Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)




ประกาศแพทยสภาที่ 50/2563 เรื่อง หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย

ด้วยกระบวนการรักษาพยาบาลภายใต้การดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น ทุกอย่างล้วนเป็นไปเพื่อมุ่งหวังให้ผู้ป่วยพ้นจากความเจ็บป่วยและทุกข์ทรมานอันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นสำคัญ แต่นอกเหนือจากความพยายามของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและบุคลากรสาธารณสุขแล้วหนึ่งในปัจจัยสำคัญอันจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ คือ “การได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วย” ซึ่งหลายประเด็นเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยอาจไม่ทันตระหนักหรือทราบมาก่อนว่า เป็นสิ่งจำเป็นและมีผลอย่างยิ่งต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 21 (1) ประกอบกับมาตรา7 (2) และ7 (4) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 แพทยสภาจึงออกประกาศเรื่อง “หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย” ดังนี้

ข้อ 1 การเอาใจใส่และดูแลสุขภาพของตนเอง รวมทั้งการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นสิ่งส าคัญที่สุดในกระบวนการรักษาพยาบาล ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเห็นว่าไม่อาจทำตามคำแนะนำดังกล่าวได้ ผู้ป่วยควรแจ้งให้ทราบโดยทันที เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกัน

ข้อ 2 ผู้ป่วยพึงเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพ “ที่เป็นจริงและอยู่ในความรับรู้” ของผู้ป่วยแก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้ เพื่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะได้รับทราบข้อมูลด้านสุขภาพทั้งหมดอันจะเป็นประโยชน์ต่อการให้การรักษาพยาบาลและป้องกันมิให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อผู้ป่วยรายอื่น รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 3 ผู้ป่วยพึงปฏิบัติตามระเบียบที่สถานพยาบาลกำหนดไว้

ข้อ 4 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่าการใช้สิทธิการรักษาพยาบาล รวมทั้งสิทธิผู้ป่วยตามที่กำหนดไว้ต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยท่านอื่น

ข้อ 5 ผู้ป่วยพึงหลีกเลี่ยงการกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและบุคลากรสาธารณสุขหากมีกรณีที่ผู้ป่วยไม่เห็นด้วยต่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ท่านสามารถให้คำแนะนำหรือใช้สิทธิร้องเรียนได้ตามระเบียบปฏิบัติของสถานพยาบาลนั้นๆ

ข้อ 6 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า ห้องฉุกเฉินเป็นสถานที่ซึ่งจัดเตรียมไว้เป็นการเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ตกอยู่ใน “ภาวะเร่งด่วนและเป็นภยันตรายอันใกล้ต่อชีวิต” เป็นสำคัญ บุคลากรสาธารณสุขจะให้การรักษาตามลำดับความเร่งด่วนทางการแพทย์เป็นสำคัญ ดังนั้นพึงหลีกเลี่ยงหรืองดเว้นการกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของบุคลากรในห้องฉุกเฉิน

ข้อ 7 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า “ทรัพยากรในระบบสาธารณสุขมีราคาแพงและมีจำนวนจำกัด” ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมร่วมกับสถานพยาบาลจึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการจัดสรรการใช้ทรัพยากรอันมีค่าอย่างระมัดระวัง การกระทำการใดๆ ของผู้ป่วยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรอันมีค่า และส่งผลเสียร้ายแรงต่อการรักษาพยาบาลของตัวผู้ป่วยเอง รวมทั้งต่อผู้ป่วยท่านอื่น

ข้อ 8 ผู้ป่วยพึงเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคลากรสาธารณสุขและผู้ป่วยท่านอื่นในสถานพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้ามกระทำการถ่ายรูป บันทึกเสียงหรือภาพเคลื่อนไหวรวมทั้งกระทำการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันนี้ โดยมิได้รับความยินยอมก่อน

ข้อ 9 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า “เอกสารลงนามในการให้ความยินยอมเพื่อรับการรักษาพยาบาล” เป็นเอกสารสำคัญที่ให้รายละเอียด ตลอดจนข้อจำกัดและความเสี่ยงของการรักษาพยาบาล ดังนั้นก่อนทำการลงนามในเอกสารดังกล่าว ผู้ป่วยต้องอ่านและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อน ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยหรือมีความไม่เข้าใจใด ๆ ควรสอบถามผู้เกี่ยวข้องก่อนการลงนามทุกครั้ง

ข้อ 10 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า การละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามรายละเอียดข้างต้น อาจส่งผลเสียต่อการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยเอง และในบางกรณี หากเกิดความเสียหายต่อสถานพยาบาลหรือผู้ป่วยท่านอื่น ท่านอาจได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ศาสตราจารย์เกียรติคุณสมศรี เผ่าสวัสดิ์

ขอเชิญทุกท่านศึกษารายละเอียด/ download เอกสารได้ที่เว็บไซต์แพทยสภา (https://tmc.or.th/) หรือกดที่ link ต่อไปนี้

 Infographic - หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
https://tmc.or.th/Media/media-2020-06-25-09-29-53.pdf

 ประกาศแพทยสภา - หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
https://tmc.or.th/Media/media-20200625153111.pdf

 ประกาศแพทยสภา - หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย ฉบับลงราชกิจจานุเบกษา
https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/152/T_0005.PDF


ที่มา: แพทยสภา
https://www.facebook.com/thaimedcouncil/posts/2597320040532885?__tn__=-R

หมายเหตุ ประกาศนี้เป็นเพียง " แนวทางความเข้าใจ ขอความร่วมมือ โดยไม่มีโทษใดๆ " เพียงแต่ย้ำเตือนว่า หากมีการกระทำใดในสถานพยาบาล ที่ผิดกฎหมาย เช่น ทำลายข้าวของ ตีกันในห้องฉุกเฉิน อาจถูกลงโทษได้ "ตามที่กฎหมายฉบับอื่น" บัญญัติ  

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เรียงตามระยะเวลาที่ออกประกาศ
- สิทธิของผู้ป่วย  (๑๖ เมษายน ๒๕๔๑)
- สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย (๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๘)
- หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย (๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๓)

 
***********************************************

แพทยสภายัน ประกาศ 10 ข้อหน้าที่ผู้ป่วย ไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลต่อคดีทางการแพทย์
Thu, 2020-07-02 18:27 -- hfocus team
https://www.hfocus.org/content/2020/07/19680

“หมอประสิทธิ์” อุปนายกแพทยสภาคนที่ 1 แจงประกาศ 10 ข้อพึงปฏิบัติหน้าที่ผู้ป่วย แค่ขอความร่วมมือ ไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลทางคดีทางการแพทย์ แต่เป็นประกาศที่ก่อประโยชน์ในการรักษาโรค เพราะไม่มีการปิดบังข้อมูลสุขภาพ

เมื่อวันที่ 2 ก.ค. ที่ อาคารสภาวิชาชีพ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา อุปนายกแพทยสภาคนที่1 กล่าวถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์การออกประกาศแพทยสภาที่ 50/2563 เรื่องหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย 10 ข้อว่า เป็นการมีการลงโทษ จำกัดสิทธิผู้ป่วย ทั้งที่แพทยสภาไม่ได้เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจ ว่า หลังออกประกาศดังกล่าวอาจทำให้มีการตีความผิดไป ซึ่งต้องขอยืนยันว่าประกาศดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย และแพทยสภาไม่ได้มีหน้าที่ในการออกกฎหมาย แต่ที่มีการออกประกาศฉบับดังกล่าวเพื่อเป็นคำแนะนำ และขอความร่วมมือจากประชาชนในการดูแลสุขภาพ และการรักษาโรค

ยกตัวอย่างประกาศข้อที่ 2 ซึ่งระบุว่าผู้ป่วยพึงเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพที่เป็นจริง นั้น ก็เพื่อประโยชน์ในการรักษาโรค และคนที่อยู่ใกล้ชิด อย่างเมื่อการระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อเข้ามารับการรักษาที่รพ.ศิริราช และไม่บอกว่าไปพื้นที่เสี่ยงมา ทำให้ครั้งนั้นมีบุคลากรการแพทย์ต้องกักตัวถึง 26 คน และหรือกรณีที่เราสอบถามว่าผู้ป่วยใช้ยาอะไรอยู่หรือไม่ ก็เพื่อการพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดการตีกันของยานั้นๆ

หรือประกาศข้อที่ 10 ที่ระบุว่า ผู้ป่วยพึงตระหนักว่าการละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามรายละเอียดข้างต้นอาจจะส่งผลต่อการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยเอง ในบางกรณี หากเกิดความเสียหายต่อสถานพยาบาลหรือผู้ป่วยท่านอื่น อาจได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งในข้อนี้อาจจะทำให้เกิดการตีความและเข้าใจผิดว่าถ้าไม่ทำตามแล้วจะมีบทลงโทษ ดังนั้นตนขอสื่อสารยืนยันว่าไม่ได้หมายความเช่นนั้น แต่กรณีนี้ แพทยสภาเป็นห่วงว่าหากมีการกระทำอะไร เช่น ตีกันในรพ.แล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อสถานพยาบาล อุปกรณ์การแพทย์ จะมีกฎหมายอื่นๆ ที่กำกับอยู่

ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้มีภาคประชาชนมีความกังวลว่าประกาศดังกล่าวจะมีผลต่อการพิจารณาคดีความทางการแพทย์หรือไม่ ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ยืนยันว่าประกาศฉบับนี้ไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีความทางการแพทย์แน่นอน เพราะตัวประกาศไม่ได้ใช้คำว่า “ต้องปฏิบัติ” แต่ประกาศจะใช้คำว่า “พึงปฏิบัติ” ซึ่งหมายถึงการแนะนำ การขอความร่วมมือ ซึ่งจะทำหรือไม่ทำก็ได้ เหมือนกับที่ตอนนี้เราขอให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออกจากบ้าน ถ้าไม่ทำก็ไม่ผิดกฎหมาย แต่ถ้าทำก็จะเป็นผลดี ในการป้องกันการติดเชื้อโควิดของคนนั้นๆ และช่วยลด หรือป้องกันการระบาดของโรคในสังคมไทย เป็นต้น

“ขอย้ำและบันทึกผ่านสื่อมวลชนว่าประกาศฉบับดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีความทางการแพทย์ เป็นเพียงประกาศขอความร่วมมือจากประชาชนเพื่อให้ผลในการรักษาโรคมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อตัวผู้ป่วยเอง และเพื่อสังคม” ศ.นพ.ประสิทธิ์กล่าว.

**********************************************



คำประกาศ "สิทธิ"และ"ข้อพึงปฏิบัติ"ของผู้ป่วย ฉบับใหม่นี้ออกและรับรองโดย ๖ สภาวิชาชีพ ในวันแม่แห่งชาติ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๘

ดาว์โหลดไฟล์ pdfได้ที่ https://tmc.or.th/file_upload/files/news2_24858.PDF

FB  ittaporn kanacharoen


"ได้เวลา หมอ-คนไข้ จับมือร่วมรักษา เพื่อผลที่ดีกว่า" (High Resolution)

เรียนคุณหมอ และ คุณคนไข้ที่รัก
การรักษาจะได้ผลดี หมอต้องทราบว่าผู้ป่วยมีสิทธิ 9 ข้อ และ คนไข้ต้องร่วมมือในการรักษา โดยมีข้อพึงปฏิบัติ 7 ข้อ

ทุกอย่างต้องมีส่วนร่วมและเข้าใจกัน..ทั้งสองฝ่าย

เครดิต
https://www.facebook.com/ittaporn/media_set?set=a.964122083648598.1073743171.100001524474522&type=3&pnref=story&__mref=message

 
 
 


 
.............................................


สิทธิผู้ป่วย

แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข

ร่วมกันประกาศสิทธิผู้ป่วย 16 เมษายน 2541

สิทธิ หมายถึง ความชอบธรรมที่บุคคล ใช้ยันกับผู้อื่นเพื่อคุ้มครอง หรือ รักษาผลประโยชน์ อันเป็นส่วนพึงได้ของบุคคลนั้น

สิทธิผู้ป่วย จึงหมายถึงความชอบธรรมที่ผู้ป่วยจะพึงได้รับเพื่อคุ้มครองหรือรักษาผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของตนเอง โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

1. ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
คำอธิบาย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
“บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
การบริการทางสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพโดยจะต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ เอกชนมีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะกระทำได้
การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายรัฐต้องจัดให้แก่ประชาชน โดยไม่คิดมูลค่าและทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”

2. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจาก ความแตกต่างด้าน ฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย
คำอธิบาย ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับบริการสุขภาพในมาตรฐานที่ดีที่สุดตามฐานานุรูป โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติทั้งนี้ มิได้หมายรวมถึง สิทธิอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น การไม่ต้องชำระค่ารักษาพยาบาล การพักในห้องพิเศษต่าง ๆ และ บริการพิเศษอื่น ๆ เป็นต้น

3. ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและชัดเจน จาก ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอม ให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น
คำอธิบาย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพมีหน้าที่ต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงอาการการดำเนินโรค วิธีการรักษา ความยินยอมของผู้ป่วยนั้นจึงจะมีผลตามกฎหมายยกเว้นเป็นการช่วยเหลือในกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน ตามข้อ 4

4. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือรีบด่วน จาก ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่


5. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็น ผู้ให้บริการแก่ตน
คำอธิบาย ในสถานพยาบาลมีผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพต่าง ๆ หลายสาขาปฏิบัติงานร่วมกันในการช่วยเหลือ ผู้ป่วย ร่วมกับ บุคลากรผู้ช่วยต่าง ๆ หลายอาชีพ ซึ่งบ่อยครั้งก่อให้เกิดความไม่แน่ใจและความไม่เข้าใจแก่ ผู้ป่วยและ ประชาชนทั่วไป การกำหนดสิทธิข้อนี้ทำให้ผู้ป่วยกล้าที่จะสอบถามข้อมูลที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจและสามารถตัดสินใจเพื่อคุ้มครองความปลอดกัยของตนเอง โดยเฉพาะจากผู้ให้บริการซึ่งไม่มีคุณภาพเพียงพอ

6. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการ
คำอธิบาย ปัจจุบันผู้ป่วยยังมีความเกรงใจและไม่ตระหนักถึงสิทธินี้ ทำให้เกิดความไม่เข้าใจและความขัดแย้ง ขณะเดียวกันผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจำนวนมากก็ยังมีความรู้สึกไม่พอใจเมื่อผู้ป่วยขอความเห็นจากผู้ให้บริการ สุขภาพผู้อื่นหรือไม่ให้ความร่วมมือในการที่ผู้ป่วยจะเปลี่ยนผู้ให้บริการหรือสถานบริการ การกำหนดสิทธิผู้ป่วยนี้จึงมีประโยชน์ที่จะลดความขัดแย้งและเป็นการ รับรองสิทธิผู้ป่วยที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง

7. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะ ได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
คำอธิบาย สิทธิส่วนบุคคลที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยนี้ถือเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายอาญามาตรา 323 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 ข้อบังคับแพทยสภาพ.ศ. 2526 ซึ่งถือว่าสังคมได้ให้ความสำคัญกับสิทธิผู้ป่วยในข้อนี้มาก เพราะถือว่าเป็นรากฐานที่ผู้ป่วยให้ความไว้วางใจต่อแพทย์

8. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วม หรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ

9. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตน ที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
คำอธิบาย ข้อมูลที่ปรากฏในเวชระเบียนถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของประวัติมีสิทธิที่จะรับทราบข้อมูลนั้นได้ ทั้งนี้รวมถึงกรณีผู้ป่วยยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของตนต่อบุคคลที่สาม เช่นในกรณีมีการประกันชีวิตหรือสุขภาพ

10. บิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเอง



::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
 

ข้อสังเกตคลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

๑.มีป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่ใบอนุญาต ๑๑ หลัก ติดไว้หน้าคลินิก

๒.แสดงใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

๓.แสดงใบอนุญาต ให้ดำเนินการสถานพยาบาล

๔.แสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ของปีปัจจุบัน

๕.แสดงรูปถ่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ พร้อม ชื่อและเลขที่ใบประกอบวิชาชีพ

๖.แสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล และ สามารถสอบถามอัตราค่ารักษาได้

๗.แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ สิทธิผู้ป่วย ในที่เปิดเผยและเห็นง่าย

 

อ้างอิง:

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

โทร02 193 7000 ต่อ 18416 - 7

www.mrd.go.th

FB@สารวัตรสถานพยาบาลOnline

https://www.facebook.com/สารวัตรสถานพยาบาล-Online-1502055683387990/

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::


คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80
ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-07-2020&group=7&gblog=238
แขวนป้ายแขวน ใบว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3
ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2
คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3
เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=10-2010&date=19&group=27&gblog=52
หมอคนไหนดี“ ??? .... คำถามสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42
ผลของการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=05&group=27&gblog=22
 ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=06-2013&date=11&group=27&gblog=12
ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือกโดยอ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-09-2011&group=7&gblog=149
หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1
ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5
 



Create Date : 23 ธันวาคม 2550
Last Update : 10 กรกฎาคม 2563 21:36:07 น. 6 comments
Counter : 17644 Pageviews.  

 
แวะมาอ่านและโหวตให้หมอหมูค่ะ


โดย: noklekkaa (papagearna ) วันที่: 9 ธันวาคม 2553 เวลา:10:58:16 น.  

 
ใช้เวลากี่วันในการขอประวัติค่ะ


โดย: cartoon IP: 49.229.94.189 วันที่: 23 กันยายน 2558 เวลา:11:14:28 น.  

 
“หน้าที่ผู้ป่วย” ไม่จำเป็นต้องมีจริงหรือ???

จนถึงขณะนี้ “สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย” ที่สภาวิชาชีพด้านสุขภาพได้ร่วมกันจัดทำขึ้นโดยมีท่านอดีตปลัดกระทรวง “นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์” ลงนามรับรองและประกาศให้สาธารณชนรับทราบ ได้ผ่านตาสาธารณชนมาเป็นเวลาประมาณสองเดือนเศษ ปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากสถานพยาบาล บุคลากรสาธารณสุขและประชาชนส่วนใหญ่ที่เห็นควรว่า “สิทธิย่อมต้องคู่กับหน้าที่” เสมอ ทั้งนี้ประกาศฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ “เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย” และ “เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะและประเทศชาติ” นั่นเอง แต่น่าเสียดายที่มีกลุ่มคนบางกลุ่ม (ซึ่งก็เป็นกลุ่มเดิม ๆ) ออกมาคัดค้านว่า “ผู้ปวยไม่จำเป็นต้องมีข้อพึงปฏิบัติ หรือไม่ต้องมีหน้าที่ใด ๆ” ถึงขนาดให้ยกเลิกข้อพึงปฏิบัติไปทั้งหมดทั้งสิ้น !! โดยกล่าวอ้างว่าไม่มีประเทศใด ๆ ที่กำหนดหน้าที่หรือความรับผิดชอบของผู้ป่วยไว้แต่อย่างใด ?!?

นานาอารยะประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านเราอย่าง สิงคโปร์ ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ ถึงขนาดบัญญัติให้ใช้คำว่า “หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ป่วย” แทนคำว่า “ข้อพึงปฏิบัติ” ด้วยซ้ำไป เนื้อหานอกเหนือไปจากข้อพึงปฏิบัติที่สภาวิชาชีพได้บัญญัติไว้แล้ว ยังมีเนื้อหาที่เน้นย้ำถึงหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อส่วนรวม ต่อเงินภาษีอากร ต่อทรัพยากรด้านสุขภาพอันเป็นของสาธารณะไว้อีกด้วย เช่น “ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องแจ้งโรงพยาบาลหรือผู้เกี่ยวข้องหากไม่สามารถไปตามนัดหมาย” เพราะเขามองว่าการผิดนัดโดยไม่บอกกล่าวเป็นการรอนสิทธิผู้ป่วยรายอื่นที่จะได้รับการรักษา หรือ “ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องให้ข้อมูลทั้งส่วนตัวและครอบครัวหากเป็นข้อมูลที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล” “ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องถาม เมื่อไม่เข้าใจขั้นตอนการรักษา” “ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องใช้ทรัพยากรด้านการรักษาอย่างเหมาะสมถูกต้องตามที่บุคลากรทางการแพทย์แนะนำ” (ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าการรักษานั้นได้มาฟรีหรือจ่ายเงินเองก็ตาม) “ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ชีวิต เพื่อให้ตนเองหายหรือดีขึ้นจากโรคตามที่แพทย์แนะนำ” (บทลงโทษคือต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองหากพิสูจน์ทราบว่าไม่ทำตามที่แนะนำ) “ห้ามผู้ป่วยไปใช้ห้องฉุกเฉินโดยไม่มีความฉุกเฉินจริง ๆ ทั้งนี้เพราะจะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินจริง ๆ ได้รับการรักษาล่าช้า เสียชีวิตหรือพิการโดยไม่จำเป็น อีกทั้งยังเป็นเพิ่มภาระงานของบุคลากรที่ต้องอยู่เวรฉุกเฉินโดยไม่จำเป็น หลายแห่งมีการเรียกเก็บเงินเพิ่มหากพบว่าไปรับการรักษาโดยไม่ฉุกเฉินจริง ๆ

ในสิงคโปร์มีกฎหมายระบุว่า “อวัยวะของผู้วายชนม์ ถือเป็นสมบัติของชาติ” ทั้งนี้เพื่อจะได้นำไปปลูกถ่ายเพื่อช่วยชีวิตคนอื่นได้ทันท่วงทีโดยไม่ต้องรอการยินยอม แต่ก็ยังเปิดช่องหากไม่มีความประสงค์จะบริจาค โดยเจ้าตัวต้องแสดงความไม่ยินยอมเป็นเอกสารแจ้งต่อทางการตั้งแต่ยังมีชีวิต อย่างไรก็ตาม ผลที่ตามมคือ เจ้าตัวจะเสียสิทธิด้านการรักษาพยาบาลในขณะยังมีชีวิตอยู่ (กฎข้อนี้ไม่ยกเว้นแม้ว่าจะนับถือศาสนามุสลิม) ในมาเลเซียระบุว่า “พลเมืองทุกคนมีหน้าที่ต้องรักษาสุขภาพให้ดี” เช่นไม่ทานสุรา ไม่ทานJunk food ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศและบุคลากรไม่ต้องรับภาระหนักโดยไม่จำเป็น !!! “พลเมืองต้องยอมรับการแซงชั่นด้วยมาตรการทางกฎหมายสุขภาพหากรัฐเห็นว่าจำเป็นเพื่อผลประโยชน์ต่อชาติ” ประเทศสังคมนิยมอย่างจีนก็ยังระบุว่า “ผู้ป่วยและญาติต้องให้เกียรติและปฏิบัติต่อบุคลากรอย่างสุภาพและเหมาะสม” หากมีการละเมิดสิทธิบุคลากรโดยไม่มีเหตุอันควรจะถูกลงโทษถึงขนาดจำคุกกันเลยทีเดียว ประเทศสวีเดนระบุว่า “หากปฏิบัติตนไม่สุภาพต่อบุคลากร ผู้ป่วยจะถูกจำหน่ายออกจากสถานพยาบาลและให้ไปรับการรักษาที่อื่นเอง”

น่าเสียดายที่บางกลุ่มกล่าวอ้างโดยยกกรณีตัวอย่างผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ว่าข้อพึงปฏิบัติไปรอนสิทธิผู้ป่วยในการเปิดเผยความลับนั้น หากไม่ใช่เพราอคติ ทำนองว่า “ค้านทุกเรื่อง” ก็อาจเป็นเพราะทำความเข้าใจดีพอ เหตุเพราะมีกฎหมายหลายฉบับคอยอุดช่องโหว่ในประเด็นนี้อยู่แล้ว เช่น ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความลับอันได้จากการปฏิบัติหน้าที่ ประมวลกฎหมายแพ่งในการฟ้องละเมิดหากใครไปเปิดเผยโดยไม่มีเหตุอันควร ที่สำคัญคือ “พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ถึงกับกำหนดบทลงโทษทางอาญากับผู้ป่วย ว่าหากไม่เปิดเผยข้อมูลที่ควรจะเปิดเผย แล้วส่งผลร้ายต่อคนอื่น ผู้ป่วยหรือญาติจะมีความผิดทางอาญาเลยทีเดียว” การกล่าวอ้างว่าการเปิดเผยข้อมูลนี้แล้วจะตกเป็นที่รังเกียจเดียดฉันท์นั้น ดูจะเป็นการแสดงออกที่เกิดจากความไม่รู้ เหตุเพราะทุกวันนี้บุคลากรหาได้มองโรคนี้น่าเกลียดน่ากลัวอย่างในอดีต สถานพยาบาลและหน่วยงานรัฐต่างพากันรณรงค์และให้ความรู้ในการปฏิบัติงาน การป้องกันตนเอง และการอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างดี ในชีวิตจริงจะเห็นบุคลากรยืนพูดคุยโอภาปราศัยกับผู้ติดเชื้อ ไม่ต่างกับการพูดคุยกับคนทั่วไปแต่อย่างใด ที่สำคัญในปัจจุบันมีโรคติดต่อร้ายแรงที่น่ากลัวกว่าการติดเชื้อ HIV อีกมากมาย เช่น ไข้กาฬหลังแอ่น หวัดนก เป็นต้น โรคเหล่านี้ล้วนป้องกันได้ยาก และอัตราตายสูงมากกว่าการติดเชื้อ HIV แบบเทียบกันไม่ติดเลย

จนถึงขณะนี้ สถานพยาบาล และบุคลากรการแพทย์ที่ให้การบริบาลรักษาผู้ป่วยอย่างเกินกำลัง ได้ร่วมกันรณรงค์ให้ผู้ป่วยได้รับทราบรายละเอียดดังกล่าว เพื่อมิให้ประเทศไทยถูกเรียกว่า “คนป่วยของเอเชีย” อีกต่อไป ด้วยการสร้างความตระหนักรู้ในหน้าที่ของตนเอง ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับที่ คสช.ได้ย้ำตั้งแต่เริ่มแรกที่เข้ามาปฏิรูปประเทศว่า “คนไทยทุกคนต้องเคารพสิทธิของคนอื่น และตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบไปพร้อม ๆ กัน” ...แต่กลุ่มบุคคลดังกล่าวกลับเดินสวนทางโดยไปยื่นคัดค้านต่อ รมต. สาธารณสุข “นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร” ว่าไม่ต้องการ “ข้อพึงปฏิบัติ” ซึ่งหมายความว่า จะขอเอาแต่สิทธิโดยปฏิเสธหน้าที่ใด ๆ นั่นเอง ทำให้อดวิตกไม่ได้ว่าหากครอบครัวส่วนใหญ่ของประเทศพร่ำสั่งสอนลูกหลานให้เรียกร้องเอาแต่สิทธิ โดยปฏิเสธหน้าที่ความรับผิดชอบ เช่นนี้ ประเทศชาติจะมีอนาคตเช่นไร ? ลูกหลานของเราจะอยู่กันอย่างไร ?

คนที่น่าจะให้คำตอบได้ชัดเจนที่สุดคือ ท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งหากเห็นว่า ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีหน้าที่ใด ๆ แล้ว ก็เพียงแค่ใช้อำนาจตาม ม. 44 ยกเลิกไปได้เลย....

เครดิต Methee Wong
https://www.facebook.com/methee.wong.7/posts/1166391753388387



โดย: หมอหมู วันที่: 17 ตุลาคม 2558 เวลา:14:46:28 น.  

 
หน้าที่ผู้ป่วย' ไม่จำเป็นต้องมีจริงหรือ ?

*****************************************

รบกวนสร้างความเข้าใจมากขึ้น เพื่อสุขภาพของคนทั้งประเทศ โดยสัปดาห์นี้ขอนำข้อความของคุณหมอ Methee wong ในเฟซบุ๊กมาอธิบายครับ

จนถึงขณะนี้ "สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย" ที่สภาวิชาชีพด้านสุขภาพได้ร่วมกันจัดทำขึ้น โดยมีอดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ลงนามรับรองและประกาศให้สาธารณชนรับทราบ ได้ผ่านตาสาธารณชนมาเป็นเวลาประมาณ 2 เดือน ปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากสถานพยาบาล บุคลากรสาธารณสุข และประชาชนส่วนใหญ่ที่เห็นควรว่า "สิทธิย่อมต้องคู่กับหน้าที่" เสมอ

ทั้งนี้ประกาศฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ "เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย" และ "เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะและประเทศชาติ" นั่นเอง อาจมีกลุ่มคนบางกลุ่มออกมาคัดค้านว่า "ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีข้อพึงปฏิบัติ หรือไม่ต้องมีหน้าที่ใดๆ" ถึงขนาดให้ยกเลิกข้อพึงปฏิบัติไปทั้งหมดทั้งสิ้น โดยกล่าวอ้างว่า ไม่มีประเทศใดที่กำหนดหน้าที่หรือความรับผิดชอบของผู้ป่วยไว้แต่อย่างใด

นานาอารยประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างเช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ถึงขนาดบัญญัติให้ใช้คำว่า "หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ป่วย" แทนคำว่า "ข้อพึงปฏิบัติ" เนื้อหานอกเหนือไปจากข้อพึงปฏิบัติที่สภาวิชาชีพได้บัญญัติไว้แล้ว ยังมีเนื้อหาที่เน้นย้ำถึงหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อส่วนรวม ต่อเงินภาษีอากร ต่อทรัพยากรด้านสุขภาพอันเป็นของสาธารณะไว้อีกด้วย

เช่น "ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องแจ้งโรงพยาบาล หรือผู้เกี่ยวข้องหากไม่สามารถไปตามนัดหมาย" เพราะเขามองว่า การผิดนัดโดยไม่บอกกล่าวเป็นการรอนสิทธิผู้ป่วยรายอื่นที่จะได้รับการรักษา หรือ "ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องให้ข้อมูลทั้งส่วนตัวและครอบครัว หากเป็นข้อมูลที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล" "ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องถาม เมื่อไม่เข้าใจขั้นตอนการรักษา" "ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องใช้ทรัพยากรด้านการรักษาอย่างเหมาะสมถูกต้องตามที่บุคลากรทางการแพทย์แนะนำ" (ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าการรักษานั้นได้มาฟรีหรือจ่ายเงินเอง) "ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อให้ตนเองหายหรือดีขึ้นจากโรคตามที่แพทย์แนะนำ" (บทลงโทษคือ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองหากพิสูจน์ทราบว่าไม่ทำตามที่แนะนำ) "ห้ามผู้ป่วยไปใช้ห้องฉุกเฉินโดยไม่มีความฉุกเฉินจริง" ทั้งนี้เพราะจะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินจริงได้รับการรักษาล่าช้า เสียชีวิต หรือพิการโดยไม่จำเป็น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มภาระงานของบุคลากรที่ต้องอยู่เวรฉุกเฉินโดยไม่จำเป็น หลายแห่งมีการเรียกเก็บเงินเพิ่ม หากพบว่าไปรับการรักษาโดยไม่ฉุกเฉินจริง

ในสิงคโปร์มีกฎหมายระบุว่า "อวัยวะของผู้วายชนม์ ถือเป็นสมบัติของชาติ" ทั้งนี้เพื่อจะได้นำไปปลูกถ่ายเพื่อช่วยชีวิตคนอื่นได้ทันท่วงที โดยไม่ต้องรอการยินยอม แต่ก็ยังเปิดช่องหากไม่มีความประสงค์จะบริจาค โดยเจ้าตัวต้องแสดงความไม่ยินยอมเป็นเอกสารแจ้งต่อทางการตั้งแต่ยังมีชีวิต อย่างไรก็ตาม ผลที่ตามคือ เจ้าตัวจะเสียสิทธิด้านการรักษาพยาบาลในขณะยังมีชีวิตอยู่ (กฎข้อนี้ไม่ยกเว้นแม้ว่าจะนับถือศาสนาอิสลาม)

ในมาเลเซียระบุว่า "พลเมืองทุกคนมีหน้าที่ต้องรักษาสุขภาพให้ดี" เช่น ไม่ดื่มสุรา ไม่กิน Junk food ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศและบุคลากรไม่ต้องรับภาระหนักโดยไม่จำเป็น! "พลเมืองต้องยอมรับการแซงก์ชั่นด้วยมาตรการทางกฎหมายสุขภาพ หากรัฐเห็นว่าจำเป็นเพื่อผลประโยชน์ต่อชาติ"

ประเทศสังคมนิยมอย่างจีนก็ยังระบุว่า "ผู้ป่วยและญาติต้องให้เกียรติและปฏิบัติต่อบุคลากรอย่างสุภาพและเหมาะสม" หากมีการละเมิดสิทธิบุคลากรโดยไม่มีเหตุอันควร จะถูกลงโทษถึงขนาดจำคุกกันเลยทีเดียว

ประเทศสวีเดนระบุว่า "หากปฏิบัติตนไม่สุภาพต่อบุคลากร ผู้ป่วยจะถูกจำหน่ายออกจากสถานพยาบาล และให้ไปรับการรักษาที่อื่นเอง"

น่าเสียดาย ที่บางกลุ่มอาจไม่เข้าใจ โดยยกกรณีตัวอย่างผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ว่าข้อพึงปฏิบัติไปรอนสิทธิผู้ป่วยในการเปิดเผยความลับนั้น ความจริงมีกฎหมายหลายฉบับคอยอุดช่องโหว่ในประเด็นนี้อยู่แล้ว เช่น ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความลับอันได้จากการปฏิบัติหน้าที่ ประมวลกฎหมายแพ่งในการฟ้องละเมิดหากใครไปเปิดเผยโดยไม่มีเหตุอันควร ที่สำคัญคือ "พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติถึงกับกำหนดบทลงโทษทางอาญากับผู้ป่วยว่า หากไม่เปิดเผยข้อมูลที่ควรจะเปิดเผยแล้วส่งผลร้ายต่อคนอื่น ผู้ป่วยหรือญาติจะมีความผิดทางอาญาเลยทีเดียว"

การกล่าวอ้างว่า การเปิดเผยข้อมูลนี้แล้วจะตกเป็นที่รังเกียจเดียดฉันท์นั้นน่าจะเกิดจากความไม่รู้ เหตุเพราะทุกวันนี้บุคลากรหาได้มองโรคนี้น่าเกลียดน่ากลัวอย่างในอดีต สถานพยาบาลและหน่วยงานรัฐต่างพากันรณรงค์และให้ความรู้ในการปฏิบัติงาน การป้องกันตนเอง และการอยู่ร่วมกันเป็นอย่างดี ในชีวิตจริงจะเห็นบุคลากรยืนพูดคุยโอภาปราศรัยกับผู้ติดเชื้อไม่ต่างจากการพูดคุยกับคนทั่วไปแต่อย่างใด ที่สำคัญในปัจจุบันมีโรคติดต่อร้ายแรงที่น่ากลัวกว่าการติดเชื้อเอชไอวีอีกมากมาย เช่น ไข้กาฬหลังแอ่น หวัดนก เป็นต้น โรคเหล่านี้ล้วนป้องกันได้ยาก และอัตราตายสูงมากกว่าการติดเชื้อเอชไอวีแบบเทียบกันไม่ติดเลย

จนถึงขณะนี้ สถานพยาบาลและบุคลากรการแพทย์ที่ให้การบริบาลรักษา ผู้ป่วยอย่างเกินกำลัง ได้ร่วมกันรณรงค์ให้ผู้ป่วยได้รับทราบรายละเอียดดังกล่าว เพื่อมิให้ประเทศไทยถูกเรียกว่า "คนป่วยของเอเชีย" อีกต่อไป ด้วยการสร้างความตระหนักรู้ในหน้าที่ของตนเอง ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ย้ำตั้งแต่เริ่มแรกที่เข้ามาปฏิรูปประเทศว่า "คนไทยทุกคนต้องเคารพสิทธิของคนอื่น และตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบไปพร้อมๆ กัน"

การคัดค้านต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ว่า ไม่ต้องการ "ข้อพึงปฏิบัติ" ซึ่งหมายความว่า จะขอเอาแต่สิทธิ โดยปฏิเสธหน้าที่ใดๆ นั่นเอง ทำให้อดวิตกไม่ได้ว่า หากเรียกร้องเอาแต่สิทธิ โดยปฏิเสธหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นนี้ ประเทศชาติจะมีอนาคตเช่นไร? ลูกหลานของเราจะอยู่กันอย่างไร ?

ที่หมอขอยกคำอธิบายของคุณหมอ methee wong มานี่ ไม่ได้เข้าข้างหมอด้วยกัน แต่เรียนพวกเราทุกคนอย่ามองในแง่ลบทั้งหมด มีอะไรที่ช่วยกัน ต้องทำ การดูแลตนเอง การบอกข้อมูล ยาทุกชนิดที่เข้ามาอยู่ในคลังไม่ว่าหมอจ่าย ซื้อกินเอง ต้องบอกให้หมด ในเรื่องเอชไอวีนั้น ถ้าไม่บอก การรักษาจะผิดหมดและเกิดผลร้ายครับ

จะให้ไหว้หรือกราบก็ยอมครับ ภาวะสาธารณสุขขณะนี้ก็เต็มกลืนจนจะล่มสลายแล้วครับ !

ผู้เขียน : ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา


//www.hfocus.org/content/2015/11/11311


โดย: หมอหมู วันที่: 1 ธันวาคม 2558 เวลา:13:44:32 น.  

 
แพทยสภาได้ออกประกาศ ที่ 50/2563 ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2563 เรื่อง หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย เพื่อสร้างความตระหนักแก่ผู้ป่วยถึงความสำคัญของการให้ความร่วมมือในกระบวนการรักษาพยาบาลภายใต้การดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่มุ่งหวัง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 152 ง วันที่ 29 มิถุนายน 2563)

ขอเชิญทุกท่านศึกษารายละเอียด/ download เอกสารได้ที่เว็บไซต์แพทยสภา (https://tmc.or.th/) หรือกดที่ link ต่อไปนี้

Infographic - หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
https://tmc.or.th/Media/media-2020-06-25-09-29-53.pdf

ประกาศแพทยสภา - หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
https://tmc.or.th/Media/media-20200625153111.pdf

ประกาศแพทยสภา - หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย ฉบับลงราชกิจจานุเบกษา
//www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/152/T_0005.PDF


ที่มา: แพทยสภา
https://www.facebook.com/thaimedcouncil/posts/2597320040532885?__tn__=-R

หมายเหตุ ประกาศนี้เป็นเพียง " แนวทางความเข้าใจ ขอความร่วมมือ โดยไม่มีโทษใดๆ " เพียงแต่ย้ำเตือนว่า หากมีการกระทำใดในสถานพยาบาล ที่ผิดกฎหมาย เช่น ทำลายข้าวของ ตีกันในห้องฉุกเฉิน อาจถูกลงโทษได้ "ตามที่กฎหมายฉบับอื่น" บัญญัติ

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เรียงตามระยะเวลาที่ออกประกาศ
- สิทธิของผู้ป่วย (๑๖ เมษายน ๒๕๔๑)
- สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย (๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๘)
- หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย (๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๓)

***********************************************

แพทยสภายัน ประกาศ 10 ข้อหน้าที่ผู้ป่วย ไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลต่อคดีทางการแพทย์
Thu, 2020-07-02 18:27 -- hfocus team
https://www.hfocus.org/content/2020/07/19680

“หมอประสิทธิ์” อุปนายกแพทยสภาคนที่ 1 แจงประกาศ 10 ข้อพึงปฏิบัติหน้าที่ผู้ป่วย แค่ขอความร่วมมือ ไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลทางคดีทางการแพทย์ แต่เป็นประกาศที่ก่อประโยชน์ในการรักษาโรค เพราะไม่มีการปิดบังข้อมูลสุขภาพ

เมื่อวันที่ 2 ก.ค. ที่ อาคารสภาวิชาชีพ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา อุปนายกแพทยสภาคนที่1 กล่าวถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์การออกประกาศแพทยสภาที่ 50/2563 เรื่องหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย 10 ข้อว่า เป็นการมีการลงโทษ จำกัดสิทธิผู้ป่วย ทั้งที่แพทยสภาไม่ได้เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจ ว่า หลังออกประกาศดังกล่าวอาจทำให้มีการตีความผิดไป ซึ่งต้องขอยืนยันว่าประกาศดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย และแพทยสภาไม่ได้มีหน้าที่ในการออกกฎหมาย แต่ที่มีการออกประกาศฉบับดังกล่าวเพื่อเป็นคำแนะนำ และขอความร่วมมือจากประชาชนในการดูแลสุขภาพ และการรักษาโรค

ยกตัวอย่างประกาศข้อที่ 2 ซึ่งระบุว่าผู้ป่วยพึงเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพที่เป็นจริง นั้น ก็เพื่อประโยชน์ในการรักษาโรค และคนที่อยู่ใกล้ชิด อย่างเมื่อการระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อเข้ามารับการรักษาที่รพ.ศิริราช และไม่บอกว่าไปพื้นที่เสี่ยงมา ทำให้ครั้งนั้นมีบุคลากรการแพทย์ต้องกักตัวถึง 26 คน และหรือกรณีที่เราสอบถามว่าผู้ป่วยใช้ยาอะไรอยู่หรือไม่ ก็เพื่อการพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดการตีกันของยานั้นๆ

หรือประกาศข้อที่ 10 ที่ระบุว่า ผู้ป่วยพึงตระหนักว่าการละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามรายละเอียดข้างต้นอาจจะส่งผลต่อการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยเอง ในบางกรณี หากเกิดความเสียหายต่อสถานพยาบาลหรือผู้ป่วยท่านอื่น อาจได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งในข้อนี้อาจจะทำให้เกิดการตีความและเข้าใจผิดว่าถ้าไม่ทำตามแล้วจะมีบทลงโทษ ดังนั้นตนขอสื่อสารยืนยันว่าไม่ได้หมายความเช่นนั้น แต่กรณีนี้ แพทยสภาเป็นห่วงว่าหากมีการกระทำอะไร เช่น ตีกันในรพ.แล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อสถานพยาบาล อุปกรณ์การแพทย์ จะมีกฎหมายอื่นๆ ที่กำกับอยู่

ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้มีภาคประชาชนมีความกังวลว่าประกาศดังกล่าวจะมีผลต่อการพิจารณาคดีความทางการแพทย์หรือไม่ ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ยืนยันว่าประกาศฉบับนี้ไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีความทางการแพทย์แน่นอน เพราะตัวประกาศไม่ได้ใช้คำว่า “ต้องปฏิบัติ” แต่ประกาศจะใช้คำว่า “พึงปฏิบัติ” ซึ่งหมายถึงการแนะนำ การขอความร่วมมือ ซึ่งจะทำหรือไม่ทำก็ได้ เหมือนกับที่ตอนนี้เราขอให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออกจากบ้าน ถ้าไม่ทำก็ไม่ผิดกฎหมาย แต่ถ้าทำก็จะเป็นผลดี ในการป้องกันการติดเชื้อโควิดของคนนั้นๆ และช่วยลด หรือป้องกันการระบาดของโรคในสังคมไทย เป็นต้น

“ขอย้ำและบันทึกผ่านสื่อมวลชนว่าประกาศฉบับดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีความทางการแพทย์ เป็นเพียงประกาศขอความร่วมมือจากประชาชนเพื่อให้ผลในการรักษาโรคมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อตัวผู้ป่วยเอง และเพื่อสังคม” ศ.นพ.ประสิทธิ์กล่าว.




โดย: หมอหมู วันที่: 3 กรกฎาคม 2563 เวลา:15:05:48 น.  

 
ประกาศแพทยสภาที่ 50/2563 เรื่อง หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย

ด้วยกระบวนการรักษาพยาบาลภายใต้การดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น ทุกอย่างล้วนเป็นไปเพื่อมุ่งหวังให้ผู้ป่วยพ้นจากความเจ็บป่วยและทุกข์ทรมานอันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นสำคัญ แต่นอกเหนือจากความพยายามของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและบุคลากรสาธารณสุขแล้วหนึ่งในปัจจัยสำคัญอันจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ คือ “การได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วย” ซึ่งหลายประเด็นเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยอาจไม่ทันตระหนักหรือทราบมาก่อนว่า เป็นสิ่งจำเป็นและมีผลอย่างยิ่งต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 21 (1) ประกอบกับมาตรา7 (2) และ7 (4) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 แพทยสภาจึงออกประกาศเรื่อง “หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย” ดังนี้

ข้อ 1 การเอาใจใส่และดูแลสุขภาพของตนเอง รวมทั้งการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นสิ่งส าคัญที่สุดในกระบวนการรักษาพยาบาล ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเห็นว่าไม่อาจทำตามคำแนะนำดังกล่าวได้ ผู้ป่วยควรแจ้งให้ทราบโดยทันที เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกัน

ข้อ 2 ผู้ป่วยพึงเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพ “ที่เป็นจริงและอยู่ในความรับรู้” ของผู้ป่วยแก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้ เพื่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะได้รับทราบข้อมูลด้านสุขภาพทั้งหมดอันจะเป็นประโยชน์ต่อการให้การรักษาพยาบาลและป้องกันมิให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อผู้ป่วยรายอื่น รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 3 ผู้ป่วยพึงปฏิบัติตามระเบียบที่สถานพยาบาลกำหนดไว้

ข้อ 4 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่าการใช้สิทธิการรักษาพยาบาล รวมทั้งสิทธิผู้ป่วยตามที่กำหนดไว้ต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยท่านอื่น

ข้อ 5 ผู้ป่วยพึงหลีกเลี่ยงการกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและบุคลากรสาธารณสุขหากมีกรณีที่ผู้ป่วยไม่เห็นด้วยต่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ท่านสามารถให้คำแนะนำหรือใช้สิทธิร้องเรียนได้ตามระเบียบปฏิบัติของสถานพยาบาลนั้นๆ

ข้อ 6 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า ห้องฉุกเฉินเป็นสถานที่ซึ่งจัดเตรียมไว้เป็นการเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ตกอยู่ใน “ภาวะเร่งด่วนและเป็นภยันตรายอันใกล้ต่อชีวิต” เป็นสำคัญ บุคลากรสาธารณสุขจะให้การรักษาตามลำดับความเร่งด่วนทางการแพทย์เป็นสำคัญ ดังนั้นพึงหลีกเลี่ยงหรืองดเว้นการกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของบุคลากรในห้องฉุกเฉิน

ข้อ 7 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า “ทรัพยากรในระบบสาธารณสุขมีราคาแพงและมีจำนวนจำกัด” ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมร่วมกับสถานพยาบาลจึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการจัดสรรการใช้ทรัพยากรอันมีค่าอย่างระมัดระวัง การกระทำการใดๆ ของผู้ป่วยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรอันมีค่า และส่งผลเสียร้ายแรงต่อการรักษาพยาบาลของตัวผู้ป่วยเอง รวมทั้งต่อผู้ป่วยท่านอื่น

ข้อ 8 ผู้ป่วยพึงเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคลากรสาธารณสุขและผู้ป่วยท่านอื่นในสถานพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้ามกระทำการถ่ายรูป บันทึกเสียงหรือภาพเคลื่อนไหวรวมทั้งกระทำการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันนี้ โดยมิได้รับความยินยอมก่อน

ข้อ 9 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า “เอกสารลงนามในการให้ความยินยอมเพื่อรับการรักษาพยาบาล” เป็นเอกสารสำคัญที่ให้รายละเอียด ตลอดจนข้อจำกัดและความเสี่ยงของการรักษาพยาบาล ดังนั้นก่อนทำการลงนามในเอกสารดังกล่าว ผู้ป่วยต้องอ่านและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อน ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยหรือมีความไม่เข้าใจใด ๆ ควรสอบถามผู้เกี่ยวข้องก่อนการลงนามทุกครั้ง

ข้อ 10 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า การละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามรายละเอียดข้างต้น อาจส่งผลเสียต่อการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยเอง และในบางกรณี หากเกิดความเสียหายต่อสถานพยาบาลหรือผู้ป่วยท่านอื่น ท่านอาจได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ศาสตราจารย์เกียรติคุณสมศรี เผ่าสวัสดิ์


โดย: หมอหมู วันที่: 4 กรกฎาคม 2563 เวลา:13:20:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]