Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

สธ.สั่งทุก รพ.ปรับปรุง OPD ประหนึ่งห้องรับแขก บริการลื่นไหล รวดเร็วใน 120 นาที



สธ.สั่งทุก รพ.ปรับปรุง OPD ประหนึ่งห้องรับแขก บริการลื่นไหล รวดเร็วใน 120 นาที
โดย MGR Online


10 มิถุนายน 2559 15:57 น.(แก้ไขล่าสุด 10 มิถุนายน 2559 17:25 น.)

ปลัด สธ. สั่งทุกโรงพยาบาลพัฒนาแผนกผู้ป่วยนอก เป็นเหมือนห้องรับแขก ชี้ต้องสะอาด สะดวก สบาย สวยงาม แนะเพิ่มคุณภาพ ทำระบบยื่นบัตร รอคิว ชัดเจน เป็นขั้นตอน บริการลื่นไหล รวดเร็วใน 120 นาที จุดมุมพักผ่อน ทำความสะอาดประจำ



       วันนี้ (10 มิ.ย.) นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ผู้ตรวจราชการ สธ. เขตสุขภาพที่ 9 และประธานกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลในระบบ Quality Service Clean (QSC) ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป เรื่องการปรับปรุงบริการด่านหน้าที่แผนกผู้ป่วยนอก

       นพ.โสภณ กล่าวว่า รมว.สาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาโรงพยาบาลทุกระดับ ทั้งคุณภาพบริการ ความสะอาด และสะดวกสบาย โดยเฉพาะแผนกผู้ป่วยนอกที่เป็นด่านหน้ารับผู้ป่วย เปรียบเสมือนเป็นห้องรับแขกในบ้าน ต้องมีคุณภาพตามมาตรฐาน 4 ส. คือ สะอาด สะดวก สบาย สวยงาม ให้ผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลมีความพึงพอใจ สามารถเข้ารับบริการที่จุดต่าง ๆ ได้ลื่นไหลไปตามขั้นตอน โดยให้โรงพยาบาลทุกแห่ง จัดทำโครงการพัฒนาโรงพยาบาลในระบบคิวเอสซี (QSC : Quality Service Clean) ด้วยความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทุกคน ร่วมปรับปรุงสภาพแวดล้อม และบรรยากาศในการทำงานให้สดใสใน 3 ด้าน คือ คุณภาพ (Quality) บริการ (Service) และความสะอาด (Clean) โดยมีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังนี้

       1. ด้านคุณภาพ ได้แก่ จัดทำผังหรือช่องทางการยื่นบัตรและการรอคิวที่เป็นระบบ มีขั้นตอนให้ผู้รับบริการและญาติรับทราบอย่างชัดเจน จัดทำระบบประชาสัมพันธ์ ให้การต้อนรับ ให้ข้อมูล พร้อมจิตอาสาดูแลให้บริการและอำนวยความสะดวกแก้ปัญหาทุกจุดบริการ มีป้ายชื่อความหมาย ป้ายบอกทางอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่เกะกะ ขวางทางสัญจร มองเห็นได้อย่างชัดเจน และจัดห้องบริการให้คำปรึกษาพร้อมเจ้าหน้าที่ประจำ

       2. ด้านบริการได้แก่ มีช่องทางการตรวจในแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) ที่ลื่นไหลและรวดเร็วภายใน 120 นาที จัดบริเวณที่นั่งรอตรวจให้เพียงพอต่อผู้รับบริการและญาติ และสะดวกสบาย ร่มรื่น ปลอดภัย จัดให้มีสัญลักษณ์ที่เด่นชัด ในช่องทางการเดินเชื่อมระหว่างตึกของการให้บริการ จัดมุมพักผ่อนหย่อนใจสำหรับผู้ป่วยและญาติ จัดให้มีร้านกาแฟ ร้านอาหาร สหกรณ์ร้านค้า บริการผู้ป่วยและญาติ

       3. ด้านความสะอาด ได้แก่ การดำเนินการกิจกรรม 5 ส. มาตรการ 3 ก. ในโรงพยาบาลทุกวันศุกร์เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการส้วมสะอาด ปลอดภัย ปราศจากโรค เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง (ห้องน้ำสะอาด สวยงาม) มีบริการตู้น้ำดื่มสะอาดที่เป็นระเบียบ สวยงาม และมีแม่บ้านคอยดูแลความสะอาดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ปรับปรุงตึก อาคาร สิ่งก่อสร้างภายในให้สีสันสวยงาม ดูสะอาด สวยงาม สดใส ภูมิสถาปัตย์ แสง สี เสียง สวนหย่อม สวยงาม ปลอดภัย ทั้งนี้ จะตรวจประเมินผลโรงพยาบาลทุกแห่งในเดือนสิงหาคม 2559 และมอบรางวัลโรงพยาบาลคุณภาพ สะอาด สะดวกมาตรฐานคิวเอสซี ในที่ประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข 2559 เดือนกันยายน 2559 นี้


" ขอให้ทำได้สมดังตั้งใจ ในเร็ววันนะครับ "

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::


"โพลล์ชี้คนไทยกว่า 50% ใช้เวลาในรพ.กว่า 8 ชม."

7 สิงหาคม 2560 16:20 น.เรื่องโดย คมชัดลึก | ภาพโดย คมชัดลึก 6,265แชร์



สยามเทคโนฯโพลล์ เผยคนไทยกว่า50%ใช้เวลาในรพ.กว่า8 ชม. ระบุ สาเหตุล่าช้า60% เกิดจากปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการ อีก 40.32% ชี้แพทย์พยาบาลมีน้อย

ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโสสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม(STC)แถลงผลการสำรวจ"ความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปต่อการใช้บริการตรวจรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ"สำรวจระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม ถึง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,203 คน

ปัจจุบันการให้บริการทางด้านสาธารณะสุขของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้บริการในสถานพยาบาลยังคงเกิดปัญหาดังที่ปรากฏเป็นข่าวมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การที่มีแพทย์พยาบาลไม่เพียงพอกับการให้บริการโดยเฉพาะในสถานพยาบาลขนาดเล็กหรือขนาดกลาง การที่แพทย์พยาบาลต้องทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลานาน การกระจุกตัวของแพทย์พยาบาลในเมือง การรอรับบริการตรวจรักษาพยาบาลเป็นเวลานานในแต่ละครั้ง หรือการบริหารจัดการการให้บริการของสถานพยาบาล เป็นต้น

ถึงแม้ภาครัฐจะได้พยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ แต่ปัญหาต่างๆ เหล่านั้นยังคงปรากฏอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาและความเอาใจใส่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันได้มีปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นซึ่งปรากฏเป็นข่าวมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น คือ ปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยเกี่ยวกับความรวดเร็วและความเอาใจใส่ของแพทย์พยาบาลในการดูแลรักษา

ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวส่วนมากจะถูกเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งนอกจากการเล่าเป็นตัวอักษรแล้วบ่อยครั้งยังมีการนำเสนอภาพหรือคลิปวิดิโอด้วยซึ่งก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และการถกเถียงระหว่างผู้คนในสังคม ซึ่งผู้คนส่วนหนึ่งได้แสดงความห่วงใยถึงปัญหาดังกล่าวและเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบแก้ไขและทำความเข้าใจให้กับประชาชนมากขึ้น

จากประเด็นดังกล่าวสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปต่อการใช้บริการตรวจรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.71 เพศชายร้อยละ 49.29 อายุ 15 ปีขึ้นไป สรุปผลได้ดังนี้

ในด้านระยะเวลาการใช้บริการตรวจรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐโดยเฉลี่ยต่อครั้ง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 46.22 ระบุว่าตนเองใช้เวลาในการตรวจรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลของรัฐต่อครั้ง ในฐานะผู้ป่วยนอกโดยเฉลี่ยประมาณ 5 ถึง 8 ชั่วโมงนับจากเวลาที่เดินทางมาถึงสถานพยาบาลจนกระทั่งเวลาที่เดินทางออกจากสถานพยาบาล รองลงมาระบุว่าใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 5 ชั่วโมงซึ่งคิดเป็นร้อยละ 32.25 ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.47 ยอมรับว่าใช้เวลามากกว่า 8 ชั่วโมงโดยเฉลี่ยต่อครั้ง โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 8.06 ระบุว่าใช้เวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมง

เมื่อเปรียบเทียบสาเหตุที่ส่งผลทำให้ผู้ใช้บริการต้องรอรับบริการในสถานพยาบาลของรัฐเป็นเวลานานระหว่างปัญหาจำนวนแพทย์พยาบาลมีน้อยกับปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 59.68 มีความคิดเห็นว่าเกิดจากปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการมากกว่า ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 40.32 ระบุว่าเกิดจากปัญหาจำนวนแพทย์พยาบาลมีน้อยมากกว่า

ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.93 เชื่อว่าในปัจจุบันแพทย์พยาบาลส่วนใหญ่ในสถานพยาบาลของรัฐจำเป็นต้องปฏิบัติงานล่วงเวลาในสถานพยาบาลติดต่อกันยาวนานเกินไป

โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 77.14 มีความคิดเห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเพิ่มความเอาใจใส่สนใจแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการในสถานพยาบาลของรัฐให้มากขึ้นกว่าในปัจจุบัน

เมื่อปรากฏข่าวเกี่ยวกับปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 58.27 รู้สึกเห็นใจทั้งสองฝ่ายเท่าๆ กัน ขณะที่กลุ่มตัวอย่างประมาณหนึ่งในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 25.52 ยอมรับว่าตนเองรู้สึกเห็นใจผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยมากกว่า ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 16.21 รู้สึกเห็นใจแพทย์พยาบาลมากกว่า

ในด้านความคิดเห็นต่อปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยนั้น
กลุ่มตัวอย่างประมาณสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 75.15 มีความคิดเห็นว่าผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยไม่สมควรนำภาพ/คลิปวีดีโอที่ปรากฏใบหน้าแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินที่ตนเองมีปัญหากระทบกระทั่งมาเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 57.94 มีความคิดเห็นว่าข่าวเกี่ยวกับปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยมีส่วนบั่นทอนกำลังใจในการทำงานของแพทย์พยาบาลโดยรวมได้

นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.27 มีความคิดเห็นว่าข่าวเกี่ยวกับปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วย จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มความเอาใจใส่ในการแก้ปัญหาการให้บริการในสถานพยาบาลของรัฐได้

อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 53.2 ระบุว่าข่าวเกี่ยวกับปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยจะไม่ส่งผลให้ตนเองกลัวการไปใช้บริการในสถานพยาบาลของรัฐ

กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55.78 และร้อยละ 54.61 มีความคิดเห็นว่าหากมีการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับขั้นตอน/วิธีปฏิบัติ/ลำดับความสำคัญ-ความจำเป็นเร่งด่วนในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องและมีการเพิ่มจำนวนแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐจะมีส่วนช่วยลดปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยกับแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐได้ตามลำดับ"

อ่านต่อที่: //www.nationtv.tv/main/content/social/378560503/




Create Date : 17 มิถุนายน 2559
Last Update : 9 สิงหาคม 2560 22:34:02 น. 3 comments
Counter : 3157 Pageviews.  

 
เหมือนจะเป็น เรื่องเดียวกัน ?

สธ.สั่งทุก รพ.ปรับปรุง OPD ประหนึ่งห้องรับแขก บริการลื่นไหล รวดเร็วใน 120 นาที https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-06-2016&group=15&gblog=68

เปิดสารพัดปัญหาสิ่งแวดล้อมใน รพ. ซ้ำเติมภาวะเจ็บป่วย สร้างทุกข์บุคลากร https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-12-2016&group=15&gblog=74

สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยาใน รพ. ‘ทางออกลดทุกข์ผู้ป่วย หนุนประสิทธิภาพบุคลากร’ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-12-2016&group=15&gblog=75


โดย: หมอหมู วันที่: 13 ธันวาคม 2559 เวลา:16:09:02 น.  

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาทักทาย สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: nokyungnakaa วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:15:53:56 น.  

 
"โพลล์ชี้คนไทยกว่า 50% ใช้เวลาในรพ.กว่า 8 ชม.
เรื่องโดย คมชัดลึก | ภาพโดย คมชัดลึก7 สิงหาคม 2560 16:20 น.6,265แชร์

สยามเทคโนฯโพลล์ เผยคนไทยกว่า50%ใช้เวลาในรพ.กว่า8 ชม. ระบุ สาเหตุล่าช้า60% เกิดจากปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการ อีก 40.32% ชี้แพทย์พยาบาลมีน้อย

ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโสสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม(STC)แถลงผลการสำรวจ"ความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปต่อการใช้บริการตรวจรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ"สำรวจระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม ถึง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,203 คน

ปัจจุบันการให้บริการทางด้านสาธารณะสุขของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้บริการในสถานพยาบาลยังคงเกิดปัญหาดังที่ปรากฏเป็นข่าวมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การที่มีแพทย์พยาบาลไม่เพียงพอกับการให้บริการโดยเฉพาะในสถานพยาบาลขนาดเล็กหรือขนาดกลาง การที่แพทย์พยาบาลต้องทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลานาน การกระจุกตัวของแพทย์พยาบาลในเมือง การรอรับบริการตรวจรักษาพยาบาลเป็นเวลานานในแต่ละครั้ง หรือการบริหารจัดการการให้บริการของสถานพยาบาล เป็นต้น

ถึงแม้ภาครัฐจะได้พยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ แต่ปัญหาต่างๆ เหล่านั้นยังคงปรากฏอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาและความเอาใจใส่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันได้มีปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นซึ่งปรากฏเป็นข่าวมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น คือ ปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยเกี่ยวกับความรวดเร็วและความเอาใจใส่ของแพทย์พยาบาลในการดูแลรักษา

ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวส่วนมากจะถูกเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งนอกจากการเล่าเป็นตัวอักษรแล้วบ่อยครั้งยังมีการนำเสนอภาพหรือคลิปวิดิโอด้วยซึ่งก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และการถกเถียงระหว่างผู้คนในสังคม ซึ่งผู้คนส่วนหนึ่งได้แสดงความห่วงใยถึงปัญหาดังกล่าวและเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบแก้ไขและทำความเข้าใจให้กับประชาชนมากขึ้น

จากประเด็นดังกล่าวสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปต่อการใช้บริการตรวจรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.71 เพศชายร้อยละ 49.29 อายุ 15 ปีขึ้นไป สรุปผลได้ดังนี้

ในด้านระยะเวลาการใช้บริการตรวจรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐโดยเฉลี่ยต่อครั้ง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 46.22 ระบุว่าตนเองใช้เวลาในการตรวจรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลของรัฐต่อครั้ง ในฐานะผู้ป่วยนอกโดยเฉลี่ยประมาณ 5 ถึง 8 ชั่วโมงนับจากเวลาที่เดินทางมาถึงสถานพยาบาลจนกระทั่งเวลาที่เดินทางออกจากสถานพยาบาล รองลงมาระบุว่าใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 5 ชั่วโมงซึ่งคิดเป็นร้อยละ 32.25 ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.47 ยอมรับว่าใช้เวลามากกว่า 8 ชั่วโมงโดยเฉลี่ยต่อครั้ง โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 8.06 ระบุว่าใช้เวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมง

เมื่อเปรียบเทียบสาเหตุที่ส่งผลทำให้ผู้ใช้บริการต้องรอรับบริการในสถานพยาบาลของรัฐเป็นเวลานานระหว่างปัญหาจำนวนแพทย์พยาบาลมีน้อยกับปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 59.68 มีความคิดเห็นว่าเกิดจากปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการมากกว่า ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 40.32 ระบุว่าเกิดจากปัญหาจำนวนแพทย์พยาบาลมีน้อยมากกว่า

ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.93 เชื่อว่าในปัจจุบันแพทย์พยาบาลส่วนใหญ่ในสถานพยาบาลของรัฐจำเป็นต้องปฏิบัติงานล่วงเวลาในสถานพยาบาลติดต่อกันยาวนานเกินไป

โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 77.14 มีความคิดเห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเพิ่มความเอาใจใส่สนใจแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการในสถานพยาบาลของรัฐให้มากขึ้นกว่าในปัจจุบัน

เมื่อปรากฏข่าวเกี่ยวกับปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 58.27 รู้สึกเห็นใจทั้งสองฝ่ายเท่าๆ กัน ขณะที่กลุ่มตัวอย่างประมาณหนึ่งในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 25.52 ยอมรับว่าตนเองรู้สึกเห็นใจผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยมากกว่า ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 16.21 รู้สึกเห็นใจแพทย์พยาบาลมากกว่า

ในด้านความคิดเห็นต่อปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยนั้น
กลุ่มตัวอย่างประมาณสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 75.15 มีความคิดเห็นว่าผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยไม่สมควรนำภาพ/คลิปวีดีโอที่ปรากฏใบหน้าแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินที่ตนเองมีปัญหากระทบกระทั่งมาเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 57.94 มีความคิดเห็นว่าข่าวเกี่ยวกับปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยมีส่วนบั่นทอนกำลังใจในการทำงานของแพทย์พยาบาลโดยรวมได้

นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.27 มีความคิดเห็นว่าข่าวเกี่ยวกับปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วย จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มความเอาใจใส่ในการแก้ปัญหาการให้บริการในสถานพยาบาลของรัฐได้

อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 53.2 ระบุว่าข่าวเกี่ยวกับปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยจะไม่ส่งผลให้ตนเองกลัวการไปใช้บริการในสถานพยาบาลของรัฐ

กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55.78 และร้อยละ 54.61 มีความคิดเห็นว่าหากมีการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับขั้นตอน/วิธีปฏิบัติ/ลำดับความสำคัญ-ความจำเป็นเร่งด่วนในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องและมีการเพิ่มจำนวนแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐจะมีส่วนช่วยลดปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยกับแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐได้ตามลำดับ"

อ่านต่อที่: //www.nationtv.tv/main/content/social/378560503/


โดย: หมอหมู วันที่: 9 สิงหาคม 2560 เวลา:22:25:33 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]