กันยายน 2558
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
24 กันยายน 2558
 

หลังน้ำจากไป ควรทำไงดี

หลังน้ำจากไป ควรทำไงดี

ก่อนน้ำมาก็ต้องตั้งรับ แล้วพอน้ำลดไปก็ใช่ว่า จะไม่ต้องตั้งรับเช่นกัน เพราะเมื่อน้ำได้ตีตัวออกห่างแล้วยังจะมีเรื่องยุ่งยากอีกมากมายตามมา แต่อย่ากังวลไปใย เพราะเราขอเป็นคู่มือดีๆ ให้คุณได้ลองทำตาม

ขั้นตอนที่ 1:  ใส่ใจตัวเอง

หลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วม หลานๆ ครอบครัวอาจเกิดความซึมเศร้า และต้องใช้เวลาเพื่อกลับสู่ภาวะปกติ แต่อย่าลืมว่าเหตุการณ์น้ำท่วมก็อาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหาย คุณจึงต้องดูแลทั้งตัวเองและครอบครัวพร้อมกับบูรณะบ้านให้กลับมาเหมือนเดิม ซึ่งอุปสรรคสำคัญคือ ความเครียด ที่จะทำให้คุณหงุดหงิดง่าย จนปัญหาอื่นตามมา เช่น นอนหลับยาก ฝันร้าย และปัญหาทางกายโรคภัยไข้เจ็บ

สำหรับความเครียดที่อาจเกิดขึ้นถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งคุณและครอบครัวควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

1. ให้เวลากับครอบครัวเพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยียวยารักษาได้ดี

2. พูดคุยปัญหาเรื่องต่างๆ กับเพื่อนและครอบครัว ร่วมแบ่งปันความกังวล จะช่วยให้ระบายและผ่อนคลายความเครียด

3.  พักผ่อนและกินอาหารที่มีประโยชน์เพราะมีปัญหาทั้งความเครียดและ ทางกายเพิ่มขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ

4.  จัดลำดับสิ่งที่จำเป็นต้องทำตามลำดับและค่อยๆ ทำไป

5.  ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เมื่ออาการซึมเศร้าจนเกินที่จะรับมือได้

6.  ดูแลเด็กๆ ให้ดี และโปรดเข้าใจว่าเด็กก็มีความตื่นกลัวไม่แพ้กัน และอย่าตำหนิเด็กทีมีพฤติกรรมแปลกๆ หลังจาก

น้ำท่วม เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้งหรือเกาะคุณอยู่ตลอดเวลา จำไว้ว่าเด็กก็เพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิต

7.  ระวังเรื่องสุขอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่เคยโดยน้ำท่วม

ขั้นตอน  2:  จัดการกับบ้าน

ในช่วงที่น้ำท่วมมีผู้คนจำนวนมากต้องเสียชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการถูกไฟดูดหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นหลังจากน้ำลด โดยสิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับเข้าบ้านคือ การตรวจสอบความปลอดภัยก่อนเข้าบูรณะและอยู่อาศัย

1.  ปรับจูนคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ฟังรายงานสถานการณ์

2.  ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหายและซ่อมแซมทรัพย์สินต่างๆ

3.  เดินตรวจตรารอบๆ บ้าน และเช็คสายไฟฟ้า สายและถังแก๊ส โดยถ้าหากเกิดแก๊สรั่ว จะสามารถรู้ได้จากกลิ่นแก๊ส

ให้ระวังและรีบโทรแจ้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย

4.  ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้าง ทุกอย่างปลอดภัย

5.  ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน

6.  ปิดวาล์วแก๊สให้สนิท หากได้กลิ่นแก๊สรั่วก็ไม่ควรเข้าใกล้บริเวณนั้น

7. เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง อย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ

8. ถ่ายรูปความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน

9. เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า และห่อหุ้มรูปภาพหรือเอกสารสำคัญ

10. เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตูเพื่อระบายอากาศและตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้าง พื้นฐานของสิ่งก่อสร้างต่างๆ

11.  ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย

12.  เก็บกวาดกิ่งไม้หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน

13.  ตรวจหารอยแตกหรือรั่วของท่อน้ำ ถ้าพบให้ปิดวาล์วตรงมิเตอร์น้ำ และไม่ควรดื่มหรือทำอาหารด้วยน้ำจากก๊อก จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย

14.  ระบายน้ำออกจากห้องใต้ดินอย่างช้าๆเนื่องจากแรงดันน้ำภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรือ พื้นห้องใต้ดินได้

15.  กำจัดตะกอนที่มาจากน้ำ เนื่องจากเชื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน


ขั้นตอน 
3:  ประสานงาน

ก่อนที่คุณพยายามทำความสะอาดและซ่อมแซมทุกอย่าง ควรประเมินความเสียหายและทำตามวิธีดังต่อไปนี้

1.  เรียกบริษัทประกันภัยและเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น เพื่อพิจารณาความเสียหาย

2.  ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างอาคารของบ้านคุณ

3.  ทำแผนการบูรณะซ่อมแซม ซึ่งเป็นรายการสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำ เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

เพียงทำตาม 3 ขั้นตอนที่เรานำมาแชร์ รับลองเลยว่า หลังจากน้ำลด คุณจะยังมีสติและสามารถก้าวข้ามความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ไม่ต่างกับมือโปรอย่างแน่นอน

ข้อมูลจาก WeLoveRTA

ลิขสิทธิ์บทความของ emaginfo.com



Create Date : 24 กันยายน 2558
Last Update : 24 กันยายน 2558 14:35:39 น. 0 comments
Counter : 471 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

สมาชิกหมายเลข 1129231
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 1129231's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com