Simply , Easy , Me...
Group Blog
 
All Blogs
 
ข้อควรรู้ และ กฎ กติกา ในการบริจาคโลหิต


ข้อ ควรรู้ ก่อนจะบริจาคโลหิต ( และต้องรู้ )

1. อายุ ระหว่าง 17-60 ปี และสุขภาพสมบูรณ์ ( ไม่ใช่ แค่ปกติหรือแข็งแรง )
ถ้าอายุน้อยเกินไป จะมีภาวะทางความคิดและร่างกายไม่เหมาะสม กฎหมายไม่อนุญาต ต้องมีผู้ปกครองรับทราบ และยินยอม
ถ้าอายุมากเกินไป ก็จะมีปัจจัยสุขภาพเสี่ยงเกินไป เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคเอง

2. นอนหลับไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
การนอนหลับ ไม่ควรนอนผิดเวลาจากปกติ ผู้ที่ทำงานเป็นกะ ไม่ควรบริจาค ถ้านอนไม่พอ ถึงบริจาคไปแล้ว ก็เอาไปใช้ไม่ได้ เพราะเลือดจะลอย

3. กินอาหารประจำมื้อเรียบร้อยแล้ว ( ก่อนบริจาค 4 ชม. )
ก่อนบริจาค ควรกินอาหารมาให้เรียบร้อย แต่ไม่ควรเน้นอาหารที่มีไขมันมาก หรือ งดอาหารมันๆ ก่อนบริจาค 1 วันก็จะดี

4. ท้องเสีย ท้องร่วง ภายใน 7 วัน
เป็นผลเสียทั้งต่อผู้บริจาค และ ผู้รับบริจาคอาจติดเชื้อ ( ถ้ามี ) ได้

5. น้ำหนักลด ในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยไม่ทราบสาเหตุ
หากเกิดขึ้น มักมีสาเหตุจากโรคภายใน เช่น เบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ หรือแม้แต่... AIDS หรือ HIV ถ้ากินยาลดน้ำหนัก ก็ไม่ควรบริจาคเช่นกัน
แต่ถ้าน้ำหนักลดอย่างสมเหตุสมผล จากการออกกำลังกาย หรือ ควบคุมอาหาร ( โดยไม่ใช้ยา ) สามารถบริจาคได้

6. กินยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดข้อ
อาจมีผลทำให้ยาไปยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดโลหิต ทำให้โลหิตแข็งตัวช้าลง ไหลแล้วหยุดยาก

7. กินยาแก้อักเสบใน 7 วัน หรือยาอื่นๆ โปรดปรึกษาเจ้าหน้าที่
หากกินแก้อักเสบอยู่อาจหมายถึง ผู้บริจาคได้รับการติดเชื้อ ซึ่งอาจแพร่เชื้อเข้ากระแสโลหิตของผู้รับบริจาคได้
นอกจากนี้ ผู้รับบริจาค อาจแพ้ยา ที่ผู้บริจาคกินก่อนมาบริจาคได้

8. เป็นโรคหอบหืด ลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง ไอเรื้อรัง วัณโรค หรือโรคภูมิแพ้อื่นๆ
การเป็นโรคดังกล่าว แล้วมาบริจาค อาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการดังกล่าวกำเริบได้

9. เคยเป็น หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคตับอักเสบ
ผู้ที่เคยเป็น แล้วไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นชนิดใด หรือ ไม่สามารถบอกได้ว่า หายขาด หรือไม่มีเชื้อแล้ว ไม่ควรบริจาคจนกว่าจะได้รับการยืนยันจากแพทย์ ว่าปลอดภัยจากเชื้อตับอักเสบ ผู้ที่สัมผัส ใกล้ชิดผู้ป่วย ก็อาจได้รับเชื้อแล้วเช่นกัน

10. เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ไต ไทรอยด์ มะเร็ง โลหิตออกง่ายหยุดยาก หรืออื่นๆ
เพื่อความปลอดภัย หากมีความจำเป็นต้องบริจาค ให้อยู่ในความดูแล และวินิจฉัยจากแพทย์อย่างใกล้ชิด

11. ทำฟัน ภายใน 3 วันก่อนจะบริจาค
เหงือกอาจจะอักเสบ และ หากมีแผลในช่องปาก อาจเป็นทางนำเชื้อโรคสู่กระแสโลหิตได้

12. ท่าน หรือ คู่ของท่าน มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับผู้อื่น
โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์บางอย่าง แสดงอาการให้เห็น แต่บางอย่าง แม้ติดเชื้อแล้ว ก็ตรวจไม่พบในระยะฟักตัว ทั้งๆที่ผู้บริจาคอาจมีเชื้ออยู่แล้ว ดังนั้น...หากไม่แน่ใจใน 6 เดือน ควรไปตรวจที่คลีนิกนิรนามหรือที่โรงพยาบาลก่อนบริจาค

13. ได้รับการผ่าตัดใหญ่ ในระยะ 6 เดือน หรือผ่าตัดเล็ก ใน 1 เดือน
การผ่าตัดอาจเสียโลหิตไปส่วนหนึ่ง แผลผ่าตัด ต้องใช้เวลาและสารอาหารในการซ่อมแซม จึงควรงดเว้นในการบริจาคไปก่อน

14. เจาะหู สัก ลบรอยสัก ฝังเข็ม ในระยะ 6 เดือน
เข็มเจาะ และรูแผลที่ผิวหนัง มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคติดเชื้อที่มีการส่งต่อทางกระแสโลหิตและน้ำเหลือง และสามารถส่งต่อไปยังผู้รับบริจาคได้อีกด้วย เช่นไวรัส ตับอักเสบ บี , ซี และ AIDS หรือ HIV

15. เคยมีประวัติติดยาเสพติด หรือพ้นโทษในระยะ 3 ปี
ผู้ที่เคยมีประวัติติดยาเสพติด หรือเพิ่งพ้นโทษ จะมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคที่มีการส่งต่อทางโลหิตและน้ำเหลือง แม้จะไม่มีการใช้เข็มร่วมกัน หรือแม้เสพย์ทางการกิน หรือสูดดม อาจทำให้มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศภายหลังใช้ยาได้

16. เคยเจ็บป่วยต้องรับโลหิตผู้อื่นในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา
เมื่อเคยป่วยและได้รับโลหิตจากผู้อื่น จะมีการสร้างภูมิต้านทานต่อระบบหมู่โลหิตได้ ถึงแม้จะมีการตรวจเพื่อหาหมู่โลหิตหลักที่เข้ากันได้ แต่หมู่ย่อยไม่สามารถหาได้ตรงกันทั้งหมด และยังคงเป็นปัญหากับผู้ป่วยอีกด้วย

17. ฉีดวัคซีนในระยะ 14 วัน หรือ ฉีดเซรุ่มในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา
เช่นวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ และ เซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้า เป็นต้น

18. เข้าไปในพื้นที่ ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชม ในระยะ 1 ปี หรือเคยป่วยเป็นมาเลเรีย
ถ้าเคยป่วยแล้วไม่ได้รับการรักษาให้หายขาด เชื้อสามารถแอบแฝงอยู่ในร่างกายได้โดยไม่แสดงอาการ ดังนั้น ผู้ที่จะบริจาคได้ต้องไม่มีอาการซ้ำ เป็นเวลา 3 ปี

19. อยู่ในระหว่างมีรอบเดือน
ไม่ควรให้ร่างกายมีการเสียโลหิตซ้ำซ้อนในคราวเดียวกันโดยไม่จำเป็น ควรรอให้หมดรอบเดือนเสียก่อน

20. คลอดบุตร หรือ แท้งบุตร ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
การคลอด หรือ การแท้งบุตร จะมีการเสียโลหิตเป็นจำนวนมาก ร่างกายของผู้บริจาค ต้องใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อให้มีการสร้างโลหิตที่มีคุณภาพขึ้นมาใหม่

21. งดบุหรี่ หรือสิ่งมึนเมาใดๆ ก่อนบริจาคโลหิต
ถ้าเป็นบุหรี่ ก็ 1 วัน หรืออย่างน้อย 3-4 ชม. เพื่อให้ปอดได้ฟอกเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพหน่อย

ข้อมูลเหล่านี้... อาจจะไม่ละเอียดนัก หากใครต้องการรายละเอียด หรือข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ 02-251-3111 , 02-252-4106 ถึง 9 และที่ 02-256-4300
หรือ ที่ //www.redcross.or.th และ อีเมล์ blood@redcross.or.th

//www.nbc.in.th --- ศูนย์บริการโลหิดแห่งชาติ (National Blood Centre)

หากบริจาคโลหิตมาแล้ว ไม่มั่นใจ ติดต่อแจ้งทันที 02-252-4106 ถึง 9 ต่อ 151 และ 158


Create Date : 14 มีนาคม 2549
Last Update : 21 กรกฎาคม 2549 12:12:27 น. 7 comments
Counter : 7470 Pageviews.

 
วันนี้ ( 24 ส.ค. 2549 ) ผมไปมาเมื่อตอนเย็นครับ

จาก Forward mail ...
ดิฉันชื่อ นางสาว นภาพร สาริมา ทำงานในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ฝ่ายแอลซี บริษัท ทีพีไอ ขอความช่วยเหลือจากท่าน ในการบริจาคโลหิตให้กับลูกสาวของดิฉันคือ ด.ญ.พิชชาพร จิรประยุกต์เลิศ ขณะนี้มีอายุได้ 8 เดือน กำลังป่วยเป็นโรคหัวใจชนิดเขียว ซึ่งจะต้องทำการผ่าตัดเพื่ออุดรอยรั่ว และสลับเส้นเลือดในหัวใจ ที่โรงพยาบาล ศิริราช ในวันที่ 28 สิงหาคม 2549 แต่เนื่องจากทางโรงพยาบาลมีเลือดไม่เพียงพอสำหรับเด็ก ดังนั้นดิฉันใคร่ขอรบกวนเพื่อน ๆ ช่วยกรุณาบริจาคโลหิตที่ ร.พ. ศิริราช (ไม่จำเป็นต้องเป็นเลือดกรุ๊ปเดียวกันก็ได้ เพราะทาง ร.พ. จะนำไปแลกเปลี่ยนกรุ๊ปเลือดที่อื่นได้) โดยท่านสามารถไปบริจาคเลือดได้ที่

โรงพยาบาล ศิริราช ตึก 72 ปี ( ธนาคารเลือด)
วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 8.30 น. - 18.30 น.
วันเสาร์ - อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 8.30-16.30 น.
ก่อนวันที่ 25 สิงหาคม 2549
โดยระบุชื่อผู้รับบริจาค ชื่อ ด.ญ. พิชชาพร จิรประยุกต์เลิศ

ขอขอบพระคุณในความช่วยเหลือของท่านในครั้งนี้

น.ส. นภาพร สาริมา




วันนี้วันเดียว มีคนไปบริจาคให้เด็กหญิง พิชชาพร 30 คน ( คนส่งอีเมล์ ก็ดันกำชับมาอีกว่า ก่อนวันที่ 25 สค. 49 )

แต่...
คุณหมอบอกว่า... เด็กคนนี้... ยังไม่ทัน Admit เข้ามาเลย ( ยังไม่ได้เข้ามารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ) แล้วก็ยังเด็กมาก เผลอๆ... Unit เดียว ก็ใช้ไม่หมดแล้ว

ผมเข้าใจครับ... ว่า... อาจจะเป็นผู้ปกครองของเด็ก หรือ เป็นคนที่ใกล้ชิดกับครอบครัวนี้ ก็เลยเป็นห่วง อยากให้เด็กหญิงพิชชาพร ได้รับเลือด อย่างเพียงพอ

แต่... อีเมล์... มันแพร่เร็วมากครับ แต่บางครั้ง ก็อาจมาถึงเราช้าเกิน



...

เอาเป็นว่า...

เพราะฉะนั้น หากใครจะไปบริจาคเพื่อเด็กหญิงพิชชาพรอีก...

ไม่จำเป็นแล้วนะครับ

เก็บไว้ให้คนอื่นบ้าง

ทางคุณหมอ แจ้งว่า... อยากให้ไปกันเรื่อยๆ แทนที่จะเฮโล กันไป คราวเดียวมากๆ

จะทำให้ เลือดที่รับไว้... เสียไป เพราะใช้ไม่หมด

เพราะบางอย่าง.. ต้องนำไปใช้ ภายใน 5 วัน
บางอย่าง สามารถเอาไปแปรสภาพ เก็บได้เป็นปี

แต่ถ้า เฮกันไปมากๆ ในเวลาช่วงหนึ่งเท่านั้น

ระยะเวลา มันจะทิ้งช่วง...

แทนที่ จะค่อยๆ ทยอยมากันตามโอกาส เลือดก็จะไม่ขาดเพราะถูกบริจาคกันในเวลาเดียวมากๆ

อีกอย่างหนึ่ง... ก่อนจะเดินทางไป... ลองโทรไปคุยกับทางผู้ป่วย หรือ เจ้าของเรื่อง หรือ ทางโรงพยาบาลก่อนก็ได้ครับ

เผื่อว่า... เราเอง ก็อาจจะไม่สะดวกนัก ถ้าจะไปแล้วพบว่า... เรามาช้าเกิน หรือ ไม่มีความจำเป็นแล้ว

( ผม... เคยโทรไปหาผู้ป่วย ( จาก forward mail ที่มีมาเรื่อยๆ นี่แหละ ) ที่ต้องการเลือด หลังจากได้รับอีเมล์ ก็ปรากฎว่า ...

ครั้งหนึ่ง...
พี่สาวผู้ป่วย เป็นคนรับสาย และบอกว่า ผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว

อีกครั้งหนึ่ง
คุณพ่อของผู้ป่วยรับสาย... บอกว่า... เค้าหายดีแล้ว และเดินทางไปเรียนต่อในต่างประเทศแล้ว...

เพราะฉะนั้น...
ใครจะส่งเมล์ลักษณะนี้... ก็อยากให้ ลง วันที่ เวลา ที่ออกประกาศด้วยครับ พร้อมเบอร์โทร ที่ติดต่อได้ ของผู้ป่วย หรือ คนใกล้ชิด หรือโรงพยาบาล เพื่อจะได้ตรวจสอบได้ และไม่เสียเวลาแก่ผู้ที่จะเดินทางไปบริจาค ไม่เสียโอกาสแก่ผู้ที่ต้องการเลือด คนอื่นๆ )


คุณหมอบอกว่า...


บางวัน ก็ไม่มีผู้บริจาคเลยแม้แต่คนเดียว
บางวัน ก็มีคนมากันมากมาย แต่... กลับจะบริจาคให้คนๆเดียว...
มากันเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ ... ดีกว่า มากันมากๆ ในวันเดียว... ( คุณหมอบอก )

วันนี้ หลังจากทราบเรื่องจากคุณหมอแล้ว ผมก็เลย เปลี่ยนความจำนง... ที่ระบุ ให้กับเด็กหญิงพิชชาพร เป็นให้ใครก็ได้ ที่มีความจำเป็น และต้องการเลือดนี้...


ปล. ผมถามคุณหมอว่า... ในปีหนึ่งๆ ช่วงไหน ที่มีปัญหาเลือดขาดแคลนที่สุด คุณหมอบอกว่า... ช่วงปิดเทอมครับ...


เพราะช่วยเปิดเทอม ทางศูนย์ ( ทั้งศูนย์ของศิริราช และ สภากาชาด ) จะได้รับเลือด จากการบริจาค ของนักเรียน นิสิต นักศึกษา อย่างสม่ำเสมอ แต่ช่วงปิดเทอม จะขาดไปมาก เพราะไม่มีนักเรียน นิสิต นักศึกษาอย่างตอนเปิดเทอม



ก็... เท่านี้ละกันครับ

เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ รักษาสุขภาพ ดูและสุขภาพ ละเว้น งดเว้นจากพฤติกรรมเสี่ยง

อันนี้ ...
เป็นลิ้งค์ ไปดู>>> ข้อควรรู้ ควรปฏิบัติ ในการบริจาคโลหิต นะครับ

ส่วนอันนี้...
เป็น ลิ้งค์ ไปดู >>> วัน เวลา สถานที่ ในการบริจาคโลหิต

สะดวกที่ไหน เมื่อไหร่ ก็ไปที่นั่น



เพื่อจะได้ไปบริจาคเลือด
เพื่อต่อชีวิตให้คนอื่นกันเถอะครับ


ดูแลสุขภาพให้ดี ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่เที่ยวซุกซน ไม่สำส่อนทางเพศ ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ

ก็เป็นการดีกับเราเองด้วย... จะได้ ไม่ป่วย ไม่เจ็บ และลดโอกาส ที่จะเกิดอุบัติเหตุ ทั้งต่อเราเอง และเพื่อนร่วมชาติ เพื่อนร่วมโลกทั้งหลาย...


ปล. น้องปลาทูอยู่ในเข่ง...
วันนี้พี่ถามคุณหมอครับ เรื่องน้ำหนัก 50 กก.
คุณหมอบอกว่า ที่ศิริราชนี้ ... ผู้หญิง ยัง รับที่น้ำหนักขั้นต่ำ 45 กิโลกรัมอยู่ ( แต่ของสภากาชาดนี่... ไม่แน่ใจเพราะ ครั้งที่แล้วก็ไม่ได้ถาม )





ง่วงหรือเมา... ไม่ขับ
ถ้าต้องขับ... ไม่ดื่ม






สังคมดี... ไม่มีขาย
อยากได้... ต้องช่วยกันสร้าง
โดยเริ่มจาก... ตัวเราเอง... เดี๋ยวนี้...



โดย: Phoenixนิลมังกร วันที่: 25 สิงหาคม 2549 เวลา:0:19:35 น.  

 


โดย: NooT (Nu Chong ) วันที่: 10 กันยายน 2549 เวลา:22:32:26 น.  

 
ที่ศิริราชกฎมันเคร่งกว่าอะ

แต่ นานโคดๆ

คราที่แล้วไป เสียเวลาเกือบครั่งวันเลย เพราะตามฟรอเวดเมล์นี่แหละ
ปกติบริจาคอยู่ที่กาชาติ

เอาน่าทำบุญเค้าห้ามบ่นเน้อ เห็นคุงหมอที่มาทำงานก็สงสารเหมือนกาน
คนมาบริจาคเยอะ เห็นแล้วก็เหนื่อยแทน(กาชาติจะมีพวกพนักงานช่วยเยอะมั้ง)เลยเร็วก่า


โดย: cilladevi IP: 58.8.21.72 วันที่: 17 กรกฎาคม 2550 เวลา:15:46:36 น.  

 
ขอถามนะคับว่า ถ้าขาดไปหนึ่งวันถึงจะครบสามเดือน สามารถบริจาคเลือดได้ไม่คับ


โดย: บอย IP: 171.7.219.211 วันที่: 20 เมษายน 2555 เวลา:15:52:05 น.  

 
เคยไปบริจาคเลือดที่ รพ.ศิริราช เป็นประจำ และเจ้าหน้าที่ก็จะโทรมาแจ้งให้ไปบริจาคเสมอๆ เมื่อถึงเวลา แต่ครั้งสุดท้ายที่ไปบริจาค มีเจ้าหน้าที่ผู้หญิงที่ทำการตรวจเลือดคุยโทรศัพท์มากมายจนผู้คนที่มารอบริจาคเพิ่มขึ้นจนเต็มห้องบริจาค เธอก็ยังไม่เลิกคุยโทรศัพท์ ผมรู้สึกไม่ดีมากๆกับคนประเภทนี้ จึงได้โทรศัพท์แจ้งหน่วยงาน และหลังจากนั้นผมก็ไม่ได้รับโทรศัพท์เชิญชวนอีกเลย เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ขอบคุณครับ ทราบซึ๊งโรงพยาบาลนี้มากๆ


โดย: ชัย IP: 125.24.72.82 วันที่: 31 พฤษภาคม 2556 เวลา:14:39:18 น.  

 
ขอตอบ คุณบอย ความเห็นที่ 4 นะครับ

ขาดไปวันสองวัน ไม่เป็นไรครับ

ที่เค้ากำหนดไว้ว่า 3 เ้ดือน ก็เพื่อไม่ให้กระทบต่อสุขภาพร่างกายของผู้บริจาค

ให้ร่างกายได้สร้างเม็ดเลือด สร้างพลาซม่า ขึ้นมาทดแทน ชดเชย

ที่เราได้บริจาคไปในคราวก่อน ให้เพียงพอครับ

ส่วนคุณชัย...

เรื่องที่คุูณชัยเล่าใหัอ่านนั้น อาจเป็นเพียงเรื่องบังเอิญก็ได้ครับ

ยังไง... เพื่อการช่วยเหลือผู้ประสพเหตุที่ต้องการเลือด

เราก็ไปบริจาคต่อไปเถิดครับ หากไปที่ศิริราชอีกครั้ง แล้วยังพบปัญหาเดิมอีก

ก็ลองเปลี่ยนไปที่สภากาชาดก็ได้ครับ


โดย: Phoenixนิลมังกร วันที่: 20 สิงหาคม 2556 เวลา:17:32:04 น.  

 
ถ้าเบี่ยงเบนทางเพศก็อดบริจาคเลือดซิคับ แต่ใจจริงอยากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อยากทราบว่าทำไม่ให้บริจาคครับ ทราบครับว่าเสี่ยง แต่คนเราก็ไม่ได้มั่วเหมือนกันทั้งหมดนิครับ ปกติก่อนรับบริจาคก็ต้องเจาะเลือดก่อนอยู่เเล้วไม่ใช่หรอครับหรือยังไง เคยโดนเจ้าหน้าที่ปฏิเสธแบบว่าหงายหลังแบบไม่ทันตั้งตัวเลยครับ พูดแบบดูถูกหน่อยๆ ต้องเดินหน้าจ๋อยออกมา


โดย: ไม่ขอเปิดเผยครับ IP: 49.230.126.208 วันที่: 15 ตุลาคม 2557 เวลา:14:56:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Phoenixนิลมังกร
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ยิ้มง่าย หัวเราะง่าย แต่ไม่ใช่ Joker
จริงจัง จริงใจ แต่ไม่เอาเป็นเอาตาย
ง่ายๆ ไม่เรื่องมาก ไม่ทำร้ายใครก่อน...



- It is only with the heart
that one can see rightly
what is essential is
invisible to the eye.


- ด้วยหัวใจเท่านั้น
ที่เราจะมองเห็นอย่างถ่องแท้ว่า
สิ่งสำคัญ ที่ไม่อาจเห็นได้ด้วยตา
คืออะไร.


//- Antoine de Saint-Exupery

Friends' blogs
[Add Phoenixนิลมังกร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.