Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

การแยกผู้ซื้อ-ผู้ให้บริการ หรือ Purchaser-Provider Split .. ศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์



ใครสนใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ระบบหลักประกันสุขภาพ (โดยเฉพาะเรื่องบัตรสุขภาพ บัตรทอง บัตรสามสิบบาท) การแยกผู้ซื้อ-ผู้ให้บริการ หรือ Purchaser-Provider Split .. แนะนำ ให้อ่าน .. รับรองว่า คุ้มค่ากับการเสียเวลา

ถ้าไม่มีเวลา ก็ตัดมาให้สั้น ๆ ๓ ประเด็นที่น่าสนใจ จาก รศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ^_^

๑. ในส่วนของประเทศไทย ชอบใช้คอนเซ็ปของต่างประเทศแล้วก็อ้าง Purchaser-Provider Split แล้วก็แยก สปสช. กับ สธ.ออกจากกัน แต่ในกระบวนการจริงๆ แล้วมันไม่ได้เกิด “ตลาดภายใน” ขึ้นจริงๆ
โดยสรุปก็คือ ระบบของประเทศไทยเป็นไปอย่างบังคับซื้อบังคับขายโดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่มีสิทธิเลือก และก็ยังไม่มีกระบวนการเจรจาใดๆ

๒. ส่วนตัวคิดว่าในเชิงหลักการเป็นสิ่งที่ดี แต่ในทางปฏิบัติต้องพิจารณาดูว่ามันเวิร์คหรือไม่ ซึ่งหากเราดูด้วยใจเป็นกลางและลงในรายละเอียดจริงๆ ก็จะพบว่ามันมีบางส่วนเท่านั้นที่มีประโยชน์ แต่ส่วนที่เหลือมันเป็นแค่ทฤษฎีในอากาศ

๓. ส่วนตัวคิดว่าในเมื่อมันเป็นเช่นนี้ เราก็เอาจุดดีของหลักการนี้มาใช้ แล้วก็เลิกหลอกตัวเองในจุดที่มันเป็นปัญหา ที่สำคัญคือต้องทำให้บริหารได้ ซึ่งจะดีกว่าการมาทะเลาะกันด้วยการอ้างเรื่องการแยกผู้ซื้อผู้ขาย แล้วก็ชนกัน ซึ่งแน่นอนว่าประชาชนไม่ได้ประโยชน์

https://www.hfocus.org/content/2017/08/14420

......................................................

ผูกขาด ไร้ทางเลือก หมดช่องทางเจรจา ต้นเหตุ ‘Purchaser-Provider Split’ สะดุด

เป็นอีกหนึ่งข้อถกเถียงในแวดวงสาธารณสุข สำหรับบทบาท ความเหมาะสม และความสัมพันธ์ระหว่าง “ผู้ซื้อบริการ” ซึ่งปัจจุบันมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นแม่งานใหญ่ในฐานะตัวแทนคนไทยร่วม 50 ล้านชีวิต กับ “ผู้ให้บริการ” นั่นก็คือหน่วยบริการ ในที่นี้หมายถึงโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

ในหลายครั้งที่เกิดข้อพิพาทในวงการสุขภาพ ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ให้ มักถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง โดยเฉพาะเรื่องขอบเขตอำนาจ งบประมาณ และพลังในการต่อรอง

รศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์

เพื่อให้ได้ข้อสรุป หรืออย่างน้อยก็เพื่อให้ได้ภาพที่จัดเจนขึ้น สำนักข่าว Hfocus ได้พูดคุยกับ รศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อ การแยกผู้ซื้อ-ผู้ให้บริการ หรือ Purchaser-Provider Split

รศ.นพ.จิรุตม์ บอกกับเราว่า วิธีการทางด้านการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินซึ่งก็คืองบประมาณ กับการจัดบริการซึ่งก็คือโรงพยาบาลทั้งหลาย มักจะอยู่ในสังกัดเดียวกัน พูดง่ายๆ ก็คืออยู่ในกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่ทำหน้าที่ทั้งจัดสรรทรัพยากรคือเงินลงไป ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ให้บริการด้วย

ฉะนั้นการให้งบประมาณก็จะเหมือนส่วนราชการทั่วไป คือให้กันอย่างขลุมๆ โดยที่ไม่รู้ว่าให้ไปเพื่ออะไร และได้ผลงานอะไรกลับคืนมา หรือถึงแม้จะมีการรายงานผลงานก็ไม่อาจเชื่อมโยงได้กับงบประมาณที่ใส่ลงไปว่าใส่ไปเพื่ออะไร ซึ่งทั้งหมดนี้คือของเดิมที่ทำๆ กันมา

ในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประเทศไทย เช่น อังกฤษ ก็ทำวิธีเดียวกันนี้ หรือแม้แต่ประเทศไทยในอดีตก่อนที่จะมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระบบหลักของ สธ.ก็เป็นเช่นนี้

แน่นอนว่า เมื่อการจัดสรรงบประมาณมันเป็นแบบขลุมๆ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือมันไม่รู้ว่าประสิทธิภาพกับความรับผิดชอบต่อการจัดสรรทรัพยากรและการให้การดูแลประชาชนมันมีมากน้อยสักแค่ไหน คือมันไม่สามารถบริหารได้ และไม่สามารถพัฒนาระบบในองค์รวมได้

ฉะนั้นในหลายประเทศที่ทำเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจึงมองว่าจะต้องมีการแยกบทบาทระหว่าง "ผู้จ่ายเงิน" คือผู้ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร กับ "ผู้ให้บริการ" คือผู้ที่ทำหน้าที่จัดบริการออกจากกัน

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดกระบวนการ "เสมือนซื้อ" ก็คือผู้ที่จะจ่ายเงินก็ต้องรู้ว่าจะจ่ายเพื่ออะไร จะซื้ออะไร ส่วนผู้ให้บริการก็ต้องรู้ว่าจะรับเงินมาเพื่ออะไร จะใช้เงินเหล่านี้ไปทำอะไร และจะต้องทำให้เกิดผลงานอะไรเพื่อส่งคืนกลับไปเหมือนซื้อขายของ

กระบวนการนี้คือการ "สร้างตลาดภายใน" ซึ่งเหมือนกับตลาดหลอกๆ คือต้องไม่ลืมว่าทั้งฝั่งผู้ซื้อและผู้จัดบริการเป็นหน่วยงานของรัฐทั้งคู่ กรณีประเทศไทยนั้น สปสช.ก็เป็นหน่วยงานของรัฐ สธ.ก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐ

เมื่อสร้างกลไกตลาดภายในขึ้นมา การจัดสรรทรัพยากรก็จะมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าจะจ่ายเงินไปเพื่อทำอะไร เช่น เหมาจ่ายรายหัว ให้ไปเพื่อจะดูแลประชากรเท่านี้คน ด้วยค่าใช้จ่ายหัวละเท่านี้บาท จะจ่ายไปจังหวัดนี้มาก จังหวัดนี้น้อย สุดแล้วแต่จำนวนประชากรที่แตกต่างกัน หรือการจ่ายงบประมาณสำหรับดูแลผู้ป่วยในตาม DRG ซึ่งจะมีเกณฑ์ชัดเจน โรงพยาบาลที่ดูแลคนไข้ก็จะได้งบประมาณอย่างชัดเจน ตรงนี้เรียกว่า "เกิดความชัดเจนในการซื้อ"

กลไกการซื้อเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพนั้น นอกจากความชัดเจนแล้วยังจำเป็นต้องมีความรับผิดรับชอบว่าใครรับผิดชอบเรื่องอะไร มันต้องมีองค์ประกอบอื่นร่วมด้วย ยกตัวอย่างเช่น ผู้ซื้อกับผู้ให้บริการต้องมีการตกลงราคากัน ผู้ซื้อซื้อไหวไหม ผู้ขายจัดบริการได้ไหม จุดลงตัวอยู่ตรงไหน ซึ่งจะทำให้กระบวนการซื้อมีประสิทธิภาพประสิทธิผล

อีกประการหนึ่งก็คือ การซื้อการขายจำเป็นต้อง "มีทางเลือก" ถ้าเราต้องซื้อกับคนที่เราเลือกไม่ได้ หรือถ้าเราต้องขายให้กับลูกค้าที่เราเลือกไม่ได้ โอกาสที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพก็ยาก เพราะคนซื้อหรือคนขายมันมีอยู่เจ้าเดียว

นั่นจึงทำให้หลายประเทศที่มีการวางระบบ Purchaser-Provider Split ส่วนใหญ่ล้วนประสบกับปัญหาในทางปฏิบัติ ซึ่งสุดท้ายแล้วอย่างประเทศอังกฤษซึ่งเป็นต้นแบบของแนวคิดนี้ก็ต้องมีการปฏิรูประบบครั้งใหญ่ภายใต้แนวคิดเดิม โดยขณะนี้ต้อง “ให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาทำงานร่วมกัน” โดยไม่ใช่ซื้อฝั่งหนึ่ง ขายฝั่งหนึ่ง ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองไป ปัจจุบันไม่ใช่อย่างนี้แล้ว

ในส่วนของประเทศไทย ชอบใช้คอนเซ็ปของต่างประเทศแล้วก็อ้าง Purchaser-Provider Split แล้วก็แยก สปสช. กับ สธ.ออกจากกัน แต่ในกระบวนการจริงๆ แล้วมันไม่ได้เกิด “ตลาดภายใน” ขึ้นจริงๆ โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้

1.ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายไม่ได้มีทางเลือก ซึ่งไม่เหมือนกับระบบประกันสังคม (สปส.) ที่โรงพยาบาลเอกชนเลือกเข้า-ออกจากระบบได้ ซึ่งแตกต่างกับความสัมพันธ์ระหว่าง สปสช.กับโรงพยาบาลในสังกัด สธ.ที่ต่างคนต่างไม่มีทางเลือก ดังนั้นกระบวนการซื้อขายจึงกลายเป็นกระบวนการ “บังคับซื้อบังคับขาย”

2.ไม่มีกระบวนการเจรจาเกิดขึ้นระหว่างการทำหน้าที่ของผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งที่จริงแล้วในการจัดการทรัพยากรนั่นก็คืองบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ในแต่ละปี มันเกิดขึ้นจากที่ สปสช.ใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ รวบรวม แล้วคำนวณต้นทุนต่อหัวขึ้นมา จากนั้นก็อาศัยต้นทุนต่อหัวนี้ไปของบประมาณจากสำนักงบประมาณ แล้วก็มีการกำหนดสิทธิประโยชน์ต่างๆ โดย สปสช. จากนั้นรัฐบาลก็จะพิจารณาตามข้อมูล ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ก็จะถูกตัดงบ และเมื่องบประมาณไม่ได้ตรงตามที่ขอ ก็ไม่ได้มีการเจรจาต่อรองใดๆ

โดยสรุปก็คือ ระบบของประเทศไทยเป็นไปอย่างบังคับซื้อบังคับขายโดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่มีสิทธิเลือก และก็ยังไม่มีกระบวนการเจรจาใดๆ ฉะนั้น Purchaser-Provider Split ในประเทศไทยจึงเกิดผลจริงๆ เพียง 2 เรื่องเท่านั้น

1.ทำให้ความรับผิดรับชอบของการใช้งบประมาณมีความชัดเจนขึ้น ว่าจัดสรรเงินไปที่ไหน อย่างไร ด้วยหลักเกณฑ์อะไร เพื่อแลกกับผลงานอะไร

2.การที่ สปสช.ทำหน้าที่ผู้ซื้อแทนประชาชนก็ทำให้มุมมองของการกำหนดประเด็นในเชิงนโยบายว่าจะซื้ออะไร ไม่ซื้ออะไร ให้น้ำหนักสิทธิประโยชน์อะไร คือมีการใช้มุมมองของประชาชนเข้ามากำหนดกฎเกณฑ์ในการจัดบริการให้กับประชาชนชัดเจนขึ้น

เมื่อมีความชัดเจนในเรื่องนี้มากขึ้น ก็ทำให้มีการประเมินหลายอย่าง เช่น การใช้เทคโนโลยีประเมินความคุ้มค่าในการซื้อเกิดขึ้นในระบบ ในขณะที่รูปแบบเดิมคือการบริหารอย่างขลุมๆ มันไม่มี

ทั้งหมดคือประโยชน์ 2 ประการที่เกิดขึ้นในระบบ Purchaser-Provider Split ของประเทศไทย ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ก็เกิดเป็นคำถามต่อว่า จริงๆ แล้วหลักการนี้มันดีและมีประสิทธิภาพหรือไม่

ส่วนตัวคิดว่าในเชิงหลักการเป็นสิ่งที่ดี แต่ในทางปฏิบัติต้องพิจารณาดูว่ามันเวิร์คหรือไม่ ซึ่งหากเราดูด้วยใจเป็นกลางและลงในรายละเอียดจริงๆ ก็จะพบว่ามันมีบางส่วนเท่านั้นที่มีประโยชน์ แต่ส่วนที่เหลือมันเป็นแค่ทฤษฎีในอากาศ

ยกตัวอย่าง เรื่องการจัดซื้อยาของ สปสช. ปกติแล้วการซื้อยาอะไรเพื่อให้แพทย์ในโรงพยาบาลใช้ต้องเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ซื้อบริการ เพราะ สปสช.ทำหน้าที่ผู้ซื้อคือมีหน้าที่จ่ายเงิน ส่วนแพทย์หรือพยาบาลจะไปเลือกยาอะไรมารักษาคนไข้ก็เป็นเรื่องของเขา แต่ที่ผ่านมา สปสช.ทำหน้าที่นี้ ซึ่งก็พูดได้ว่าเป็นการทำหน้าที่ได้ดีมากด้วย

โดยสรุป สปสช.ในมุมหนึ่งก็ไปทำหน้าที่ของฝั่งผู้ขายบริการด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าระบบในประเทศไทยก็มีพัฒนาการไปในทิศทางการบูรณาการร่วมในการทำหน้าที่อยู่แล้ว

ในการจัดสรรเงินในภาคปฏิบัติ คือพอโรงพยาบาลขาดทุนเนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานที่มาจากเดิมไม่สอดคล้องกับวิธีการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งที่ผ่านมา สปสช.ก็ใช้ สสจ. ใช้เขต ในการทำงานร่วมกัน แล้วก็มีการหมุนเงิน เพื่อที่จะเกลี่ยให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ให้สามารถทำงานได้ ใช้เขต ในการทำงานร่วมกัน แล้วก็มีการหมุนเงิน เพื่อที่จะเกลี่ยให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ให้สามารถทำงานได้ให้อยู่รอดอยู่แล้ว

นั่นจะเห็นได้ว่าในหลักการของ Purchaser-Provider Split มันดี แต่ในบริบทของประเทศไทยและการดำเนินงานในส่วนที่ผ่านมามันไม่ได้แยกกันจริงๆ มันมีการทำงานที่ร่วมกันอยู่แล้ว

ส่วนตัวคิดว่าในเมื่อมันเป็นเช่นนี้ เราก็เอาจุดดีของหลักการนี้มาใช้ แล้วก็เลิกหลอกตัวเองในจุดที่มันเป็นปัญหา ที่สำคัญคือต้องทำให้บริหารได้ ซึ่งจะดีกว่าการมาทะเลาะกันด้วยการอ้างเรื่องการแยกผู้ซื้อผู้ขาย แล้วก็ชนกัน ซึ่งแน่นอนว่าประชาชนไม่ได้ประโยชน์

จุดดีที่ประเทศไทยนำมาใช้จริงได้คือ การที่มีความรับผิดชอบของผู้ซื้อบริการ ทำให้การตอบสนองความต้องการของประชาชนมีความชัดเจน ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรที่จัดสรรออกไปมีความชัดเจน เราก็ควรเก็บเรื่องนี้ไว้ก็คืออย่าไปยุบ สปสช. คือปล่อยให้เขาทำหน้าที่ของเขาไปดีแล้ว

แต่ในเรื่องอื่นๆ ที่ในทางปฏิบัติทำไม่ได้จริง ก็มาดูว่าอะไรทำได้จริงและเป็นประโยชน์กับประเทศได้ดีกว่าก็ควรทำไป และอาจมีการกลับมานั่งคุยเรื่องโครงสร้างการกำกับดูแลกันใหม่






Create Date : 18 สิงหาคม 2560
Last Update : 18 สิงหาคม 2560 11:02:26 น. 2 comments
Counter : 1474 Pageviews.  

 
แถม ..
“น้ำลดตอผุด” : ๑๕ ปีกับการรักษาฟรีทั่วหล้า + ข้อมูลประกอบการติดตามข่าวการแก้ไข พรบ.หลักประกันสุขภาพ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=16-07-2017&group=7&gblog=218
ความจริงที่เกี่ยวกับระบบการบริการด้านสุขภาพของประเทศไทย .. พญ. เชิดชู https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-11-2009&group=7&gblog=39
มหันตภัย 30 บาทรักษาทุกโรค : ภัยของบุคลากรสาธารณสุข ... พญ.เชิดชู เขียนไว้ 2555 https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=27-07-2017&group=7&gblog=220
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง บัตรสามสิบบาท ฯลฯ) หาข้อมูลก่อนแสดงความเห็น บ้างก็ดีนะครับ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-07-2014&group=7&gblog=182
เลิกพูดเกินความเป็นจริงว่า 30 บาทรักษาได้ทุกโรคและเลิกใช้คำว่าหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=01-08-2017&group=7&gblog=222
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หลักการดีแต่ต้องรีบ“ปฏิรูปวิธีดำเนินการ” ... พญ. เชิดชู https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-04-2009&group=7&gblog=23
เหตุใด พนักงาน-ผู้บริหาร สปสช. จึงไม่ใช้สิทธิบัตรทอง? https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=01-08-2017&group=7&gblog=221
ตัวอย่างปัญหา ประกันสังคม .. โรงพยาบาลเอกชน และ ความต้องการของผู้ป่วย ??? https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-01-2010&group=7&gblog=45
ชัดเจนไม่ต้องคิดมาก โรงพยาบาลรัฐเจ๊งแน่ ... ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-01-2017&group=7&gblog=211
ณรงค์ สหเมธาพัฒน์” ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แจงสภาพข้อเท็จจริงระบบสุขภาพของไทย https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-09-2014&group=7&gblog=183
ทีดีอาร์ไอ : ระบบประกันสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและเท่าทียมของไทยในอนาคต (ความแตกต่างของ ๓ กองทุนสุขภาพ) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-03-2013&group=7&gblog=173
ปัญหาสาธารณสุขไทย ความจริงของ “แพทย์ไทย” กับอนาคตไร้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-11-2012&group=7&gblog=169
ฝันร้ายในระบบบริการสุขภาพไทย .. นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล ( สิงหาคม ๒๕๕๗ ) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=11-06-2015&group=7&gblog=191
โรงพยาบาลขาดทุนมีมากแค่ไหน ขาดทุนเท่าไหร่ ถึง ต้องค้างจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร ? https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-12-2016&group=7&gblog=210


โดย: หมอหมู วันที่: 18 สิงหาคม 2560 เวลา:11:11:09 น.  

 
สวัสดีจ้ะ เราแวะมาทักทายนะ sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค Hyaluronic คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4286561 วันที่: 22 ธันวาคม 2560 เวลา:17:40:27 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]