เน้นดำเนิน 3 มาตรการหลักอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง หลัง WHO ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ


เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2562 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานข่าวว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ หลังพบการระบาดในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ภายหลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก และองค์การสหประชาชาติ ได้เข้าไปให้การช่วยเหลือในการป้องกันและควบคุมโรค แต่การระบาดยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนพบการระบาดในพื้นที่ใหม่ จึงออกประกาศดังกล่าว เพื่อระดมความช่วยเหลือจากนานาประเทศ นั้น

กรมควบคุมโรค ขอให้ข้อมูลว่า ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศกำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาเป็นโรคติดต่ออันตรายที่จะต้องเฝ้าระวังและดำเนินการอย่างเข้มข้น ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ได้ติดตามสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่มีรายงานผู้ป่วยในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2561 ที่ผ่านมา และได้เตรียมพร้อมทั้งการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ในประเทศไทย ไม่มีรายงานผู้ป่วย โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาแต่อย่างใด

กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการจัดระบบเฝ้าระวังและป้องกันโรค ด้วยมาตรการหลัก ซึ่งดำเนินการมาอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ดังนี้

1.ติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าจากองค์การอนามัยโลก เฝ้าระวังผู้ป่วยโดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือคนไทยที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ทั้งในด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ในโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชน และในชุมชน คัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคทั้งที่ด่านควบคุมโรคที่สนามบิน ด่านทางน้ำและด่านพรมแดนทางบก

2.เตรียมความพร้อมในการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งไทยได้รับความร่วมมือจากสหรัฐฯ ในการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสชนิดนี้

และ 3.มาตรการดูแลรักษา หากมีผู้ป่วยที่มีอาการในข่ายสงสัย โดยใช้มาตรฐานเดียวกับการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อที่มีอันตราย เช่น ไข้หวัดนก โรคซาร์ส ซึ่งโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศมีความพร้อมอยู่แล้ว

นอกจากนี้การเฝ้าระวังโรคติดต่ออันตรายในระดับพื้นที่ ทางกรมควบคุมโรค จะมีการให้ข้อมูลข่าวสารกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ ตลอดจนสื่อสารไปยังอาสาสมัครสาธารณสุข กรณีพบความผิดปกติ เช่น พบเห็นผู้ที่มาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค แล้วมีอาการไม่สบาย เป็นไข้ให้รีบแจ้งมาที่กรมควบคุมโรค หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก ยังไม่แนะนำให้จำกัดการเดินทางหรือการค้าระหว่างประเทศสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้ ซึ่งองค์การอนามัยโลก ประเมินว่านักเดินทางระหว่างประเทศยังมีความเสี่ยงในระดับที่ ต่ำมาก เนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มีการติดเชื้อโดยตรงจากการสัมผัสกับของเหลวในร่างกาย หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาล จากการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ (เข็มและหลอดฉีดยา) ที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมถึงไม่มีการป้องกันเมื่อมีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่ติดเชื้อ

คำแนะนำสำหรับผู้ที่จะเดินทางจากประเทศไทยไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เนื่องจากองค์การอนามัยโลก ยังไม่มีประกาศห้ามการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด ผู้ที่จะเดินทางไปยังสามารถเดินทางไปได้ โดยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้ ได้แก่

1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า ทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย

2.หลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว หรืออาหารเมนูพิสดารที่ใช้สัตว์ป่าหรือสัตว์แปลกๆ มาประกอบอาหาร

3.การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น เลือดจากผู้ป่วย สิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยที่อาจปนเปื้อนกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือศพ

4.หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย หากมีความจำเป็นให้สวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายและล้างมือบ่อยๆ

5.หากมีอาการเริ่มป่วย เช่น มีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย ภายหลังกลับจากประเทศที่มีการระบาด ให้รีบพบแพทย์ทันที

https://www.hfocus.org/content/2019/07/17379



โดย: หมอหมู วันที่: 20 กรกฎาคม 2562 เวลา:21:26:23 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]