<<
กุมภาพันธ์ 2559
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
24 กุมภาพันธ์ 2559

อัญชัน มองเกสรผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด

อัญชัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clitoria ternatea L. อยู่ในวงศ์ FABACEAE (วงศ์ถั่ว) มีชื่อสามัญที่เรียกกันในไทย คือ แดงชัน(เชียงใหม่) อัญชัน(ภาคกลาง) เอื้องชัน(เหนือ) [1]

อัญชันเป็นไม้เลื้อยยืนต้นที่แข็งแรงทนทาน ต้นเป็นเถาเลื้อยพันมีขนปกคลุม โคนต้นค่อนข้างตรงยาว 0.5-3 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 5-7 ใบรูปไข่ กว้าง 2-3 ซม. ยาว 3-5 ซม.ปลายใบแหลมโคนใบมน ผิวใบทั้งสองด้านมีขนบางๆคลุมแนบติดกับผิว มีหูใบรูปสามเหลี่ยมแคบ [2]

ต้น ใบ และดอกอัญชัน ภาพโดย Forest & Kim Starr [CC BY 3.0 (//creativecommons.org/licenses/by/3.0)], via Wikimedia Commons

ดอกออกตามซอกใบ 1-2 ดอก สีขาว ฟ้า น้ำเงิน และม่วง กลางดอกมีสีเหลือง ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 ซม. นอกจากนี้ยังมีชนิดดอกซ้อน ออกดอกเกือบตลอดปี ผลเป็นฝักถั่วแบนๆ ยาว 4-13 ซม. กว้าง 0.8-1.2 ซม. เมื่อแก่มีสีน้ำตาลอ่อน และฝักจะแตกแยกออก เมล็ดรูปขอบขนาน(เกือบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า) แบน มีสีน้ำตาลแกมเขียวจนถึงดำ ในฝักมี 5-11 เมล็ด [2]

ดอกอัญชัน โดย By The Photographer (Own work) [CC0], via Wikimedia Commons

การกระจายพันธุ์- เป็นพืชท้องถิ่นของอัฟริกา(Angola, Angola-ISO, Benin, Burundi, Cabinda, Cameroon, Cape Verde Is, Chad, Djibouti, Ethiopia, Gabon, Ghana, Guinea, Guinea Bissau, Ivory Coast, Kenya, Malawi, Mali, Mozambique, Nigeria, Sao Tome, Sao Tome & Principe, Senegal, Sierra Leone, Somalia, South Africa, Sudan, Tanzania, The Gambia, Togo, Uganda, Zaire, Zambia, Zimbabwe.) และหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย (Mauritius.)
ถูกนำไปแพร่กระจายพันธุ์ในเขตที่ที่มีความชุ่มชื้นในเอเชีย คาริเบียน อเมริกากลางและอเมริกาใต้ และในเขตกึ่งแห้งแล้งของออสเตรเลีย[2]

ภาพอิเล็กตรอนแบบส่องกราดของละอองเกสรดอกอัญชันแสดงด้านล่าง

เกสรดอกอัญชันเป็นรูปสามเหลี่ยม






ลักษณะของพื้นผิวละอองเกสรดอกอัญชัน


ดอกอัญชันสีน้ำเงินเมื่อนำมาสกัดด้วยน้ำอุ่นจะให้สีน้ำเงินอมม่วง โดยสีที่ได้นิยมนำไปใส่ในขนมต่างๆ นำไปหุงข้าว ทำขนมจีน หรือนำมาทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรน้ำอัญชันซึ่งจะมีสีน้ำเงินอมม่วง แต่น้ำสกัดจากดอกอัญชันสามารถที่จะเปลี่ยนสีได้เมื่อความเป็นกรดด่างของน้ำสกัดนั้นเปลี่ยนไป โดยจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อมีความเป็นกรด และจะเป็นสีน้ำเงินเมื่อเป็นด่าง ส่วนในสภาพเป็นกลางจะเป็นสึน้ำเงินม่วง ซึ่งเราจะเห็นว่าบางครั้งขนมที่แต่งสีด้วยน้ำสกัดอัญชันรวมถึงน้ำสมุนไพรดอกอัญชันมีสีแดงเพราะว่ามีการบีบมะนาวหรือเติมกรดลงไปจนเปลี่ยนเป็นสีแดงแล้วจึงนำไปใช้ นอกจากนี้ในการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์มีการนำน้ำสกัดจากดอกอัญชันมาใช้เป็นอินดิเคเตอร์ตรวจวัดความเป็นกรดเป็นด่างที่ได้จากธรรมชาติ

Scanning Electron Micrograph ของเกสรดอกอัญชัน ถ่ายที่ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม

ขอความสุขสวัสดีสถิตย์ในดวงใจ

ชื่อสามัญในภาษาอื่นๆ  butterfly-pea (Australia); blue-pea, cordofan-pea, honte (French); blaue Klitorie (German); clitoria-azul (Portugese); azulejo, conchitis, papito, zapatico de la reina, zapotillo, conchita azul, campanilla, bandera, choroque, lupita, pito de parra, bejuco de conchitas (Spanish); cunha (Brazil).[2]

ข้อมูลจาก

1.//www.dnp.go.th/botany/mplant/word.aspx?linkback=localname&localname=อัญชัน&keyback=อัญชัน

2.//www.tropicalforages.info/key/Forages/Media/Html/Clitoria_ternatea.htm




Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2559 15:39:13 น. 2 comments
Counter : 4667 Pageviews.  

 
ที่บ้านปลูกค่ะ คุณยายนำมาทำเป็นน้ำอัญชันดืมกันประจำค่ะ เพิ่งเคยเห็นภาพภาพอิเล็กตรอนอัญชัน ^^

เจอกันวันเสาร์ที่งานบล็อกนะคะ


โดย: มี้เก๋+ป๊าโอ๋=ซีทะเล (kae+aoe ) วันที่: 1 มีนาคม 2559 เวลา:11:34:59 น.  

 
เกสรเค้าดูเหมือนหมอนนุ่มๆเลยนะคะ


โดย: VELEZ วันที่: 1 เมษายน 2560 เวลา:20:45:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bite25
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




New Comments
[Add bite25's blog to your web]

MY VIP Friend