ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 
MacBook Air 13 [Early 2015] Review [อัพเดทเป็น Intel Core i Gen 5 + HD6000]

  อัพเดทกันอีกหนึ่งครั้งกับการมาของ Book Air รุ่นล่าสุดโดยมีการเปิดตัวและจำหน่าย MacBook Air 13 [Early 2015] ในประเทศไทยไปซักพักแล้ว ที่แน่นอนว่ามาพร้อมกับหน้าจอแสดงผลทั้งขนาด 11 และ 13 นิ้วเช่นเดิม แม้ว่าดีไซน์การออกแบบยังคงเหมือนเดิมแต่ก็ยังน่าสนใจอยู่

      ล่าสุดทางทีมงานได้ขออนุญาติทาง iStudio by comseven ไปรีวิวถึงหน้าร้านกันเลยทีเดียว สำหรับ MacBook Air 13 [Early 2015] ซึ่งมาพร้อมกับสเปก Intel Core i Gen 5 (Broadwell) ที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้นกว่ารุ่นก่อน

     นอกเหนือจากนั้นยังได้มีการอัพเดทพอร์ตการเชื่อมต่อเป็น Thunderbolt 2 และเพิ่มความเร็วของ SSD เข้าไปอีกด้วย เรียกได้ว่ามีความน่าสนใจไม่น้อย กับในส่วนของคนที่กำลังเล็งซื้อ MacBook Air เครื่องใหม่อยู่ ที่ในบทความรีวิวนี้เราจะมีมาดูกันว่า MacBook Air 13 [Early 2015] มีความน่าสนใจขนาดไหนกับผลิตภัณฑ์ที่ขับเคลื่อนด้วย OS X 10.10 Yosemite ท่ามกลางกระแสคอมพิวเตอร์พีซีที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 อยู่มากมาย

Specification

     สเปกของ MacBook Air 13 [Early 2015] ทุกรุ่นก็คือสเปกของ Ultrabook ที่ใช้ชิปสถาปัตยกรรม Intel Core i Gen 5 (Broadwell) โดยชิปประมวลผลจะเป็น Intel Core i5-5250U ที่มีอัตราการกินไฟที่ต่ำ แต่ประสิทธิภาพนั้นเทียบชั้นได้กับ Core i5 ปกติเลยทีเดียว ความเร็วในการทำงานก็อยู่ที่ 1.6 GHz และยังแอบ Turbo Boost ขึ้นไปได้สูงสุดถึงกว่า 2.7 GHz อีก และแน่นอนว่าภายใน MacBook Air 13 [Early 2015] ก็มาพร้อมกับชิปกราฟิก Intel HD Graphics 6000 ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นจากรุ่นเก่ามากพอตัว

     MacBook Air มีขนาดจอให้เลือกคือ 13.3 นิ้ว บนความละเอียดสูง 1440 x 900 พิกเซล และขนาด 11.6 นิ้ว ที่ความละเอียด 1366 x 768 พิกเซล ต่อมาก็เป็นเรื่องของแรม ที่ MacBook Air ทุกรุ่นจะใช้เป็นแบบฝังมาบนเมนบอร์ดเลยโดยมีขนาด 4GB ไม่สามารถเพิ่มเติมได้ในภายหลัง ทำให้เวลาจะสั่งซื้อต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะเพิ่มแรมหรือไม่ ซึ่งถ้าจะเพิ่มแรมเป็น 8 GB ก็ต้องจ่ายเพิ่มอีกประมาณ 3,000 บาทด้วยกัน

     ในส่วนของฮาร์ดดิสก์ SSD บน MacBook Air จะมีความจุ 128GB และ 256GB ให้เลือก โดยเครื่องที่เรานำมารีวิวนั้นเป็นความจุ 128GB ที่แม้ว่าจะดูน้อยแต่ก็เพียงพอต่อการใช้งาน นอกจากนี้ MacBook Air 13 [Early 2015] ทั้งหมดยังได้มีการเปลี่ยนแปลงหน่วยความสำรองเป็น PCIe รุ่นล่าสุด ซึ่งความให้ในการทำงานมากกว่าเดิมเป็นเท่าตัวทีเดียว อีกทั้งในส่วนของการเชื่อมต่อก็ยังครบครัน (ตามสไตล์ Mac ) ทั้ง USB 3.0, Thunderbolt 2 และ Bluetooth 4.0 เป็นต้น ซึ่ง Apple มีสเปกของ MacBook Air 13 [Early 2015] ให้เลือกดังต่อไปนี้ (สเปกชิปประมวลผลและแรมเหมือนกันหมด ต่างกันแค่ความจุ SSD ซึ่งใครอยากได้แรงกว่านี้ ต้องสั่ง CTO เอง)

- MacBook Air 11 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 128GB ราคา 31,900 บาท

- MacBook Air 11 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 256GB ราคา 37,900 บาท

- MacBook Air 13 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 128GB ราคา 34,900 บาท

- Macbook Air 13 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 256GB ราคา 41,900 บาท

Hardware / Design

     โดยด้านดีไซน์การออกแบบ MacBook Air 13 [Early 2015] ยังคงในส่วนของรูปทรงแบบเก่าไว้ทั้งหมดไม่ต่างจาก MacBook Air 13 ในรุ่นก่อน ทั้งวัสดุในการผลิตอย่างอะลูมิเนียมอัลลอยด์แบบเดิมที่ให้ความสวยงามและผิวสัมผัสที่ดี รวมทั้งยังใช้เทคโนโลยีการผลิตรูปแบบ Unibody อย่าง MacBook Pro หรือ MacBook Air ในรุ่นผ่านๆ มาที่ให้ในความบางเฉียบแต่มาพร้อมความแน่นหนา โดยทั้งเครื่องหลักๆ ประกอบจากอะลูมิเนียมอัลลอยด์เพียง 3 ชิ้นเท่านั้น


     ซึ่งก็ถือได้ว่า Unibody เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ MacBook เหนือกว่าคู่แข่งในเรื่องของการออกแบบให้มีความบางแต่ยังคงมีความแข็งแรงอยู่ ด้วยความที่ว่าต้องลงทุนสูงด้วยค่าเครื่องจักรตัดโลหะด้วยคอมพิวเตอร์ CNC ประกอบกับปริมาณในการผลิตต่อวัน ไม่สามารถผลิตได้จำนวนมาก ทำให้จำเป็นต้องวางแผนอย่างรอบคอบรัดกุม ซึ่งทาง Apple เองก็สามารถบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตมีต้นทุนที่ไม่สูงมากแต่สามารถจำหน่ายได้ราคา ซึ่งเป็นอะไรที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ นำไปทำตามได้ยาก


     ดีไซน์ของ MacBook Air 13 [Early 2015] มีการออกแบบที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย ทั้งในเรื่องของความบางตัวเครื่องที่หนาที่สุดก็จะอยู่ที่ 17 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักที่ 1.35 กิโลกรัม แน่นอนว่าทั้ง Super Drive (DVD-RW Drive) ไม่ได้ถูกติดตั้งเอาไว้ เพื่อให้ตัวเครื่องมีความบางและเบาลงตามมาตรฐานของโน้ตบุ๊กที่เน้นความบางเบา (ถ้าจะใช้อ่านเขียนแผ่น DVD ต้องซื้อไดร์ฟแยก) และที่ขาดไม่ได้เลยของ MacBook ก็คือโลโก้ Apple ที่สามารถเปล่งแสงได้ตามความสว่างของหน้าจอ เรียกได้ว่าเป็นจุดเด่นจุดขายของ MacBook เกือบทุกรุ่นก็ว่าได้ (MacBook Retina 12 รุ่นใหม่ล่าสุด ไม่มีแล้วตรงส่วนนี้)

     ต่อกันที่ด้านล่างตัวเครื่องของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะเห็นว่า เหมือนกับ MacBook Air 13 รุ่นก่อนๆ ไม่แตกต่างกันทีเดียว โดยมีส่วนที่เป็นสีดำกลมจะเป็นยางรองตัวเครื่องทั้ง 4 ด้าน (สองตัวด้านหลังจะสูงกว่าเล็กน้อย) สำหรับส่วนของน็อตก็เป็นแบบพิเศษเช่นเดียวกับตัว MacBook Air รุ่นก่อน และ MacBook Pro Retina

     ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบดอกจันตรงกลางลึกลงไป เรียกได้ว่าใครจะหาซื้อไขควงมาแกะคงต้องลำบากกันเสียหน่อย (แต่เอาจริงก็แกะได้ไม่ยากนักหากมีเครื่องมือ) คาดการณ์ว่าเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานอย่างเราๆ สามารถแกะเครื่อง MacBook ได้ตัวเองง่ายๆ

นอกจากนี้ตรงส่วนที่ใช้ยกฝาจอเพื่อเปิดเครื่องใช้งานก็จะมีการทำเป็นเว้าร่องลงไปเพื่อช่วยในการเปิดเครื่องที่ง่ายขึ้น แต่ตรงมุมแหลมทั้งสองด้านค่อนข้างคมพอสมควร แต่ก็ไม่ได้รบกวนในเรื่องของการใช้งานมากนัก

Keyboard / Touchpad

คีย์บอร์ด MacBook Air 13 [Early 2015] ยังได้คงรูปแบบเดิมไว้ซึ่งก็ถือว่าทำไว้ดีอยู่แล้วเช่นกันตามสไตล์ของ Mac กับคีย์บอร์ด 4 แถวขนาด Full Size

อีกทั้งด้านการใช้งานในการพิมพ์ ก็ยังตอบสนองได้เป็นอย่างดีทั้งขนาดแป้นพิมพ์ที่รับกันนิ้วและช่องว่างระหว่างแป้นที่ทำให้มีความแม่นยำในการกด รวมทั้งแป้นก็เด้งกับนิ้วเมื่อกดลงไปอย่างพอดี ที่สำคัญมาพร้อมกับไฟส่องสว่างคีย์บอร์ด หรือหลายๆ คนอาจจะเรียกว่า Backlit Keyboard ที่สามารถใช้งานจริงได้สมบูรณ์แบบ ไม่แยงตาอย่างโน้ตบุ๊กบางรุ่นบางยี่ห้อ และสามารถปรับระดับไฟได้ตามต้องการ หรือจะอัตโนมัติตามสภาพปริมาณแสงก็ได้

     ซึ่งบน MacBook Air 13 [Early 2015] มี Ambient light sensor คอยปรับความสว่างไปอัตโนมัติอย่างนุ่มนวลทั้ง Backlit Keyboard และความสว่างของหน้าจอ

      ส่วนด้านบนของแป้นคีย์บอร์ดที่เป็นปุ่ม F1-F12 จะเป็นปุ่มฟังก์ชุ่นการทำงานพิเศษ อาทิเช่น การปรับความสว่างหน้าจอ เพิ่มเสียงลดเสียง และเรียกใช้งาน Mission Control, Launchpad & Dock ซึ่งมีข้อสังเกตอยู่ว่าปุ่ม Power ได้ย้ายมาอยู่ตำแหน่งของ Eject เดิม (มุมซ้ายบนสุดของคีย์บอร์ด) เมื่อเทียบกับ MacBook รุ่นหลายปีก่อน

       ทัชแพด หรือใน Mac จะเรียกว่า Trackpad ยังคงมีลักษณะรูปแบบหน้าตาเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งในเรื่องของสัดส่วนขนาด ที่เป็นวัสดุที่ทำออกมาได้ดี สามารถลากนิ้วได้ลื่น ไม่เกิดอาการสะดุดหรือหน่วงใดๆ ซึ่งจากการใช้งานจริง พบว่าสามารถตอบสนองการใข้งานได้เป็นอย่างดี

       ทั้งในการใช้งานแบบปกติหรือใช้งานฟังก์ชันการทำงานแบบ Multi-Touch Gesture จริงๆ อย่างที่ทัชแพดควรจะเป็นในโน้ตบุ๊กทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานตั้งแต่ 1 นิ้ว ไปจนถึง 5 นิ้ว ก็มีให้ใช้งานได้ครบถ้วนในระบบปฏิบัติการ OS X


ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ

//hitech.sanook.com/1395849/




Create Date : 25 เมษายน 2558
Last Update : 25 เมษายน 2558 8:07:06 น. 0 comments
Counter : 1453 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.