ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 
โรคของคนอยากผอม



โรคของคนอยากผอม

รศ.พ.ญ. ปรียานุช แย้มวงษ์
สาขาวิชาโภชนศาสตร์คลินิก
ภาควิชาอายุรศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

คนอยากผอม มีหลายประเภท กลุ่มหนึ่งอยากผอมเนื่องจากมีความจำเป็นทางอาชีพ เช่นดาราหรือนางแบบ ที่ต้องการคนที่รูปร่างผอมบาง เพื่อเวลาเข้ากล้องจะได้ไม่ดูอวบอิ่มมากเกินไป กลุ่มที่ 2 เป็นพวกอยากมีรูปร่างตามแฟชั่นและค่านิยมของสังคม คือตามกลุ่มที่ 1 อีกที ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง วัยรุ่น และกลุ่มที่ 3 ซึ่งอาการอยากผอมรุนแรงขึ้น จนกลายเป็นโรค เพราะการรับรู้ต่อรูปร่างของตนผิดปกติไป ผอมอย่างไรก็ยังรู้สึกว่าตัวเองอ้วน และต้องการลดน้ำหนักลงไปอีก กลุ่มสุดท้ายนี้ อาจเป็นอันตรายจากการขาดอาหารถึงเสียชีวิตได้

คนอยากผอม จะพยายามระวังอาหารของตัวเองอย่างมาก นับพลังงานและแคลอรี่ที่ทานเข้าไปตลอดเวลา และบางคนจะพยายามออกกำลังอย่างหนัก เพื่อเผาผลาญพลังงานที่ทานเข้าไป บางคนจะพยายามแสวงหายาลดน้ำหนักมาทาน เมื่อไปตรวจที่โรงพยาบาล แพทย์มักไม่ให้ยาลดน้ำหนักเนื่องจากยังไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ คนกลุ่มนี้จึงมักไปพยายามหาซื้อยากินเอง ทำให้มีผลข้างเคียงจากยาได้มาก และเมื่อหยุดทานยา น้ำหนักตัวจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความวิตกกังวล และต้องกลับไปใช้ยาอีก

อันตรายจากการใช้ยาลดน้ำหนัก

ยาลดน้ำหนักกลุ่มที่ลดการดูดซึมของไขมัน ไม่ค่อยมีผลแทรกซ้อนที่รุนแรงมากนัก ถ้ากินอาหารมันมาก ก็จะมีท้องเสีย กลั้นอุจจาระไม่อยู่ ผายลมออามาเป็นน้ำมัน ฯลฯ ซึ่งไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาจทำลายความมั่นใจและทำให้เกิดความกังวลบ้าง

ยาลดน้ำหนักกลุ่มที่ทำให้ไม่อยากอาหาร มีผลเสียได้หลายอย่าง เช่นปากแห้ง คอแห้ง หงุดหงิด นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ มียาบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคแรงดันในปอดสูงขึ้น และโรคลิ้นหัวใจรั่ว ยาลดน้ำหนักอีกกลุ่ม มีผลทำให้เกิดเลือดออกในสมองได้ ยาพวกนี้ ถึงจะไม่มีจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว แต่ยังสามารถสั่งโดยตรงทางอินเตอร์เนตจากประเทศจีนได้ และมีรายงานการสั่งยาดังกล่าวมาใช้และเกิดเสียชีวิตในประเทศสิงค์โปร์มาแล้ว การหาซื้อยาลดน้ำหนักกินเองจึงมีอันตรายมาก และไม่ควรทำ

ปัญหาจากการใช้ยาลดน้ำหนักอีกอย่างคือ เมื่อหยุดใช้ยา จะหิวและเจริญอาหารมาก จนน้ำหนักกลับเพิ่มอย่างรวดเร็ว บางคนน้ำหนักเพิ่มมากกว่าก่อนใช้ยา จึงต้องกลับไปใช้ยาอีก น้ำหนักจึงเพิ่มๆ ลดๆ ที่เรียกว่า Yo-Yo effect ซึ่งมีผลเสียต่อสุขภาพ

โรคอยากผอม

ความอยากผอม จนเกิดโรค มี 2 แบบคือโรค “อโนเร็กเซีย เนอร์โวซ่า” (Anorexia nervosa) และโรค “บูลีเมีย” (Bulemia nervosa) ทั้ง 2 โรค ส่วนใหญ่พบในเพศหญิง วัยรุ่น สาเหตุยังไม่ทราบแน่นอน แต่เชื่อว่าน่าจะมีปัจจัยทางจิตเป็นส่วนประกอบ ร่วมกับผลกระทบจากค่านิยมในสังคมที่ชอบคนผอม ทำให้อาการรุนแรงขึ้น

อาการ

ผู้ป่วย anorexia nervosa มักปฏิเสธไม่ยอมกินอาหาร และพยายามออกกำลังอย่างหนักเพื่อให้น้ำหนักลด ส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักลดลงไป 25-30% ของน้ำหนักเดิม แต่ยังไม่พอใจ ต้องการลดน้ำหนักลงไปอีก อาจใช้ยาลดน้ำหนัก ยาระบายหรือยาขับปัสสาวะร่วมด้วย ถ้าอาการรุนแรงจะมีกล้ามเนื้อแขนขาลีบ แก้มตอบ ซุบผอมมาก, ประจำเดือนขาดหายไป, มุมปากอักเสบ, ผิวแห้งลอก, มีขนอ่อนขึ้นตามตัว, ผมเส้นบาง/หักง่าย/ผลร่วงง่าย, เล็บเปราะ, ท้องผูก, นอนไม่หลับ, ลุกนั่งแล้วหน้ามืด, ขาดน้ำ, ขาบวม, หัวใจเต้นช้า, หายใจช้า, อุณหภูมิต่ำกว่าปกติ จนถึงหัวใจหยุดเต้นกระทันหันและเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะถ้าน้ำหนักตัวลดลงไปมากกว่า 35%

ผู้ป่วย bulemia nervosa มักจะกินมากโดยควบคุมตัวเองไม่ได้ แล้วรู้สึกผิด จึงไปล้วงคอให้อาเจียนหลังกินอาหารเข้าไป จนในระยะหลังๆ ไม่ต้องล้วงคอ ก็ยังอาเจียน รวมทั้งใช้ยาถ่าย ยาขับปัสสาวะเช่นเดียวกับผู้ป่วยกลุ่มแรก มักไม่ผอมมากเท่ากับผู้ป่วย anorexia nervosa แต่อาจมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมและครอบครัว มีความเสี่ยงต่อการเกิดการสำลัก เยื่อบุหลอดอาหารและกระเพาะอาหารฉีกขาด จากการอาเจียนมาก มีเลือดออกในทางเดินอาหาร มีลมรั่วเข้าไปในช่องทรวงอก นอกจากนี้ยังอาจพบความผิดปกติในดุลย์กรด-ด่างได้คล้ายผู้ป่วย anorexia nervosa ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจเต้นผิดปกติได้เช่นกันได้ 

การรักษา

ในคนที่อาการรุนแรงและมีความเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจหยุดเต้น อาจต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลเพื่อแก้ไขดุลแร่ธาตุต่างๆ และให้โภชนบำบัดร่วมกับการดูแลทางด้านจิตเวช แต่ถ้าอาการไม่รุนแรง ก็สามารถรักษาเป็นผู้ป่วยนอก การรักษามักทำได้ยากเนื่องจากผู้ป่วยไม่ยอมรับว่าตัวเองผิดปกติ จึงต้องทำให้ผู้ป่วยยอมรับปัญหาก่อน และร่วมมือกันระหว่างผู้ป่วย ญาติและทีมแพทย์ผู้ดูแล โดยการให้โภชนบำบัดร่วมกับการรักษาทางจิตเวชเช่นกัน

เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัวว่าผิดปกติ จากการที่ตัวเองพยายามลดน้ำหนักอย่างต่อเนื่องทั้งๆ ที่ผอมมากจนขาดอาหาร จึงมีผู้ป่วยส่วนน้อยที่จะมาพบแพทย์ ญาติหรือเพื่อนๆ จึงมีส่วนสำคัญมากที่จะคอยดูแลและชักจูงให้ผู้ที่มีอาการกลัวอ้วนเป็นอย่างมาก กังวลกับการที่น้ำหนักเพิ่มแม้เพียงเล็กน้อย ล้วงคอให้อาเจียนหลังกินอาหาร หรือใช้ยาลดน้ำหนัก ยาระบาย ยาขับปัสสาวะโดยไม่มีเหตุผล ให้มารับการตรวจรักษา

สังคมอาจต้องช่วยในการป้องกันปัญหานี้ในวัยรุ่น โดยเฉพาะสื่อต่างๆ ที่จะช่วยเปลี่ยนค่านิยมว่าคนที่จะหล่อ สวย ดูดี จะต้องผอมมากๆ เป็นคนที่ดูดีเพราะมีสุขภาพดี น้ำนหนักตัวอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม

ขอบคุณเนื้อหาจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหาโดย : Sanook! (Partner)




Create Date : 01 พฤษภาคม 2559
Last Update : 1 พฤษภาคม 2559 10:35:12 น. 0 comments
Counter : 1076 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.