Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ไวรัสโคโรนา2012 (MERS , เมอร์ส) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)



สธ.พบผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางรายที่ 2 ของประเทศไทย เป็นชาวโอมาน
แหล่งที่มา : สำนักข่าว
วันที่ข่าว : 24 มกราคม 2559
กระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส รายที่ 2 ของประเทศไทย เป็นชายชาวโอมาน ขณะนี้รักษาตัวในห้องแยกโรคที่สถาบันบำราศนราดูร มีผู้สัมผัสผู้ป่วยรายนี้ทั้งหมด 252 คน เสี่ยงสูง 37 คน ทั้งหมดยังไม่ใช่ผู้ป่วย ยังไม่แพร่โรค ขณะนี้ทราบชื่อและที่อยู่ และดำเนินการติดตามทั้งหมด ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ยึดมาตรการ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ หากกลับจากพื้นที่เสี่ยงโรคระบาด มีไข้ ไอ รีบพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง สงสัยโทร สายด่วน 1422

ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ผู้แทนโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ แถลงข่าว การดำเนินการเฝ้าระวัง คัดกรองผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการเฝ้าระวังคัดกรองอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง โดยในวันนี้ได้พบผู้ป่วยยืนยันโรครายที่ 2 ของประเทศไทย ผู้ป่วยเป็นชาย อายุ 71 ปี ชาวโอมาน เดินทางเข้าประเทศไทย วันที่ 22 มกราคม 2559 เนื่องจากรักษาที่โรงพยาบาลที่โอมาน ด้วยอาการไข้ ไอ มาประมาณ 1 สัปดาห์ อาการไม่ดีขึ้น จึงเดินทางมาประเทศไทย โรงพยาบาลได้รับตัวในห้องแยกโรค พร้อมส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อเมอร์ส ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ และโรงพยาบาลจุฬาฯ ได้ผลบวก

ต่อมาในวันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 18.20 น. ได้ส่งต่อมารักษาที่สถาบันบำราศนราดูร พร้อมส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อเมอร์ส ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ผลบวกเช่นกัน อาการผู้ป่วยในเช้าวันนี้ ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี มีอาการเหนื่อย ได้รับออกซิเจนและยาบรรเทาอาการ เนื่องจากมีอาการอักเสบที่ปอด รับประทานอาหารได้ ยังนอนพักรักษาตัวที่ห้องแยกโรค สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุข ต้องดำเนินการต่อคือ การติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วยรายนี้ ประกอบด้วย ญาติที่เดินทางมาพร้อม 1 คน (เสี่ยงสูง) ลูกเรือและผู้โดยสารบนเครื่องบน 218 คนที่ยังอยู่ในประเทศไทย (จากทั้งหมด 239 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 23 คน เสี่ยงต่ำ 195 คน) คนขับรถแท็กซี่ 1 คน (เสี่ยงสูง) พนักงานโรงแรม 1 คน และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 30 คน (เสี่ยงสูง 11 คน)

โดยผู้สัมผัสทั้งหมดนี้ จะนำเข้าระบบเฝ้าระวังติดตามอาการจนครบ 14 วัน จนพ้นระยะฟักตัวของโรค ในจำนวนมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจำนวน 37 คน ประกอบด้วยญาติ 1คน ผู้โดยสารบนเครื่องบิน 23 คน คนขับรถแท็กซี่ 1 คน พนักงานโรงแรม 1 คน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 11 คน จะรับไว้ในสถานที่ที่เตรียมไว้ เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ที่เหลือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ซึ่งจะแนะนำให้แยกตัวเอง ลดการสังคมกับผู้อื่น มีระบบติดตามจากเจ้าหน้าที่

ด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้ป่วยรายนี้ เป็นรายที่ 2 ของประเทศไทย เรามีประสบการณ์ในการทำงาน ทำให้ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงน้อยลง ระบบตรวจจับได้เร็วขึ้นใช้เวลาเพียง10ชั่วโมงเท่านั้น มีระบบการประสานงานที่ดีทั้งโรงพยาบาลรัฐ เอกชน ด่านควบคุมโรค ตรวจคนเข้าเมือง ทำให้ทราบชื่อ ที่อยู่ผู้สัมผัสและติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วยได้ทั้งหมด พร้อมให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลที่มีระบบควบคุมป้องกัน เชื้อโรคไม่สามารถออกมานอกโรงพยาบาลได้ ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก ขอให้ประชาชนใช้มาตรการ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ หากเดินทางไปประเทศการระบาดของโรคเมอร์ส กลับมาภายใน 14 วัน หากมีไข้ ไอ ขอให้รีบพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง มีข้อสงสัย โทรปรึกษา สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422





องค์ความรู้ เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2012
(Middle East Respiratory Syndrome: MERS) หรือโรคเมอร์ส
กรมควบคุมโรค วันที่ 6 มิถุนายน 2558

1. ลักษณะโรค : โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2012 หรือกลุ่มอาการทางเดินหายใจตะวันออกกลาง Middle East Respiratory Syndrome: MERS หรือโรคเมอร์ส เป็นเชื้อสายพันธุ์หนึ่งในกลุ่มไวรัสโคโรนา (MERS Corona Virus :MERS CoV) ขณะนี้ พบว่า การระบาดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลาง
ล่าสุด มีการระบาดที่เกาหลีใต้ ซึ่งมีรายงานการติดเชื้อจากคนสู่คนในวงจำกัด ซึ่งพบในกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันหลายกลุ่ม ได้แก่ ผู้ดูแลใกล้ชิด สมาชิกครอบครัวเดียวกัน บุคลากรทางการแพทย์ แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายของเชื้อในวงกว้าง

ตั้งแต่ ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2557 พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น โดยบางรายไม่มีรายงานการยืนยันทางห้องปฏิบัติการ และในบางรายมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ และดื่มน้ำนมดิบจากสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอูฐ
อูฐจึงเป็นสัตว์รังโรคหลักที่อาจนำเชื้อมาสู่คนได้ ขณะนี้ข้อมูลจากองค์การอนามัยโรค แจ้งว่าเป็นการติดเชื้อระหว่างสัตว์สู่คน สำหรับการแพร่เชื้อระหว่างคนสู่คนสามารถแพร่ผ่านทางเสมหะของผู้ป่วยจากการไอ เป็นต้น และมักเกิดจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยมิได้มีการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาล

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ MERS CoV มักมีอาการไข้ ไอ นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางราย จะมีอาการในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องร่วง ร่วมด้วย บางรายที่มีอาการรุนแรงจะมี หายใจหอบ และหายใจลำบาก ปอดบวม

รายงานจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต ร้อยละ 36

2. สถานการณ์ :
ทั่วโลก
ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2558 องค์การอนามัยโลก รายงานพบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 1,190 ราย เสียชีวิต 444 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.31 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 66) อายุเฉลี่ย 49 ปี โดยพบรายงานผู้ป่วยทั้งหมดจาก 25 ประเทศ ดังต่อไปนี้
- กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง 10 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อิหร่าน จอร์แดน คูเวต เลบานอน กาตาร์ โอมาน และเยเมน
- กลุ่มประเทศยุโรป 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมัน กรีซ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ตุรกี และอังกฤษ
- กลุ่มประเทศแอฟริกา 2 ประเทศ ได้แก่ อัลจีเรีย และตูนีเซีย
- กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
- กลุ่มประเทศเอเชีย 3 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และจีนแผ่นดินใหญ่

โดยผู้ป่วยส่วนมาก (ร้อยละ 85 ) เป็นผู้ป่วยที่มาจากประเทศซาอุดิอาระเบีย
ทั้งนี้ในปี 2558 พบผู้ป่วยโรคเมอร์ส ใน 10 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิหร่าน โอมาน กาตาร์ จอร์แดน เยอรมัน จีน ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้
และรายงานการระบาดในประเทศเกาหลีใต้ ณ วันที่ 5 มิถุนายน ๒๕๕๘ องค์การอนามัยโลกได้รายงานอย่างเป็นทางการ พบผู้ป่วยที่ประเทศเกาหลีใต้ จำนวน 36 ราย ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นผู้ที่มีประวัติสัมผัสเชื้อในประเทศเกาหลีใต้ และเดินทางผ่านฮ่องกงไปยังประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ 1 ราย และมีผู้เสียชีวิต 3 ราย ซึ่งจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาล และการติดเชื้อในบ้าน และองค์การอนามัยโลกรายงานข้อมูลเพิ่มเติมว่าพบการติดเชื้อของผู้ป่วยในรุ่นที่ 3 แล้ว
ประเทศไทย ยังไม่พบรายงานผู้ป่วยโรคนี้ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยง จากผู้เดินทางไปมาระหว่างประเทศที่มีการระบาด ประกอบกับประชาชนชาวไทยเดินทางไปแสวงบุญในประเทศแถบตะวันออกกลาง และมีนักท่องเที่ยวจากประเทศแถบตะวันออกกลางที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย

3. เชื้อก่อโรค : เชื้อไวรัสโคโรนา (MERS CoV)

4. อาการของโรค : ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ MERS CoV บางรายไม่มีอาการ ในรายที่มีอาการบางรายมีอาการทางระบบทางเดินหายใจเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางราย จะมีอาการในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องร่วง ร่วมด้วย และบางรายอาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจรุนแรง และถึงแก่ชีวิตได้
ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงอาจทำให้เกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลว จึงควรได้รับการดูแลในห้องดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ
(intensive care unit) โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หายใจหอบ และหายใจลำบาก ปอดบวม ซึ่งในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด พบว่าจะมีรายงานจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต ร้อยละ 36 ส่วนในผู้ที่มีโรคประจำตัวซึ่งทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ ลดน้อยลง การแสดงของโรคอาจมีความแตกต่างออกไป

5. ระยะฟักตัวของโรค : มีระยะฟักตัว 2-14 วัน
(//www.who.int/csr/disease/coronavirus_infections/MERS_CoV_RA_20140424.pdf?ua=1)

6. วิธีการแพร่โรค :
ตั้งแต่ ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2014 พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบางรายไม่มีรายงานการยืนยันทางห้องปฏิบัติการ และในบางรายมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ และดื่มน้ำนมดิบจากสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอูฐ อูฐจึงเป็นสัตว์รังโรคหลักที่อาจนำเชื้อมาสู่คนได้
ขณะนี้ข้อมูลจากองค์การอนามัยโรค แจ้งว่าเป็นการติดเชื้อระหว่างสัตว์สู่คน สำหรับการแพร่เชื้อระหว่างคนสู่คนสามารถแพร่ผ่านทางเสมหะของผู้ป่วยจากการไอ เป็นต้น และมักเกิดจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยมิได้มีการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาล

สรุปการติดต่อผ่านทาง
การสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง
ติดต่อผ่านละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย การไอ หรือจาม
มือที่สัมผัสของใช้ร่วมกับผู้ป่วย
การสัมผัสกับอูฐที่มีเชื้อ

ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า ไวรัสเมอร์สเป็นเชื้อโรคที่มีอัตราการแพร่กระจายไม่ได้สูงมากนัก คือ ผู้ป่วย 1 คน สามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ 0.60-0.69 คน ในขณะที่อัตราการแพร่กระจายของโรคอื่น ๆ มีมากกว่า
ผู้ป่วยโรคหัด 1 คน สามารถแพร่กระจายเชื้อต่อได้อีก 12-18 คน
ผู้ป่วยคางทูม 1 คน สามารถแพร่กระจายเชื้อต่อได้อีก 4-7 คน
ผู้ป่วยเอชไอวี 1 คน สามารถแพร่กระจายเชื้อต่อได้อีก 2-5 คน
ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา 1 คน สามารถแพร่กระจายเชื้อต่อได้อีก 1.5-2.5 คน

ดังนั้น โอกาสที่โคโรน่าไวรัสจะแพร่กระจายเป็นกลุ่มก้อนในชุมชนจึงมีน้อย ยกเว้นคนนั้นจะมีความเสี่ยงจริง ๆ เช่น เป็นผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย หรือมีร่างกายไม่แข็งแรง
ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ให้ข้อมูลว่า แม้ไวรัสเมอร์สจะเป็นไวรัสกลุ่มเดียวกับซาร์ส แต่โอกาสการแพร่ระบาดจากคนสู่คนน้อยกว่าโรคซาร์ส 5 เท่า ทำให้การแพร่ระบาดส่วนใหญ่จึงยังจำกัดอยู่ในพื้นที่ตะวันออกกลาง โอกาสแพร่ระบาดไปทั่วโลกน้อย ต่างจากโรคซาร์สที่มีโอกาสสามารถแพร่ไปทั่วโลกได้มากกว่า
ทั้ง นี้ปัจจุบันยังไม่พบว่าเชื้อไวรัสตัวนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือกลายพันธุ์แต่อย่างใด และแม้ว่าโรคนี้จะมีอัตราการแพร่ระบาดจากคนสู่คนต่ำ แต่สำหรับการระบาดที่เกาหลีใต้ ถือเป็นการแพร่กระจายแบบสุดยอด หรือ ซูเปอร์ สเพรด (Super spread) คือ แพร่ระบาดเร็วและจำนวนมาก จากคนเกาหลีที่ติดเชื้อจากพื้นที่ตะวันออกกลางเข้ามาในประเทศ และมีผู้ติดเชื้อต่อไปอีกถึง 30 คนในระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์ สาเหตุของการแพร่ระบาดเร็วคาดว่ามาจากความไม่รู้ ทำให้ไม่มีการระมัดระวังตัว โอกาสแพร่กระจายเป็นจำนวนมากจึงสูง

7. การรักษา : เป็นการรักษาตามอาการแบบประคับประคอง ยังไม่มีวัคซีน และยารักษาที่จำเพาะ
เนื่องจากยังไม่มียารักษา จึงทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตถึงร้อยละ 40 ต่างจากโรคซาร์สที่แม้จะแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าไวรัสเมอร์ส แต่อัตราการเสียชีวิตมีเพียงร้อยละ 9.6 เท่านั้น

8. การป้องกัน :
• สำหรับผู้เดินทาง/นักท่องเที่ยว
จากข้อมูลที่มีในปัจจุบัน พบว่ากลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคไตวาย หรือผู้ที่ภูมิต้านทานต่ำ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษหากท่านเดินทางเข้าในประเทศที่มีการระบาด และเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม หรือสถานที่เก็บผลผลิตทางการเกษตร และหรือในพื้นที่ตลาดที่มีอูฐอยู่ และควรปฏิบัติตน ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ที่มีอาการไอ หรือจาม
- ผู้มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการป่วย อาจพิจารณาสวมหน้ากากป้องกันโรค และเปลี่ยนบ่อยๆ เมื่อเข้าไปในสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันมากๆ
- ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยสัมผัส
- หลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสกับฟาร์มสัตว์ หรือสัตว์ป่าต่างๆ หรือดื่มนมสัตว์ โดยเฉพาะอูฐ ซึ่งอาจเป็นแหล่งรังโรคของเชื้อได้
- ถ้ามีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ (มีอาการรุนแรงที่ส่งกระทบต่อกิจวัตรประจำวันปกติ) ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสคลุกคลีกับบุคคลอื่นเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ เมื่อไอ หรือจามควรใช้กระดาษชำระปิดปาก และจมูกทุกครั้ง และทิ้งกระดาษชำระที่ใช้แล้วลงในถังขยะที่ปิดมิดชิด และล้างมือให้สะอาด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ควรไอหรือจามลงบนเสื้อผ้าบริเวณต้นแขน ไม่ควรจามรดมือและรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่

ทำอย่างไรถ้าจำเป็นต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่มีไวรัสเมอร์สแพร่ระบาด
ตรวจสอบประวัติการฉีดวัคซีนของตัวเอง
งดการสัมผัสกับอูฐ หรือดื่มนมอูฐดิบ หากเดินทางไปยังประเทศในตะวันออกกลาง
สวมใส่หน้ากากอนามัย
หลีกเลี่ยงไปในสถานที่แออัด มีคนรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมา
หมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์ล้างมือ
ไม่ควรสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย หรือต้องสงสัยป่วยด้วยโรคนี
หากเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว ภายใน 14 วัน มีอาการเป็นไข้ เป็นหวัด หอบ หายใจลำบาก ให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังไม่มีคำสั่งห้ามเดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาด ดังนั้นต้องคอยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

หากใครมีประวัติเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด แล้วมีอาการไอ เป็นหวัด ให้ใส่หน้ากากอนามัย และพักผ่อนอยู่ที่บ้าน หากอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา พร้อมแจ้งประวัติการเดินทางไปต่างประเทศด้วย แต่ถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ไตวาย โรคปอดเรื้อรัง และภูมิต้านทานโรคต่ำ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอถึง 2 วัน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงกว่า นอกจากนี้ยังสามารถโทร. 1422 ปรึกษาสายด่วนกรมควบคุมโรค ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่เว็บไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค beid.ddc.moph.go.th

• สำหรับประชาชนทั่วไป
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ที่มีอาการไอ หรือจาม
- ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยสัมผัส
- เมื่อเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม หรือพื้นที่โรงเก็บผลผลิตทางการเกษตร ควรรักษาสุขอนามัย ทั่วไป เช่น ล้างมือเป็นประจำ ก่อน และหลังการสัมผัสสัตว์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วย และรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย

• สำหรับสถานพยาบาล
เนื่องจาก พบรายงานการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล (Hospital Setting) สู่บุคคลในครอบครัว ได้แก่ ญาติที่ไปเยี่ยม และให้การดูแลผู้ป่วย ผู้ที่มารับการรักษาให้หอผู้ป่วยเดียวกัน และผู้สัมผัสใกล้ชิด (Family cluster and closed contact cluster)

เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และการแยกผู้ป่วย (Isolation Precautions) องค์การอนามัยโลกแนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และแยกผู้ป่วย โดยใช้หลักการของ Standard precautions รวมถึง Hand hygiene, Respiratory hygiene and coughetiquette, Safe injection practices และข้อปฏิบัติอื่นๆ โดยพบว่า โรคติดเชื้อ ทางเดินหายใจโดยทั่วไป ใช้ droplet precautions และ contact precautions

สำหรับโรค MERS ส่วนใหญ่เป็น droplet transmission ถ้าไอ จาม ในระยะ 1 เมตร สามารถ แพร่กระจายเชื้อได้ อย่างไรก็ตาม airborne transmission มีความเป็นไปได้ ขณะนี้พบว่าอัตราตายของโรคเมอร์ส ค่อนข้างสูง (ร้อยละ 30 - 50) ดังนั้น องค์การอนามัยโลก และศูนย์ป้องกัน และควบคุมโรคแห่งชาติประเทศ สหรัฐอเมริกา (US CDC) จึงแนะนำให้ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบ Airborne precautions โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวม หรือไอมาก รวมทั้งหัตถการที่ก่อให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็ก เช่น การใส่ท่อช่วย หายใจ การดูดเสมหะ การเก็บเสมหะ การพ่นยา เป็นต้น

หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่
โทร. 025903159 หรือ หาข้อมูล และคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ //beid.ddc.moph.go.th/
***************************************************
ที่มา : องค์การอนามัยโลก และศูนย์ป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา

.....................
สนใจ แนะนำอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ..

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่
//beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/

โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่
//beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/node/271

แนะนำ ดาวโหลดเอกสาร ..
- องค์ความรู้ เรื่อง โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome; MERS) หรือโรคเมอร์ส : กรมควบคุมโรค ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2558
//beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/sites/all/modules/pubdlcnt/pubdlcnt.php?file=%2Fbeid_2014%2Fsites%2Fdefault%2Ffiles%2Ffact_sheet_mers_6_june_15.pdf&nid=271

-คำถามที่พบบ่อย เรื่องโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome ; MERS) หรือ โรคเมอร์ส : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2558
//beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/sites/all/modules/pubdlcnt/pubdlcnt.php?file=%2Fbeid_2014%2Fsites%2Fdefault%2Ffiles%2FFAQ_WHO_15June15.pdf&nid=271

ข่าวเมอร์ส...โคโรนา อีกโรคสัตว์สู่คน ... โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 17 มิ.ย. 2558 //www.thairath.co.th/content/505372

ท่านใดสนใจเรื่องนี้ แนะนำให้ แอด หรือ ติดตาม เฟสของ ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา .. อาจารย์จะมีข้อมูลวิชาการอัพเดตตลอดครับ ไม่ตกข่าวแน่นอน ^_^
FB @Thiravat Hemachudha
https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha



...........................




ภายหลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลว่าพบผู้ติดเชื้อโรคไวรัสเมอร์ส ในประเทศไทยในวันนี้นะคะ วันนี้สพฉ.ขอนำหลักการป้องกันตนเองจากไวรัสเมอร์สง่ายๆ มาฝากเพื่อนสมาชิกค่ะ

1. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัส ตา จมูก ปาก ใบหน้า
2. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ และควรรับประทานอาหารที่ร้อน และใช้ช้อนกลาง
3. สวมหน้ากากอนามัยหากจำเป็นต้องไปสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากหรือแออัด
4. ใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปากเมื่อจามหรือไอ
5. หมั่นออกกำลังกาย รักษาสุขภาพให้แข็งแรง และพักผ่อนให้เพียงพอ

ส่วนอาการของผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์ส จะมีอาการดังนี้ มักพบตั้งแต่ไม่มีอาการแสดงออกจนกระทั่งมีอาการรุนแรงแล้ว โดยเริ่มแรกอาจมีอาการไอ มีไข้ หายใจลำบาก หรือบางคนที่มีภูมิต้านทานค่อนข้างแข็งแรงอาจมีอาการคล้ายคนเป็นไข้หวัดธรรมดาและจะหายเป็นปกติในเวลาไม่นาน ทว่าสำหรับคนที่ร่างกายอ่อนแอหรือมีโรคประจำตัวแทรกซ้อนอยู่อาการก็จะรุนแรง โดยอาจมีไข้สูงและมีอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย ปวดมวนท้อง คลื่นไส้อาเจียน และในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมาก ๆ อาจมีภาวะปอดบวมหรือไตวายร่วมด้วย



แถม ..

ไวรัส อีโบล่า EBOLA ... ระบบเฝ้าระวังของบ้านเรา ห่วยจริงหรือ ? //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2014&group=4&gblog=105



Create Date : 19 มิถุนายน 2558
Last Update : 26 มกราคม 2559 14:48:53 น. 6 comments
Counter : 4431 Pageviews.  

 
ความยากเข็ญของการเฝ้าระวังโรคเมอร์ส
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

https://www.facebook.com/thiravat.h/posts/997040166996204

เมอร์สเป็นโรคที่สลับซับซ้อนตั้งแต่อุบัติในตะวันออกกลางเมื่อ ปี 2012 ก็ไม่ลุกลามรวดเร็ว โดยที่ปะทุเป็นจุดกลุ่มเล็กๆในตะวันออกกลาง และมีการส่งออกไปต่างประเทศเป็นรายๆไม่ลุกลามต่อ ความน่าพิศวงของโรคมีหลายประการ เช่น
รายแรกของโลก คนไข้ชาวซาอุดิอาระเบียอายุ 60 ปี มีอาการไข้ ไอ หอบมา 7 วัน เข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิตใน 12 วัน ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ไม่ทราบโรคได้มาจากที่ใด เช่นเดียวกับรายแรกที่แพร่ในเกาหลี ไม่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย สัตว์ใดๆ

และ รายแรกในประเทศไทย (15 มิถุนายน 2015 ได้รับการวินิจฉัยยืนยันจากศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์) โดยได้รับตัวอย่างตรวจเมื่อ 17 มิถุนายน 2015) ก็หาต้นตอการได้รับเชื้อไม่ได้

อาการของคนไข้เมื่อติดเชื้อซึ่งมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ ปอด หลอดลม โรคไต ทำให้มีอาการหอบ เหนื่อย ไอ อาจไขว้เขวคิดว่าเกิดจากโรคที่มีอยู่เดิม บดบังอาการติดเชื้อเมอร์สในระบบทางเดินหายใจ แม้แต่ผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทยก็ไม่มีไข้ และการที่มีโรคหัวใจ ปอด อาจทำให้ภาพเอ็กซ์เรย์ปอดไขว้เขว หรือเมื่อมีติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน เอกซเรย์จะไม่ฟ้องรูปแบบของปอดบวมจากไวรัส

ประสิทธิภาพของการควบคุมโรคอยู่ที่ความสงสัยว่าผู้ป่วยจะติดโรคเมอร์สและควบคุมกักกันได้รวดเร็วเพียงใด แม้ยังไม่ได้รับการยืนยันจากห้องปฏิบัติการก็ตาม ตั้งแต่ก่อนที่อาการจะเป็นมาก ซึ่งเมื่อมีอาการมาก ปริมาณไวรัสที่จะถูกปลดปล่อยออกก็จะทวีขึ้นเป็นเงาตามตัว

และอยู่ที่เราจะสามารถครอบตาข่ายคลุมกักกันผู้สัมผัสโรคได้ครบถ้วนหรือไม่ ตั้งแต่ยังไม่แสดงอาการใดๆทั้งสิ้นจนถึง 14 วันจนแน่ใจว่าไม่ติดเชื้อ

ทั้งนี้โดยที่ระยะฟักตัวหลังจากได้รับเชื้อจนถึงเกิดอาการผิดปกติและปล่อยเชื้อได้จะอยู่ที่ 2-14 วัน

ในกรณีที่มีผู้ติดเชื้อและสามารถโยงใยได้ถึงต้นตอของการแพร่ได้ อย่างเช่นที่เกาหลีซึ่งมีต้นกำเนิดจากในโรงพยาบาล อาจจะไม่รุนแรงเท่ากับการที่มีผู้ติดเชื้อและไม่สามารถอธิบายได้ว่าเกี่ยวข้องกับต้นตอได้อย่างไรหรือไม่มีต้นตอใดๆทั้งสิ้น ซึ่งบ่งบอกถึงการแพร่กระจายในระดับชุมชนแล้ว และยากที่จะคุมการแพร่ในขั้นตอนต่อไป

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่มียารักษาโรคเมอร์ส แต่การที่ทำให้สุขภาพตนเองแข็งแรงที่สุด ทราบว่ามีโรคประจำตัวอะไร และควบคุมให้เข้าใกล้สภาพปกติที่สุด จะทำให้ความสุ่มเสี่ยงของการติดเชื้อน่าจะลดลง และแม้แต่ถ้าโชคร้ายติดเชื้อไป อาการจะไม่ลุกลามรุนแรงมาก รวมทั้งถ้าอาการไม่รุนแรง ปริมาณไวรัสที่จะปล่อยจากตัวก็ไม่มาก และถ้าโรคไม่รุนแรงจนลามเข้าไปที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่างจนถึงปอดบวม อาการไอมีเสมหะก็จะไม่หนักหน่วงจนเกิดละอองฝอยฟุ้งกระจายไปสู่คนอื่นๆ

โดยที่ต้องไม่ลืมว่า ไวรัสยังคงมีชีวิตและติดต่อได้ในอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสได้นาน 8-24 ชั่วโมง โดยที่ถ้ามีความชื้นน้อยจะอยู่ได้นาน และในอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสอาจอยู่ได้นานถึง 72 ชั่วโมง ซึ่งนำมาซึ่งสมมุติฐานว่าการที่ไวรัส ตั้งตัวและระบาดลุกลามอย่างรวดเร็วในประเทศเกาหลี นอกจากเกิดจากการที่ผู้ป่วยรายแรกเข้าไปปะปนกับผู้ป่วยอื่นๆที่อยู่แออัด และได้รับการวินิจฉัยช้า กักกันช้า อาจเกี่ยวพันกับอุณหภูมิด้วย และทำให้แพร่หลุดจากเครือข่ายที่สืบสาวที่มาว่ามาจากโรงพยาบาล

เหล่านี้คงเป็นปริศนาซึ่งทำให้การเฝ้าระวังกักโรคอาจเต็มไปด้วยความยากลำบาก ถ้าการติดเชื้อมีการยกระดับมากขึ้น กินร้อน ช้อนกลาง อาหารร้อน ไม่ใช้ภาชนะร่วมกัน ปิดปากจมูก เวลาไอจาม ล้างมือบ่อยๆ ไม่เอามือป้ายจมูก ป้ายตา ไม่ถ่มน้ำลาย เสมหะลงถนน ซึ่งจะเป็นการปล่อยเชื้อกระจายฟุ้งไปอีก และกักตัวอยู่บ้านเมื่อมีอาการผิดปกติ ถ้ามากขี้นไปสถานพยาบาลล่วงหน้า รายงานทางการ ถ้าคิดว่ามีความสัมพันธ์โยงใยเกี่ยวข้องกับโรคไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ถือเป็นความรับผิดชอบของตนเองต่อผู้อื่นและสังคม



โดย: หมอหมู วันที่: 24 มิถุนายน 2558 เวลา:22:11:15 น.  

 
ความจริงเรื่อง "เมอร์ส" ที่ไม่มีใครพูดถึง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 มิถุนายน 2558 11:49 น.
//manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000071034

นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก "เมอร์ส" โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจจากไวรัสที่กำลังเขย่าขวัญวงการสาธารณสุข และสร้างความตื่นตระหนักให้กับคนทั่วโลก แต่เคยรู้หรือไม่ว่าจริงๆแล้วโรคเมอรส์เกิดจากอะไร ? ต้นตอที่แท้จริงเกิดจากตรงไหน? แล้วขณะนี้นักวิจัยทั่วโลกกำลังทำอะไรอยู่บ้าง ร่วมมองทะลุเมอรส์ไปพร้อมๆ กับเรา

ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ พาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “เมอร์ส” ให้มากขึ้น ในแง่มุมของวิทยาศาสตร์ ที่จะมีช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับทุกซอกทุกมุมของ “เมอร์ส” จากปากแพทย์และนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยามือทองของประเทศไทย

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคอุบัติใหม่อันดับหนึ่งของเมืองไทย เผยว่า คนส่วนมากมักรู้จักเมอร์สในนแง่ของความรุนแรงและการติดต่อ แต่ไม่ทราบข้อมูลเบื้องลึกทางวิทยาศาสตร์ว่าเป็นอย่างไร จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้บอกเล่าเรื่องราวของโรคนี้ให้ฟังในหลายๆ แง่มุมผ่านผู้จัดการวิทยาศาสตร์

“เมอร์ส” ไม่ใช่โรคใหม่

โรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) หรือ โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มโคโรนา (Coronavirus) ที่มีการศึกษาและรู้จักมายาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 เป็นตระกูลไวรัสที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ หลายชนิด เช่น ไข้หวัด และซาร์สโรคระบาดจากคนสู่คนที่เคยสร้างความปั่นป่วนให้กับคนทั้งโลกเมื่อประมาณ 13 ปีก่อน

ศ.นพ.ยง เผยว่า เมอร์ส ไม่ใช่โรคเกิดใหม่แต่เเคยระบาดมาแล้วครั้งหนึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 จากกรณีชายชาวซาอุดิอาระเบียรายหนึ่ง ป่วยเป็นปอดบวมจากไวรัสทางเดินหายใจสายพันธุ์แปลก ซึ่งเมื่อนำไปถอดรหัสแล้วระบุชนิดได้เป็น บีต้าโคโรนาไวรัส โรคใหม่จากเชื้อดังกล่าวจึงถูกตั้งชื่อว่า Middle East Respiratory Syndrome (MERS) หรือ โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง ที่ถูกตั้งขึ้นตามสถานที่พบเชื้อ

แต่ด้วยการระบาดของเมอร์สในครั้งนั้นอยู่เพียงในพื้นที่แคบๆ ของบางประเทศในตะวันออกกลาง ไม่รุนแรงเท่าโรคซาร์สที่ทำให้มีผู้ป่วยมากถึง 8 พันคนในปี พ.ศ. 2545 ข่าวคราวของเมอร์สจึงไม่เป็นที่จดจำของชาวโลกเท่าไรนัก จนกลับมาดังไม่เปรี้ยงปร้างเพราะการระบาดใหญ่อีกครั้ง เมื่อช่วงต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา

"เมอร์สอยู่กับเราตลอด" ความจริงที่ไม่มีใครพูดถึง

3 ปีที่ผ่านมาเมอรส์ไม่เคยหายไป เพราะมีแหล่งรังโรคอยู่ใน “อูฐโหนกเดียว” ที่มีอยู่ทั่วตะวันออกกลาง ตั้งแต่ปี 2556 ถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยรวมแล้วกว่าพันคนและเสียชีวิตประมาณ 300-400 ราย ด้วยการติดต่อจากอูฐสู่คนผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น การกินนมอูฐ สัมผัสน้ำลายและขี้อูฐ แต่ในภายหลังมีการติดต่อจากคนสู่คนทำให้เมอรส์ระบาดออกไปมากกว่าตะวันออกกลาง โดยที่ไม่มีใครรู้ว่าการติดจากคนสู่คนเริ่มขึ้นจากที่ไหน

ศ.นพ.ยง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาเคยมีประวัติว่าชาวฟิลิปปินส์และมาเลเซียที่กลับจากการแสวงบุญในตะวันออกกลางนำเชื้อกลับสู่ประเทศด้วยแต่เชื้อกลับไม่ถูกแพร่ออกไป เพราะไม่มีผู้รับช่วงต่อ หรือ เชื้ออาจมีน้อยเกินไปจนไม่สามารถติดต่อไปยังคนอื่นได้ ซึ่งในกรณีการระบาดใหม่ที่เริ่มในเกาหลีอีกครั้ง น่าจะเกิดจากความพอเหมาะพอดีที่ผู้ติดเชื้อและผู้รับช่วงมาพบกันในสภาพที่ผู้ติดเชื้อพร้อมจะแพร่เชื้อเต็มที่ และผู้รับเชื้ออยู่ในสภาพร่างกายอ่อนแอ


เริ่มต้นใหม่ที่ “เกาหลีใต้”

"กรณีการระบาดที่เกาหลีใต้ ผมว่าเป็นแจ๊กพอตที่ทรงพลังมาก เพราะคนต้นโรคเดินทางไปหลายที่มากในตะวันออกกลาง ทั้งการ์ตา,โอมาน, ซาอุดิอาระเบีย หลายประเทศที่มีเชื้อทั้งนั้น แล้วกลับเข้าเกาหลีโดยที่เขาไม่รู้ตัวว่ารับโรคกลับมา และทางการก็ไม่ได้มีมาตรการสกัดกั้นเพราะก็ไม่เคยมีใครทราบมาก่อน

อีกทั้งกว่าโรคจะแสดงอาการก็อยู่ในตัวของผู้ป่วยรายนี้นานถึง 7 วัน พอมีอาการผู้ป่วยก็ไปพบแพทย์ในหลายๆ ทั้งคลินิกชุมชนและโรงพยาบาล ซ้ำร้ายเมื่อแพทย์พบอาการเบื้องต้น ยังให้นอนในห้องผู้ป่วยรวมเพราะไม่ทราบว่าคือโรคนี้ ทำให้การติดต่อแพร่ไปอย่างรวดเร็วเพราะเพียงแค่สัมผัสละอองฝอยไอจาม และการสัมผัสใกล้ชิดสารคัดหลั่งของผู้ป่วยก็มีโอกาสติดเมอร์สได้ ประกอบกับที่แพร่เชื้อที่แรกคือโรงพยาบาล แหล่งรวมคนป่วยที่สภาพร่างกายอ่อนแออยู่แล้ว เมื่อมีเชื้อใหม่จึงมีโอกาสติดง่ายกว่าปกติ จากผู้ป่วยรายแรกเพียงคนเดียวจึงแพร่เชื้อไปให้ผู้ป่วยและผู้สัมผัสข้างเคียงได้มากถึง 25 คน

"ที่สำคัญคือเกาหลีไม่โปร่งใสตั้งแต่ช่วงแรก ไม่มีการประกาศอย่างชัดเจนว่าโรงพยาบาลใดคือจุดแพร่โรค ทำให้คนการตื่นตัวช้า จนมาตรการกักกันและป้องกันล่าช้าไปหนึ่งก้าว จนขณะนี้เชื้อระบาดไปในหลายประเทศ รวมถึงไทยด้วย เพราะหลักการควบคุมโรคระบาดที่ดีที่สุด คือ ความโปร่งใส ประเทศนั้นต้องประกาศออกมาให้โลกทราบเพื่อที่ทุกฝ่ายจะได้เตรียมความพร้อมและการช่วยเหลือได้ทัน ซึ่งเกาหลีพลาดในช่วงแรกแต่มาแก้มือในช่วงหลังด้วยมาตรการที่รัดกุมได้เป็นอย่างดี" ศ.นพ.ยง กล่าว

“ผมว่าต้นตอไม่ใช่การสัมผัสอูฐโหนกเดียวเท่านั้นหรอก น่าจะมีสัตว์อื่นอย่างค้างคาว อีเห็น รวมถึงการฟุ้งกระจายของไวรัสในอากาศเพราะ ผู้ป่วยชาวซาอุฯ รายแรก ไม่มีประวัติสัมผัสกับอูฐเลย และด้วยความที่เราไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงจึงทำให้การควบคุมค่อนข้างลำบาก” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ไวรัสสัตว์สู่คนและอาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์

ไม่รู้ต้นตอ-ไม่รู้ทางแก้

“เหตุที่เมอร์สมีมานานแต่ไม่เคยหายไปจากโรคเหมือนกับโรคระบาดอื่นๆ เป็นเพราะนักวิจัยไม่รู้ต้นตอที่แท้จริง มีแต่ข้อสันนิษฐาน” ศ.นพ.ธีรวัฒน์ ตอบก่อนอธิบายต่อไปว่า

นักวิจัยทั่วโลกรู้ดีว่าสาเหตุประการสำคัญมาจากอูฐ แต่ก็มีข้อมูลบางอย่างที่ขัดแย้งอย่างเห็นได้ชัด เพราะผู้ป่วยรายแรกของซาอุดิอาระเบียไม่มีประวัติสัมผัสสัตว์ ผู้ป่วยรายแรกของเกาหลีเราก็ไม่ทราบว่าเขารับเชื้อมาจากไหน และคนโอมานที่ป่วยในไทยเราก็ไม่ทราบเช่นกันว่าแหล่งรับโรคของเขาที่จริงคืออะไร อีกทั้งเมื่อมีการตรวจสอบไปยังคนเลี้ยงอูฐในซาอุดิอาระเบียกว่าร้อยคน ก็ไม่พบการติดเชื้อ ฉะนั้นอูฐโหนกเดียวจึงไม่น่าใช่ต้นตอของปัญหาทั้งหมด

ข้อสันนิษฐานใหม่ของนักวิจัยทั่วโลก จึงมุ่งมาที่ "ค้างคาว"สัตว์ป่าที่เคยทำให้เกิดโรคซาร์ส รวมไปถึง "อีเห็น"สัตว์ป่าอีกกลุ่มที่มีชาติพันธุ์บางกลุ่มนำมารับประทานเป็นอาหาร แม้กระทั่ง "การฟุ้งกระจายในอากาศของไวรัส" ก็ถูกนำมารวมอยู่ในสาเหตุที่ยังหาต้นตอไม่ได้นี้ด้วย

การไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ระบุว่า ทำให้การป้องกันเป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้นการป้องกันที่เห็นตอนนี้ จึงเป็นการใช้กล้องตรวจจับความร้อน และการซักประวัติจากคนที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยง แต่อย่างไรก็ดี อาการของคนแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน เพราะบางคนมีเชื้อแต่ไม่มีไข้ หรือบางคนที่มีอาการของโรคประจำตัวคล้ายคลึงกับเมอร์สอยู่แล้วจนทำให้แยกไม่ออก ซึ่งความคลุมเครือเหล่านี้ทำให้การวินิจฉัยโรคไขว้เขว

มีบ้างไหม งานวิจัยโรคเมอร์ส ?

"มีครับ มีเยอะด้วยในต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นการวิจัยสืบหาต้นตอเพื่อหาสาเหตุ" เพราะจากที่กล่าวไปข้างต้นว่า นักวิจัยไม่รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของโรคคืออะไร เราจึงต้องหาให้ได้ก่อน เพราะ สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการร่างมาตรการป้องกันคือสาเหตุการเกิดโรค

หลังจากปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมาจึงมีงานวิจัยต่างประเทศตีพิมพ์ออกมาค่อนข้างมาก เกี่ยวกับการสืบต้นตอของเมอร์ส เช่น การศึกษาเชื้อในอูฐ, เชื้อในค้างคาว เป็นต้น ซึ่งมีการวิจัยในค้างคาวไทยด้วยแต่ไม่พบเชื้อไวรัสในกลุ่มโคโรนานี้ ควบคู่ไปกับงานวิจัยเพื่อทำวัคซีนรักษา ซึ่งมีการพัฒนาไปแล้วอย่างมหาศาลในบริษัทผลิตยาใหญ่ๆ ของต่างประเทศ แต่ก็ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษายังไม่มีการทดสอบใช้จริง

ในส่วนของเกาหลีใต้ก็เดินหน้างานวิจัยอย่างหนักเพื่อจะทำวัคซีนจากผู้ป่วยที่รอดตายจากเมอร์ส โดยจะเอาน้ำเหลืองของคนคนนั้นมาทำให้บริสุทธิ์ แล้วฉีดให้กับคนที่เป็นโรคเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ แล้วจึงค่อยขยายผลมาสู่วัคซีน แต่ตอนนี้ยังทำได้ดีที่สุดเพียงการรักษาตามอาการ

"ส่วนงานวิจัยของไทยก็มี ในส่วนของชุดตรวจที่ทำไว้เมื่อ 2 ปีก่อนตั้งแต่ช่วงแรกของการระบาด ด้วยทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทั้งในส่วนของผมเอง และ ศ.นพ.ยง ที่ร่วมกันกับนักวิจัยจากสถาบันวิจัยไวรัสวิทยา ประเทศเนเธอแลนด์ ที่ผลิตชุดตรวจเชื้อเมอร์สความแม่นยำสูง โดยมีสถาบันอีรัสมุสคอยสนับสนุนเชื้อไวรัสเมอร์สที่ตายแล้วมาให้ ซึ่งสำเร็จและถูกนำมาใช้แล้วที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เผยข้อมูล

ทว่าการตรวจวินิจฉัยหลัก ณ ขณะนี้จะสั่งซื้อชุดตรวจจากต่างประเทศ และการวินิจฉัยโดยละเอียดตามวิธีการของห้องปฏิการทางชีววิธีระดับ 3 สำหรับเชื้อที่มีความรุนแรง ซึ่งมีอยู่ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

งานวิจัย “เมอร์ส” ของไทย ไม่ได้มีเพียงเท่านั้น ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เผยกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ด้วยว่า ขณะนี้กำลังดำเนินการสร้างแอนติบอดีสำหรับโรคเมอร์สอยู่ โดยคาดว่าอีกไม่เกิน 2 เดือน แอนติบอดีเมอร์สต้นแบบก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างพร้อมออกสู่สายตาประชาชน

มีแน่ “แอนติบอดีเมอร์ส”

"สำหรับวัคซีนเราคงทำไม่ได้เพราะเราไม่มีเชื้อ แต่ตอนนี้เรากำลังดำเนินการสร้างแอนติบอดีเมอรส์อยู่ เพราะอย่างที่ทราบตั้งแต่หลังเกิดโรคในปี 2556 นักวิจัยจากทั่วโลกก็เริ่มศึกษาวิจัยเกี่ยวกับไวรัสตัวนี้ ทำให้ทราบว่า ยีนและโปรตีนของไวรัสเมอรส์มีรูปร่างหน้าตา, รูปแบบเป็นอย่างไร, มีกลไกกดภูมิคุ้มกันอย่างไร, โปรตีนตัวไหนเป็นตัวทำงาน ซึ่งการทราบข้อมูลเหล่านี้ ทำให้เราออกแบบได้ว่า แอนติบอดีที่จะขัดขวางการทำงานของไวรัสควรมีหน้าตาเป็นเช่นไร" ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ เผย

ด้วยองค์ความรู้ดังกล่าว ทำให้หน่วยวิจัยแอนติบอดี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เริ่มดำเนินการสร้างแอนติบอดีสำหรับเมอรส์ขึ้น ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการสังเคราะห์ยีนที่สั่งมาจากต่างประเทศ เพราะประเทศไทยไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่เพียงพอ จากนี้อีกประมาณ 10 วัน ยีนสังเคราะห์ก็จะถูกส่งมายังประเทศไทย โดยนักวิจัยจะนำยีนของไวรัสเมอรส์เข้าสู่เวคเตอร์พาหะ แล้วนำเข้าสู่แบคทีเรียให้แบ่งตัวเพิ่มจำนวน จากนั้นจึงนำโปรตีนที่สร้างได้จากแบคทีเรียมาทำให้บริสุทธิ์ เพื่อให้ผลิตเซลล์ที่สร้างแอนติบอดีสำหรับการผลิตเป็นภูมิคุ้มกันพร้อมใช้ไว้รองรับกับสำหรับผู้ป่วย

"ขณะนี้ที่จีนก็มีทำแอนติบอดีเมอร์สเช่นกัน แต่ลักษณะแอนติบอดีของเรากับเขาจะต่างกันตรงที่ แอนติบอดีของจีนมีขนาดใหญ่แต่ของเราจะเป็นแอนติบอดีขนาดเล็ก ซึ่งดีกว่าตรงที่สามารถขัดขวางไวรัสได้ แม้จะอยู่ในระยะที่เข้าสู่เซลล์แล้ว ในขณะที่แอนติบอดีตัวใหญ่ของจีนทำไม่ได้ โดยแอนติบอดีจะช่วยขัดขวางการเพิ่มจำนวนของไวรัสที่จะเพิ่มจาก 1 ตัวเป็น 100 ตัวให้เพิ่มจำนวนไม่ได้ ทำให้เชื้อไม่สามารถแพร่ไปยังเซลล์อื่น ซึ่งจะทำให้อาการของผู้ป่วยไม่มากขึ้นและหายได้เร็ว แต่อย่างไรก็ดีแอนติบอดีที่ผลิตยังคงอยู่ในระดับห้องปฏิบัติการเท่านั้น แต่คาดว่าอีก 2 เดือนน่าจะได้เห็นแอนติบอดีต้นแบบ ส่วนการจะผลิตเพื่อใช้จริงต้องดูประสิทธิภาพและการยอมรับจากต่างประเทศอีกครั้งเพราะการจะผลิตแอนติบอดีมาใช้จริงในคนต้องงผ่านกรรมวิธีอีกมาก และต้องผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมยาที่ได้มาตรฐาน" ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ ไล่เรียง

เมอร์ส ซาร์ส อีโบลา ไข้หวัดนก โรคไหนน่ากลัวกว่ากัน ?

เมื่อถามคำถามนี้ ศาสตราจารย์ทั้ง 3 ถึงกับคิดหนัก ก่อนที่ ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ จะบอกกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า โรคทั้ง 4 ไม่เหมือนกัน แต่เมอร์ส และซาร์สน่ากลัวมากกว่า เพราะติดได้ผ่านระบบทางเดินหายใจ ในขณะที่ อีโบลา จะติดต่อได้เมื่อมีการสัมผัสกับผู้เป็นโรคและมีอาการ ซึ่งจะเข้าสู่ร่างกายได้ก็ต่อเมื่อสัมผัสเชื้อโดยตรงหรือบริเวณที่มีบาดแผลคล้ายคลึงกันกับหวัด

ในขณะที่ไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิด เมอรส์และซารส์ สามารถติดต่อได้จากทั้งนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เพราะมีโปรตีนเอส อยู่บนเซลล์ของโฮสต์ การติดต่อจึงทำได้ง่ายกว่า และยังรับเชื้อได้เพียงสัมผัสละอองไอจามซึ่งยากต่อการควบคุม

ด้าน ศ.นพ.ธีรวัฒน์ กล่าวว่า การจะฟันธงว่าโรคไหนน่ากลัวกว่าทำได้ยาก เพราะแต่ละโรคมีองค์ประกอบการเกิดที่แตกต่างกัน แต่ก็ยังยืนยันคำเดิมว่า สิ่งที่ทำให้เมอรส์น่ากลัวกว่าโรคอื่น คือการไม่รู้ต้นตอที่แท้จริง และอาการที่ไม่แสดงออกอย่างชัดเจน จึงต้องพิจารณาความรุนแรงของโรคแล้วแต่กรณี เช่น ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว หรือมีระยะเวลาการสัมผัสโรคนาน ก็ย่อมมีโอกาสเป็นมากกว่าและแพร่เชื้อสู่คนอื่นได้มากกว่า

ส่วน ศ.นพ.ยง ระบุว่า อีโบลาน่ากลัวที่สุด หากมองจากความรุนแรงของโรคที่ทำให้มีอัตราการตาย เพราะผู้ป่วยอีโบลามีอัตราการตายได้สูงถึง 50% ในขณะที่ผู้ป่วยไข้หวัดนก และซาร์สมีอัตราการตายประมาณ 30 % ส่วนเมอร์สในผู้ป่วยเอเชีย มีอัตราการตายอยู่ที่ประมาณ 16-20% เท่านั้น

ปฏิบัติตัวอย่างไรห่างไกลโรคเมอร์ส

"วิธีปฏิบัติตัวไม่ยาก เช่นเดียวกับที่กระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ คือ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ เพียงแค่นี้ก็จะช่วยตัดวงจรโรคได้มาก และในนำในช่วงนี้ให้หลีกเลี่ยงการเข้าพื้นที่ชุมชน พื้นที่ที่มีคนพลุกพล่าน และหากจำเป็นให้สวมหน้ากากอนามัย และออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงวัย ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะมีภูมิคุ้มกันน้อยกว่าคนหนุ่มสาว" ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ แนะวิธี

คิดแบบวิทย์พิชิตเมอร์ส

"เมื่อมีโรคระบาดแน่นอน คนย่อมกลัว แต่ผมอยากให้กลัวแบบมีสติเพื่อให้ตัวเองไม่ลืมที่จะป้องกัน และที่สำคัญคืออยากให้เชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขไทย ไม่ใช่เห็นข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขว่ามีการกักคนเป็น 100 คนแล้วจะตกใจกลัวจนไม่อยากออกจากบ้าน อยากให้มองว่าเราระมัดระวังและเข้มงวดเพื่อคนทั้งประเทศ แล้วก็ไม่ต้องสนใจคนอื่น อยากให้สนใจตัวเอง ถามตัวเองว่าตอนนี้สุขภาพดีพอหรือยัง เพราะบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องไม่เคยนิ่งเฉยและพยายามทุกวิถีทางเพื่อหาแนวทางป้องกันและรักษา" ศ.นพ.ธีรวัฒน์ กล่าว

ท้ายสุด ศ.นพ.ยง ยังฝากถึงคนไทยผ่านทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ด้วยว่า อย่าเชื่อทุกข่าวที่เห็น เพราะที่ผ่านมาความตื่นตระหนกส่วนมากมาจากข่าวลวงที่ถูกส่งต่อกันมาทางสังคมออนไลน์ ประชาชนควรพิจารณาให้เป็น ใช้เหตุและผลทางวิทยาศาสตร์เข้ามาสนับสนุน เพราะทุกประเทศก็มีความเสี่ยงเท่าๆ กันแต่ไม่ใช่กลัวจนไม่อยากทำอะไร หรือไม่กลัวเลยจนไม่คิดป้องกันตัวเอง และอยากให้รัฐบาลเข้ามาให้การสนับสนุนกับการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น เพื่อให้งานวิจัยของไทยสามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง


เครดิต .. ความจริงเรื่อง เมอร์ส ที่ไม่มีใครพูดถึง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคอุบัติใหม่

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ไวรัสสัตว์สู่คนและอาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล



โดย: หมอหมู วันที่: 25 มิถุนายน 2558 เวลา:13:08:56 น.  

 
ฟิลิปปินส์พบผู้ป่วยไวรัสเมอร์สรายที่2
ซาอุฯกลับมาพบเพิ่ม6ราย
วันอังคาร ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.
//www.naewna.com/inter/167217
มะนิลา/ริยาด/โซล (เอเอฟพี/รอยเตอร์) - ฟิลิปปินส์ยืนยันการพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเมอร์สเป็นรายที่สองของปีนี้ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขซาอุดีอาระเบียแถลงว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สรายใหม่ 6 ราย ในช่วงสัปดาห์ที่แล้วระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน ถึง 4 กรกฎาคม

นางเจเน็ตต์ การิน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของฟิลิปปินส์ ยืนยันว่า พบชายชาวต่างชาติวัย 36 ปี ติดเชื้อไวรัสเมอร์ส และเข้ารับการรักษาที่สถาบันวิจัยเวชศาสตร์เขตร้อนแล้ว โดยชาวต่างชาติคนดังกล่าว แสดงอาการของการติดเชื้อไวรัสเมอร์ส ตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม และเข้ารับการตรวจว่าติดเชื้อไวรัสเมอร์สหรือไม่ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งผลการตรวจยืนยันว่าติดเชื้อจริง ชายชาวต่างชาติคนดังกล่าว เดินทางจากนครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาถึงกรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน และมีประวัติการเดินทางไปยังซาอุดีอาระเบียด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ชายชาวต่างชาติมีอาการดีขึ้น และยังไม่พบการแพร่กระจายการติดเชื้อในชุมชน รวมทั้งไม่มีอาการของโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งทีมงานเพื่อติดตามบุคคลที่ติดต่อสัมผัสกับชายคนนี้

สำหรับชายชาวต่างชาติคนนี้ ถือเป็นผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเมอร์สคนที่สอง ที่พบในฟิลิปปินส์ ภายในปีนี้หลังจากเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทางการฟิลิปปินส์ยืนยันการพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเมอร์สคนแรก ซึ่งเป็นพยาบาลสาวชาวฟิลิปปินส์ ที่ทำงานในประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งพยาบาลคนดังกล่าวได้รับการรักษาจนหายป่วย

ด้านสำนักข่าวเอสพีเอ ของซาอุดีอาระเบีย รายงานว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สรายใหม่ 6 ราย ในช่วงสัปดาห์ที่แล้วระหว่างวันที่ 28 มิถุนายนถึง 4 กรกฎาคม ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ทำให้ซาอุดีอาระเบียมีผู้ติดเชื้อแล้วทั้งหมด 1,045 คน เสียชีวิต460 คน นับตั้งแต่พบผู้ติดเชื้อรายแรกในปี 2555 ขณะที่อัตราผู้หายป่วยอยู่ที่ร้อยละ 55.3 สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ในกรุงริยาด และเมืองดัมมัม พบระหว่างที่กระทรวงสาธารณสุขตรวจสอบตัวอย่างผู้ต้องสงสัย 644 ราย ในห้องทดลองปฏิบัติการ เอสพีเอระบุว่า นับตั้งแต่เกิดการระบาดในปี 2555 ทางการได้เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีสาธารณสุขไปแล้ว 2 คนและรณรงค์ประชาชนไม่ให้รับประทานเนื้ออูฐ หรือดื่มนมอูฐเพราะสันนิษฐานว่าเป็นพาหะนำโรค

ส่วนที่เกาหลีใต้ กระทรวงสาธารณสุขของเกาหลีใต้รายงานว่า ยังไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเมอร์สรายใหม่ ทำให้จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเมอร์สในเกาหลีใต้ ยังอยู่ที่ 186 คน และจำนวนผู้เสียชีวิตจากไวรัสเมอร์สยังคงอยู่ที่ 33 คน หลังจากไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่มมาเป็นเวลา 6 วันแล้ว ขณะเดียวกันในจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อทั้งหมด พบว่ามีผู้ป่วย 36 คน ที่ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล และจำนวนผู้ที่ถูกกักตัว เนื่องจากต้องสงสัยติดเชื้อ อยู่ที่ 907 คน



โดย: หมอหมู วันที่: 29 สิงหาคม 2558 เวลา:19:47:56 น.  

 
ซาอุฯผวาไวรัสเมอร์สระบาดรอบใหม่
วันเสาร์ ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.
//www.naewna.com/inter/175054
ริยาด (เอเอฟพี/รอยเตอร์) - เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสเมอร์สครั้งใหม่ในซาอุดีอาระเบีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 คน ผู้ติดเชื้ออีก 21 คนไม่กี่สัปดาห์ก่อนเริ่มต้นการประกอบพิธีฮัจญ์ของชาวมุสลิมนับล้านๆ คน

หนังสือพิมพ์ซาอุดิ กาเซ็ทของซาอุดิอาระเบียรายงานว่า ทางการได้ปิดแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลคิง อับดุลลาซิส เมดิคัล เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลใหญ่ที่สุดของกรุงริยาด หลังประชาชนอย่างน้อย 46 คน ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสัมผัสกับไวรัสทางเดินหายใจตะวันออกกลาง
(ไวรัสเมอร์ส) โดยขณะนี้มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 3 คน

ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขของซาอุดีอาระเบียระบุว่า มีผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สแล้ว 21 คน โดย 20 คน อยู่ในกรุงริยาด ซึ่งทั้งหมดติดเชื้อระหว่างวันที่ 9-15 ส.ค.ที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีคำชี้แจงเกี่ยวกับตัวเลขผู้ติดเชื้อที่แตกต่างกันดังกล่าว

ก่อนหน้านี้ นายคาหลิด อัล-ฟาลีห์ รัฐมนตรีสาธารณสุขซาอุดีอาระเบียกล่าวเมื่อวานนี้ว่าโรงพยาบาลเผชิญกับการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเริ่มจากผู้ป่วย 1 ราย อย่างไรก็ตาม นายอัล-ฟาลีห์ รับประกันว่า จำนวนผู้ติดเชื้อยังอยู่ในวงจำกัด พร้อมกับเรียกร้องให้ทุกฝ่ายระมัดระวังเมื่อติดต่อกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ และดำเนินมาตรการป้องกันเมื่อต้องไปเยี่ยมผู้ป่วยโรคเมอร์ส

กระทรวงสาธารณสุขซาอุดีอาระเบียระบุว่า ผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิตอยู่ในกรุงริยาด ทั้งหมดเป็นชาวซาอุดีอาระเบีย ที่มีอายุระหว่าง 65 -86 ปี ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคเมอร์สในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 483 คน จากจำนวนผู้ติดเชื้อ 1,118 คน โดยซาอุดีอาระเบียพบผู้ติดเชื้อครั้งแรกเมื่อปี 2555

ทั้งนี้ ซาอุดีอาระเบียกำลังเตรียมการสำหรับการประกอบพิธีฮัจญ์ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 21 ก.ย.นี้ ซึ่งจะมีผู้จาริกแสวงบุญชาวมุสลิมกว่า 2 ล้านคน จากทั่วโลกเดินทางไปร่วมพิธีสำคัญดังกล่าว นายอัล-ฟาลีห์บอกว่าทางการได้เตรียมแผนป้องกันอย่างครอบคลุมไว้ตามด่านเข้าประเทศต่างๆ รวมถึงสถานที่ประกอบพิธีฮัจญ์จนกระทั่งผู้แสวงบุญเดินทางกลับบ้าน โดยกระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินความพยายามทุกอย่างเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไม่ให้ระบาดในประเทศอีก



โดย: หมอหมู วันที่: 29 สิงหาคม 2558 เวลา:20:16:43 น.  

 
สธ.พบผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางรายที่ 2 ของประเทศไทย เป็นชาวโอมาน
แหล่งที่มา : สำนักข่าว
วันที่ข่าว : 24 มกราคม 2559
กระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส รายที่ 2 ของประเทศไทย เป็นชายชาวโอมาน ขณะนี้รักษาตัวในห้องแยกโรคที่สถาบันบำราศนราดูร มีผู้สัมผัสผู้ป่วยรายนี้ทั้งหมด 252 คน เสี่ยงสูง 37 คน ทั้งหมดยังไม่ใช่ผู้ป่วย ยังไม่แพร่โรค ขณะนี้ทราบชื่อและที่อยู่ และดำเนินการติดตามทั้งหมด ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ยึดมาตรการ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ หากกลับจากพื้นที่เสี่ยงโรคระบาด มีไข้ ไอ รีบพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง สงสัยโทร สายด่วน 1422

ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ผู้แทนโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ แถลงข่าว การดำเนินการเฝ้าระวัง คัดกรองผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการเฝ้าระวังคัดกรองอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง โดยในวันนี้ได้พบผู้ป่วยยืนยันโรครายที่ 2 ของประเทศไทย ผู้ป่วยเป็นชาย อายุ 71 ปี ชาวโอมาน เดินทางเข้าประเทศไทย วันที่ 22 มกราคม 2559 เนื่องจากรักษาที่โรงพยาบาลที่โอมาน ด้วยอาการไข้ ไอ มาประมาณ 1 สัปดาห์ อาการไม่ดีขึ้น จึงเดินทางมาประเทศไทย โรงพยาบาลได้รับตัวในห้องแยกโรค พร้อมส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อเมอร์ส ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ และโรงพยาบาลจุฬาฯ ได้ผลบวก

ต่อมาในวันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 18.20 น. ได้ส่งต่อมารักษาที่สถาบันบำราศนราดูร พร้อมส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อเมอร์ส ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ผลบวกเช่นกัน อาการผู้ป่วยในเช้าวันนี้ ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี มีอาการเหนื่อย ได้รับออกซิเจนและยาบรรเทาอาการ เนื่องจากมีอาการอักเสบที่ปอด รับประทานอาหารได้ ยังนอนพักรักษาตัวที่ห้องแยกโรค สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุข ต้องดำเนินการต่อคือ การติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วยรายนี้ ประกอบด้วย ญาติที่เดินทางมาพร้อม 1 คน (เสี่ยงสูง) ลูกเรือและผู้โดยสารบนเครื่องบน 218 คนที่ยังอยู่ในประเทศไทย (จากทั้งหมด 239 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 23 คน เสี่ยงต่ำ 195 คน) คนขับรถแท็กซี่ 1 คน (เสี่ยงสูง) พนักงานโรงแรม 1 คน และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 30 คน (เสี่ยงสูง 11 คน)

โดยผู้สัมผัสทั้งหมดนี้ จะนำเข้าระบบเฝ้าระวังติดตามอาการจนครบ 14 วัน จนพ้นระยะฟักตัวของโรค ในจำนวนมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจำนวน 37 คน ประกอบด้วยญาติ 1คน ผู้โดยสารบนเครื่องบิน 23 คน คนขับรถแท็กซี่ 1 คน พนักงานโรงแรม 1 คน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 11 คน จะรับไว้ในสถานที่ที่เตรียมไว้ เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ที่เหลือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ซึ่งจะแนะนำให้แยกตัวเอง ลดการสังคมกับผู้อื่น มีระบบติดตามจากเจ้าหน้าที่

ด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้ป่วยรายนี้ เป็นรายที่ 2 ของประเทศไทย เรามีประสบการณ์ในการทำงาน ทำให้ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงน้อยลง ระบบตรวจจับได้เร็วขึ้นใช้เวลาเพียง10ชั่วโมงเท่านั้น มีระบบการประสานงานที่ดีทั้งโรงพยาบาลรัฐ เอกชน ด่านควบคุมโรค ตรวจคนเข้าเมือง ทำให้ทราบชื่อ ที่อยู่ผู้สัมผัสและติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วยได้ทั้งหมด พร้อมให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลที่มีระบบควบคุมป้องกัน เชื้อโรคไม่สามารถออกมานอกโรงพยาบาลได้ ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก ขอให้ประชาชนใช้มาตรการ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ หากเดินทางไปประเทศการระบาดของโรคเมอร์ส กลับมาภายใน 14 วัน หากมีไข้ ไอ ขอให้รีบพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง มีข้อสงสัย โทรปรึกษา สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422


โดย: หมอหมู วันที่: 24 มกราคม 2559 เวลา:12:50:12 น.  

 
ไข้เลือดออก ... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-10-2015&group=4&gblog=116

ไข้เลือดออก..ฤดูกาลแห่งโศกนาฏกรรม ยุงลายกัดคน(ป่วย..เป็นไข้)เลือดออกตาย แต่แพทย์ผู้รักษาเป็นจำเลย?
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2008&group=4&gblog=38

ไวรัสโคโรนา2012 (MERS , เมอร์ส) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=19-06-2015&group=4&gblog=110

ไวรัส ซิกา โรคไข้ซิกา (Zika Fever) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-01-2016&group=4&gblog=118

ไวรัส อีโบล่า EBOLA ... ระบบเฝ้าระวัง ของบ้านเรา ห่วยจริงหรือ ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2014&group=4&gblog=105

จากไข้หวัดใหญ่ MEXICO ถึงไข้หวัดใหญ่ 2009 .... บทเรียนสาธารณสุขไทย
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-05-2009&group=4&gblog=76

ข้อมูลสำคัญ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และ สถานการณ์ล่าสุด ... แถม เวบน่าสนใจ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2009&group=4&gblog=79

ชิคุนกุนยา ... ที่กำลังระบาด ในภาคไต้ ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2009&group=4&gblog=75

ตาแดง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-09-2014&group=4&gblog=103




โดย: หมอหมู วันที่: 29 มกราคม 2559 เวลา:21:44:12 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]