Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

กระดูกหักรักษาอย่างไรดี




กระดูกหัก รักษาอย่างไรดี

จุดมุ่งหมายของการรักษา เพื่อทำให้

• กระดูกที่หักเมื่อหายแล้วกลับมาอยู่ในสภาพที่ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด

• มีผลข้างเคียงน้อยที่สุด

• ผู้ป่วยสามารถกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้โดยเร็วที่สุด


แพทย์พิจารณาอะไรบ้าง

มีหลายสิ่งที่แพทย์ จะต้องพิจารณาก่อนที่จะเลือกวิธีการรักษาให้กับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น

• ผู้ป่วยอายุเท่าไร สภาพร่างกายของผู้ป่วยแข็งแรงดีหรือไม่ มีโรคประจำตัวที่ร้ายแรงหรือไม่

• กระดูกที่หักอยู่ตำแหน่งไหน แตกเข้าข้อหรือไม่ กระดูกหักมาก หักหลาย ๆ ชิ้น หรือหักน้อย

• กระดูกหักแล้วเคลื่อนที่ไปมากหรือน้อย

• มีแผลในบริเวณกระดูกหักหรือไม่


ส่วนที่จะเลือกรักษาโดยวิธีไหนนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจร่วมกันของแพทย์และผู้ป่วย โดยที่แพทย์จะเป็น ผู้ตอบคำถามและให้คำแนะนำวิธีที่ดีที่สุด แต่ ผู้ที่จะตัดสินใจเลือกแนวทางรักษาในขั้นสุดท้ายก็คือ ตัวผู้ป่วยเอง



แนวทางรักษากระดูกหัก

1.วิธีไม่ผ่าตัด เช่น การใช้ผ้ายืดพันรัดไว้ การใส่เฝือก ซึ่งจะใช้ในกรณีที่กระดูกหักหรือกระดูกที่หักเคลื่อนที่ไป- ไม่มากนัก และไม่มีบาดแผลฉีกขาดเข้าไปถึงบริเวณกระดูกที่หัก

2.วิธีผ่าตัด ซึ่งอาจแบ่งย่อยได้เป็น

2.1 ผ่าตัดแต่ไม่ใส่เหล็ก เป็นการผ่าตัดทำความสะอาดบาดแผล และจัดกระดูกให้เข้าที่ แล้วใส่เฝือก หรือ เครื่องพยุงอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกเคลื่อนหลังจากการผ่าตัด

2.2 ผ่าตัดใส่เหล็กเพื่อยึดตรึงกระดูก มีหลายชนิดเช่น ลวด แผ่นเหล็ก แกนเหล็ก แท่งเหล็กดามกระดูกด้านนอก เป็นต้น ซึ่งเป็นเหล็กเหล่านี้เป็นเหล็กชนิดพิเศษแข็งแรงกว่าเหล็กธรรมดา ไม่เป็นสนิม ในคนทั่วไปจะไม่เกิดอาการแพ้



ข้อบ่งชี้ที่ควรรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด เช่น

• มีกระดูกหักพร้อมกันหลาย ๆ ตำแหน่ง

• กระดูกหักหลายชิ้น หรือ แตกเข้าข้อ

• กระดูกหักในผู้สูงอายุ

• มีการเคลื่อนของกระดูกที่หักไปมาก

• มีแผลเปิดเข้าไปถึงบริเวณกระดูกที่หัก

• กระดูกที่หักในบางตำแหน่งซึ่งเมื่อรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วผลการรักษาจะไม่ดี เช่น กระดูกสะโพก กระดูกต้นขา กระดูกปลายแขน กระดูกแตกเข้าข้อ เป็นต้น



Create Date : 23 ธันวาคม 2550
Last Update : 24 ธันวาคม 2550 14:56:07 น. 2 comments
Counter : 79145 Pageviews.  

 

กระดูกหัก รักษาอย่างไรดี

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-12-2007&group=6&gblog=1

กระดูกหักเมื่อไรจะหาย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-01-2008&group=6&gblog=4

การรักษาด้วยวิธีใส่เฝือก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-02-2008&group=6&gblog=5

กระดูกหัก ผ่า - ไม่ผ่า อย่างไหนดีกว่ากัน

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-01-2008&group=6&gblog=2

กระดูกหัก ต้องผ่าเอาเหล็กออกหรือไม่ ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2009&group=6&gblog=28

การดูแล หลังผ่าตัดกระดูกหัก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=09-01-2008&group=6&gblog=3



โดย: หมอหมู วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:15:03:12 น.  

 
การรักษากระดูกหักด้วยการผ่าตัดดามโลหะ

การรักษากระดูกหักด้วยการผ่าตัดดามโลหะ

รศ.นพ.วิทเชษฎ์ พิชัยศักดิ์
ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

1. กรณีใดบ้างที่จะติดรักษาด้วยการผ่าตัดโลหะ
ตอบ ก่อนจะพูดถึงเรื่องของการผ่าตัดด้วยกระดูกตามโลหะ ผมขอกล่าวถ้าการรักษาด้วยการใส่เฝือกก่อนว่ามีข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง การรักษาด้วยการใส่เฝือกนั้นจะทำให้เนื้อลีบ และข้อติดยึดได้ และการผ่าตัดก็จะมีเรื่องของแผลเป็น ต้องดมยาสลบ หรือต้องฉีดยา อาจจะต้องผ่าตัดซ้ำที่ต้องเอาโลหะในกระดูกออกหรือเกิดการติดเชื้อ หรือต้องให้เลือดจะมีปัญหาจากการให้เลือดได้ เมื่อไหร่เราจะทำการผ่าตัด ถ้าจะต้องเรียนว่าเป็นกรณีที่จำเป็นจริง ๆ หรือรักษาด้วยการเข้าเฝือกไม่ได้ ยกตัวอย่างเรื่องของกระดูกต้นขาหัก ผู้ใหญ่ที่ตัวใหญ่ ๆ จะไม่สามารถรักษาด้วยการใส่เฝือกไม่ได้ หรือในกรณีที่แตกเข้าข้อ ถ้ารักษาโดยการใส่เฝือกไม่ได้ หรือในกรณีที่แตกเข้าข้อ ถ้ารักษาโดยการใส่เฝือกอาจจะทำให้ข้อติดยึดได้ง่าย หรือเราอาจจะต้องผ่าตัดดามกระดูกหัก เพื่อต้องการให้ข้อเคลื่อนไหวโดยเร็ว หรือในกรณีที่กระดูกหักแล้วมีการทะลุถึงผิวหนังและมีแผล ก็อาจจะต้องผ่าตัดรักษา หรือในกรณีที่มีการฉีกขาดของหลอดเลือดหรือเส้นประสาท ก็จะต้องจำเป็นต้องรักษา การผ่าตัดเพื่อเย็บซ่อมเส้นเลือดและเส้นประสาทไปด้วย

2. การผ่าตัดดามโลหะสามารถรักษาได้กับอวัยวะส่วนใดได้บ้าง
ตอบ จะใช้ได้ทุกส่วนถ้ามีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดที่พูดไปแล้ว ยกเว้นกระโหลกศีรษะ และกระดูกซี่โครงเราจะไม่รักษาโดยการผ่าตัดด้วยโลหะ

3. โลหะที่ใช้ในการรักษาเป็นโลหะชนิดใด
ตอบ เป็นสแตนเลสที่ไม่ขึ้นสนิม และชนิดไททาเนียม ซึ่งมีลักษณะเบาเข้ารูปได้ง่าย

4. ขั้นตอนในการรักษาเป็นอย่างไร
ตอบ ก่อนที่จะผ่าตัดรักษา จะต้องดูว่าคนไข้อยู่ในภาวะที่ฉุกเฉินหรือมีอันตรายกับชีวิตหรือไม่ ถ้ามีภาวะที่ฉุกเฉินอาจจะมีอันตรายถึงชีวิตได้ ในกรณีเช่น มีตับแตก ม้ามแตก มีเลือดออกในช่องท้อง หรือมีเลือดคั่งในสมอง เราจะต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นก่อน ถ้าไม่มีปัญหาใด ๆ เราก็จะพิจารณาการผ่าตัดรักษาได้เลย ขั้นตอนแรก คือการเตรียมผู้ป่วยสำหรับดมยาสลบ หรือฉีดยาชา ผู้ป่วยจะต้องไม่มีปัญหาโรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคปอด ถ้าผู้ป่วยมีร่างกายพร้อม แพทย์ก็จะกำหนดวันผ่าตัด

5. การรักษาด้วยการใส่เหล็กจะต้องใส่นานแค่ไหน
ตอบ แต่ละคนมีระยะเวลาเท่ากันหรือไม่ เราจะพิจารณาตามอายุ แต่ละคนมระยะเท่ากันหรือไม่ ถ้าเป็นผู้ป่วยเด็กกระดูกติดเร็ว ก็อาจจะเอาออกได้เร็วกว่า ถ้าในผู้ใหญ่กระดูกติดช้า เราก็จะต้องรอให้กระดูกติดและแข็งแรงดี ส่วนใหญ่จะประมาณ 1- 1 ½ ปี

6. การดูแลสำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดดามโลหะ
ตอบ หลังจากที่ได้รับการผ่าตัดใหม่จะต้องระวังเรื่องแผลไม่ให้มีการติดเชื้อ ดูแลแผลไม่ให้ถูกน้ำ หรือของสกปรก บางทีเราอาจจะต้องใส่เฝือกช่วย เพื่อให้กระดูกติดได้เร็วขึ้น ถึงแม้ว่าเราใส่โลหะแล้ บางทีเราจะขยับข้อแขนได้ไม่เต็มที่ เพราะกระดูกไม่ติดเราจึงต้องใส่เฝือกช่วย ปัญหาของกระดูกต้นขา บางทีเราจะต้องลงน้ำหนักในระหว่างที่เราดามกระดูกด้วยโลหะแล้ว เราจะต้องรอจนกระทั่งกระดูกเริ่มติด เราจะลงน้ำหนักได้ หรือถ้าเป็นใหม่ ๆ เราจะไม่ลงน้ำหนักเลย จนกว่าแพทย์จะสั่งว่า กระดูกติดดีแล้ว แข็งแรง จนสามารถลงน้ำหนักได้บางส่วนเป็นต้น ที่สำคัญจะต้องฟังคำฟังของแพทย์อย่างเคร่งคัด ข้อห้ามที่สำคัญมาก ก็คือ กิจกรรมใด ๆ ที่จะทำให้โลหะที่เราดามไว้หัก เช่น การไปลงน้ำหนักก่อนเวลาอันควร ไปขับรถมอเตอร์ไซค์ อาจจะทำให้รถมอเตอร์ไซค์ล้ม กระดูกหักซ้ำได้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะทำการรักษาได้ยากและมีปัญหายุ่งยากตามมา

7. กลุ่มผู้ป่วยที่พบบ่อยว่าจะมีปัญหากระดูกหัก
ตอบ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่มีกิจกรรมมากมาย โดยเฉพาะที่พบบ่อย คืออุบัติเหตุของมอเตอร์ไซค์ เป็นอันดับ 1 นอกจากนั้นจะเป็นกลุ่มของนักกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่ค่อนข้างจะอันตราย เช่น เทคอนโด มวย ยูโด หรือบาสเก็ตบอล ซ้ำนักกีฬากลุ่มนี้เมื่อล้มจะทำให้กระดูกหักโดยง่าย

8. จะต้องรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ ร่วมอีกหรือไม่
ตอบ หลังจากที่ทำการผ่าตัดแล้ว ปัญหาของการผ่าตัดก็ยังคงมีอยู่ เช่น ปัญหากล้ามเนื้อลีบหรือติดยึด เพราะฉะนั้นการรักษาที่สำคัญในระหว่างที่กระดูกยังไม่ติดก็จะต้องมีการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยจะต้องมีนักกายภาพบำบัดหรือแพทย์ทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูมาเกี่ยวข้องด้วยในการที่จะทำให้คนไข้ได้ออกกำลังกายในส่วนที่อาจจะลีบหรือมีข้อติดยึด เพื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงและติดเร็วขึ้น
9. หลังจากที่ได้รับการรักษาแล้ว สามารถจะทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติหรือไม่
ตอบ ผู้ป่วยก็สามารถยกแขนขาได้พอสมควร ในระยะเมื่อเราดามโลหะได้และแข็งแรงดี ผู้ป่วยก็สามารถขยับแขนขาได้ตามปกติ แต่มีข้อยกเว้นว่าอย่าลงน้ำหนัก หรือไปทำงานที่ต้องใช้แรงของกล้ามเนื้อมาก ส่วนใหญ่ หลังจากที่ทำการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว ประมาณ 2 เดือน ก็จะใช้งานได้เกือบปกติ ยกเว้นกระดูกต้นขาหรือหน้าแข้ง ต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ในการที่กระดูกแข็งแรงพอที่จะยืนเดินได้โดยไม่ต้องใช้ไม้เท้า แต่จะแข็งแรง 100% ก็ประมาณ 1 ปี – 1 1/12 ซึ่งในระยะแรก ๆ หลังจากผ่าตัดใหม่ ๆ จะต้องมาพบแพทย์ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่พอผ่านไปประมาณ 1-2-3 เดือน แพทย์จะนัดห่างขึ้นไปเรื่อย ๆ

10. ถ้าผู้ป่วยไม่ต้องการเอาโลหะออกจะมีอันตรายหรือไม่
ตอบ ส่วนใหญ่โลหะที่ดามไม่มีอันตรายใด ๆ แต่โลหะบางตำแหน่งที่เราใส่ไว้ เช่น หัวไหล่ที่เป็นเหล็กแหลม ซึ่งอาจจะมีการเคลื่อนที่ไปที่อื่นได้เช่น เหล็กเคลื่อนเข้าไปในปอดหรือช่องท้องไปทำอันตราย ส่วนโลหะที่ดามไว้ลึก ๆ เช่น เบ้าข้อสะโพกหรือกระดูกสันหลังเรามักจะไม่ไปเอาออก

11. ปัญหาที่พบในการรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูกดามโลหะ
ตอบ ปัญหาที่สำคัญ คือ การติดเชื้อซึ่งมีโอกาสประมาณ 1% ถ้าติดเชื้ออาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อในโพรงกระดูก เป็นหนอง จะรักษาได้ยากและใช้เวลานาน นอกจากนั้น อาจจะพบปัญหาการนูนออกมาของโลหะ ในกรณีนี้ก็จะต้องนำโลหะออก ปัญหาบางประการเช่น ผู้ป่วยบางคนอยู่ในห้องเย็น ๆ ห้องแอร์ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการปวดได้

12. ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารกลุ่มใดเป็นพิเศษ
ตอบ อาหารบำรุงกระดูกส่วนใหญ่เรามักจะนึกถึงแคลเซียม แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาคิดว่าไม่ต้องบำรุงอะไรมาก ถ้าเรารับประทานอาหารที่ดี ครบทั้ง 5 หมู่ ก็จะทำให้เกิดการหายของกระดูกโดยง่าย ถ้าไม่มีปัญหาการติดเชื้อ ไม่มีกระดูกหักละเอียด กระดูกก็ติดได้โดยง่าย ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่าโรคอื่น ๆ

https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=158



โดย: หมอหมู วันที่: 6 พฤศจิกายน 2562 เวลา:12:57:31 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]