Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2559 03 04 วิ่งกับเข่าเสื่อม ? ถนนคนเดิน เทศบาลเมืองกำแพงเพชร

 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
เชิญ ร่วมแสดงความคิดเห็น และ ร่วมสนับสนุน สถานีวิทยุฯ โทร 055 - 714 417

วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ :   วิ่งทำให้ข้อเข่าเสื่อมจริงหรือ ?
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :
- ถนนคนเดิน เทศบาลเมืองกำแพงเพชร  (อัพเดต)
//on.fb.me/24Aq5a8

- รพ.กำแพงเพชร เชิญชวนบริจาคโลหิต  ณ ห้องรับบริจาคโลหิต ตึก 3 ชั้น 2 รพ.กำแพงเพชร
ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.00 น. (บริจาคได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ)
สอบถามรายละเอียดได้ที่....งานประชาสัมพันธ์ รพ.กำแพงเพชร โทร 055 - 714 223 - 5 หรือ 081- 443 2550
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.482651328417215.132977.100000170556089&type=3

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา :  

- วันเสาร์ ๕ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลา ๘.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. " โครงการสองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อเด็กกำแพงเพชร "
กิจกรรมส่งมอบจักรยาน โดยกลุ่มจักรยานรักษ์กำแพงเพชร ร่วมกับ วิทยุนาบ่อคำบ้านเรา เรดิโอ
ณ โรงเรียนผินสหราษฎร์พัฒนา หมู่ที่ 4 บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร โทรศัพท์ 055 760 090 พร้อมชมคอนเสิรต์ศิลปินอาร์สยาม ร่วมแฮปปี้เบิร์ดเดย์ ลูกน้ำ อาร์สยาม
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1251195404896133&set=a.1133734349975573&type=3&theater

- วันอาทิตย์ 6 มีนาคม 2559 เวลา 18.00-23.00 น. " คาวบอยไนท์ ฅนใจพอเพียง ครั้งที่ 2 "
ณ ศูนย์อาชาบำบัด (โซนคาวบอย) โรงเรียนบ้านดงซ่อม อ.โกสัมพี จ.กำแพงเพชร
บัตรราคา 2,400 บาท/ 6 ท่าน ติดต่อ 081 475 6435 (ผอ.สมนึก) 080-943 1011 (ครูพิชิต)
รายได้นำไปพัฒนาศูนย์งานเกษตรเพื่อการเรียนรู้ สู่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านดงซ่อม
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1266819946667012&set=pb.100000170556089.-2207520000.1457075768.&type=3&theater

- วันอาทิตย์ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๙ (วันช้างไทย) เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๙.๐๐ น.
เปิดรังกระต่าย ครั้งที่ ๓ Rabbit art street @BanPran ช็อป สินค้าทำมือ โชว์ งานอาร์ต ชิม ของอร่อย
https://www.facebook.com/groups/796142933865735


“””””””””””””””””””””””””””””””
- เชิญร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี จ.กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1110300495652292.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาคจักรยาน (ใหม่-เก่า) โครงการ “สองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อโลก" @ กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1133734349975573.100000170556089&type=3
- ขอสนับสนุน สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร ( สคพ. ๑๐๐.๒๕ MHz)    
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1240372449311762.100000170556089&type=3
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3



๑. ความรู้สุขภาพ :    การวิ่ง การออกกำลังกาย ทำให้ข้อเสื่อมจริงหรือ ?
เรามักจะนึกถึงภาพการวิ่งก่อให้เกิดแรงกระแทกต่อข้อต่างๆ จนมีการสึกหรือเสื่อมไปทีละน้อยๆ จริงอยู่ถ้าร่างกายเราเป็นเครื่องจักร คงมีสภาพเช่นว่านั้น แต่เนื่องจากเราเป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองได้ การออกกำลังกายเช่นการวิ่ง จึงอาจมีผลต่อข้อในทางตรงข้าม คือแทนที่จะทำให้ข้อเสื่อม ก็กลับแข็งแรงขึ้น แต่การใช้ข้อมากเกินไปอาจเป็นผลร้ายเพิ่มขึ้น
คุณหมอริชาร์ด พานุช (Richard Panush) แห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดา ได้ทำการศึกษาสภาวะข้อ ของนักวิ่งวัยกลางคน 17 นาย 9 คนในจำนวนนี้เป็นนักวิ่งมาราธอน (ซึ่งหมายความว่าวิ่งกันอาทิตย์ละกว่า 100 กิโลเมตร) และมีอยู่คนหนึ่งซึ่งในชีวิตวิ่งมากว่า 78,400 กิโลเมตร โดยเฉลี่ยนักวิ่งกลุ่มนี้วิ่งสัปดาห์ละ 55 กิโลเมตร เป็นเวลา 12 ปี เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอีก 18 คน ที่ไม่ใช่นักวิ่ง ผลการศึกษา ไม่พบความแตกต่าง ของการเสื่อม (ข้อเท้า ข้อเข่า และข้อสะโพก) ในคนทั้ง 2 กลุ่ม สรุปว่า การวิ่ง ไม่ทำให้ข้อสึกหรือเสื่อมมากขึ้น
ในวารสาร J.A.M.A. (วารสารของสมาคมแพทย์อเมริกัน) เล่มเดียวกัน (7 มีนาคม 2529) แพทย์หญิงแนนซี่ เลน (Nancy Lane) จากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ก็ได้ทำการศึกษานักวิ่งของ Fifty-Plus Runners Association (ผู้จะเป็นสมาชิกของสมาคมนี้ได้ต้องอายุเกินกว่า 50 ปี) จำนวน 41 คน แล้วเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งวิ่งเพียงหนึ่งในสิบและออกกำลังกายเพียงหนึ่งในสี่ของกลุ่มสมาชิกสมาคม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มนักวิ่ง ไม่มีสิ่งซึ่งส่อแสดงการเสื่อมของข้อต่างๆ เช่น ข้อเข่า และข้อกระดูกสันหลัง แตกต่างไปจากกลุ่มควบคุม แต่ กลุ่มนักวิ่ง ยังมีเนื้อกระดูกมากกว่ากลุ่มควบคุมถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มีโอกาสเป็นโรคกระดูกผุ (osteoporosis) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม

แนวทางในการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อมอักเสบ
1.    ก่อนเริ่มออกกำลังกายครั้งแรก ควรปรึกษาแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อให้ทราบแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนข้อห้ามและข้อพึงระวังต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไป
2.    ชนิดของการออกกำลังกายนั้น ควรเป็นชนิดที่มีการเคลื่อนไหวของข้อและไม่รุนแรง ตัวอย่างเช่น การเดิน โดยค่อยๆเพิ่มความเร็วและระยะเวลาเท่าที่พอรู้สึกว่าไม่เพิ่มความปวด การว่ายน้ำ การรำมวยจีน การปั่นจักรยาน (ทั้งชนิดที่อยู่กับที่และเคลื่อนที่ได้) การบริหารท่าต่างๆที่ไม่รุนแรงหรือพิสดาร
3.    ควรตั้งเป้าหมายระยะสั้นของการออกกำลังกาย เพื่อประเมินผลและเห็นความก้าวหน้าของตนเอง เช่น อาการปวดลดลงและเคลื่อนไหวข้อได้มากขึ้นใน 2 สัปดาห์ กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นอย่างชัดเจน ใน 6 สัปดาห์ เป็นต้น
4.    ถ้ามีเพื่อนร่วมออกกำลังกายด้วย จะทำให้ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายง่ายและช่วยกระตุ้นความสนใจในการออกกำลังกายได้ดีกว่าทำแต่เพียงคนเดียว พึงระลึกเสมอว่า ผลด้านความแข็งแรงของร่างกายจะเห็นได้ชัด เมื่อออกกำลังกายครบ 6 สัปดาห์ไปแล้ว ไม่ใช่ครั้งสองครั้งแล้วท้อไปเสียก่อน
5.    ควรเริ่มด้วยการออกกำลังกายเบาๆก่อนเสมอ เพื่อเป็นการอบอุ่นร่างกาย เช่น เคลื่อนไหวข้อในช่วงการเคลื่อนไหวที่ไม่ปวดหรือเพียงแค่เกร็งกล้ามเนื้อรอบๆข้อ ซ้ำๆกัน เป็นเวลานาน 5-10 นาที ไม่ควรหักโหม โดยเฉพาะในวันแรกๆของการออกกำลังกาย เพราะอาจทำให้บาดเจ็บเพิ่มแล้วเลยพลอยไม่อยากออกกำลังกายอีก เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว จึงค่อยเพิ่มความหนักและระยะเวลาของการออกกำลังกายขึ้นทีละน้อย
6.    ปริมาณของการออกกำลังกายขึ้นอยู่กับ อายุ ความรุนแรงของโรค และสมรรถภาพทางกาย โดยทั่วไปควรเริ่มแต่พอทนได้ ไม่ควรหักโหม เช่น
- คนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมอักเสบขนาดปานกลาง (ปวดเข่าไม่มาก เคลื่อนไหวข้อเข่ามีเสียงกรุกกรักในข้อ ไม่มีอาการบวมน้ำในข้อ ไม่ร้อนที่ข้อ ภาพเอกซเรย์แสดงว่ายังพอมีช่องว่างระหว่างผิวข้อ) อาจเดินบนพื้นราบให้ได้ระยะทางขนาดที่ตนเองเริ่มรู้สึกว่าเริ่มจะขัดๆในข้อก็พอ แล้วจึงค่อยๆเพิ่มระยะทางทีละน้อยในครั้งต่อๆไป
- คนที่สมรรถภาพทางกายไม่ดี (ไม่แข็งแรง) อาจเดินได้ร้อยเมตร ก็เหนื่อยแล้วทั้งที่ยังไม่รู้สึกขัดในข้อ ก็ไม่ควรฝืนเดินต่อไป ความเหนื่อยขนาดที่ไม่ถึงกับหอบก็เพียงพอแล้ว
- มีข้อสังเกตว่า ถ้าออกกำลังกายแล้วมีอาการปวดและบวมที่ข้อมากขึ้น แสดงว่าอาจออกกำลังกายมากไปหรือไม่ก็ทำผิดวิธี ควรหยุดพักจนอาการบรรเทาไป อย่างไรก็ตาม คนที่เพิ่งเริ่มออกกำลังกายครั้งแรกๆ อาจรู้สึกเมื่อยๆ ขัดๆ บริเวณข้อและกล้ามเนื้อ ซึ่งถือว่าเป็นธรรมดา แต่อาการนี้ควรหายไปภายใน 24 ชั่วโมง หลังการออกกำลังกาย
7.    ผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อมอักเสบ ควรออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันหรืออย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ โดยสลับความหนักเบาของการออกกำลังกายได้ เพื่อว่าร่างกายจะไม่หักโหมจนเกินไป ขณะเดียวกัน ก็ทำให้การออกกำลังกายเป็นปัจจัยหนึ่งของชีวิตประจำวัน การออกกำลังมักให้ผลที่สังเกตได้ชัดตั้งแต่สัปดาห์ที่สองหรือสาม ควรออกกำลังกายต่อไปเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าไม่รู้สึกปวดข้ออีกแล้ว เพราะการออกกำลังกายเป็นประจำให้ผลดีมากกว่าผลเสียหลายเท่า
8.    ตัวอย่างของการออกกำลังกายสำหรับภาวะข้อเสื่อม แบ่งตามระดับความหนักเบาต่อข้อได้ดังนี้
- การออกกำลังกายชนิดเบา เช่น เกร็งกล้ามเนื้อรอบข้อซ้ำๆกัน เคลื่อนไหวข้อตลอดช่วงการเคลื่อนไหวโดยไม่ลงน้ำหนัก เคลื่อนไหวข้อในสระน้ำ
- การออกกำลังกายชนิดปานกลาง เช่น การปั่นจักยานโดยไม่ปรับความฝืด การเดินบนพื้นราบ การเต้นแอโรบิกระดับเบื้องต้น การว่ายน้ำ การเต้นแอโรบิกในน้ำ
- การออกกำลังกายชนิดหนัก เช่น การวิ่งมาราธอน การฝึกยกน้ำหนัก การเดินขึ้นและลงพื้นที่ชัน
9.    การไม่ออกกำลังกายเลยมีผลเสียเช่น ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอ กระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมสลายเร็ว น้ำหนักตัวเพิ่มปวดมากขึ้น และเสื่อมสมรรถภาพทางกาย ส่วนการออกกำลังกายนั้น แม้เพียงเล็กน้อยก็ย่อมให้ผลดีกว่าไม่ออกกำลังกายเลย
10.    การออกกำลังกายนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่หากไม่ดูความเหมาะสม เช่น ออกจนเหนื่อยมากเกินไปประเภทการออกไม่เหมาะสมกับวัยและสภาพร่างกายก็จะทำให้เกิดโทษได้มากกว่าประโยชน์ ดังนั้น ในการออกกำลังกายใดๆ จึงควรเลือกดูที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
อ้างอิง .. //www.doctor.or.th/article/detail/5585
//www.doctor.or.th/article/detail/3579  
๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :

ถนนคนเดิน จังหวัดกำแพงเพชร
//on.fb.me/24Aq5a8
การสร้างถนนคนเดิน ให้เกิดขึ้น นั้นไม่ยาก แต่การรักษาให้คงอยู่และเจริญเติบโต ยากมาก
คำถามสำคัญ คือ วัตถุประสงค์ ของผู้บริหารเทศบาลเมืองฯ จะทำถนนคนเดิน ขึ้นมาเพื่ออะไร ?  เพราะ รูปแบบ วิธีการจัดการ จะแตกต่างกันไปเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ต้องการให้เป็นพื้นที่ใหม่ ไม่เหมือนที่ไหนในเทศบาลฯ (เน้นความแปลกใหม่) เพื่อเปิดพื้นที่ดนตรีศิลปวัฒนธรรมให้เด็กเยาวชนครอบครัว (เน้นด้านสังคม) หรือ เพื่อเป็นตลาดขายสินค้าอาหารแห่งใหม่ (เน้นรายได้) เป็นต้น

ขอเสนอ แนวคิด ถนนคนเดิน ที่รวบรวมมาจากเฟสรักษ์กำแพง  ( เน้นเรื่องความแปลกใหม่ และ ด้านสังคม )  

๑. พื้นที่จัดงาน ที่เหมาะสมที่สุด ก็คือ บริเวณฟุตบาทริมปิง  โดยเฉพาะช่วงสวนน้ำ-ลานวัฒนธรรม เนื่องจาก
- มีความกว้างเกือบสิบเมตร เป็นแนวยาวต่อเนื่องเกือบเจ็ดร้อยเมตร(จากหน้า โรงเรียน อบจ. ถึงหน้าสวนน้ำ) ถ้าทำแล้วประสบความสำเร็จ สามารถขยายไปยังแนวทางเดินด้านล่างของเขื่อนริมแม่น้ำได้อีกชั้นหนึ่ง
- สะดวกในการเดินทาง (ไม่ต้องปิดถนน  หรือ ถ้าจะปิด ก็ปิดเฉพาะช่วงสวนน้ำถึงที่จอดรถไฟฟ้า)
- มีทิวทัศน์สวยงามแตกต่างจากจังหวัดอื่น โดยเฉพาะบริเวณหน้า สนามชากังราว เพราะ เป็นพื้นที่โล่ง เห็นวิวแม่น้ำ สะพาน แต่ รูปแบบที่จัดต้องมีรสนิยม ไม่ใช่ตั้งเต็นท์ หรือกั้นเป็นคอก จนบดบังแม่น้ำปิง
- มีที่จอดรถ ด้านหลังโรงจอดรถไฟฟ้าและข้างสนามแบดมินตัน
- มีห้องน้ำ อบจ. สนามกีฬาฯ

๒. เอกลักษณ์ จุดเด่น ของงานต้องชัดเจน ที่ดูแล้วรู้ว่าเป็นของจังหวัดกำแพงเพชร เพราะถนนคนเดินมีทั่วประเทศ ดังนั้น ถ้าจะทำถนนคนเดิน ก็จะต้อง “สร้าง” จุดเด่น ของงาน ที่สื่อให้คนอื่นได้รับรู้ เช่น
- ชื่องาน มีผู้เสนอชื่อ “ลานริมปิง”  “ตลาดร้อยกรุ”  “เตร็ดเตร่วิถี”  “ลาน-เดิน-เล่น ภูมิปัญญา ชากังราว”
ซึ่งสามารถต่อยอด ไปทำเป็น โลโก้ ฉากถ่ายภาพ
- การแต่งกายของพ่อค้าแม่ค้า ชุดเมืองกำแพง? เสื้อยืดสีขาว สกรีนชื่องานโลโก้ หรือ อาจให้ทุกคนสวมหมวก หมวกแบบไหน ก็ได้แล้วแต่ชอบ ใส่เหมือน ๆ กัน ก็จะสร้างบรรยากาศได้
- ใช้ตะเกียง เทียนไข ให้แสงสว่างในแต่ละร้าน ไม่ใช้ไฟฟ้า (นอกจากไฟฟ้าที่มีอยู่แล้ว) ไม่ต้องขอไฟฟ้าเพิ่ม อาจมืดหน่อย แต่น่าจะงามและเป็นเอกลักษณ์ ( ยกเว้นในบางจุด เช่น โซนอาหาร โซนการแสดง อาจต้องใช้ไฟฟ้าแสงสว่างมากหน่อย)
- การตกแต่งด้วยโคมไฟ โคมกระดาษ โคมผ้า ที่มีรูปแบบ ลักษณะ สี โลโก้ ที่เด่นชัดสะดุดตา
- ปูเสื่อ นั่งเก้าอี้เล็ก หรือ โต๊ะพับญี่ปุ่น (สูงน้อยกว่า ๖๐ ซม.)  ยกเว้น แผงพระที่จะยกสูงขึ้น
- ผู้จำหน่ายสินค้าและอาหาร ให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ใช้ถุงกระดาษ ถ้วยชามที่ทำมาจากใบตอง ตะกร้าไม้ไผ่ และ ลดการใช้ถุงพลาสติก
- ระบบเสียง ภายในงาน  ไม่ควรดังมากนัก ประชาสัมพันธ์เป็นครั้งคราว ใช้เสียงเพลงสร้างบรรยากาศ
๓. รูปแบบงาน
- เน้นวัฒนธรรมท้องถิ่น ดนตรี ศิลปะ หัตถกรรม ถ่ายภาพ วาดภาพ สินค้าแฮนเมด สินค้าโอท็อป สินค้าชุมชน
- จัดแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน (แบ่งโซน) เช่น ศิลปวัฒนธรรม ของเก่า พระเครื่อง อาหาร สินค้าทั่วไป เป็นต้น และมีพื้นที่กลาง จัดโต๊ะเก้าอี้เพื่อให้นั่งทานอาหารได้ (อาจอยู่ในโซนศิลปวัฒนธรรม?) การจัดแบ่งโซน โดยการตกแต่ง ด้วยวัสดุ สี หรือ กิจกรรม เช่น ฉากถ่ายรูป จุดบริการนวดเท้า  
- การแสดงศิลปะ สอนวาดภาพ ระบายสี ปั้นดินน้ำมัน (clay) พับกระดาษ พับใบลานใบมะพร้าวใบเตย การตัดกระดาษ ของประดิษฐ์จากกระดาษ เปเปอร์มาเช่ จำหน่ายภาพวาดภาพถ่าย ผลงานศิลปะ
- การแสดงภาพถ่าย สอนถ่ายภาพ เล่าเรื่องหลังภาพ
- การเสวนาประวัติศาสตร์วัฒนธรรม นิทรรศการ ภาพเก่าเล่าเรื่อง ของเก่าของสะสม พระเครื่อง จักรยานโบราณ
- กิจกรรม (Workshops) จากชมรมต่าง ๆ เช่น กลุ่มเล่านิทาน กลุ่มละคร กลุ่มเต้นรำ กลุ่มถ่ายภาพ กลุ่มนักแสดงเปิดหมวก กลุ่มวาดภาพเหมือน โครงการห้องสมุดสัญจร เรียนรู้อาชีพในชั่วโมงเดียว  
- เลือกกิจกรรมท้องถิ่นมาเป็นจุดขาย ไปดูกีฬาพื้นบ้านว่าเค้าเคยเล่นอะไรกัน สอบถามจากผู้เฒ่าผู่แก่ แล้วเตรียมอุปกรณ์พร้อมคนสอนมาร่วมให้ความรู้ เล่นไปด้วยกัน ชมรมผู้สูงอายุช่วยได้มาก ยิ่งยกมาจากทุกอำเภอได้ ยิ่งน่าชม น่าเรียนรู้เรื่องราวของชาวอำเภออื่นที่เป็นภูมิปัญญาสลับกันมาก็ยิ่งน่าสนใจ
- มีพื้นที่เรียนรู้เรื่องการเกษตรแบบทำเองได้ง่ายที่บ้าน เช่น ปลูกข้าวในกระถาง ปลูกผักในกระถาง เป็นต้น
- การแสดงของนักเรียน นักศึกษา (ลานวัยรุ่น ) โรงเรียน ชุมชน (ย้อนยุคหรือสมัยใหม่ก็ได้) วงดนตรี ประกวดร้องเพลงผู้สูงอายุ ชมรมลีลาศมาเต้นประกอบเพลง ชมรมอนุรักษ์เพลงเก่า การละเล่นเด็กไทย (ให้เด็ก ผู้ร่วมงานร่วมเล่นด้วย) การแสดงเปิดหมวก ดนตรี มายากล บริเวณโซนกลาง
- ร้านค้า มีความหลากหลาย เน้นงานทำมือ (แฮนด์เมด) งานศิลปวัฒนธรรม ของที่ระลึก ของฝาก สินค้าเกษตรปลอดภัยเกษตรปลอดสาร(พิษ) โซนที่ขายสินค้าทั่วไป อาจมีซ้ำกันบ้างแต่ไม่ควรจะเน้นจำนวนมากเกินไปจนกลายเป็นตลาดนัดทั่วไป ( คิดค่าเช่าพื้นที่ถูก แต่ คัดของดีของคนพื้นที่มาโชว์ ดังนั้น ผู้ที่จะมาทำหน้าที่คัดกรองร้านค้า ต้องคัดเลือกอย่างดี )
- ร้านอาหาร เน้นอาหารที่หากินได้ยาก เป็นอาหารโบราณ พื้นถิ่น หรือ อาหารเด่น รสชาติดี ความสะอาด หลากหลาย อาจใช้วิธีคัดเลือกอาหารเด่นจากชุมชน ( ชนิดอาหาร ไม่ซ้ำกับ ตลาดไนท์ ตลาดต้นโพธิ์ )

๔. หาพันธมิตร ร่วมคิดร่วมทำ เช่น
- สถานศึกษา โรงเรียน วิทยาลัย โดยเฉพาะ มรภ.กพ เพื่อเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการ และสนับสนุนการแสดง
- ท้องถิ่น เช่น อบจ. อบต. เทศบาลเมือง เทศบาลนครชุม หอการค้าจังหวัด ชมรมท่องเที่ยวฯ โรงแรม
- ราชการ เช่น ท้องถิ่นจังหวัด ท้องถิ่นอำเภอเมือง นายอำเภอเมือง พาณิชย์ ท่องเที่ยว วัฒนธรรม กศน.  
- อื่น ๆ เช่น ตลาดย้อนยุค K-night ชมรมจักรยาน ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมลีลาศ พิพิธภัณฑ์โสภณโภคัย เป็นต้น




Create Date : 05 มีนาคม 2559
Last Update : 5 มีนาคม 2559 22:08:03 น. 1 comments
Counter : 1076 Pageviews.  

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาทักทาย สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: nokyungnakaa วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:18:42:49 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]