Group Blog
พฤษภาคม 2563

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
ทนายอ้วนชวนเที่ยว .... แอ่วเมืองแป้ ... แพร่ - คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่
สถานที่ท่องเที่ยว : คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่, แพร่ Thailand
พิกัด GPS : 18° 8' 39.48" N 100° 8' 19.60" E





สถานที่ท่องเที่ยวในเมือง แป้ – แพร่  แห่งต่อไปทีจะพาไปเที่ยวกัน  เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวรองลงมาจากวัดพระธาตุช่อแฮครับ  นอกจากนั้นยังเป็น  location  ให้กับละครหลายๆเรื่องอีกด้วย
 



 
 

คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่  จ.แพร่
 
 



 
 

คุ้มเจ้าหลวง  หรือ  คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่  หรือ คุ้มหลวงนครแพร่  เคยเป็นที่ประทับของเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 26  ตั้งอยู่ที่ในเขตกำแพงเมืองเก่าแพร่  ถนนค้มเดิม  ตำบลในเวียง  อำเภอเมืองแพร่  จังหวัดแพร่
 
 
(เจ้าของบล็อกเอาลำดับของการครองเมืองแพร่มาจากวิกิพีเดียนะครับ)


 
 
ถ้าเคยได้อ่านบล็อกที่พาไปเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน  หรือ  คุ้มหลวงเมืองน่าน  ก็คงจะคุ้นเคยกับเรื่องราวของ  คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่นะครับ  เท้าความนิดนึงครับ  คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่เป็นต้นแบบให้คุ้มเจ้าหลวงเมืองน่าน  สังเกตดูจากลักษณะภายนอกยกเว้นส่วนหลังคาจะคล้ายๆกันครับ  เจ้าราชดนัย  (ยอดฟ้า  ณ น่าน)  พระราชบุตรของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช  ได้สมรสกับเจ้าสุพรรณวดี  ธิดาเจ้าหลวงเมืองแพร่  และได้รับตำแหน่งเจ้าราชบุตรเมืองแพร่  หลังจากเหตุการณ์เงี๊ยวปล้นเมืองแพร่  เจ้าราชดนัย  ได้ย้ายกลับมาอยู่เมืองน่านและได้นำเอารูปแบบสถาปัตยกรรมของคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ไปเป็นต้นแบบของคุ้มเจ้าหลวงเมืองน่านด้วย
 


 
เรื่องเล่า  off  record  นะครับ  ว่ากันว่าในสมัยของเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 26  เมืองแพร่ร่ำรวยมากๆ  มีเงินคงท้องพระคลังเมืองแพร่เหลือเป็นภูเขาเหล่ากา  ถึงมีเงินจ้างช่างมาสร้างคุ้มหลวงที่ใหญ่โตโอ่อ่าขนาดนี้ได้  ถึงแม้ว่าในปีก่อนๆหน้าที่จะมีการสร้างคุ้มหลวงเมืองแพร่ได้เกิดความแห้งแล้งมากๆ  ต้องเอาเงินในท้องพระคลังออกช่วยเหลือราษฎรเมืองแพร่ถึง 1 ใน 3 .... แล้วก็ยังมีเงินเหลือมาสร้างคุ้มใหญ่โตได้ คิดดูนะครับว่าเมืองแพร่รวยขนาดไหน .....  แล้วนึกต่อไปถึงเมืองน่าน .... คุ้มหลวงเมิองน่านใหญ่กว่าคุ้มหลวงเมืองแพร่ซะอีก .... เพราะฉะนั้น ...  แพร่ว่ารวยแล้ว .... น่านรวยกว่าแพร่เป็นไหนๆ
 




เจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 26   เป็นบุตรของเจ้าพิมพิสาร  เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่  25  กับเจ้าแม่ธิดา  สมภพเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2379   มีชื่อเดิมว่า  เจ้าน้อยนพวงศ์
เจ้าน้อยนพวงศ์  ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอุปราชเมือง  พ.ศ.  2421  เมื่อราชบิดาประชวรท่านก็ได้ว่าราชการแทนจนได้รับสถาปนาเป็นเจ้าเมืองแพร่เมื่อวันที่   5  เมษายน  พ.ศ. 2432  มีราชทินนามว่า
"พระยาพิริยวิไชย อุดรพิไสยวิผารเดช บรมนฤเบศร์สยามมิศร์ สุจริตภักดี เจ้าเมืองแพร่"  และเลื่อนเป็นเจ้านครเมืองแพร่ในปี พ.ศ. 2443  มีราชทินนามว่า  "เจ้าพิริยเทพวงษ์ ดำรงอุดรสถาน ประชานุบาลยุติธรรมสถิตย ผริตบุราธิบดี เจ้านครเมืองแพร่
 


 
เจ้าพิริยเทพวงษ์  มีชายาองค์แรกนามว่า 
“เจ้าแม่บัวถา”  ภายหลังได้เลิกร้างกัน  ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน  (ว่ากันว่า  เจ้าแม่บัวถาย้ายออกจากคุ้มหลวงแล้วไปปลูก  “คุ้มวงษ์บุรี  หรือ  บ้านสีชมพู  เพื่อให้เป็นของขวัญวันแต่งงานเจ้าสุนันตา  บุตรีของพี่ชาย  (เจ้าบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา))  ที่ท่านรับมาเป็นบุตรีบุญธรรม และหลวงพงษ์พิบูลย์ (เจ้าพรหม วงศ์พระถาง)  ตัวท่านเองก็ย้ายไปอยู่ที่คุ้มบุรีรัตน์โดยสร้างเรือนอยู่ด้านหลังมีทางเดิน  (เติ๋น)  เชื่อมถึง)


 
ชายาองค์ที่สองของเจ้าพิริยเทพวงษ์นามว่า 
“เจ้าแม่บัวไหล”  หรือ  แม่เจ้าหลวง  มีโอรส – ธิดา  7  องค์  และมีโอรส – ธิดา  กับหม่อมอื่นๆอีก  7  องค์
 

 
ในวันที่  25  กรกฎาคม  พ.ศ. 2445  เกิดเหตุการณ์เงี้ยวปล้นเมืองแพร่  เจ้าพิริยเทพวงษ์เจ้าเมืองแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ถอดจากยศตำแหน่งริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดคืน  แม้จนสุดท้ายแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงพิโรธต่อการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมของเจ้าหลวงเมืองแพร่อย่างไร  พระองค์ก็ทรงออกมาปกป้องว่าเจ้าหลวงพิริยะเทพวงษ์นั้นแม้จะกลับมาชิงบ้านเมืองคืนจริงก็ไม่ใช่ความคิดของเจ้าหลวงแต่เป็นนโยบายของฝรั่งเศส พระองค์ทรงให้เจ้านายทายาทเจ้าหลวงอยู่อย่างสงบสุขด้วยเจ้านายราชวงศ์จักรีที่ทรงวางใจคือสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ   ส่วนเจ้านายที่ถูกคาดโทษพระองค์ก็ให้ทำหน้าที่ปราบโจรผู้ร้ายชดใช้
 


ภายหลังเหตุการณ์กบฏเงี้ยวสยามได้ปลดเจ้าพิริยเทพวงษ์ออกจากการเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ และถอดราชศักดิ์ลงเป็นไพร่ให้เรียกว่า ''น้อยเทพวงษ์'' ท่านได้เสด็จลี้การเมืองไปประทับยังหลวงพระบาง ประเทศลาว  โดยได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าชีวิตวังหน้าแห่งหลวงพระบาง โดยมอบตำแหน่งกำนันบ้านเชียงแมน ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบางให้ท่าน และยกหลานสาวชื่อนางจันหอมให้เป็นชายาเพื่อปรนนิบัติ พร้อมกับบ่าวไพร่ชาวลาว จนกระทั่งถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2455 สิริชนมายุ 76 ปี ซึ่งมีการรายงานเข้ามายังกรุงเทพฯถึงการเสียชีวิตของน้อยเทพวงษ์ ซึ่งทางราชการสยามเพียงแต่รับทราบโดยไม่มีความคิดเห็นใดๆ
 
 
 
 หลังจากเจ้าพิริยเทพวงศ์ ได้ลี้ภัยไปอยู่เมืองหลวงพระบางแล้ว   คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ได้กลายเป็นที่ตั้งของกองทหารม้าที่ทางกรุงเทพฯ ได้ส่งมารักษาความสงบเรียบร้อยในเมืองแพร่อยู่ระยะหนึ่ง บริเวณที่ ตั้งของคุ้มเจ้าหลวงมีอาณาเขตครอบคลุมถึงที่ตั้งของห้องสมุดประชาชนจังหวัดแพร่และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองแพร่ในปัจจุบันซึ่งบริเวณนี้มีศาลาหลังใหญ่เป็นคอกม้าเก่า
 


ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติการประถมศึกษาขึ้นบริเวณคอกม้าเก่าจึงเป็นที่ตั้งของโรงเรียนตัวอย่างขึ้นเรียกกันทั่วไปสมัยนั้นว่า “โรงเรียนคอกม้า”   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานนามว่า "โรงเรียนเทพวงษ์" ตามนามของเจ้าพิริยเทพวงษ์ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 เมื่ออาคารเรียนไม้สักสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งได้รับความร่วมมือร่วมใจจากมหาชนชาวเมืองแพร่ทุกหมู่เหล่าเป็นอย่างดีและได้รับบริจาคไม้สัก 100 ท่อน จากพระยาบุรีรัตน์ คุ้มวงศ์บุรี กรมที่ปรึกษาโรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานนามใหม่ว่า "โรงเรียนพิริยาลัย" ลงวันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2456 เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เจ้าหลวงนครแพร่องค์สุดท้ายและเป็นพระบรมราชานุสรณ์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แต่ต่อมาโรงเรียนก็ได้ย้ายไปอยู่ที่ถนนยันตรกิจโกศล คือ โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ในปัจจุบัน ส่วนคุ้มเจ้าหลวงก็กลายเป็นจวนหรือบ้านพักของผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ จนเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้มอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ดูแล มีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นจนถึงปัจจุบัน
 
 
 
ต่อมาวันที่ 5 ธันวาคม 2547 จังหวัดแพร่ได้มอบคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่เป็นผู้ดูแลเพื่อเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ให้ประชาชนได้เข้าไปเยี่ยมชมและศึกษาประวัติและเรื่องราวในอดีตของจังหวัดแพร่  ซึ่งหลังจากที่ได้รับมอบแล้วองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ได้ทำการปรับปรุงภายในพิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ “คุ้มเจ้าหลวง” และตกแต่สภาพภูมิทัศน์โดยรอบให้สวยงาม พร้อมทั้งได้จัดตั้งสำนักงานและมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วน จังหวัดแพร่ได้ดูแล
                                             
 


คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่  สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2435  ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูน มี 2 ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็ม แต่ใช้ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่เป็นไม้แก่น ไม้แดง และไม้เนื้อแข็ง รองรับฐานเสาทั้งหลัง  แต่การตกแต่งภายในเป็นไม้ทั้งหมด  เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ยุคต้น แบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป หรือทรงขนมปังขิงซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้นทาสีเขียวอ่อนสลับแก่  หลังคามุงด้วยไม้เรียกว่า "ไม้แป้นเกล็ด"  (ปัจจุบันน่าจะเปลี่ยนมาเป็นกระเบื้องว่าว)  ไม่มีหน้าจั่วเป็นแบบหลังคาเรือนปั้นหยา มีมุขสี่เหลี่ยมยื่นออกมาด้านหน้าของตัวอาคาร หลังคามุขมีรูปทรงสามเหลี่ยม  ส่วนประกอบตกแต่งอาคารทั้งลูกกรง  ราวบันได  ช่องลม  ปั้นลม  ชายคาน้ำรอบตัวอาคาร  และอื่นๆ  ประดับด้วยไม้แกะฉลุสลักลวดลายอย่างสวยงาม เป็นฝีช่างชาวจีนที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น 
 


เดิมเคยมีปันไดขืนไปยังชั้นสองอยู่นอกอาคารตรงมุขกลางของคุ้มทั้งสองข้าง  ซ้าย – ขวา  – เป็นบันได้สำหรับคนภายนอกคุ้มจะขึ้นเฝ้าเจ้าหลวงเพราะโถงเฝ้า  ห้องรับแขกอย่างเป็นทางการอยู่ที่ชั้นสอง  จริงๆที่คุ้มมีบันไดภายในอีกแห่งหนึ่งแต่อยู่ข้างหลัง  แต่ถ้าเดินขึ้นบันไดจะถึงห้องนอนของครอบครัวก่อนครับ  คนภายนอกจึงต้องใช้บันไดภายนอกขึ้นไปห้องคอยเฝ้าที่อยู่บนชั้นสอง  (เหมือนกับคุ้มเจ้าหลวงเมืองน่าน)  ปัจจุบันได้รื้อออกไปแล้ว














 
ตรงโถงทางขึ้นคุ้มมีแบบจำลองคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่พร้อมแบบจำลองภายในใช้ชมก่อนที่จะเข้าไปชมของจริงกันครับ














 
 

คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่  มีประตูหน้าต่างทั้งหมด 72 บาน โดยประตูแต่ละบานจะมีชื่อเรียกที่ไม่เหมือนกัน นิยมตั้งชื่อให้เป็นสิริมงคลดังเช่น  ประตูที่จะผ่านเข้าไปถึงโถงรับประทานอาหารกลางชื่อว่า  “ประตูเมฆะวิมาน”  มีคำกลอนกำกับเอาไว้ด้วยว่า
 



“ยศถามากนัก  จ๋นถึงลูกหลาน
เมฆะวิมาน  ห้าเอ็ดว่าอั้น”



 
คำแปลก็คือ  -  ประตูนี้ถ้าเดินผ่านจะมียศถามากมายจนถึงลูกหลาน  ประตูที่ห้าสิบเอ็ด









 
หรืออีกประตูหนึ่งคือประตูที่จะผ่านเข้าไปยังโถงชั้นบนชื่อว่า 
“ประตูพญาต๊าว”  มีคำกลอนกำกับเอาไว้ว่า
 



“ถ้วนสามสิบสาม  จื่อพญาต๊าว
อยู่จนถราบเฒ่า  เมินไป”



 
คำแปล  -  ประตูที่สามสิบสามชื่อพญาต๊าว  ถ้าได้เดินผ่านจะมีอายุยืนยาวจนแก่เฒ่า




ห้องโถงชั้นล่าง  เป็นห้องรับรับรองและห้องจัดเลี้ยง  จัดเป็นโต๊ะอาหารขนาด นอกจากนั้นจัดภาพขนาดใหญ่และพระราชประวัติของเจ้าพิริยเทพวงษ์และเจ้าแม่บัวไหล










 






ห้องติดๆกันจัดแสดงจัดแสดงโต๊ะอาหารของเจ้าพิริยเทพวงษ์และครอบครัว   จานชามที่จัดแสดงอยู่ในห้องนี้เป็นสมบัติของเจ้าพิริยเทพวงษ์ทั้งหมดครับ 









 
 
ห้องที่อยู่อีกด้านหนึ่งเดิมเป็นห้องที่บ่าวไพร่จะมาคอยรับใช้เจ้าหลวง  ปัจจุบันจัดแสดงของที่มีผู้มอบให้คุ้มหลวงเมืองแพร่





 


 
โถงบันไดอยู่ทางด้านหลังของคุ้มนะครับ  เป็นบันได้ที่คนในคุ้มใช้  บันไดนี้จะขึ้นตรงไปถึงห้องนอนโอรส – ธิดา  ของเจ้าหลวง  ห้องนอนเจ้าแม่บัวไหล  และห้องนอนเจ้าหลวงครับ







 


 
ห้องนอนของเจ้าแม่บัวไหลจะอยู่ทางด้านหลังส่วนห้องนอนของเจ้าหลวงจะอยู่ด้านหน้าติดกับระเบียงที่จัดไว้เป็นห้องพระ  จัดแสดงเป็นห้องนอนของเจ้าหลวง  แท่นบรรทม  เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ  และเสื้อผ้าของเจ้าหลวงกับแม่เจ้าบัวไหล









 
 


 
ส่วนห้องตรงกลางที่ใหญ่ที่สุดเดิมเป็นห้องรับแขกอย่างเป็นทางการ  ปัจจุบันมีรูปเจ้าหลวงฯและแม่เจ้าบัวไหลตั้งอยู่พร้อมเครื่องสักการะ




 
 



มุขกลางของชั้นสองเดิมเป็นห้องรอเฝ้าครับ  แขกของเจ้าหลวงจะมารอเฝ้าที่ห้องนี้  จะเห็นการประดับตกแต่งคุ้มด้วยลวดลายแบบขนมปังขิงได้ชัดมาก











 







ส่วนห้องอีกด้านหนึ่งเป็นห้องนอนโอรส – ธิดา  ของเจ้าหลวง  ปัจจุบันจัดแสดงเตียงนอนเก่า  และรูปของเจ้าหลวงฯ  และครอบครัว







 







ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งที่คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่  ถ้าย้อนกลับไปดูรูปเต็มๆของคุ้มเจ้าหลวงแล้วจะเห็นว่าชั้น  Ground Floor  จะมีประตูอยู่ด้านละประตู  จากการบอกเล่ากันตอๆมา  ชั้น  Ground Floor  แบ่งเป็น  3  ห้อง  ใช้เป็นห้องพักของบ่าวไพร่  ห้องเก็บของ  และห้องคุมขังนักโทษ  ....  บางเวบบอกว่ายังไม่ช่องสำหรับส่งข้าวส่งน้ำให้กับนักโทษด้วย
 
 
แต่เท่าที่อ่านๆมาน่าจะไม่เป็นความจริง  จริงๆแล้วเป็นห้องสำหรับเก็บข้าวของเงินทองและทรัพย์สมบัติจำนวน 3 ห้อง ห้องกลางเป็นห้องทึบ ส่วนอีก 2 ห้อง ปีกซ้ายและปีกขวา มีช่องสำหรับใส่เงิน ซึ่งห้องใต้ดินสำหรับเก็บสมบัตินี้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นคุกที่คุมขังนักโทษ ซึ่งในยุคนั้นมีคุกที่ขังนักโทษแยกต่างหากอยู่แล้ว (อยู่ระหว่างศาลากลางกับศาลจังหวัด) ส่วนเครื่องจองจำนักโทษที่จัดแสดงในห้องเพิ่งนำเข้ามาจัดแสดงเมื่อเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์
 
 
 
ในปี พ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ ทำให้เจ้าพิริยเทพวงษ์ได้หลีภัยการเมืองไปอยู่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และไม่ได้มาอีกจนถึงพิราลัย สยามจึงได้ยึดราชสมบัติ และคุ้มของเจ้าหลวง และได้ใช้เป็นที่ตั้งของกองทหารม้าจากกรุงเทพฯ ที่ส่งมารักษาความสงบเรียบร้อยในเมืองแพร่อยู่ระยะหนึ่ง บริเวณตรงข้ามคุ้มเจ้าหลวงเคยมีคอกม้าขนาดใหญ่ตั้งอยู่
 
 
นอกจากนี้ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ หลังนี้ยังเคยใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อคราวที่เสด็จมาเยี่ยมเยียนราษฎรจังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่ 15 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2501 และได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ให้เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทอาคารสถาบัน และสาธารณะ ประจำปี 2540
 
ปัจจุบัน คุ้มเจ้าหลวงเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าชมเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา โดยไม่เสียค่าเข้าชม














อีกช่องทางหนึ่งในการติดตาม  “ทนายอ้วนพาเที่ยว”
 


Chubby Lawyer Tour  -  ทนายอ้วนพาเที่ยว
 
 


 https://www.facebook.com/ChubbyLawyerTour/

 
 




Chubby Lawyer Tour ………………….. เที่ยวไป ............. ตามใจฉัน




 
135136137



Create Date : 25 พฤษภาคม 2563
Last Update : 25 พฤษภาคม 2563 16:37:30 น.
Counter : 1872 Pageviews.

25 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณnonnoiGiwGiw, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณเนินน้ำ, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณmcayenne94, คุณTui Laksi, คุณtuk-tuk@korat, คุณสองแผ่นดิน, คุณSai Eeuu, คุณschnuggy, คุณSweet_pills, คุณSleepless Sea, คุณnewyorknurse, คุณธนูคือลุงแอ็ด, คุณKavanich96, คุณเริงฤดีนะ, คุณอุ้มสี, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณhaiku, คุณlife for eat and travel, คุณTurtle Came to See Me, คุณคนผ่านทางมาเจอ

  
สวัสดีครับ

แวะมาเที่ยวด้วยครับ บ้านไทยยุคเก่ารายละเอียดสวยดีครับ
ไว้มาอีกรอบนะครับ

โดย: Sleepless Sea วันที่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา:16:45:28 น.
  
เย้ๆๆๆๆๆ พี่เคยไปที่นี่มาแว้ววววว
วันนี้ได้มาฟังรายละเอียด ดีจัง
วันที่ไปก็มีคนนำชมนะคะ

โดย: ภาวิดา คนบ้านป่า วันที่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา:17:06:09 น.
  

ชอบบ้านสีโทนแบบนี้ ชอบลายฉลุแบบนี้ด้วยแหละ..

ว่าแต่...ทำไมรู้สึกเหมือนฉากในหนังสักเรื่องเลยอ่า
โดย: nonnoiGiwGiw วันที่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา:17:25:36 น.
  
คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ภาพแรกสวยมากค่ะ
เหมาะเป็นฉากละครพีเรียดหลายเรื่องเลยแหละ
โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา:17:32:04 น.
  
ชอบอ่านตำนาน ประวัติเมืองเหนือครับ
มันดูมีที่มาที่ไป มีตำนานยาวนานดี
โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา:17:34:11 น.
  
ตามมาเที่ยวเช่นเคยจ้า
บ้านขนมปังขิงสวยงามมาก ๆ
โดย: เนินน้ำ วันที่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา:18:18:30 น.
  
'f'k,kdq
gr]'xitdv[dHwrgikt

Vote เต็ม พรุ่งนี้แวะมาชื่นชมใหม่นะคะ

โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา:18:34:05 น.
  
*ตามมาแอ๋ว
คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา:18:35:05 น.
  
โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา:18:57:32 น.
  
มาชมคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ เสียดายท่านเจ้าของคุ้มและลูกหลานไม่สามารถได้ใช้สอยจนสิ้นอายุ ที่จริงแล้ว คุ้มก็ไม่ใหญ่โตสักเท่าไหร่มีเพียงสองชั้นและใต้ดิน แต่ละชั้นมีเพียงไม่กี่ห้อง
วันนี้เพิ่งอ่านเรื่อง เจ้าแม่บัวไหลจากใน เฟสบุ๊คเองค่ะ ว่าท่านมีฝีมือการเย็บปักถักร้อย เป็นที่โปรดของในหลวงรัชกาลที่ 5 แต่ก็น่าเสียดายเช่นกันที่ท่านต้องระหกระเหิน และจบชีวิตที่จังหวัดเชียงรายไม่ได้กลับมายังุค้มแห่งนี้อีก
โดย: mcayenne94 วันที่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา:19:06:31 น.
  
งดงามมาก สถาปัตยกรรมโดดเด่น เป้นอีกแหล่งท่องเที่ยว
ที่เมืองแพร่ ที่เรายังไม่ได้แวะชมเลยคร้า
อิ่มตา กับภาพสวยๆ และข้อมูลที่น่าสนใจมากๆ
มีห้องใต้ดินด้วย และเราเชื่อว่า น่าจะเป็นที่เก็บซ่อนสมบัติของตระกูล
มากกว่าจะเป็นที่คุมขังนักโทษ นะคะ
ชอบมากๆคร้า... สักครั้งต้องไปแวะเที่ยวชมคร้า
ขอบคุณคุณบอลคร้า
โดย: Tui Laksi วันที่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา:19:23:20 น.
  
ที่นี่น่าสนใจมากค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา:20:29:00 น.
  
เป็นเอนทรี่ที่ทรงคุณค่ามาก อ่านจบเลย น่าสงสารเจ้าเมืองนะ จริงเท็จแค่ไหนก็ไม่รู้ได้นะว่าสมคบกับเงี้ยว

แลจานชามที่ในตู้และบนโต๊ะ ดูเป็นสไตล์ยุโรปมากๆ เลยค่ะ
โดย: Sai Eeuu วันที่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา:22:47:11 น.
  
มาชมคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ด้วยครับ
ไปครั้งก่อนก็ไม่ได้เข้าชมชั้นใต้ดิน คุณบอลได้เข้าชมหรือเปล่าครับ

ฝันดีครับ
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา:23:48:59 น.
  
ดีใจที่ได้ชมภายในคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ค่ะคุณบอล
ต๋าไปที่นี่ช่วงเย็นปิดเข้าชมไปแล้วเลยได้แต่เดินชมรอบอาคาร
เห็นแบบจำลองจัดวางตรงสนามหญ้าด้านหลังอาคารด้วยหลังนึง
เพิ่งทราบว่าบนอาคารก็มีอีกหลังนะคะ

ขอบคุณคุณบอลที่มาเติมเต็มให้ได้ชมค่ะ

ขอบคุณกำลังใจด้วยค่ะคุณบอล

โดย: Sweet_pills วันที่: 26 พฤษภาคม 2563 เวลา:0:01:13 น.
  

มาชมคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ด้วยค่ะ
โดย: newyorknurse วันที่: 26 พฤษภาคม 2563 เวลา:1:42:44 น.
  
ขอบคุณที่แบ่งปัน
โดย: Kavanich96 วันที่: 26 พฤษภาคม 2563 เวลา:3:47:23 น.
  
แวะมาส่งกำลังใจให้คุ้มเจ้าหลวงเมื่อแป้มาเช้า

ฟังเพลงเพลินๆ

โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 26 พฤษภาคม 2563 เวลา:5:27:37 น.
  
สวยจ๊ะน้องบอล
น่าตามรอยไปเที่ยวมั่งจ๊ะ
โดย: อุ้มสี วันที่: 26 พฤษภาคม 2563 เวลา:9:06:19 น.
  
คุณบอลทำการบ้านดีเหลือเกิน.... ทำให้รู้เรื่องมากขึ้น..

คุ้มสวยมาก... เห็นเตียงนอนกับมุ้งแล้วนึก ถึงคนปัจจุบันนะครับ
หน้าต่างก็ไม่กว้างทำไม่นำเอาผ้ามุ้้งทำ มุ้งหน้าต่าง แหะ ๆ คิดไปเรื่อย
แหละไม่ใช่เฉพาะ เจ้าเมืองแป้นะครับ

ผมนึกถึง ลอร่า อิงกัลล์ ผู้เขียนเด็กชายชาวนา หรือคนเมกันสมัยบุกเบิก
น่าจะไม่มี มุ้งลวดที่หน้าต่างประตูเหมือนกัน 555

โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 26 พฤษภาคม 2563 เวลา:9:30:52 น.
  
สวัสดี จ้ะ น้องบอล

มาเที่ยวเมืองแพร่ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ตามชมภาพ อ่าน
ประวัติความเป็นมาของคุ้มเจ้าหลวง ได้ความรู้มากมายเลย จ้ะ
ครูเคยไปเที่ยวเมืองแพร่เมื่อหลายปีที่แล้ว แต่คุ้มนี้ ยังไม่เคยไป
น่าไปชมมากเหมือนกันนะ ดีแล้วที่ได้จัดไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ จะได้เป็น
ประโยชน์แก่คนทั่วไป นักศึกษาและผู้สนใจ ทั่วไป ได้เก็บเกี่ยวความรู้
ทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมด้วย จ้ะ
มีโอกาสไปเมืองแพร่ ต้องเป็นอีกจุดหนึ่งที่บรรจุไว้ในโปรกรรม
แน่นอน จ้ะ

โหวดหมวด ท่องเที่ยว


โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 26 พฤษภาคม 2563 เวลา:11:33:48 น.
  
โหยยย เรื่องดังๆ ทั้งนั้นเลย... บรรยากาศมันได้จริงๆ
โดย: nonnoiGiwGiw วันที่: 26 พฤษภาคม 2563 เวลา:16:12:43 น.
  
แวะมาโหวตหและไปเที่ยวด้วยคนค่ะ
โดย: life for eat and travel วันที่: 27 พฤษภาคม 2563 เวลา:21:03:00 น.
  
เพลินเที่ยวค่ะ
คุ้มงดงามมากๆ
น่าไปเยี่ยมชมจริงๆ
โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 28 พฤษภาคม 2563 เวลา:12:25:50 น.
  
เกมอะไรสนุกขนาดนี้ joker gaming

โดย: สมาชิกหมายเลข 5950235 วันที่: 31 พฤษภาคม 2563 เวลา:19:19:33 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 156 คน [?]