<<
สิงหาคม 2557
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
3 สิงหาคม 2557
 

ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว

หลังจากที่ได้อ่านผลงานสารคดี เรื่อง
จากวังจันทร์สู่เวียงแหง ตามรอยนเรศวรมหาราช นอกกรอบประวัติศาสตร์ชาตินิยม 
ผลงานของ สุเจน กรรพฤทธิ์ เมื่อปี 2 ปีที่แล้ว 
เราก็ได้เห็นผลงานเล่มใหม่ในปีเดียวกัน แต่ก็มัวแต่รอเวลา จะซื้อราคาพิเศษ
จนกระทั่งไปร่วมอบรมการเขียนสารคดีที่สำนักพิมพ์นานมีจัดขึ้น 
และวิทยากรแนะนำหนังสือสารคดี 20 เล่มที่ควรอ่าน  หนึ่งในนั้น ก็คือ 

ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว  : สุเจน กรรพฤทธิ์ 


สำนักพิมพ์สารคดี  พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2555 
จำนวน 200 หน้า / ราคา 230 บาท 
ซื้อเมื่อ : 23 กรกฎาคม 2557
อ่านจบ : 3 สิงหาคม 2557 

::โปรยปกหลัง:: 

จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ คือ เป็นทั้ง "ประวัติศาสตร์" และเป็นทั้งประวัติศาสตร์นิพนธ์"  (history-hisrotiography)
คือเป็นทั้ง "เรื่องราวที่ได้เกิดขึ้นแล้ว" และเป็นทั้ง "เรื่องราว" ที่ถูกนำมา "ผลิตซ้ำ / เขียนใหม่-ตีความใหม่-ให้มีความหมายใหม่
...หากเราจะเชื่อว่า "ประวัติศาสตร์" นั้นมีใน "หลายด้าน" ในกรณีนี้ พระเจ้าอนุวงศ์ก็ทรงเป็นทั้ง "วีรบุรุษ" ผู้พยายามกอบกู้
"เอกราช" ของลาว ...และเป็นทั้ง "กบฎ" ต่อราชสำนักสยาม ...การเปรียบเทียบ "ความเหมือน" ของการเป็น 
"องค์ประกัน" (hostage) ของเจ้าอนุวงศ์แห่งอาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ กับของพระนเรศวรแห่งอาณาจักรพระนครศรีอยุธยา
กับ "ความต่าง" ของจุดจบ ที่ในกรณีของเจ้าอนุวงศ์เป็น "โศกนาฎกรรม" หรือ tragedy อันโหดร้ายทารุณ ในขณะที่ของ
พระนเรศวรเป็น "สุขนาฎกรรม" เป็น happy ending นั้น ทำให้งานเขียนชิ้นนี้ของสุเจนโดดเด่นมีเสน่ห์อย่างหาที่สุดมิได้ 
- ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  นักประวัติศาสตร์ 

หนังสือ ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว มีบทบาทสำคัญยิ่ง
ในการทำความรู้จักตัวเรา รู้จักเพื่อนบ้าน หรืออย่างน้อยที่สุด คือ 
รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของความสัมพันธ์ฉันเพือนมนุษย์
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ความสัมพันธ์ฉันเพื่อนบานที่สนิทชิดเชื้อ ดั่งญาติมิตรเฉกเช่นลาว
- ธีรภาพ โลหิตกุล  นักเขียนสารคดี

ประเด็นความน่าสนใจของสารคดีเล่มนี้คือ ผู้เขียนมองเห็นความเหมือนและความต่าง 
ของชีวิตพระนเรศวรแห่งอาณาจักรอยุธยากับเจ้าอนุวงศ์แห่งอาณาจักรล้านช้าง 
พระองค์หนึ่ง เป็นองค์ประกันในราชสำนักพม่า อีกพระองค์หนึ่ง เป็นองค์ประกันในราชสำนักสยาม 
พระองค์หนึ่ง ต่อสู้เพื่อปลดอยุธยาออกจากพระราชอำนาจของหงสาวดี 
พระองค์หนึ่ง ต่อสู้เพื่อปลดเวียงจันทน์ออกจากพระราชอำนาจของสยาม 
พระองค์หนึ่ง ชนะ กลายเป็นวีรบุรุษของชาวเมืองอยุธยา  แต่พระองค์ก็คือ กบฎของเมืองหงสาวดี
พระองค์หนึ่ง แพ้พ่าย กลายเป็นกบฎต่อกรุงเทพฯ แต่พระองค์ก็คือ วีรบุรุษของชาวเมืองเวียงจันทร์

ผู้เขียนดำเนินเรื่องจากประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับ "ย่าโม" และ "วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์" 
และศึกษาจากหลักฐานชั้นต้นและชั้นรอง ที่เป็นทั้งเอกสารพงศาวดารทั้งไทย-ลาว 
เอกสารบันทึกการเดินทางของชาวตะวันตก ณ ช่วงเวลานั้น รวมทั้งการพูดคุยกับบุคคลต่างๆ 
ไปจนถึงการลงพื้นที่ ตามเส้นทางเดินทัพ เส้นทางลี้ภัย จนถึง ณ จุดที่เจ้าอนุวงศ์สิ้นพระชนม์ 

การดำเนินเรื่องและการยกข้อมูลอ้างอิงมาเรียบเรียง พร้อมทั้งเสนอความเห็นมุมมองของผู้เขียน
ทำให้คนอ่าน อ่านตามและคิดตามอย่างติดพัน จนเราอ่านจบได้ในวันเดียว 
อาจเป็นเพราะความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องราวของประวัติศาสตร์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว 
เราจึงไม่เบื่อที่จะอ่าน และตั้งข้อสังเกตตามไปด้วย 

อ่านจบ ก็ต้องคิดทบทวนดูอีกทีว่า การนำประวัติศาสตร์มาบอกเล่าสั่งสอนต่อ
ในเชิง "ชาตินิยม"  ดังที่ปรากฎในแบบเรียนไทยหลายรุ่นนั้น ถูกต้องแล้วหรือ 
ในเมื่อไทย ลาว พม่า เขมร เวียดนาม มาเลเซีย กำลังจะเปิดตัวเป็นกลุ่ม ASEAN ที่แข็งแกร่ง 
เพื่อยืนอยู่ในเวทีโลก ร่วมกับ EU และกลุ่มประเทศอื่นๆ ได้อย่างมั่นคง 

ไม่ผิด หากจะบอกว่า ไทยเป็นเอกราชจากการรุกรานของอำนาจจักรวรรดิ์ตะวันตก
แต่ออกจะผิด หากจะบอกว่า "ไทย" เคยเป็นประเทศราชของ "พม่า"  
ทั้งๆ ที่ ณ ช่วงเวลานั้น ยังไม่มี  "ประเทศ"  มีเพียง "เมือง" ที่มีกษัตริย์ปกครองแว่นแค้วน
การทำสงครามตั้งแต่อยุธยามาจนถึงราวรัชกาลที่ 3 นั้น เป็นสงครามระหว่างกษัตริย์ต่อกษัตริย์ 
ระหว่างเมืองต่อเมือง หรืออาณาจักรต่ออาณาจักร ที่ยังไม่มี "เส้นพรมแดน" มาขีดให้ชัด
จนกระทั่งอังกฤษและฝรั่งเศส ล่วงล้ำเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมินั่นแหละ  จึงเกิดเป็น "รัฐชาติ" 
และเมื่อลัทธิคอมมิวนิสต์เข้มและแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาเรื่องๆ จึงต้องใช้ "ชาตินิยม" มาชี้นำ
เพื่อให้เกิด "สำนึกรักชาติ"  ขึ้นมาในกลุ่มชนชาวไทย 

ดังนั้น  เมื่ออ่านหนังสือบอกเล่าประวัติศาสตร์ใดๆ ก็ตาม เรามักจะวางตัวอยู่ตรงกลาง 
เก็บเนื้อหาและความเห็นของผู้เขียน มาประมวลผลใหม่อีกครั้ง 

พึ่งระลึกรู้อยู่เสมอว่า
ประวัติศาสตร์เขียนโดยผู้ชนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประวัติศาสตร์ชาตินิยม
และหลายครั้ง ประวัติศาสตร์เขียนขึ้นมาเพื่อตอบสนอง "การเมือง"  




รายการสารคดี  ASEAN STORY DOCUMENTARY 


รายการศิลปสโมสร ตอน เข้าใจลาวผ่านประวัติศาสตร์ เจ้าอนุวงศ์




ข่าวศิลปวัฒนธรรม ThaiPBS






Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 22:50:41 น. 10 comments
Counter : 4769 Pageviews.  
 
 
 
 
เราไม่ค่อยสันทัดด้านประวัติศาสตร์เท่าไหร่ค่ะ อ่านบล็อกนี้ได้ความรู้+เปิดมุมมองดีค่ะ
 
 

โดย: kunaom วันที่: 3 สิงหาคม 2557 เวลา:23:02:16 น.  

 
 
 

Like ให้เป็นคนที่ 4
รีวิวได้น่าสนใจมากกกกกกกกกค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
 
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
toor36 Cartoon Blog ดู Blog
นัทธ์ Book Blog ดู Blog
 
 

โดย: อุ้มสี วันที่: 4 สิงหาคม 2557 เวลา:8:06:39 น.  

 
 
 
บางทีก็อยากรู้เรื่องราวประวัติศาตร์ ในมุมมองที่ต่างกันออกไปบ้างนะ

การมองจากมุมของผู้แพ้ หรือฝ่ายตรงข้ามกับเรา ก็มีอะไรที่น่าสนใจดีค่ะ
 
 

โดย: Pdจิงกุเบล วันที่: 5 สิงหาคม 2557 เวลา:11:35:21 น.  

 
 
 


สอบตกวิชาประวัติศาสตร์ค่ะ
 
 

โดย: เหมือนพระจันทร์ วันที่: 5 สิงหาคม 2557 เวลา:19:03:00 น.  

 
 
 
ไม่ค่อยชำนาญประวัติศาสตร์เหมือนกันค่ะ แต่เห็นด้วยกับวรรคสุดท้ายค่ะ
 
 

โดย: Sab Zab' วันที่: 5 สิงหาคม 2557 เวลา:22:07:31 น.  

 
 
 
เข้าใจเพื่อนบ้าน
 
 

โดย: ิิบีม (beammy2557 ) วันที่: 7 สิงหาคม 2557 เวลา:0:06:05 น.  

 
 
 
สวัสดียามบ่ายค่า
อ่านหนังสือมีสาระทีไร ง่วงทุกที แหะๆ อ่านได้เฉพาะนิยายกับการ์ตูนค่ะ ดึกแค่ไหนก็ทนด้ายยยย

การ์ตูนของนักเขียนคนนี้เพิ่งจะอ่านเรื่องนี้เรื่องแรกค่ะ เรื่องอื่นๆ ก็น่าสนใจ ติดตรงหายาก แถมราคาค่อนข้างแพงค่ะ แต่ว่าจะลิสต์ไว้แล้วมองหาตามร้านหนังสือเก่าๆ เหมือนกันค่ะ ตัวการ์ตูนสวยดี
 
 

โดย: ประกายพรึก วันที่: 7 สิงหาคม 2557 เวลา:14:37:57 น.  

 
 
 
น่าสนใจซื้ออ่านมากค่ะ
 
 

โดย: มิลเม วันที่: 8 สิงหาคม 2557 เวลา:18:11:25 น.  

 
 
 
สวัสดีค่ะคุณนัทธ์..

มีความสุขมากๆในวันแม่และทุกๆวันนะค่ะ..

คุณแม่เจ้าโว๊ย..จากไปเกือบ 2 ปีล่ะ..

ยังจำเรื่องราวของคุณแม่เจ้าโว๊ย มิลืมเลือนเลยค่ะ..

รักคุณแม่ให้มากๆนะค่ะ..

 
 

โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 9 สิงหาคม 2557 เวลา:22:00:06 น.  

 
 
 
ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ตกลงกันไว้ก่อนจารึกค่ะ ส่วนน้ำหนักความถูกต้องก็ขึ้นอยู่กับการนำเสนอในประสบการณ์ของฝ่ายไหนบ้าง
ตอนไปที่ลาว มีโอกาสไปดูรูปปั้นของเจ้าอนุวงศ์ ยืนหันหน้ามาทางฝั่งไทย ก็รู้สึกเจ็บแปลบกับเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ที่เคยเรียนเคยจำมาอยู่ไม่น้อยกับการมองมุมแคบๆของเราเพียงฝ่ายเดียวมานาน ....
 
 

โดย: กาบริเอล วันที่: 9 สิงหาคม 2557 เวลา:23:54:09 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com