<<
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
30 ตุลาคม 2558
 

เทิดไท้องค์สมเด็จพระปิยะมหาราช เลิกไพร่-เลิกทาส นำชายไทยรักชาติ ต้นกำเนิดอาชีพทหาร

หากจะกล่าวถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อกองทัพไทยนั้น นับว่ามากล้นพ้นรำพัน เนื่องด้วยพระองค์ทรงให้การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและกองทัพไทย ทรงนำวิวัฒนาการใหม่ๆ จากชาติที่เรืองอำนาจมาใช้เป็นการวางรากฐานการทหารไทยให้ทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ อันถือเป็นจุดกำเนิดของ “กองทัพไทย” ในปัจจุบัน

1049431k1w1xzajmqqtqmx

ในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ถือเป็นยุคสมัยที่กองทัพไทยยังไม่มีการจัดระเบียบอย่างเป็นแบบแผน เนื่องจากการทหารในสมัยนั้นยังเป็นไปในลักษณะกระจัดกระจาย ควบคุมอำนาจโดยบุคคลหลายฝ่าย

การปฏิรูปการทหารภายใต้รัชกาลแผ่นดินของพระองค์จึงอยู่ในขอบเขตที่จำกัดในระยะเริ่มต้น กระทั่งต่อมาใน พ.ศ. 2415 ภายหลังจากการเสด็จไปประพาสสิงคโปร์และปัตตาเวีย ได้ทรงเยี่ยมชมการจัดการทางทหาร ทรงเล็งเห็นว่าการทหารที่แข็งแกร่งนั้นมีความสำคัญต่อการรักษาความสงบมั่นคงของชาติ เพราะชาติที่มีความพร้อมด้านการทหาร ก็ย่อมได้เปรียบในการกำหนดยุทธศาสตร์กำลังพล จึงทรงนำแบบอย่างการทหารที่ชาวยุโรปนำมาฝึกทหารในอาณานิคมของตน โดยทรงดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพของประเทศไทย โปรดให้แบ่งหน่วยทหารออกเป็น 7 หน่วย ดังนี้ คือ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์, กรมทหารรักษาพระองค์, กรมทหารล้อมวัง, กรมทหารหน้า, กรมทหารปืนใหญ่, กรมทหารช้าง และ กรมทหารฝีพาย

การพระราชทานการสนับสนุนของพระองค์นั้นทรงเป็นแบบอย่างอันน่าสรรเสริญ ด้วยการส่งพระราชโอรสหลายพระองค์ไปทรงศึกษาวิชาทหารในทวีปยุโรป แล้วทรงนำวิทยาการทหารสมัยใหม่มาปรับปรุงการทหารของไทยจนเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วทัดเทียมชาติตะวันตก

ดาวน์โหลด

ในปี พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหารือกับพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดี ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจัดการด้านการทหารรูปแบบใหม่ให้เป็นระเบียบแบบแผนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2430 จึงได้มี “ประกาศจัดการทหาร” ขึ้น โดยตั้ง “กรมยุทธนาธิการ” มีลักษณะเป็นกรมกลางของทหารบก และทหารเรือ พระองค์ทรงดำรงพระราชอิสริยยศตำแหน่ง “จอมทัพ” สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาการทั่วไป และเพื่อให้หน่วยทหารได้รับการบังคับบัญชาดูแลได้ทั่วถึง จึงทรงแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาทั่วไปอีก 4 ตำแหน่ง คือเจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ, เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้บัญชาการใช้จ่าย และเจ้าพนักงานใหญ่ ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการจัดตั้งให้มีนายทหารเพื่อการควบคุมบังคับบัญชาพลทหาร ทั้งในยามสงคราม และยามสงบ ทั้งยังทรงปรับปรุงกิจการทหารให้ทันสมัย ด้วยการฝึกหัดทหารตามแบบยุโรป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช ตั้งโรงเรียนทหารสราญรมย์ โดยเสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2430

ต่อมาในปีพ.ศ. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกิจการของโรงเรียนทหารสราญรมย์ และกิจการโรงเรียนนายสิบเข้าด้วยกัน ชื่อโรงเรียนจึงเปลี่ยนไปให้เกิดความเหมาะสมยิ่งขึ้นเป็น โรงเรียนสอนวิชาทหารบก ต่อมาได้ย้ายนักเรียนนายสิบไปสังกัดกองพลทหารบก ชื่อโรงเรียนจึงเปลี่ยนเป็นโรงเรียนนายร้อยทหารบก และในปีพ.ศ. 2447 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ซื้อที่ดินบริเวณถนนราชดำเนินนอก ก่อสร้างโรงเรียนนายร้อยมัธยมขึ้นและทรงกระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2452


เลิกไพร่-เลิกทาส นำชายไทยรักชาติ ต้นกำเนิดอาชีพทหาร

K5

วิสัยทัศน์ทางด้านการทหารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงหยุดอยู่เพียงแค่การรับเอาระบบระเบียบวิทยาการจากต่างแดนมาใช้ โดยในการปฏิรูปการทหารของไทย พระองค์ยังได้ทรงให้สิทธิแก่ชายไทยหลังพระราชทานเลิกทาสและไพร่ได้สมัครเข้ารับราชการทหาร ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ
อาชีพทหารเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีวิสัยทัศน์สำหรับโครงสร้างของกองทัพบกสยาม ผ่านการปฏิรูประบบต่างๆ รวมถึงกิจการทางทหาร โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (พระองค์เจ้าจิรประวัติ วรเดช) ด้วยการวางโครงสร้างกำลังกองทัพไว้ถึง 10 กองพลทั่วภูมิภาคของรัฐสยามภายในเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2444-2453) ทรงเริ่มปฏิรูปกิจการทหารนับแต่ทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2411 เพื่อให้เกิดการทหารอาชีพแยกออกจากพลเรือนอย่างชัดเจน นับแต่การถือกำเนิดของทหารมหาดเล็กไล่กามาจนถึงทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ การปฏิรูปรูปแบบการปกครองจากระบบจตุสดมภ์มาสู่เทศาภิบาล พ.ศ. 2435 ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางทหารอีกด้วย

k2

ต่อมา ได้มีการเลิกระบบไพร่ทาสแล้วใช้ ตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448 ) เป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดทหารอาชีพที่มีการฝึกหัด มีความชำนาญในวิชาชีพ มีอาวุธยุทโธปกรณ์และเครื่องแบบที่ทันสมัย และมีเงินตอบแทน โดยให้ชายไทยอายุครบ 18 ปี เข้ารับราชการทหาร 2 ปีแล้วปลดเป็นกองหนุน ทั้งนี้ ในรัชสมัยนี้ก็เริ่มมีนายทหารประจำการเป็นครั้งแรก ทั้งยังจัดตั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ ซึ่งแยกการบริหารออกจากกันโดยเด็ดขาด ซึ่งถือเป็นระบบการทหารที่ยังสืบทอดปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน

เนื่องในวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีคือ “วันปิยมหาราช” อันถือเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กองทัพบก จึงน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการสดุดีพระราชกรณียกิจที่ทรงทำนุบำรุงการทหารของไทยให้มีรากฐานมั่นคงตราบจนถึงทุกวันนี้




Create Date : 30 ตุลาคม 2558
Last Update : 30 ตุลาคม 2558 14:19:18 น. 0 comments
Counter : 757 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

สมาชิกหมายเลข 1129231
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 1129231's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com