เมื่อผมอยากเป็น นักวิทยุสมัครเล่น

ความอยากเป็นนักวิทยุสมัครเล่นในตอนนั้น จำได้ว่ามีเพื่อนคนหนึ่ง เค้าเป็นนักวิทยุสมัครเล่นแล้ว
เห็นเค้าถือวิทยุ แล้วพูดคุยกันเพื่อน ตอนนั้นก็สงสัยว่า เออ แล้วพูดกับใคร พูดเรื่องอะไร เวลาพูด
ต้องกดปุ่ม ไม่เหมือนกับการพูดคุยทางโทรศัพท์  แถมเวลาพูด มีภาษาแปลก ๆ ที่เราฟังไม่รู้เรื่อง
แถมมี รหัส มีโค๊ดอะไรก็ไม่รุ้ เจ้าเพื่อนคนนั้นยังเรียกตัวเองว่า HAM อีก ชักงง ไปใหญ่ เพื่อให้
หายในข้อสงสัยก็เลยไปสอบถามเพื่อนคนนั้นว่า "เล่นอะไรกัน" น่าสนุกดีนะ เพื่อนคนนั้น
 เค้าก็บอกว่าผมเป็น นักวิทยุสมัครเล่น ครับ ต้องมีการสอบนะ ถึงจะเป็นได้ นับตั้งแต่นั้นว่า คำว่า
นักวิทยุสมัครเล่น มันก็นวนเวียนอยู่ในความคิดผมตลอดเวลา ต้องรู้ให้ได้ว่า มันคืนอะไร ก็เริ่มจาก
การหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ท หาหนังสือเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นมาอ่าน มีกี่เล่มซื้อหมด อ่านหมดไม่
หมดไม่รู้ จำได้ว่าหนึ่งในหนังสือที่อ่าน มี 100 วัตต์ด้วย ไม่ได้เชียร์นะครับ แต่ถือว่าเป็นหนังสือครู
จริงๆ (ตอนนี้ก็ยังอ่านอยู่ เพียงแต่ว่าไม่ได้สมัครสมาชิกเท่านั้น แต่ใช้วิธีจองหนังสือไว้กับร้านค้าที่
รู้จัก)เมื่อรู้แล้วว่าต้องมีการสอบ ก็หาหนังสือของกรมไปรษณีย์โทรเลขมาอ่านเกี่ยวกับแนวทางการ
ทำข้อสอบจำได้ว่าอ่านแล้วทำข้อสอบประมาณสามเที่ยวได้ คิดว่าถ้าลงสนามจริงคงสอบได้ ฮิ ฮิ
 เพราะอยากเป็นมาก แล้วกรมไปรษณีย์ฯ ก็เปิดสอบโดยการประมาณทาง จำไม่ได้ว่าช่วงไหน 
หนังสือพิมพ์ไทรรัฐ (ถ้าจำไม่ผิด : แสดงว่าหลายปีแล้วละ) เราก็ไปสมัครสอบกับเค้า พอถึงเวลา
สอบตื่นเต้นมาก (ก็เพราะความอยากเป็นมากๆๆๆ) สอบที่ มร.นะ (เพื่อนคนเดิมเคยบอกว่ามีคน
สอบไม่ผ่านหลายคน) แต่ก็เอาเถอะในเมื่อลงสนามแล้วต้องสู้ซิน่า .... พอเข้าไปในห้องสอบ
ก็นึกอยู่ในใจว่าข้อสอบจะเป็นอย่างไรน่า จะเหมือนกับที่เราได้อ่านมาหรือปล่าว พอกรรมการให้
ทำการสอบได้ พอเห็นข้อสอบ ว๊าว! ทำได้แน่เลย (คิดเองนะ) ก็มีข้อสอบบางคนคิดว่ามันยาก
นะถามเกี่ยวกับพวกไฟฟ้า (ผมจบบริหารฯ นะ) ก็เลยต้องผ่านไปประมาณสอง-สามข้อ เดี่ยว
พอทำข้ออื่นหมดแล้ว ค่อยกลับมาทำใหม่ แต่พอหมดเวลา ว้า ทำไม่ทัน เลยต้องมั่วไปสองสามข้อ
นั้นเผื่อถูก ดีกว่าปล่อยว่างไว้ .... แล้วก็มาถึงวันประกาศผลสอบ ผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์
อีกเช่นเคย ตื่นเต้นยิ่งกว่าตอนสอบอีก .....เมื่ออ่านผลประกาศสอบ จริง ๆ อย่างที่เพื่อนผมว่า
ด้วย หมายเลขประจำตัวคนที่สอบได้ ห่างกันพอสมควร บางช่วงห่างกันถึง 9-10 คน คิดอยู่ในใจ
แล้วหมายเลขประจำตัวสอบของเราจะมีไหมหนา ....พออ่านไปเจอหมายเลขประจำตัวของผมมี
ผมดีใจเป็นอย่างมาก ไชโย! ผมสอบได้แล้วครับ.... เพื่อคนนั้นเค้าก็ลุ้นอยู่เหมือนกัน ...
แล้วผมก็ไปขอ call sign พร้อมกับขอนุญาติมีใช้เครื่องวิทยุสมัครเล่น ... จำได้ว่าได้ซื้อเครื่อง
วิทยุที่ร้านนอมร นะ ให้เค้าทำให้ทุกอย่าง ในที่สุด ผมก็ได้ call sign สมใจ
E21 DGZ  คือ Call Sign ของผม  พร้อม  yaesu FT-416    !!!



เมื่อเป็นนักวิทยุสมัครเล่นแล้ว ต่อไปเรามาหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับ 
วิทยุสมัครเล่น กันดีกว่าครับ
ความรู้พืนฐานของนักวิทยุสมัครเล่น 
สิ่งแรกที่เราต้องทำความเข้าใจ คือ สัญญาณเรียกขาน หรือ คอลซายน์ (Call Sign)
ซึ่งนักวิทยุสมัครเล่นทุกคนต้องมี (ถ้าไม่มีก็ไม่ใช่นักวิทยุสมัรเล่น ซิ) และทุกคนก็มี
ไม่เหมือนกันด้วย (เหมือนเลขประจำตัวประชาชน ทุกคนก็มีไม่เหมือนกัน ไม่เชื่อก็ลอง
ดูซิ)  สัญญาณเรียกขานมีไว้สำหรับเรียกในขณะที่เราใช้วิทยุสื่อสาร เพราะสัญญาณ
เรียกขานก็เหมือนกับชื่อเรานั้่นเอง ซึ่งสัญญาณเรียกขานจะใช้ไปตลอดนะ!!!
นักวิทยุสมัครเล่น ต้องมีสัญญาเรียกขาน (Call Sign) ที่ใช้กันเป็นแบบสากล
ซึ่งสามารถใช้ติดต่อกับนักวิทยุสมัครเล่นท่ัวโลกตราบที่สัญญาณเราไปถึง นะครับ
สัญญาณเรียกขานจะประกอบไปด้วย ตัวเลข และตัวอักษรผสมกัน (เช่น E21DGZ)
ซึ่งสัญญาณเรียกขาน จัดวางในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเทศกำหนด
โดยอยู่ภายใน ข้อบังคับของ สหภาพโทรคมนาคมระว่างประเทศ หรือ ITU 
(International Telecommunication Union)  
อ้าว ! แล้ว ITU มันคืออะไรละ
เรามาทำความรู้จักกับ ITU สักหน่อนนะ สหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ เป็นหน่วยงาน
ระดับนานาชาติเฉพาะทาง (specialized agencies) ที่อยู่ภายใต้สหประชาชาติ
โดยมีศักดิ์ฐานะเท่ากับองค์กรอื่น ๆ ที่เราอาจคุ้นชื่อกันดี  เช่น UNESCO  IMF WHO
หรือ FAO  สำหรับ ITU ก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยโทรเลข (ชื่อเดิมคือ International 
Telegraph Union) ตั้งแต่ปี 1865 หรือนับมาถึงวันนี้ก็เกือบ 150 ปีแล้วครับ
ตั้งแต่ก่อนมีสหประชาชาติ โดยรูปแบบองค์กรก็วิวัฒนาการมาตามกาลเวลา
โดยเปลี่ยชื่อเป็น International Telecommunication Union ในปี 1932
เพื่อขยายภารกิจขององค์กรให้ครอบคลุมโทรศัพท์ด้วย และภายหลังก็เข้าเป็น
ส่วนหนึ่งของสหประชาชาติในปี 1947   ITU มีสมาชิกเป็น "ประเทศ" จำนวน
193 ประเทศ เท่ากับประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ และเปิดรับสมาชิก
แบบองค์กรภาคเอกชน สมาคม และหน่วยงานการศึกษาด้วย สำนักงานใหญ่
ของ ITU อยู่ทีเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีสำนังานระดับภูมิภาค
อีก 12 แห่งทัวโลก ปัจจุบันขอบเขตงานของ ITU ขยายจากโทรเลขและโทรศัพท์
มาเป็นการสื่อสารผ่านดาวเทียม มือถือ อินเทอร์เน็ต การสื่อสารในช่วงภัยพิบัติ
และการใช้งานไอซีที โดยทั่ว   (จำได้ว่าข้อนี้ก็มีในข้อสอบด้วยนะ)




เมื่อเรารู้จัก ITU แล้ว เราก็มาว่ากันต่อในเรื่องของ call sign ต่อกัน
สำหรับประเทศไทย call sign จะขึ้นต้นด้วย HSxxxx และ E21xxx
ตามด้วยตัวเลขเขตพื้นที่ของนักวิทยุสมัครเล่นท่านนั้น ๆ แล้วตามด้วย
ตัวอักษรอีกหนึ่งชุด ส่วนนักวิทยุสมัครเล่นชาวต่างชาติได้ยินเสียงเรียกขาน
ขึ้นต้นด้วย HS (อ่านว่า โฮเทล เซีย-รา) และ E21 (อ่านว่า เอ็ค-โค่ ทู)
ก็จะทราบทันทีว่านี่คือสัญญาณจากนักวิทยุสมัครเล่นขาวไทย ซึ่ง HS และ
E21 เราเรียกว่า "Prefix" และตัวอักษรที่อยู่ส่วนท้ายนั้นเราเรียกกันว่า
"suffix" นะครับ (จำได้ว่า นี่ก็ข้อสอบอีกหนึ่งข้อครับ)
 สำหรับวันนี้เท่านี้ก่อนนะครับ เพิ่งหัดเขียน รูปแบบยังไม่สวยงามเท่าไร
เมื่อเรารู้จัก ITU แล้ว เราก็มาว่ากันต่อในเรื่องของ call sign ต่อกัน
สำหรับประเทศไทย call sign จะขึ้นต้นด้วย HSxxxx และ E21xxx
ตามด้วยตัวเลขเขตพื้นที่ของนักวิทยุสมัครเล่นท่านนั้น ๆ แล้วตามด้วย
ตัวอักษรอีกหนึ่งชุด ส่วนนักวิทยุสมัครเล่นชาวต่างชาติได้ยินเสียงเรียกขาน
ขึ้นต้นด้วย HS (อ่านว่า โฮเทล เซีย-รา) และ E21 (อ่านว่า เอ็ค-โค่ ทู)
ก็จะทราบทันทีว่านี่คือสัญญาณจากนักวิทยุสมัครเล่นขาวไทย ซึ่ง HS และ
E21 เราเรียกว่า "Prefix" และตัวอักษรที่อยู่ส่วนท้ายนั้นเราเรียกกันว่า
"suffix" นะครับ (จำได้ว่า นี่ก็ข้อสอบอีกหนึ่งข้อครับ)
 สำหรับวันนี้เท่านี้ก่อนนะครับ เพิ่งหัดเขียน รูปแบบยังไม่สวยงามเท่าไร
ขออภัยด้วยนะครับ ถ้าว่างแล้ว จะมาเขียนให้อ่านกันต่อนะครับ
ถือว่าอ่านเพื่อความสนุกนะครับ (วันแรกที่กด คีย์ ตื่นเต้นครับ) 

กดคีย์ครั้งแรกเป็นอย่างไรบ้าง ?
เมื่อได้ผมได้ call sign มาแล้ว พร้อมใบอนุญาต การใช้งานเจ้า
FT-416  ทำอะไรไม่ถูกเหมือนกันครับ จนท.ของร้านที่ซื้อ FT-416 
เค้าก็อธิบายให้ฟังนะว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ถึงจะใช้วิทยุนี้ได้
แต่ก็ไม่ค่อยได้ฟังเท่าไร คงเป็นเพราะผมอยากใช้แล้ว เร่ิมแรกก็ลงมืออ่าน
วิธีการใช้นึกว่าจะเป็นภาษาไทย แต่กลับเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด
เรื่องภาษาอังกฤษผมก็แข็งแรงซะเมื่อไร ทำอย่างไรละทีนี้ครั้นจะโทร
ไปถามที่ร้านก็อายเค้า เพราะเวลาเค้าอธิบายให้ฟังก็ไม่ยอมฟัง
ทำอย่างไรละที่นี้  ก็คงต้องพึง 100 วัตต์อีกตามเคย แต่มีคู่มือ FT-415
ก็คล้าย ๆ กัน พอกล่อมแกล้มกันไปได้ ดีกว่าไม่มีให้อ่าน พออ่านพอ
รู้เรื่องแล้ว ก็หยิบเจ้า FT-416 ขึ้นมา (ที่จริงควรอ่านคู่มือให้เข้าใจ
มากที่สุดนะ ถือว่าเป็นคำแนะนำนะครับ เพราะถ้าอ่านไม่เข้าใจพอใช้งาน
จริงจะไม่ค่อยคล่องนะ เหมือนผมตอนนั้น ฮิ ฮิ)  แล้วทีนี้จะคุยกับใครละ
ได้แต่เปิดฟัง ครั้นพอจะแทรกความถี่เข้าไป ก็กลัวเพื่อที่ใช้ความถี่จะว่า
ไม่รู้จักกาละเทศะในการใช้ความถี่ จำได้ว่า ถ้าเราไม่ทราบว่าจะคุยกับ
ใคร ก็ให้ใช้พูดว่า CQ CQ CQ เท่ากับเป็นการเรียกคู่สถานีแบบไม่
จำเพราะเจาะจง ผมก็ไปยังสถานีที่ว่างยังไม่มีเพื่อนใช้งาน กดคีย์
แล้วพูด CQ CQ CQ หลังจากปล่อยคีย์แล้ว ก็มีเพื่อนตอบมา แต่
จำไม่ได้ว่า call sign  อะไร (ผมต้องขอโทษด้วยนะครับ) ตอนนั้น
ดีใจเป็นอย่างมาก เราเป็น นักวิทยุสมัครได้แล้ว !!!!! (คิดเองนะ)

ได้อะไรจากการเป็นนักวิทยุสมัครเล่น ละ!!
คุณ คุณ ที่อยากเป็นนักวิทยุสมัครเล่น เคยคิดบ้างหรือไม่ว่า เมื่อคุณเป็น
นักวิทยุสมัครเล่น (HAM) ต่อไปนี้ผมขอใช้คำแทนนักวิทยุสมัครเล่นว่า
HAM แล้วกันนะครับ จะได้เขียนง่ายหน่อย .... แล้วคุณได้อะไร ซึ่งใน
ปัจจุบันการที่จะเป็น HAM ได้คุณต้องผ่านการอบรมนะครับ ต้องสอบ
ฯ ต้องเสียตังค์ซื้อวิทยุ ติดเสาอากาศ แล้วก็อะไรอีกมากมาย ตามที่คุณ
อยากได้ ตั้งสถานีที่บ้าน ที่รถยนต์  แล้วผลตอบแทนคุณคืออะไร!!
สำหรับผมแล้ว การเป็น HAM ให้อะไรผมหรือครับ!!!  เป็นสิ่งที่ผมได้
อย่างไม่น่าเชื่อเลย..... เมื่อหลายปีที่ผ่านมา .... จำได้ว่าในตอนนั้น
ผมต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตร หนึ่งซึ่งเมื่อทำงานมาได้สักระยะหนึ่ง
ต้องเข้ารับการอบรมในหลักสูตรนี้  ซึ่งในหลักสูตรต้องมีการบรรยายหน้า
ชั้นเรียนทุกคน คนละประมาณ 10-15 นาที่ ใช้วิธีการจับสลากกันว่าผู้เข้า
รับการอบรมคนไหนจะขึ้นไปพูดก่อน ทุกคนก็ไปหารเรื่องต่างๆ มาพูดหน้า
ชั้นสนุกบ้าง ไม่สนุกบ้าง ส่วนตัวผมเองในขณะนั้นก็คิดอยู่หลายเรื่อง
เหมือนกันว่า แล้วเราจะไปพูดเรื่องอะไรดีละ พอเหลือบไปเห็นเจ้า FT-416
ก็นึกออกทันที เอาละ พูดเรื่องวิทยุสมัครเล่นดีกว่า แต่...เราจะพูดยังไง
ให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจภายใน 15 นาที .....เมื่อถึงวันต้องบรรยาย
ผมก็ใช้  PowerPoint ในการบรรยาย มีรูปภาพเครื่องวิทยุสมัครเล่นประกอบ
พร้อมเครื่องจริง เจ้า FT-416 คู่กายใช้ในการบรรยาย ผมก็พูดถึงว่าวิทยุ
สมัครเล่นคือไร call sign คืออะไร ง่าย ๆ แบบนี่แหละครับ สังเกตว่า
ผู้เข้ารับการอบรมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก (ไม่ได้คิดเอง) มีอาจารย์หญิง
ท่านหนึ่งซึ่งก็เป็นเพื่อนผม (รู้จักกันตอนเข้ารับการอบรม ผมก็ถือเป็นเพื่อน
ซะเลย) รู้สึกว่าเค้าให้ความสนใจเป็นอย่างมาก .....หลังจากพูดจบแล้ว
ผมก็ถามว่า ท่านใดมีข้อสงสัยใดหรือไม่ ผมยินดีตอบคำถาม.....แล้วก็มี
วิทยากรท่านหนึ่ง ท่านพูดขึ้นว่า ...."ให้ทดลองใช้วิทยุที่ถืออยู่ในมือหน่อยซิ
ว่าจะใช้ได้ตามที่อธิบายหรือเปล่า" เอาละซิ เราก็เป็นเพียงไม่กี่วัน แล้ว
จะไปติดต่อกลับใครละ.. คิดอยู้่ในใจเป็นไงเป็นกัน ทดลองดูก็ได้ไม่เห็น
เป็นไร ... ต้องกล้าซิเรา ...แล้วผมก็กดคีย์พูด CQ CQ CQ  (ในขณะนั้น
ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนที่มองมาที่ผมหมด คงคิดว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป)
หลังจากปล่อยคีย์แล้ว ...... ก็มีเพื่อนนักวิทยุท่านหนึ่งตอบกลับมา แต่ผม
จำไม่ได้แล้ว เพื่อนคนนั้น call sing อะไร เมื่อเค้าแจ้งสถานีมาแล้ว ผม
ดีใจเป็นอย่างมาก ..... ไม่น่าแตกแล้วเรา .... ผมให้เพื่อนสถานีนั้น ทักทาย
กับเพื่อนผู้เข้ารับการอบรมในชั้นอบรม.... เมื่อจบคำทักทายผมก็ได้ กล่าวคำ 
73 ไป ผมได้รับเสียงตบมือจากเพื่อนในชั้นเรียน....นี่คือสิ่งหนึ่งที่ผมได้
จากการเป็นนักวิทยุสมัครเล่น..... แต่ยังไม่หมดยังมีอีก....ท่านผู้อ่านยังจำ
อาจารย์หญิงที่เค้าให้ความสนใจได้ไหมครับ... หลังจากนั้น เมื่อเราอบรม
หลักสูตรไปได้สักระยะหนึ่ง อาจารย์หญิงท่านคงเห็นผมพูดเก่งมั่ง ท่านก็
เลยชวนผมไปสอนหนังสือที่ รร.ที่ท่านสอนอยู่ ....ผมก็บอกท่านไปว่า
ผมจะสอนได้หรือ....ท่านอาจารย์หญิงก็บอกว่า สอนได้ซิ ....เห็นสอนเกี่ยวกับ
วิทยุสมัครเล่นเป็นต่อยหอย....แล้วในที่สุดผมก็ได้เป็นอาจารย์พิเศษของ
รร.จริง....จนในปัจจุบันนี้ผมก็ยังเป็นอาจารย์พิเศษอยู่.....นี่ละครับความ
ภาคภูมิใจในการเป็น "นักวิทยุสมัครเล่น" .......









Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 8 สิงหาคม 2557 16:43:57 น.
Counter : 2684 Pageviews.

1 comments
  
เจอกันบนความถี่ แล้วทักกันบ้างนะ
QRU73 /E29BRT ค่ะ
โดย: sierra whiskey charlie IP: 171.5.250.39 วันที่: 25 ธันวาคม 2557 เวลา:8:09:50 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แตงโม
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31